Ecommerce payments 101: How to stay competitive and drive more revenue

Payments
Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ธุรกิจสตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรใหญ่ระดับโลก

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. อีคอมเมิร์ซคืออะไร
  3. วิธีการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซคืออะไร
  4. วิธีการทํางานของการประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ
    1. การประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ: คำอธิบายทีละขั้นตอน
  5. วิธีเลือกผู้ให้บริการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ
  6. เคล็ดลับและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ

เมื่อธุรกิจเปลี่ยนไปเป็นทำการขายทางออนไลน์มากขึ้นเรื่อยๆ การชําระเงินในอีคอมเมิร์ซจึงได้กลายมาเป็นแง่มุมที่สําคัญในกลยุทธ์ดิจิทัล ตัวอย่างเช่น ตามรายงานล่าสุด คาดว่ายอดขายอีคอมเมิร์ซทั่วโลกจะมีมูลค่ารวม 5.9 ล้านล้านดอลลาร์ในปี 2023 นอกจากนี้ จากยอดขายปลีกทั่วโลกในปี 2023 คาดว่า 20.8% จะมาจากการซื้อของออนไลน์ การเติบโตอย่างต่อเนื่องของอีคอมเมิร์ซทำให้ธุรกิจต่างๆ ต้องยกระดับมาตรฐานและเรียกร้องให้ธุรกิจต่างๆ สร้างกลยุทธ์การชำระเงินในอีคอมเมิร์ซที่แข็งแกร่งซึ่งตอบสนองความต้องการและความชอบของลูกค้า

อย่างไรก็ตาม การรับมือกับโลกที่ซับซ้อนของการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซอาจเป็นเรื่องท้าทาย ตั้งแต่การเลือกวิธีชำระเงินที่ใช่ ไปจนถึงการตรวจสอบว่าการประมวลผลการชำระเงินมีความปลอดภัยและการปฏิบัติตามกฎระเบียบของอุตสาหกรรม มีปัจจัยมากมายที่ธุรกิจต้องพิจารณา และด้วยจำนวนผู้ให้บริการและแพลตฟอร์มที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ การเลือกว่าแพลตฟอร์มใดเหมาะกับธุรกิจของคุณที่สุดจึงอาจเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย

ด้านล่างนี้ เราจะสำรวจประเภทต่างๆ ของวิธีการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซ วิธีการทำงานของการประมวลผลการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซ ปัจจัยที่ต้องพิจารณาเมื่อเลือกวิธีการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสำหรับการดูแลรักษาและปรับแต่งการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซของคุณ ไม่ว่าคุณจะเป็นธุรกิจอีคอมเมิร์ซแห่งใหม่หรือเพียงแค่ต้องการปรับปรุงกลยุทธ์การชำระเงินเพื่อเติบโตและขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ นี่คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซเพื่อช่วยให้คุณประสบความสำเร็จ

บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

  • อีคอมเมิร์ซคืออะไร
  • วิธีการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซคืออะไร
  • วิธีการทํางานของการประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ
  • วิธีเลือกผู้ให้บริการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ
  • เคล็ดลับและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ

อีคอมเมิร์ซคืออะไร

อีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นคําศัพท์ที่มาจาก "การค้าอิเล็กทรอนิกส์" หมายถึงการซื้อและขายสินค้าและบริการทางออนไลน์ โดยประกอบด้วยธุรกรรมออนไลน์หลายประเภท รวมถึงการช็อปปิ้งออนไลน์ การชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์ การประมูลออนไลน์ และอื่นๆ อีกมากมาย อีคอมเมิร์ซเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยผู้บริโภคและธุรกิจต่างๆ หันมาใช้ธุรกรรมออนไลน์สําหรับทุกอย่าง ตั้งแต่สินค้าอุปโภคบริโภคไปจนถึงการสมัครใช้บริการซอฟต์แวร์แบบ B2B

วิธีการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซคืออะไร

ลูกค้าสามารถชําระค่าสินค้าและบริการได้หลายวิธีเมื่อซื้อสินค้าและบริการออนไลน์ วิธีชำระเงินอีคอมเมิร์ซมีตั้งแต่ตัวเลือกแบบดั้งเดิม เช่น บัตรเครดิตและบัตรเดบิต ไปจนถึงวิธีการชำระเงินทางเลือก เช่น กระเป๋าเงินดิจิทัล การชำระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ ตัวเลือกซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลัง (BNPL) และสกุลเงินดิจิทัล

