การรับชําระเงินจากลูกค้าในเยอรมนีหมายถึงการเข้าถึงระบบเศรษฐกิจที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในยุโรป แต่การเจาะตลาดนี้ต้องอาศัยความเข้าใจอย่างละเอียดว่าลูกค้าในเยอรมนีจัดการกับการชําระเงินอย่างไร รวมถึงข้อบังคับและกฎหมายที่กำหนดแนวทางและข้อจำกัดสำหรับธุรกิจ
ในเนื้อหาถัดจากนี้ เราจะช่วยธุรกิจต่างๆ ตรวจสอบกลยุทธ์ที่สําคัญต่อการให้บริการชำระเงินอย่างประสบความสำเร็จในเยอรมนี
- เสนอวิธีการชําระเงินที่หลากหลาย
- ใช้มาตรการป้องกันการฉ้อโกงที่รัดกุม
- สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
รัฐของตลาด
เยอรมนีทรงอิทธิพลอย่างยิ่งในภาคธุรกิจการชําระเงินระหว่างประเทศ บทบาทของเยอรมนีในสหภาพยุโรป (EU) ตลอดจนเครือข่ายความร่วมมือทางการค้าที่กว้างขวางทําให้ประเทศนี้เป็นฟันเฟืองสำคัญของธุรกรรมทางการเงินทั่วโลก เมืองต่างๆ อย่างเช่นแฟรงก์เฟิร์ตทําหน้าที่เป็นศูนย์กลางทางการเงินของยุโรปและของโลก
หน่วยงานกํากับดูแลทางการเงินของรัฐบาลกลางหรือ BaFin ทำงานร่วมกับ German Bundesbank กํากับดูแลและควบคุมตลาดการเงินในเยอรมนี นอกจากนี้ยังมีการควบคุมดูแลของธนาคารกลางยุโรป ซึ่งคอยดูแลนโยบายการเงินและเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในยูโรโซนและกำกับดูแลธนาคารสําคัญโดยตรง ในขณะที่กรอบข้อบังคับของสหภาพยุโรปกําหนดเกณฑ์มาตรฐานสําหรับการชําระเงินและความเป็นส่วนตัวของผู้บริโภค เช่น กฎระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR) และคําสั่งว่าด้วยบริการชําระเงิน (PSD3)
สกุลเงินทางการของเยอรมนีคือยูโร ดังนั้นลูกค้าย่อมคาดหวังว่าจะเห็นราคาแสดงเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของตัวเอง และเมื่อเทียบกับหลายประเทศที่เปลี่ยนมาใช้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลอย่างรวดเร็วแล้ว เยอรมนีกลับพึ่งพาการใช้เงินสดมากกว่า ประกอบกับการชําระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่เพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ ทว่ามั่นคงและอีคอมเมิร์ซที่เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การชําระเงินในเยอรมนีเกิดการผสมผสานกันระหว่างวิธีการแบบเก่าและนวัตกรรมใหม่ การผสมผสานกันในลักษณะนี้ทำให้เยอรมนีสามารถกําหนดอนาคตของการชําระเงินทั่วโลก รวมทั้งเป็นต้นแบบและเวทีทดสอบเทคโนโลยีใหม่ๆ
วิธีการชําระเงิน
เยอรมนีใช้วิธีการชําระเงินที่หลากหลาย ต่อไปนี้คือรายละเอียดของวิธีการชําระเงินในตลาดนี้
การใช้งานในปัจจุบัน
สําหรับการชําระเงินแบบ B2C ที่จุดขาย บัตรเงินสดและบัตรเดบิตครองตลาดส่วนนี้ โดยธุรกรรมผ่านบัตรเดบิตมีมูลค่ารวมประมาณ 5.9 พันล้านดอลลาร์ในปี 2020 และมีการใช้บัตรเครดิตน้อยกว่าประเทศอื่นๆ ในยุโรปหลายประเทศ แต่เครือข่ายบัตร girocard เป็นวิธีการชําระเงินแบบไร้เงินสดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเยอรมนี
กระเป๋าเงินดิจิทัล รวมถึง PayPal ครองสัดส่วนมากที่สุดสำหรับธุรกรรมออนไลน์แบบ B2C โดยลูกค้าชาวเยอรมันกว่า 46% เลือกใช้ PayPal เมื่อซื้อผลิตภัณฑ์ทางออนไลน์ในปี 2022 ส่วนบริการชำระเงินแบบซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลัง (BNPL) ก็ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ โดยโซลูชันทั้งที่มีแบรนด์และไม่มีแบรนด์เข้ามามีบทบาทสำคัญ บริการต่างๆ เช่น Klarna เป็นโซลูชัน BNPL ที่มีแบรนด์ในเยอรมนี ส่วนวิธีการชำระเงินแบบ BNPL ที่ไม่มีแบรนด์ ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "การชําระเงินตามใบแจ้งหนี้" จะปรากฏอยู่ใต้ชื่อธุรกิจ ไม่ใช่ชื่อบริษัทที่ให้บริการ BNPL
