Google Pay: คู่มือเชิงลึก

Payments
Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ธุรกิจสตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรใหญ่ระดับโลก

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. Google Pay มีวิธีการทำงานอย่างไร
    1. ระบบบันทึกการขาย (POS)
    2. แพลตฟอร์มออนไลน์
  3. มีการใช้งาน Google Pay ในพื้นที่ใดบ้าง
    1. เอเชียแปซิฟิก
    2. ยุโรป
    3. อเมริกาเหนือ
    4. ลาตินอเมริกา
    5. แอฟริกา
  4. ใครคือผู้ที่ใช้ Google Pay
  5. ประโยชน์ของการยอมรับ Google Pay
  6. มาตรการรักษาความปลอดภัยของ Google Pay
    1. การแปลงเป็นโทเค็น
    2. การตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัย
    3. การสื่อสารใกล้ภาคสนาม (NFC)
    4. Secure Element
    5. การรักษาความปลอดภัยของบัญชี Google
    6. การเข้ารหัสข้อมูล
    7. การควบคุมความเป็นส่วนตัว
    8. การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ
    9. การตรวจจับและการป้องกันการฉ้อโกง
    10. ทีมรักษาความปลอดภัยเฉพาะทาง
    11. การป้องกันการดึงเงินคืน
    12. หมายเลขบัญชีดิจิทัล
    13. การล็อกโทรศัพท์จากระยะไกล
  7. ข้อกําหนดสําหรับธุรกิจเพื่อเริ่มรับชําระเงินผ่าน Google Pay
  8. ตัวเลือกอื่นๆ นอกเหนือจาก Google Pay
    1. Apple Pay
    2. Samsung Pay
    3. PayPal
    4. Venmo
    5. Cash App

Google Pay คือกระเป๋าเงินดิจิทัลและระบบการชําระเงินออนไลน์ที่ขับเคลื่อนโดยเทคโนโลยีการสื่อสารข้อมูลใกล้ภาคสนาม (NFC) Google ได้เปิดตัว Google Pay ในปี 2018 หลังจากรวม Android Pay เข้ากับ Google Wallet โดยผู้ใช้สามารถเพิ่มบัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสะสมคะแนน หรือบัตรของขวัญในบัญชี Google Pay จากนั้นจึงชําระเงินด้วยสมาร์ทโฟน แท็บเล็ต หรือนาฬิกา

Google Pay มีส่วนแบ่งตลาดสําหรับบริการชําระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สูงเป็นอันดับ 3 ในสหรัฐอเมริกา โดยมีฐานลูกค้าประมาณ 150 ล้านคนทั่วโลก และมีมูลค่าธุรกรรม 1.1 แสนล้านดอลลาร์ในปี 2019 Google Pay ปรับตัวตามความต้องการของตลาดที่แตกต่างกัน รวมถึงยังมีความพร้อมให้บริการและฟีเจอร์ที่หลากหลายในภูมิภาคต่างๆ โดยขึ้นอยู่กับข้อบังคับของแต่ละประเทศและการเป็นพาร์ทเนอร์กับสถาบันทางการเงินในท้องถิ่น ฟีเจอร์รักษาความปลอดภัยของ Google Pay ประกอบด้วยการแปลงเป็นโทเค็น ซึ่งจะสร้างหมายเลขที่เข้ารหัสที่ไม่ซ้ํากันสําหรับธุรกรรมแต่ละรายการและปกป้องรายละเอียดของบัตร รวมถึงการตรวจสอบสิทธิ์ผู้ใช้ขั้นสูงที่ต้องใช้ PIN, รูปแบบ, รหัสผ่าน หรือการยืนยันข้อมูลไบโอเมตริก เช่น การสแกนลายนิ้วมือ

คู่มือนี้จะให้รายละเอียดฟังก์ชันต่างๆ ของ Google Pay รวมถึงตัวตนในตลาด นัยยะที่มีต่อธุรกิจในโดเมนการชําระเงินแบบดิจิทัล และสิ่งที่ธุรกิจต่างๆ ต้องรู้เกี่ยวกับการใช้ Google Pay เป็นวิธีการชําระเงิน

บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

  • Google Pay มีวิธีการทำงานอย่างไร
  • มีการใช้งาน Google Pay ในพื้นที่ใดบ้าง
  • ใครคือผู้ที่ใช้ Google Pay
  • ประโยชน์ของการยอมรับ Google Pay
  • มาตรการรักษาความปลอดภัยของ Google Pay
  • ข้อกําหนดสําหรับธุรกิจเพื่อเริ่มรับชําระเงินผ่าน Google Pay
  • ตัวเลือกอื่นๆ นอกเหนือจาก Google Pay

Google Pay มีวิธีการทำงานอย่างไร

ธุรกิจที่ต้องการประมวลผลการชําระเงินด้วย Google Pay มีตัวเลือกมากมายในการตั้งค่าบริการ โดยสามารถเลือกเกตเวย์การชําระเงินหลากหลายรูปแบบที่รองรับและผู้ให้บริการผู้ค้า เพื่อค้นหาตัวเลือกที่ตอบโจทย์ความต้องการมากที่สุด ธุรกิจที่ใช้ Stripe สําหรับการชําระเงินออนไลน์ จะสามารถเพิ่ม Google Pay เป็นตัวเลือกได้ง่ายๆ โดยไม่ต้องตั้งค่าหรือจ่ายธรรมเนียมเพิ่มเติม การผสานการทํางานกับ Google Pay จะมอบสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลธุรกรรมให้ธุรกิจต่างๆ ซึ่งจะช่วยติดตามจำนวนสินค้าคงคลังและอัปเดตความพร้อมจำหน่ายของผลิตภัณฑ์โดยอัตโนมัติ นอกจากนี้ยังสามารถให้รางวัลลูกค้าสําหรับการใช้ Google Pay ได้ผ่านการเชื่อมต่อการทํางานกับโปรแกรมสะสมคะแนน ซึ่งจะมอบคะแนนหรือส่วนลด และส่งเสริมให้ลูกค้ากลับมาใช้บริการซ้ํา Google Pay สามารถทํางานได้กับทั้งธุรกรรมออนไลน์และหน้าร้าน พร้อมทั้งเชื่อมต่อกับระบบและแพลตฟอร์มต่างๆ เพื่อการประมวลผลการชําระเงินที่สะดวกง่ายดาย ซึ่งจะได้รับการอธิบายไว้ด้านล่างนี้