ในการนําเสนอตัวเลือกการชําระเงินที่หลากหลายเพื่อรองรับความต้องการและความชอบของลูกค้า คุณจําเป็นต้องสร้างตัวตนอีคอมเมิร์ซที่ดึงดูดและปรับประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มอัตราการเปลี่ยนเป็นลูกค้าที่ชําระเงิน ธุรกิจต่างๆ จะต้องพิจารณาตัวเลือกอย่างรอบคอบเมื่อเลือกวิธีการชําระเงินสําหรับอีคอมเมิร์ซที่เหมาะสม ซึ่งมีจํานวนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการชําระเงินแบบอีคอมเมิร์ซ รวมถึงเคล็ดลับเกี่ยวกับวิธีการเลือกวิธีการชําระเงินที่ดีที่สุดสําหรับธุรกิจของคุณ โปรดดูคู่มือของเรา

วิธีการทํางานของการประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ

การประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซมีองค์ประกอบที่แตกต่างกันหลายอย่าง รวมถึงเกตเวย์การชําระเงิน ผู้ประมวลผลการชําระเงิน บัญชีผู้ค้า มาตรการป้องกันการฉ้อโกงและความปลอดภัย รวมถึงการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ องค์ประกอบเหล่านี้ทํางานร่วมกันเพื่อให้แน่ใจว่าการชําระเงินออนไลน์ได้รับการประมวลผลอย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ ธุรกิจสามารถลดความซับซ้อนของกระบวนการชำระเงินในอีคอมเมิร์ซและลดภาระให้ทีมงานภายในได้ด้วยการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการการประมวลผลการชำระเงิน เช่น Stripe ซึ่งโซลูชันการชำระเงินของ Stripe จะรวบรวมและทำให้ส่วนต่างๆ ของกระบวนการเหล่านี้เป็นระบบอัตโนมัติ

องค์ประกอบหลักของการประมวลผลการชําระเงินผ่านอีคอมเมิร์ซมีดังนี้

  • เกตเวย์การชําระเงิน
    เกตเวย์การชําระเงินคือแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ที่เชื่อมต่อเว็บไซต์ของร้านค้าออนไลน์กับระบบของผู้ประมวลผลการชําระเงิน วิธีนี้ช่วยให้ลูกค้าป้อนข้อมูลการชําระเงินได้อย่างปลอดภัยและอํานวยความสะดวกในการโอนข้อมูลการชําระเงินไปยังผู้ประมวลผลการชําระเงิน

  • ผู้ประมวลผลการชําระเงิน
    ผู้ประมวลผลการชําระเงินคือผู้ให้บริการบุคคลที่สามที่อํานวยความสะดวกให้กับการอนุมัติ การประมวลผล และการชําระเงินออนไลน์ โดยจะทํางานร่วมกับธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตของลูกค้าเพื่อยืนยันและอนุมัติการชําระเงิน แล้วชําระด้วยบัญชีธนาคารของผู้ค้า

  • บัญชีผู้ค้า
    บัญชีผู้ค้าเป็นบัญชีธนาคารประเภทหนึ่งที่ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ รับการชําระเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิตได้ โดยปกติแล้ว ผู้ให้บริการผู้ค้าหรือธนาคารจะเป็นผู้มอบบัญชีนี้ ซึ่งจําเป็นสําหรับธุรกิจที่ประมวลผลการชําระเงินออนไลน์

  • ระบบความปลอดภัยและการป้องกันการฉ้อโกง
    การประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซประกอบด้วยข้อมูลการชําระเงินที่ละเอียดอ่อนซึ่งต้องได้รับการปกป้องจากการเข้าถึงและการฉ้อโกงโดยไม่ได้รับอนุญาต เนื่องจากปริมาณการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นทั่วโลก ความจําเป็นที่จะต้องตรวจจับและป้องกันการฉ้อโกงอย่างมีประสิทธิภาพจึงเพิ่มขึ้นตามไปด้วย ด้วยเหตุนี้ ผู้ประมวลผลการชําระเงินจึงมักจะใช้มาตรการรักษาความปลอดภัย เช่น การเข้ารหัสและการแปลงเป็นโทเค็น เพื่อปกป้องข้อมูลการชําระเงินและป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกง

  • การปฏิบัติตามข้อกําหนด
    การประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซนั้นเป็นไปตามข้อกําหนดทางกฎหมายต่างๆ เช่น มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสําหรับอุตสาหกรรมบัตรชําระเงิน (PCI DSS) ซึ่งกําหนดมาตรฐานสําหรับการจัดการข้อมูลการชําระเงิน ผู้ประมวลผลการชําระเงินต้องตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ปฏิบัติตามข้อกําหนดเหล่านี้เพื่อรักษาความปลอดภัยและความถูกต้องสมบูรณ์ของการชําระเงินออนไลน์