วิธีการชําระเงินแบบ B2C ที่ได้รับความนิยมในเยอรมนี
- บัตรเดบิต (เช่น girocard)
- บัตรเครดิต
- การโอนเงินผ่านธนาคาร (เช่น การชําระเงินล่วงหน้า)
- กระเป๋าเงินดิจิทัล (เช่น PayPal)
- บริการ BNPL (เช่น Klarna และการชําระเงินตามใบแจ้งหนี้)
วิธีการชําระเงินแบบ B2B ที่ได้รับความนิยมในเยอรมนี
- การโอนเงินผ่านธนาคาร
- การหักบัญชีอัตโนมัติ (เช่น SEPA)
- บัตรเครดิต
- บริการ BNPL
แนวโน้มที่กําลังเกิดขึ้น
การช็อปปิ้งออนไลน์และการชําระเงินด้วยบัตรที่สะดวกขึ้นกำลังเปลี่ยนนิสัยการใช้เงินสดของลูกค้าในเยอรมนีไปอย่างช้าๆ และผลักดันให้ลูกค้าเหล่านี้หันมาใช้เงินสดร่วมกับการชำระเงินแบบดิจิทัลในสัดส่วนที่สมดุลกันมากขึ้น รายงาน Deutsche Bundesbank แสดงให้เห็นว่าชาวเยอรมันใช้ธนบัตรและเหรียญคิดเป็นสัดส่วน 58% ของการซื้อสินค้าและบริการในปี 2021 ซึ่งลดลงจาก 74% ในปี 2017 แม้ว่าบัตรเครดิตในเยอรมนีจะยังไม่ได้รับความนิยมเหมือนอย่างประเทศอื่น ๆ ในยุโรป แต่ก็มีการเปลี่ยนแปลงในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยการหมุนเวียนบัตรเดบิตสูงกว่าบัตรเครดิตเนื่องจากวัฒนธรรมของเยอรมนีที่ไม่ชอบการกู้ยืม แต่เมื่อการช็อปปิ้งออนไลน์แพร่หลายมากขึ้น ลูกค้าก็มีแนวโน้มที่จะหันมาใช้บัตรเครดิตมากขึ้นในการทำธุรกรรมเหล่านี้ นอกจากนี้ การชําระเงินแบบไร้สัมผัสและผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่กําลังเป็นที่นิยมมากขึ้นในหมู่ประชากรอายุน้อย
ความง่ายและความยุ่งยากในการเข้าสู่ตลาด
การเข้าสู่ตลาดแห่งใหม่จำเป็นต้องคํานึงถึงเรื่องภาษี การโต้แย้งการชําระเงิน การชําระเงินระหว่างประเทศ และระเบียบการรักษาความปลอดภัยที่แตกต่างกันไป ต่อไปนี้คือตัวอย่างสิ่งที่ธุรกิจควรคํานึงถึงเมื่อต้องการขยายธุรกิจไปยังประเทศเยอรมนี
การดึงเงินคืนและการโต้แย้งการชําระเงิน
การดึงเงินคืนเป็นกลไกที่ลูกค้าใช้โต้แย้งธุรกรรม และอาจทำให้ธุรกิจที่ประกอบกิจการในเยอรมนีประสบความท้าทายหลายอย่างเช่นเดียวกับการดําเนินธุรกิจในประเทศอื่นๆ หน่วยงานกํากับดูแลทางการเงินของรัฐบาลกลาง (BaFin) กําหนดแนวทางขึ้นมาโดยเฉพาะว่าธุรกิจควรจัดการธุรกรรมทางการเงิน รวมถึงการดึงเงินคืนอย่างไร นอกจากนี้ คําสั่งของสหภาพยุโรปก็มีบทบาทเช่นกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคําสั่งว่าด้วยบริการชําระเงิน 2 (PSD2) หากธุรกิจพิสูจน์ได้ว่ามีการตรวจสอบสิทธิ์ที่รัดกุม ก็มักจะส่งผลต่อผลลัพธ์ในการขอดึงเงินคืน
ธุรกิจและสถาบันการเงินต้องปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ ซึ่งอาจเข้มงวดกว่าประเทศอื่นๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบทางกฎหมาย ธุรกิจในเยอรมนีมักจะทำงานร่วมกับที่ปรึกษาทางกฎหมายที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องแนวทางของ BaFin อย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่ามีการปฏิบัติตามข้อกําหนดในท้องถิ่นเกี่ยวกับการดึงเงินคืนอย่างครบถ้วน
การชําระเงินระหว่างประเทศ
ไม่ว่าธุรกิจของคุณจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการรับชำระเงินที่จุดขายจากนักท่องเที่ยว การซื้อสินค้าอีคอมเมิร์ซจากต่างประเทศ หรือการชําระเงินแบบ B2B ในสกุลเงินต่างๆ หรือไม่ก็ตาม ต่อไปนี้คือข้อควรพิจารณาสําคัญในการรับชําระเงินระหว่างประเทศในเยอรมนี