ระบบบันทึกการขาย (POS)

Google Pay เชื่อมต่อการทํางานกับระบบ POS หลายวิธี ธุรกิจที่มีระบบ POS ที่ออกแบบเองสามารถเชื่อมต่อการทํางาน Google Pay ได้โดยตรงโดยใช้ส่วนต่อประสานโปรแกรมประยุกต์ (API) ซึ่งจะช่วยให้สามารถสร้างประสบการณ์การชําระเงินที่ออกแบบเอง ซึ่งเข้ากับแบรนด์และเพิ่มประสิทธิภาพสำหรับการเพิ่มอัตราการเปลี่ยนเป็นผู้ใช้แบบชําระเงิน ธุรกิจที่กําลังมองหากระบวนการตั้งค่าที่ง่ายและปรับแต่งเองน้อยลงอาจใช้ประโยชน์จากระบบ POS ที่มาพร้อมกับการเชื่อมต่อการทํางานสําเร็จรูปกับ Google Pay นอกจากนี้ Google Pay ยังเชื่อมต่อการทํางานกับระบบ POS แบบพกพา เช่น Square และ Clover ซึ่งช่วยให้ธุรกิจรับการชําระเงินจาก Google Pay ได้ทุกที่ทุกเวลา

แพลตฟอร์มออนไลน์

Google Pay ผสานการทํางานกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ เช่น Shopify และ Magento โดยช่วยให้ลูกค้าสามารถประมวลผลการชําระเงินได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัย ธุรกิจที่มีบริการแบบชำระเงินตามรอบบิลยังอาจเชื่อมต่อการทํางาน Google Pay เพื่ออํานวยความสะดวกให้กับการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า และทําให้การเรียกเก็บเงินจากลูกค้าเป็นเรื่องง่าย นักพัฒนายังใช้ Google Pay API เพื่อเชื่อมต่อการทํางาน Google Pay เข้ากับแอปของตัวเองได้โดยตรงเช่นกัน เพื่อมอบประสบการณ์การชําระเงินในแอปที่ง่ายดาย ปกติแล้ว Google Pay จะได้รับการเชื่อมการทํางานเข้ากับแพลตฟอร์มการสั่งซื้อสินค้าออนไลน์และบริการจัดส่งเพื่อประสบการณ์ที่ราบรื่นของลูกค้า

ธุรกิจที่ต้องการใช้ Google Pay เพื่อประมวลผลธุรกรรมออฟไลน์ที่จุดขายจะมีตัวเลือกดังต่อไปนี้

  • โหมด Tez: โหมด Tez ช่วยให้ธุรกิจรับการชําระเงินได้แม้ไม่มีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเหมาะสําหรับตลาดที่มีการเชื่อมต่อแบบจํากัดหรือสําหรับธุรกรรมแบบนอกสถานที่

  • การชําระเงินด้วยรหัส QR: ธุรกิจสามารถสร้างและแสดงรหัส QR ที่ขั้นตอนการชําระเงินสําหรับธุรกรรม Google Pay ซึ่งช่วยให้ลูกค้าชําระเงินได้อย่างรวดเร็วด้วยการสแกนด้วยโทรศัพท์

  • การชําระเงินผ่าน NFC: ธุรกิจสามารถใช้อุปกรณ์ที่รองรับ NFC เพื่อรับชําระเงินแบบไร้สัมผัสจากโทรศัพท์ของลูกค้าได้

โดยธุรกิจที่ใช้แอป Google Pay for Business จะได้รับประโยชน์จากฟีเจอร์อื่นๆ เพิ่มเติม ข้อมูลที่ครอบคลุมเกี่ยวกับพฤติกรรมของลูกค้าและรูปแบบการใช้จ่ายของบริการนี้สามารถช่วยอำนวยความสะดวกในการตัดสินใจทางธุรกิจ นอกจากนี้ การมอบข้อมูลการขายแบบเรียลไทม์และข้อมูลชี้วัดประสิทธิภาพที่สำคัญก็จะช่วยให้ทราบภาพรวมเกี่ยวกับผลการดําเนินงานของธุรกิจได้อย่างครอบคลุม ธุรกิจยังสามารถติดตามยอดขาย วิเคราะห์แนวโน้ม ออกเงินคืน และจัดการการโต้แย้งการชําระเงินจากภายในแอปได้โดยตรงอีกด้วย

มีการใช้งาน Google Pay ในพื้นที่ใดบ้าง

Google Pay ได้ขยายการดำเนินงานไปยังกว่า 60 ประเทศ และเขตแดน การเจาะตลาดในแต่ละภูมิภาคจะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมของลูกค้า เงื่อนไขทางธุรกิจ และสภาพแวดล้อมด้านระเบียบข้อบังคับ อิทธิพลที่สําคัญและการใช้งานของ Google Pay ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก ยุโรป อเมริกาเหนือ ลาตินอเมริกา และแอฟริกาจะได้รับการระบุไว้ด้านล่างนี้