องค์ประกอบของการประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซสามารถทํางานร่วมกันได้หลายวิธี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับวิธีที่ธุรกิจตั้งค่าไว้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจรายหนึ่งอาจเลือกที่จะทํางานร่วมกับผู้ให้บริการบุคคลที่สามและเครื่องมือที่พัฒนาขึ้นเองเพื่อรวมระบบประมวลผลการชําระเงินเข้าด้วยกัน ธุรกิจอื่นๆ อาจจับมือเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการชําระเงินที่ครอบคลุม เช่น Stripe ซึ่งมีฟังก์ชันการทํางานของเกตเวย์การชําระเงิน บัญชีผู้ค้า และผู้ประมวลผลการชําระเงินซึ่งมีระบบตรวจจับและป้องกันการฉ้อโกงในตัว

การประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ: คำอธิบายทีละขั้นตอน

การประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซเกี่ยวข้องกับหลายฝ่าย รวมถึงลูกค้า ร้านค้าออนไลน์ เกตเวย์การชําระเงิน และผู้ประมวลผลการชําระเงิน เมื่อเริ่มอธิบาย กระบวนการแบบทีละขั้นตอนอาจฟังดูซับซ้อน แต่ทุกส่วนได้รับการออกแบบมาเพื่อให้มั่นใจว่าการชําระเงินจะได้รับการอนุญาต อนุมัติ รวมทั้งชําระอย่างปลอดภัยและเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้

ต่อไปนี้คือรายละเอียดของขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ

  • ลูกค้าทำการสั่งซื้อ
    ลูกค้าค้นหาสินค้าในร้านค้าออนไลน์ เลือกผลิตภัณฑ์ที่ต้องการซื้อ และดําเนินการชําระเงิน

  • ลูกค้าป้อนข้อมูลการชําระเงิน
    เมื่อชําระเงิน ลูกค้าจะป้อนข้อมูลการชําระเงิน เช่น รายละเอียดของบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิต เข้าไปในเกตเวย์การชําระเงินที่ร้านค้าออนไลน์มอบให้

  • การอนุมัติการชําระเงิน
    เกตเวย์การชําระเงินจะส่งข้อมูลการชําระเงินไปให้ผู้ประมวลผลการชําระเงิน ซึ่งจะตรวจสอบข้อมูลกับธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตของลูกค้าเพื่อให้แน่ใจว่าจะอนุมัติการชําระเงินได้

  • การอนุมัติการชําระเงิน
    หากข้อมูลการชําระเงินได้รับการยืนยันและอนุมัติ ผู้ประมวลผลการชําระเงินจะส่งข้อความอนุมัติไปที่เกตเวย์การชําระเงิน ซึ่งจะแจ้งให้ร้านค้าออนไลน์ทราบว่าการชําระเงินดังกล่าวได้รับอนุมัติแล้ว

  • การยืนยันคําสั่งซื้อ
    เมื่อการชําระเงินได้รับอนุมัติ ร้านค้าออนไลน์จะยืนยันคําสั่งซื้อของลูกค้าและส่งข้อความยืนยันไปให้ลูกค้า

  • การชําระเงิน
    ผู้ประมวลผลการชําระเงินทำการชําระเงินให้เสร็จสิ้นกับบัญชีธนาคารของผู้ค้า ซึ่งปกติแล้วจะดําเนินการภายใน 2-3 วันทําการ

  • การกระทบยอดการชําระเงิน
    ร้านค้าออนไลน์จะกระทบยอดการชําระเงินกับคําสั่งซื้อและตรวจสอบให้แน่ใจว่าการชําระเงินตรงกับยอดของคําสั่งซื้อนั้น

วิธีเลือกผู้ให้บริการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ

เมื่อเลือกผู้ให้บริการชําระเงินอีคอมเมิร์ซที่เหมาะสมกับธุรกิจของคุณ โปรดสละเวลาพิจารณาตัวเลือกทั้งหมด เนื่องจากฟีเจอร์การชําระเงินเหล่านี้จําเป็นอย่างยิ่งต่อการมอบประสบการณ์การชําระเงินที่ราบรื่นและปลอดภัยให้แก่ลูกค้า

เราได้จัดทำคู่มือที่ครอบคลุมเกี่ยวกับวิธีเลือกผู้ให้บริการชําระเงินด้านอีคอมเมิร์ซ แต่ต่อไปนี้เป็นปัจจัยบางประการที่ควรพิจารณา