เอเชียแปซิฟิก

  • อินเดีย: Google Pay มีผู้ใช้ 67 ล้านคนในอินเดีย ซึ่งทําให้อินเดียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด การเป็นผู้นำในตลาดนี้เกิดขึ้นจากความต้องการด้านธุรกรรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของอินเดีย และการเชื่อมต่อการทํางาน Google Pay เข้ากับระบบ UPI รวมถึงการทํางานร่วมกันกับธนาคารและผู้ค้าปลีกรายใหญ่ในท้องถิ่น

  • จีน: ตลาดจีนถูกครองโดยบริการท้องถิ่นมากมาย เช่น WeChat Pay และ Google Pay ก็สามารถสร้างจุดยืนสำคัญในประเทศนี้ โดยการเชื่อมต่อการทํางานกับแพลตฟอร์มเหล่านี้และใช้ประโยชน์จากฐานผู้ใช้ที่มีอยู่ Google Pay มุ่งเน้นที่จะขยายความนิยมในด้านต่างๆ เช่น การชําระเงินสำหรับระบบขนส่งและการเรียกเก็บเงิน

  • เอเชียตะวันออกเฉียงใต้: การใช้งาน Google Pay เติบโตอย่างรวดเร็วในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื่องจากภูมิภาคนี้หันมาใช้เทคโนโลยีมือถือเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อันเป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของความต้องการด้านการชําระเงินแบบไร้สัมผัส รวมทั้งการเป็นพาร์ทเนอร์ของ Google Pay กับผู้ค้าปลีกชั้นนําในท้องถิ่นและแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ

ยุโรป

  • สหภาพยุโรป: Google Pay ได้รับความนิยมในยุโรป โดยแข่งขันกับบริการอย่าง Apple Pay และ Samsung Pay Google Pay สร้างความแตกต่างด้วยฟีเจอร์ต่างๆ เช่น โปรแกรมการชําระเงินแบบบุคคลถึงบุคคลและโปรแกรมสะสมคะแนน อีกทั้งยังเป็นพาร์ทเนอร์กับธนาคารท้องถิ่นและผู้ให้บริการบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย นอกจากนี้ บริษัทยังปฏิบัติตามคําสั่งว่าด้วยบริการชําระเงินฉบับปรับปรุง (PSD2) ของสหภาพยุโรปซึ่งกําหนดให้ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์ลูกค้าแบบรัดกุมสําหรับการชําระเงินออนไลน์ โดยใช้ข้อมูลไบโอเมตริกและวิธีการยืนยันตัวตนอื่นๆ Google Pay ทํางานควบคู่กับหน่วยงานกํากับดูแลและสถาบันการเงินในยุโรปเพื่อให้มั่นใจว่าการดําเนินงานจะเป็นไปตามข้อกําหนดอย่างต่อเนื่องและดำเนินงานอย่างไม่ติดขัด

  • สหราชอาณาจักร: การใช้งานสมาร์ทโฟนที่สูงและความต้องการการชําระเงินแบบไร้สัมผัสในสหราชอาณาจักรทําให้ประเทศนี้เป็นตลาดที่เหมาะสําหรับ Google Pay ซึ่งเชื่อมต่อการทํางานในร้านค้าจริง เครือร้านค้าปลีก และเครือข่ายขนส่งทั่วประเทศได้อย่างดีเยี่ยม Statista พบว่าผู้คนในสหราชอาณาจักรกว่า 40% ใช้ Google Pay ทั้งแบบออนไลน์หรือในร้านค้าในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา

อเมริกาเหนือ

  • สหรัฐอเมริกา: Google Pay มีฐานผู้ใช้ในสหรัฐอเมริกา 25 ล้านคน ซึ่งยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเกิดขึ้นจากความเข้ากันได้กับอุปกรณ์ Android และการเป็นพันธมิตรกับธนาคารรายใหญ่ๆ นอกจากนี้ บริษัทยังขยายบริการเข้าสู่พื้นที่ใหม่ๆ เช่น การขนส่งและการดูแลสุขภาพ รวมทั้งได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ อย่างฟังก์ชันธุรกรรมแบบบุคคลถึงบุคคลด้วย

  • แคนาดา: Google Pay ติดอันดับสาม ในหมู่การชําระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ในแคนาดา เนื่องจากทํางานร่วมกันอย่างใกล้ชิดกับธนาคารและผู้ค้าปลีกออนไลน์ในแคนาดา

ลาตินอเมริกา

  • บราซิล: Google Pay เข้าสู่ตลาดบราซิลโดยการทํางานร่วมกับธนาคารท้องถิ่นและรองรับ Boleto Bancário ซึ่งเป็นวิธีการชําระเงินในท้องถิ่นที่ใช้กันอย่างกว้างขวาง กลยุทธ์นี้กําหนดเป้าหมายไปยังประชากรที่ไม่มีบัญชีธนาคารและแสดงให้เห็นถึงศักยภาพสําหรับการเติบโตในประเทศที่มีกลุ่มประชากรซึ่งคล้ายกัน

  • เม็กซิโก: ในเม็กซิโก Google Pay มุ่งเน้นวิธีการชําระเงินแบบไร้สัมผัสตามความต้องการที่เพิ่มขึ้นของประชากร นอกจากนี้ยังเป็นพาร์ทเนอร์กับธนาคารและผู้ให้บริการมือถือรายใหญ่ๆ ด้วย

แอฟริกา

  • เคนยา: ในเคนยา Google Pay มุ่งเน้นไปที่การเข้าถึงประชากรที่ไม่มีบัญชีธนาคาร โดยร่วมมือกับผู้ให้บริการเครือข่ายอุปกรณ์เคลื่อนที่เพื่อมอบบริการการเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ส่งเสริมการเข้าถึงทางการเงิน และส่งเสริมฐานผู้ใช้ในพื้นที่

  • แอฟริกาใต้: ในแอฟริกาใต้ Google Pay กําลังได้รับความนิยมในภาคธุรกิจอีคอมเมิร์ซและในหมู่คนรุ่นใหม่ การใช้งานที่เพิ่มขึ้นนี้บ่งชี้ว่า Google Pay มีโอกาสมากขึ้นที่จะขยายธุรกิจในประเทศแอฟริกาอื่นๆ ที่มีประชากรกลุ่มที่คล้ายกันและการเจาะตลาดบนอุปกรณ์เคลื่อนที่

ใครคือผู้ที่ใช้ Google Pay

  • ผู้ซื้อสินค้าปลีก: Google Pay คือตัวเลือกยอดนิยมในหมู่ผู้ซื้อสินค้าปลีก ในปี 2023 ผู้คน 35% รายงานว่าตนใช้แอปชําระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่สําหรับการซื้อสินค้าภายในร้านอย่างน้อย 1 แอป โดยลูกค้ากว่า 10% ในกลุ่มนั้นระบุว่าใช้ Google Pay เป็นส่วนใหญ่

  • ผู้ซื้อสินค้าอีคอมเมิร์ซ: ในแวดวงการซื้อสินค้าออนไลน์ ลูกค้า 44% รายงานว่าตนใช้แอปชําระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ในปี 2023 โดย 9% ระบุว่าพวกเขาเลือกใช้ Google Pay

  • ธุรกิจบริการด้านอาหาร: แวดวงร้านอาหารหันมาใช้การชําระเงินแบบไร้สัมผัสอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะร้านอาหารบริการด่วน ซึ่งมักจะยอมรับตัวเลือกการชำระเงิน เช่น Google Pay แนวโน้มนี้สอดคล้องกับจํานวนลูกค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ ที่เลือกชําระเงินสําหรับคําสั่งซื้ออาหารผ่านสมาร์ทโฟน

  • ระบบขนส่งสาธารณะ: ระบบขนส่งสาธารณะได้ผสานการทํางานกับ Google Pay เป็นทางเลือกในการชําระเงินมากขึ้น โดยเมืองต่างๆ มากกว่า 500 เมืองทั่วโลกต่างก็รองรับวิธีการชำระเงินนี้อยู่ในขณะนี้

  • ผู้ให้บริการ: ผู้ทํางานอิสระมักใช้แพลตฟอร์มการชําระเงินแบบดิจิทัล เช่น Google Pay เพื่อความเรียบง่ายและความปลอดภัย

  • คนรุ่นใหม่: ตัวอย่างการศึกษาในปี 2020 ในสหราชอาณาจักรแสดงให้เห็นว่าเจน Z และมิลเลนเนียลมีแนวโน้มมากที่สุดที่จะใช้กระเป๋าเงินดิจิทัล ด้วยเหตุนี้ Google Pay จึงมีการใช้งานที่สูงขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่

  • ธุรกิจขนาดเล็กและธุรกิจสตาร์ทอัพ: ธุรกิจขนาดเล็กหันมาใช้ Google Pay มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อเป็นโซลูชันการประมวลผลการชําระเงิน ขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กใช้ Google Pay ในการออกใบแจ้งหนี้และรับการชําระเงิน เพื่อใช้ประโยชน์จากประสิทธิภาพและความคุ้มค่า ธุรกิจสตาร์ทอัพก็ยังเชื่อมต่อการทํางาน Google Pay ไว้ในขั้นตอนสำหรับธุรกรรมออนไลน์ของตนด้วย

  • ผู้จัดกิจกรรม: แวดวงการจัดงานกิจกรรมยังใช้ Google Pay ด้วยการให้ผู้เข้าร่วมใช้ผลิตภัณฑ์นี้เพื่อซื้อตั๋วหรือทําธุรกรรมในงาน

  • บริการแบบชำระเงินตามรอบบิล: บริการแบบชําระเงินตามรอบบิลยังหันมาใช้ Google Pay เพื่อให้บริการฟังก์ชันการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า

ประโยชน์ของการยอมรับ Google Pay

สําหรับธุรกิจ การรับ Google Pay เป็นวิธีการชําระเงินให้ข้อดีต่างๆ ซึ่งมีตั้งแต่การขยายกลุ่มเป้าหมาย ไปจนถึงข้อมูลการวิเคราะห์ที่ดีขึ้นและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สิทธิประโยชน์ต่างๆ มีดังนี้:

  • ระยะเวลาการชําระเงินที่รวดเร็วขึ้น: รายงานของ Google ระบุว่า Google Pay สามารถลดเวลาการชําระเงินบนเว็บไซต์และแอปได้ 20% เมื่อเทียบกับวิธีการแบบเดิมๆ

  • การจัดการธุรกรรมที่ง่ายดาย: แอป Google Pay for Business เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการธุรกรรม ช่วยประหยัดเวลาของธุรกิจในงานด้านการดูแลระบบ

  • ความเสี่ยงด้านการฉ้อโกงที่ลดลง: เทคโนโลยีการแปลงเป็นโทเค็นของ Google Pay มีอัตราความสําเร็จกว่า 90% ในการป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกง

  • ความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้น: ข้อมูลของ Google แสดงว่าผู้ใช้ Google Pay 35% ซึ่งเคยใช้วิธีการชําระเงินอื่นหันมาเลือกใช้ Google Pay สําหรับการซื้อซ้ํา ความสามารถในการเชื่อมต่อการทํางาน Google Pay กับโปรแกรมสะสมคะแนนยังอาจเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าที่ซื้อซ้ำ

  • การขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ: Google Pay ดําเนินงานในกว่า 60 ประเทศและเขตแดน โดยรองรับผู้ใช้กว่า 150 ล้านคนทั่วโลก การเข้าถึงระดับโลกนี้อํานวยความสะดวกในการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดาย บริษัทแห่งหนึ่งในกรณีศึกษาของ Google แสดงให้เห็นว่าการซื้อ 34% ที่ดำเนินการผ่าน Google Payมาจากลูกค้าใหม่ๆ