  • ระบุความต้องการด้านการชําระเงินของคุณ
    พิจารณาวิธีการชําระเงินที่คุณต้องการนําเสนอ เช่น คุณจะต้องการรองรับการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้าหรือการชําระเงินตามรอบบิล หรือต้องการรับการชําระเงินในหลายสกุลเงินหรือไม่

  • พิจารณาตลาดทั้งหมดที่ดําเนินธุรกิจอยู่ในปัจจุบัน และประเทศที่คุณต้องการจะเติบโต
    ธุรกิจที่ดําเนินงานในประเทศเดียวอาจต้องการการชําระเงินที่ง่ายกว่าบริษัทอีคอมเมิร์ซขนาดใหญ่ที่ดําเนินธุรกิจทั่วโลก ตั้งแต่สกุลเงินและวิธีการชำระเงินในพื้นที่ไปจนถึงข้อควรพิจารณาด้านการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล คุณจะต้องแน่ใจว่ากำลังทำงานร่วมกับผู้ให้บริการการชำระเงินที่สามารถรองรับความต้องการของคุณในทุกตลาด

  • ตรวจสอบความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกําหนด
    ธุรกิจที่รับการชําระเงินด้วยบัตรเครดิตจะต้องปฏิบัติตาม PCI DSS เพื่อปกป้องข้อมูลการชําระเงินของลูกค้าจากการฉ้อโกงและการขโมย นั่นหมายถึงการใช้การเข้ารหัสและมาตรการรักษาความปลอดภัยอื่นๆ ในการปกป้องข้อมูลของลูกค้า การทํางานร่วมกับผู้ให้บริการชําระเงินอย่าง Stripe ช่วยให้แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของคุณปฏิบัติตามข้อกําหนด PCI เสมอ และอาจช่วยคุณหลีกเลี่ยงบทลงโทษหรือค่าปรับ

  • ประเมินความสะดวกในการผสานการทํางาน
    ตั้งแต่การสนับสนุนการเรียกเก็บเงิน หน้าการชําระเงินในระบบ ไปจนถึงการชําระเงินที่ผสานรวมในตัว คุณควรทําความเข้าใจวิธีเริ่มต้นใช้งานและผสานการทํางานโซลูชันอีคอมเมิร์ซใหม่เข้ากับหน้าร้านดิจิทัลในปัจจุบันของคุณ ผู้ให้บริการอย่าง Stripe มีการผสานการทํางานที่ปรับแต่งได้ และ API ที่ยืดหยุ่นเพื่อมอบประสบการณ์ที่ปรับให้เหมาะกับคุณมากที่สุด

  • พิจารณาการสนับสนุนลูกค้า
    สิ่งสำคัญคือการทำงานร่วมกับผู้ให้บริการการชำระเงินที่มีบริการสนับสนุนลูกค้าที่ีรวดเร็วผ่านทางโทรศัพท์ อีเมล หรือการแชท หรือทั้งสามวิธี

เคล็ดลับและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซ

สําหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ กลยุทธ์ทุกกลยุทธ์ควรมุ่งเน้นไปที่วิธีเดียวกัน นั่นล่ะวิธีเพิ่มอัตราการเปลี่ยนเป็นลูกค้าและยอดขาย นอกจากจะเลือกผู้ให้บริการประมวลผลการชําระเงินที่เหมาะสมแล้ว ยังมีเคล็ดลับและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ธุรกิจต่างๆ อาจปฏิบัติตามเพื่อมอบประสบการณ์การชําระเงินที่เข้าใจง่าย ปลอดภัย และเป็นมิตรต่อการเปลี่ยนเป็นผู้ใช้แบบชําระเงินให้ลูกค้า ขณะเดียวกันก็ลดความเสี่ยงของการฉ้อโกงและการดึงเงินคืนให้น้อยที่สุดด้วย

ต่อไปนี้คือเคล็ดลับและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดบางประการเพื่อให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านการชําระเงินในอีคอมเมิร์ซได้

  • มอบตัวเลือกการชําระเงินที่หลากหลาย
    เพื่อรองรับความต้องการและความชอบที่หลากหลายของลูกค้า สิ่งสำคัญคือต้องเสนอตัวเลือกการชำระเงินที่หลากหลาย และใช้ประโยชน์จากข้อมูลการชำระเงินในอดีตและการวิจัยลูกค้าเพื่อให้แน่ใจว่าคุณเสนอวิธีการชำระเงินที่ถูกต้อง ตัวอย่างเช่น หากคุณขายเฟอร์นิเจอร์โดยกําหนดราคาที่สูงขึ้น ตัวเลือกซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลังอาจเป็นวิธีการชําระเงินที่จําเป็นสําหรับลูกค้าของคุณ