  • การเข้าถึงข้อมูลของลูกค้า: ข้อมูลการใช้จ่ายของลูกค้าจาก Google Pay ช่วยให้ธุรกิจสามารถปรับปรุงผลิตภัณฑ์ที่นําเสนอและจัดทําแคมเปญการตลาดที่มีการกําหนดเป้าหมาย ซึ่งสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุน (ROI) ได้สูงขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการแบบเดิม

  • ยอดขายที่เพิ่มขึ้น: ผลจากกรณีศึกษาเกี่ยวกับบริษัทหนึ่งของ Google พบว่าธุรกิจที่ใช้ Google Pay เป็นวิธีการชําระเงินเริ่มต้นสําหรับผู้ใช้ใหม่อาจพบว่าอัตราการเปลี่ยนเป็นผู้ใช้แบบชําระเงินเพิ่มขึ้นกว่าเดิมถึง 20 เท่า ซึ่งเป็นไปได้ว่าเกิดขึ้นจากระยะเวลาการชําระเงินที่รวดเร็วขึ้นและประสบการณ์ของลูกค้าที่ดีขึ้น

  • ลดค่าใช้จ่ายในการจัดการเงินสด: งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการลดการใช้เงินสดช่วยธุรกิจประหยัดค่าใช้จ่าย โดยการลดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการนับเงินสด การขนส่ง และการรักษาความปลอดภัย

  • ปรับปรุงภาพลักษณ์ของแบรนด์: แบรนด์สามารถยกระดับชื่อเสียงของตัวเองในฐานะธุรกิจที่ทันสมัยและใช้นวัตกรรมใหม่ โดยการรองรับตัวเลือกการชําระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ อย่างเช่น Google Pay

  • โมเดลธุรกิจก้าวล้ำ: การเชื่อมต่อการทํางานกับ Google Pay จะวางจุดยืนให้ธุรกิจอยู่ในระดับแถวหน้าของเทคโนโลยีการชําระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ โดยเตรียมความพร้อมสําหรับความพัฒนาของการชําระเงินแบบดิจิทัล

มาตรการรักษาความปลอดภัยของ Google Pay

การแปลงเป็นโทเค็น

Google Pay ใช้การแปลงเป็นโทเค็นหลายชั้น โดยใช้ทั้งโทเค็นเฉพาะอุปกรณ์และโทเค็นฝั่งเซิร์ฟเวอร์ เพื่อการป้องกันขั้นสูงสุดสําหรับทุกจุดสัมผัส นอกจากนี้ Google Pay จะสร้างโทเค็นแบบใช้ครั้งเดียวที่ไม่ซ้ํากันสําหรับธุรกรรมแต่ละรายการที่ซ่อนหมายเลขบัตรจริงของคุณ แม้ว่าข้อมูลธุรกรรมจะถูกแทรกแซงก็ตาม ซึ่งต่างจากกระเป๋าเงินดิจิทัลอื่นๆ

การตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัย

ผู้ใช้จะต้องตรวจสอบสิทธิ์ตัวตนของตนเองเพื่อเข้าถึง Google Pay หรือชําระเงิน Google Pay รองรับการตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัยหลากหลายวิธี ซึ่งรวมถึง PIN, รหัสผ่าน, รูปแบบการวาดเส้น, ลายนิ้วมือ และการจดจําใบหน้า ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้เลือกระดับความปลอดภัยที่ต้องการได้ ผู้ใช้อาจเลือกใช้ Google Pay โดยการกำหนด PIN แบบไดนามิกที่เปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ เพื่อเพิ่มการป้องกันอีกชั้นหนึ่งจากการโจมตีแบบสุ่มเดารหัสผ่าน และเพิ่มความมั่นใจว่าผู้ใช้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้นที่จะทําการชําระเงินหรือเข้าถึงข้อมูลที่ละเอียดอ่อนได้

การสื่อสารใกล้ภาคสนาม (NFC)

สําหรับการชําระเงินแบบไร้สัมผัส Google Pay ใช้เทคโนโลยี NFC ซึ่งเป็นโปรโตคอลที่ปลอดภัย ซึ่งทำงานภายในระยะห่างจากเทอร์มินัลการชําระเงินเพียงไม่กี่เซนติเมตรและป้องกันการเข้าถึงข้อมูลระยะไกล ข้อมูลจะถูกเข้ารหัสระหว่างการทําธุรกรรม NFC เพื่อการรักษาความลับและความถูกต้องสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

Secure Element

อุปกรณ์หลายเครื่องที่รองรับ Google Pay จะใช้ Secure Element ซึ่งเป็นชิปฮาร์ดแวร์ที่ป้องกันการงัดแงะ โดยจะทําหน้าที่เป็นห้องนิรภัยสําหรับข้อมูลการชําระเงินที่ละเอียดอ่อน และเพิ่มการป้องกันการโจมตีทั้งในทางกายภาพและแบบดิจิทัล Secure Element นี้ทํางานอิสระจากระบบปฏิบัติการหลัก โดยสร้างสภาพแวดล้อมการประมวลผลเฉพาะที่ช่วยป้องกันการเข้าถึงข้อมูลประจําตัวสําหรับการชําระเงินโดยไม่ได้รับอนุญาต

การรักษาความปลอดภัยของบัญชี Google

Google Pay ใช้ฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยของบัญชี Google เช่น การตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัยและการตรวจจับกิจกรรมที่น่าสงสัย โดย Google จะตรวจสอบบัญชีเหล่านี้อย่างต่อเนื่องและแจ้งผู้ใช้เกี่ยวกับความเสี่ยงด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้น

การเข้ารหัสข้อมูล

Google Pay ใช้การเข้ารหัสแบบครบวงจรสําหรับข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านแพลตฟอร์มเพื่อปกป้องจากการเข้าถึงที่ไม่ได้รับอนุญาต นอกจากนี้ยังจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้ไว้ในศูนย์ข้อมูลที่ปลอดภัยซึ่งได้รับการปกป้องด้วยมาตรการต่างๆ รวมถึงการเข้ารหัสและการควบคุมการเข้าถึง

การควบคุมความเป็นส่วนตัว

Google Pay ช่วยให้ลูกค้ามีสิทธิ์ควบคุมการเข้าถึงข้อมูลที่ตนแชร์และวิธีใช้ข้อมูลได้อย่างละเอียด โดยลูกค้าสามารถเลือกแชร์เฉพาะข้อมูลบางอย่างกับธุรกิจหรือจํากัดการแชร์ข้อมูลได้ ลูกค้าจะเข้าถึงและดาวน์โหลดประวัติธุรกรรมของตัวเองได้ทุกเมื่อ และสามารถเลือกไม่ใช้หรือเลือกใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับแต่งประสบการณ์ในแอปให้เหมาะกับตนเอง Google จะไม่แชร์ประวัติธุรกรรมของลูกค้ากับบุคคลที่สามเพื่อจุดประสงค์ด้านการตลาดโดยไม่ได้รับความยินยอมอย่างชัดแจ้ง

การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ

Google Pay ปฏิบัติตามมาตรฐานที่เข้มงวดของอุตสาหกรรม ซึ่งรวมถึงมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสําหรับอุตสาหกรรมบัตรชําระเงิน (PCI DSS) กฎระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของสหภาพยุโรป (GDPR) และกฎหมายว่าด้วยความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภคแห่งรัฐแคลิฟอร์เนีย (CCPA) การปฏิบัติตามข้อกําหนดนี้ช่วยให้ Google Pay เป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุดสําหรับการประมวลผลการชําระเงินและความเป็นส่วนตัวของข้อมูล

การตรวจจับและการป้องกันการฉ้อโกง

Google ใช้อัลกอริทึมแมชชีนเลิร์นนิงที่มีความซับซ้อน เพื่อวิเคราะห์ธุรกรรมแบบเรียลไทม์ ระบุและรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัย รวมถึงความเสี่ยงด้านการฉ้อโกงขณะส่งและรับเงิน แนวทางเชิงรุกนี้จะช่วยป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงก่อนที่จะเกิดขึ้น ระบบจะแจ้งเตือนผู้ใช้เกี่ยวกับกิจกรรมที่ผิดปกติ รวมถึงในกรณีที่ผู้ใช้กําลังชําระเงินให้กับบุคคลที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อติดต่อ เพื่อให้สามารถดําเนินการกับการฉ้อโกงได้อย่างรวดเร็ว

ทีมรักษาความปลอดภัยเฉพาะทาง

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านความปลอดภัยโดยเฉพาะของ Google Pay จะคอยตรวจสอบแอปตลอดทั้งวัน เพื่อให้มั่นใจว่าการสนับสนุนด้านการรักษาความปลอดภัยจะดําเนินไปอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ ทีมนี้ยังพัฒนาฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยใหม่ๆ และอัปเดตแอปเป็นประจําเพื่อจัดการกับภัยคุกคามที่เกิดใหม่

การป้องกันการดึงเงินคืน

Google Pay ให้บริการการป้องกันการดึงเงินคืน เพื่อปกป้องผู้ใช้จากความสูญเสียทางการเงินในกรณีที่เกิดธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาต นโยบายและขั้นตอนปฏิบัติเกี่ยวกับการดึงเงินคืนอาจแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ออกบัตร

หมายเลขบัญชีดิจิทัล

Google Pay จะใช้หมายเลขบัญชีดิจิทัลสําหรับการชําระเงินแบบไร้สัมผัส เพื่อซ่อนหมายเลขบัตรจริงไม่ให้ธุรกิจทราบในระหว่างการทําธุรกรรม

การล็อกโทรศัพท์จากระยะไกล

หากโทรศัพท์ของผู้ใช้สูญหายหรือถูกขโมย ผู้ใช้สามารถล็อกโทรศัพท์จากระยะไกล ออกจากบัญชี Google หรือลบข้อมูลโดยใช้ฟีเจอร์ค้นหาอุปกรณ์ของฉันของ Google ได้ วิธีนี้ช่วยให้ข้อมูลการชําระเงินปลอดภัยแม้ในกรณีที่อุปกรณ์สูญหายหรือถูกขโมย

ข้อกําหนดสําหรับธุรกิจเพื่อเริ่มรับชําระเงินผ่าน Google Pay

ธุรกิจที่เชื่อมต่อการทํางาน Google Pay เป็นวิธีการชําระเงินจะต้องประสานงานกับผู้ประมวลผลการชําระเงินบุคคลที่สาม เช่น Stripe ผู้ประมวลผลการชําระเงินแต่ละรายจะมีขั้นตอนและข้อกําหนดในการเชื่อมต่อการทํางานกับวิธีการชําระเงินใหม่ๆ ที่แตกต่างกัน ขั้นตอนการตั้งค่าและข้อกําหนดทางธุรกิจของ Stripe ในการตั้งค่า Google Pay จะได้รับการระบุไว้ด้านล่างนี้เพื่อแสดงตัวอย่างของสิ่งที่จะเกิดขึ้น