  • ใช้เกตเวย์การชําระเงินและบัญชีผู้ค้าที่น่าเชื่อถือ
    ความสามารถในการทําธุรกิจอีคอมเมิร์ซนั้นขึ้นอยู่กับการมีเกตเวย์การชําระเงินและบัญชีผู้ค้าที่น่าเชื่อถือ ปลอดภัย และใช้งานง่าย

  • เพิ่มประสิทธิภาพให้ขั้นตอนการชําระเงิน
    ขั้นตอนการชําระเงินเป็นช่วงเวลาสําคัญในประสบการณ์อีคอมเมิร์ซ กระบวนการชําระเงินที่ยุ่งยากหรือใช้เวลานานอาจทําให้รถเข็นถูกละทิ้งและสูญเสียยอดขายได้ ปรับปรุงกระบวนการชําระเงินโดยการลดจํานวนขั้นตอนและช่องข้อมูล เสนอตัวเลือกการชําระเงินสําหรับผู้ที่ไม่ได้ลงชื่อเข้าใช้ พร้อมทั้งแสดงคําแนะนําและคําติชมที่ชัดเจน

  • แจ้งนโยบายการชําระเงินอย่างชัดเจน
    โปรดแจ้งนโยบายการชําระเงินให้ลูกค้าเข้าใจอย่างชัดเจน เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความสับสนหรือการโต้แย้งการชําระเงิน ข้อมูลนี้อาจรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับวิธีการชำระเงินที่ได้รับการยอมรับ เวลาในการประมวลผลการชำระเงิน นโยบายการคืนเงินและการส่งคืน และค่าธรรมเนียมหรือค่าใช้จ่ายใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชำระเงิน การนำเสนอนโยบายการคืนเงินและการส่งคืนสินค้าที่ชัดเจน รวมทั้งทีมบริการลูกค้าที่ติดต่อได้ง่าย ยังถือเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดการดึงเงินคืนอีกด้วย

  • ติดตามตรวจสอบการฉ้อโกงและการดึงเงินคืน
    การติดตามตรวจสอบการดึงเงินคืนควรเป็นส่วนหนึ่งของแนวทางปฏิบัติด้านการชําระเงินภายใน การทำธุรกรรมฉ้อโกงและการดึงเงินคืนอาจก่อให้เกิดต้นทุนสูงสำหรับธุรกิจ ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะต้องตรวจสอบกิจกรรมที่น่าสงสัยและดำเนินขั้นตอนเชิงรุกเพื่อป้องกันการฉ้อโกง นำเครื่องมือตรวจจับการฉ้อโกงมาใช้ ตรวจสอบที่อยู่และตรวจสอบรหัสความปลอดภัยของบัตร และตอบกลับข้อโต้แย้งการดึงเงินคืนอย่างทันท่วงที นอกจากนี้ การติดตามแนวโน้มการฉ้อโกงและการดึงเงินคืนยังเป็นประโยชน์อีกด้วย มีฤดูกาลใดที่คุณสังเกตเห็นว่ามียอดขายสูงขึ้นหรือไม่ มีช่องทางการขายบางช่องทางที่มีความถี่ในการดึงเงินคืนสูงหรือไม่ การระบุแนวโน้มเหล่านี้จะช่วยให้คุณเข้าใจมากขึ้นว่าอาจต้องดําเนินการด้านใดเพิ่มเติม

  • ปรับปรุงประสบการณ์การชําระเงินอย่างต่อเนื่อง
    สุดท้า การประเมินและปรับปรุงประสบการณ์การชําระเงินให้กับลูกค้าอย่างต่อเนื่องถือเป็นสิ่งสำคัญ ขอความคิดเห็นจากลูกค้า ติดตามเมตริกหลักๆ เช่น อัตราการเปลี่ยนเป็นผู้ใช้แบบชําระเงินและระยะเวลาการทําธุรกรรม รวมทั้งใช้การปรับปรุงตามความคิดเห็นของลูกค้าและข้อมูลเชิงลึกของข้อมูล

หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ Stripe เพิ่มประสิทธิภาพให้การชําระเงินสําหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ โปรดเริ่มต้นที่นี่

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Payments

Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด

Stripe Docs เกี่ยวกับ Payments

ค้นหาคู่มือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Payments API ของ Stripe