ตามข้อกําหนดพื้นฐาน ธุรกิจจะต้องมีการจดทะเบียนธุรกิจที่จำเป็นทั้งหมดและใบอนุญาตในภูมิภาคการดําเนินงาน นอกจากนี้ยังต้องแสดงให้เห็นถึงการปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับทั้งหมดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงกฎระเบียบด้านภาษี, ขั้นตอนการป้องกันการฟอกเงิน (AML), การรู้จักลูกค้าของคุณ (KYC) และระเบียบข้อบังคับด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูล เช่น GDPR, CCPA และ PCI DSS กฎระเบียบเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เรียกเก็บและนําส่งภาษีได้ตามที่กำหนด มีการยืนยันตัวตนของลูกค้าและป้องกันกิจกรรมที่ผิดกฎหมายอย่างเหมาะสม รวมทั้งใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยที่ถูกต้องเมื่อเก็บรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลผู้ใช้ รวมถึงข้อมูลบัตรชําระเงิน ธุรกิจที่ละเมิดระเบียบข้อบังคับเหล่านี้จะไม่มีสิทธิ์ร่วมงานกับ Stripe

ข้อกําหนดทางเทคนิคในการตั้งค่า Google Pay กับ Stripe ประกอบด้วยการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตที่ใช้งานอยู่ การเข้าถึงอุปกรณ์ Android และ iOS ที่รองรับ Google Pay พร้อมฟังก์ชัน NFC และบัญชี Stripe ที่ใช้งานอยู่ซึ่งมีชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) ของ Stripe ที่เชื่อมต่อการทํางานกับแอปหรือเว็บไซต์ของธุรกิจ เพื่ออํานวยความสะดวกในการประมวลผลการชําระเงิน สําหรับขั้นตอนการติดตั้งสําหรับ Android ธุรกิจต่างๆ จะต้องมีตัวตนที่มีสถานะใช้งานอยู่ใน Google Play Store เพื่อให้แอป Google Pay เข้าถึงข้อมูลของธุรกิจได้

ก่อนเริ่มกระบวนการตั้งค่า ธุรกิจต่างๆ จะต้องตรวจสอบและยอมรับข้อตกลงผู้ค้าของ Stripe และ Google Pay ซึ่งอธิบายข้อกําหนดและเงื่อนไขในการใช้บริการของผู้ค้า นอกจากนี้ ผู้ใช้ควรทําความคุ้นเคยกับค่าธรรมเนียมของ Stripe และ Google Pay ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมแต่ละรายการ ตรวจสอบว่าตนเองมีสิทธิ์เข้าถึงการสนับสนุนลูกค้าที่เหมาะสมจากทั้ง Stripe และ Google Pay ในกรณีที่พบปัญหาหรือมีคําถามทางเทคนิค รวมทั้งยืนยันว่าบัญชี Stripe รองรับสกุลเงินที่ตนเองวางแผนจะรับผ่าน Google Pay

เมื่อตรวจสอบข้อมูลเสร็จสิ้นแล้ว ธุรกิจก็สามารถดําเนินการขั้นตอนต่อไปนี้เพื่อตั้งค่า Google Pay กับ Stripe ได้

  • การเปิดใช้งานบัญชี: ลงทะเบียน Stripe และเปิดใช้งานบัญชีของคุณ ยืนยันว่าคุณมีสิทธิ์ที่เหมาะสมในการยอมรับ Google Pay ผ่าน Stripe

  • การกําหนดค่า Stripe Connect: กําหนดค่า Stripe Connect เพื่อเชื่อมโยงบัญชี Stripe กับบัญชีผู้ค้า Google Pay

  • การเชื่อมต่อการทํางาน Stripe API: เชื่อมต่อการทํางาน Stripe API เข้ากับแอปหรือเว็บไซต์ของคุณ เพื่อส่งคําขอให้ชําระเงินและรับการยืนยัน

  • ทดสอบการเชื่อมต่อการทํางาน: ทดสอบการเชื่อมต่อการทํางานของคุณอย่างละเอียดเพื่อการทํางานที่ราบรื่น

ตัวเลือกอื่นๆ นอกเหนือจาก Google Pay

ถึงแม้ว่า Google Pay จะเป็นตัวเลือกแถวหน้าในสภาพแวดล้อมการชําระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ แต่คู่แข่งหลายๆ รายก็มีฟังก์ชันที่คล้ายกันและเข้ามาชิงส่วนแบ่งตลาด ทางเลือกอื่นๆ นอกเหนือจาก Google Pay ที่ได้รับความนิยมสูงมีดังนี้

Apple Pay

บริการชําระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ด้วย Apple Pay เชื่อมต่อการทำงานกับอุปกรณ์ iOS, macOS และ watchOS รวมทั้งใช้ประโยชน์จากระบบนิเวศและฐานผู้ใช้ของ Apple ที่มีการทำงานอันดีเยี่ยม Apple Pay ครองตลาดในสหรัฐฯ ด้วยส่วนแบ่งตลาดกว่า 90% ในปี 2020 นอกจากนี้ แบรนด์และฐานลูกค้าที่ภักดีของ Apple ก็มีส่วนผลักดันให้เกิดการยอมรับและการใช้งานที่หลากหลาย Apple Pay ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง เช่น Touch ID และ Face ID เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นของผู้ใช้เพิ่มเติม อย่างไรก็ตาม จุดอ่อนของ Apple Pay คือการเข้าถึงที่ค่อนข้างจํากัดเมื่อเทียบกับการสนับสนุนแพลตฟอร์มในวงกว้างของ Google Pay เนื่องจากรองรับเฉพาะบนอุปกรณ์ Apple เท่านั้น นอกจากนี้ยังอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมที่สูงกว่าสําหรับธุรกิจในบางสถานการณ์ เมื่อเทียบกับ Google Pay

Samsung Pay

บริการชําระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และกระเป๋าเงินดิจิทัลของ Samsung Pay ใช้ได้กับอุปกรณ์ Android และอุปกรณ์สวมใส่ต่างๆ จาก Samsung และแบรนด์อื่นๆ Samsung Pay เป็นผู้เล่นรายใหญ่ในตลาดเกาหลีใต้และตลาดเอเชียอื่นๆ ซึ่งมีการใช้งานเป็นจำนวนมาก วิธีนี้สามารถใช้งานร่วมกับเทอร์มินัลการชําระเงินหลากหลายประเภท โดยสูงกว่ากระเป๋าเงินดิจิทัลอื่นๆ และสามารถเชื่อมต่อกับเทอร์มินัลที่ไม่รองรับ NFC ผ่านเทคโนโลยี Magnetic Secure Transmission (MST) Samsung Pay ยังมีโปรแกรมสะสมคะแนนที่หลากหลาย ซึ่งเสนอสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมให้แก่ผู้ใช้ จุดอ่อนของวิธีนี้คือการเข้าถึงที่จํากัดกว่า Google Pay และ Apple Pay เนื่องจากมีส่วนแบ่งตลาดทั่วโลกที่น้อยกว่า และข้อจํากัดในการใช้อุปกรณ์ Samsung และ Android

PayPal

PayPal เป็นแพลตฟอร์มการชําระเงินที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางจากธุรกิจออนไลน์และออฟไลน์ จึงทําให้เป็นตัวเลือกที่สะดวกสําหรับการซื้อหลากหลายประเภท PayPal มอบความสามารถในการเข้าถึงที่กว้างกว่าเมื่อเทียบกับกระเป๋าเงินที่ใช้ผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่เท่านั้น โดยวิธีนี้ใช้งานได้ทั้งบนเว็บไซต์และผ่านแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ บริษัทมีฐานผู้ใช้มากกว่า 400 ล้านคนทั่วโลก ทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายที่ครอบคลุมสำหรับธุรกรรมการชําระเงินที่สะดวกง่ายดาย นอกจากนี้ ยังให้บริการวิธีการชําระเงินที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงบัตรเครดิต บัตรเดบิต และบัญชีธนาคาร นอกเหนือจากฟังก์ชันกระเป๋าเงินดิจิทัล จุดอ่อนของวิธีนี้คือค่าธรรมเนียมที่อาจสูงกว่าสําหรับธุรกรรมบางรายการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับการชําระเงินระหว่างประเทศ นอกจากนี้ ลูกค้าบางรายอาจพบว่าอินเทอร์เฟซกระเป๋าเงินดิจิทัลของ PayPal ไม่ค่อยเป็นมิตรและใช้งานยากกว่าตัวเลือกอย่าง Google Pay

Venmo

Venmo คือแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งเน้นฟีเจอร์การชําระเงินแบบบุคคลถึงบุคคลและโซเชียล วิธีนี้รองรับการโอนเงินฟรีระหว่างผู้ใช้รายบุคคลและเชื่อมต่อกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียเช่น Facebook ดังนั้นจึงเป็นตัวเลือกยอดนิยมสําหรับการจัดการด้านการเงินส่วนบุคคล อย่างการแชร์ค่าใช้จ่ายหรือการหารบิลกับเพื่อนและครอบครัว แอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ของ Venmo นั้นใช้งานและเข้าถึงได้ง่าย แต่การยอมรับ Venmo ในหมู่ธุรกิจนั้นยังคงน้อยอยู่เมื่อเทียบกับกระเป๋าเงินดิจิทัลอื่นๆ โดยจํากัดเฉพาะการซื้อสินค้าในร้านเท่านั้น จุดอ่อนอื่นๆ ได้แก่ ความกังวลด้านความปลอดภัยที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับแพลตฟอร์มการชําระเงินดิจิทัลอื่นๆ ประวัติธุรกรรมที่เปิดเผยต่อสาธารณะของ Venmo ยังอาจทำให้ลูกค้าบางรายเลือกไม่ใช้ Venmo เพื่อทําธุรกรรมที่ละเอียดอ่อน

Cash App

Cash App คือแอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ให้บริการโอนเงินฟรี เชื่อมต่อการทํางานกับบิตคอยน์ และฟีเจอร์การลงทุน Cash App คล้ายกับ Venmo ที่ให้บริการโอนเงินฟรีระหว่างผู้ใช้ ดังนั้นจึงเป็นตัวเลือกยอดนิยมสําหรับการหารบิลและการจัดการการเงินส่วนบุคคล สําหรับผู้ใช้ที่สนใจในคริปโตเคอร์เรนซีและการลงทุน Cash App ยังให้บริการแพลตฟอร์มที่สะดวกและใช้งานง่ายสําหรับการซื้อและขายบิตคอยน์หรือลงทุนในหุ้นและกองทุนแลกเปลี่ยน (ETF) ซึ่งดึงดูดผู้ใช้ที่มองหาความหลากหลายในพอร์ตโฟลิโอทางการเงินของตน อินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่ายของ Cash App และความเข้ากันได้กับแพลตฟอร์มในวงกว้างทําให้ลูกค้าจํานวนมากเข้าถึงได้ อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ก็ยังได้รับการยอมรับจำกัดจากธุรกิจเช่นเดียวกับ Venmo เมื่อเทียบกับคู่แข่งอย่าง Google Pay และ Apple Pay และใช้ทำการซื้อสินค้าในร้านได้น้อยกว่า จุดอ่อนอื่นๆ นั้นรวมถึงข้อกังวลเกี่ยวกับกิจกรรมผิดกฎหมายบนแพลตฟอร์ม แม้ว่า Cash App จะนําฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยมาใช้งาน แต่ผู้ใช้บางรายก็แสดงความกังวลเกี่ยวกับความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและช่องโหว่ด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้น นอกจากนี้ ลูกค้ายังวิพากษ์วิจารณ์ประสบการณ์การสนับสนุนลูกค้าอันล่าช้าและไม่เป็นประโยชน์อีกด้วย

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Payments

Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด

Stripe Docs เกี่ยวกับ Payments

ค้นหาคู่มือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Payments API ของ Stripe