การโอนเงินแบบ SEPA
ในฐานะสมาชิกของสหภาพยุโรป เยอรมนีอยู่ในเขตพื้นที่การชำระเงินที่ใช้สกุลเงินยูโร (SEPA) ซึ่งประกอบด้วยเยอรมนีและอีก 35 ประเทศ ทำให้โอนเงินภายในยุโรปได้อย่างรวดเร็วการแปลงสกุลเงิน
สําหรับธุรกรรมข้ามพรมแดน เช่น การโอนเงินระหว่างธนาคาร บัตรเครดิตและเดบิต และการชําระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่มีสกุลเงินอื่นๆ เข้ามาเกี่ยวข้อง ทั้งลูกค้าและธุรกิจจำเป็นต้องใช้บริการแปลงสกุลเงิน จึงมีแนวโน้มที่ค่าใช้จ่ายจะเพิ่มขึ้น ดังนั้น การแปลงสกุลเงินอาจส่งผลต่อผลกําไรของธุรกิจที่ทำธุรกรรมการค้าระหว่างประเทศ บริษัทบางแห่งเลือกใช้โซลูชันประกันความเสี่ยงแบบต่าง ๆ มาบรรเทาความเสี่ยงเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนที่ผันผวน และบางบริษัทอาจใช้สัญญาซื้อขายเงินตราต่างประเทศเพื่อล็อกอัตราแลกเปลี่ยนสําหรับธุรกรรมในอนาคตแพลตฟอร์มจากตลาดเกิดใหม่
เยอรมนีมีการโต้ตอบกับตลาดเกิดใหม่มากขึ้น เช่น จีน เห็นได้ชัดการเติบโตของแพลตฟอร์มการชําระเงินอย่าง Alipay และ WeChat Pay ในธุรกิจค้าปลีกของเยอรมนีที่ขับเคลื่อนโดยการท่องเที่ยวและการค้าระหว่างสองประเทศนี้เป็นหลัก แม้แพลตฟอร์มเหล่านี้จะเป็นของจีนอย่างเห็นได้ชัด แต่การคงอยู่ในเยอรมนีแสดงให้เห็นถึงระดับการทํางานร่วมกันของระบบการชําระเงินระหว่างประเทศ โดยเฉพาะในภาคธุรกิจค้าปลีกหน้าที่ในการรายงาน
การชําระเงินระหว่างประเทศ อยู่ภายใต้หน้าที่ในการรายงานตามกฎหมายเช่นกัน ตามกฎหมายการค้าและการชําระเงินต่างประเทศ (“Außenwirtschaftsverordnung” หรือ “AWV”) ธุรกิจต้องรายงานข้อมูลการโอนเงินระหว่างประเทศที่มีมูลค่าเกินกว่า12,500 ยูโร
ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
แนวทางการรักษาความปลอดภัย การปฏิบัติตามข้อกําหนด และข้อบังคับต่างๆ ของเยอรมนีถือว่าเข้มงวดกว่าตลาดอื่นๆ ทั้งในและนอกสหภาพยุโรป แม้ว่าสิ่งนี้อาจจะเป็นอุปสรรคสำหรับธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่ตลาดเยอรมนี แต่ในขณะเดียวกันก็สร้างความเชื่อมั่นในหมู่ผู้บริโภคและสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศในแง่ของเสถียรภาพและความปลอดภัย ต่อไปนี้คือสรุปข้อมูลการรักษาความปลอดภัยและข้อบังคับเกี่ยวกับการชําระเงิน ข้อมูล และการค้าในเยอรมนี
กฎหมายคุ้มครองข้อมูล
เยอรมนีปฏิบัติตาม Bundesdatenschutzgesetz (BDSG) และกฎหมายคุ้มครองข้อมูลแห่งชาติ รวมถึง GDPR ของสหภาพยุโรป GDPR กำหนดมาตรการที่เข้มงวดสําหรับการเก็บรวบรวม การจัดเก็บ และการประมวลผลข้อมูล การละเมิดข้อกำหนดเหล่านี้อาจทำให้ธุรกิจต้องเสียค่าปรับสูงถึง 20 ล้านยูโร หรือ 4% ของผลประกอบการทั่วโลก แล้วแต่ว่ากรณีใดสูงกว่ากันข้อบังคับด้านความปลอดภัยทางการเงิน
หน่วยงานกํากับดูแลทางการเงินของรัฐบาลกลาง (BaFin) ร่วมกับ Bundesbank กำกับดูแลผู้ให้บริการชําระเงินรวมถึงสถาบันการเงินอื่นๆ ผู้ให้บริการชําระเงินต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยบริการชําระเงิน (Zahlungsdiensteaufsichtsgesetz หรือ ZAG) เมื่อเร็วๆ นี้ BaFin ได้จัดทำข้อกําหนดขั้นต่ำสําหรับการบริหารความเสี่ยง (MaRisk) ขึ้นมาเพื่อให้ผู้ให้บริการชําระเงินนำไปใช้อ้างอิง ข้อกําหนดเหล่านี้ระบุมาตรการควบคุมความเสี่ยงที่ต้องได้รับการตรวจสอบจากสถาบันที่กำหนด การตรวจสอบสิทธิ์ลูกค้าแบบรัดกุมสําหรับธุรกรรมออนไลน์ต้องเป็นไปตามกฎ PSD2 ของสหภาพยุโรปกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
การคุ้มครองผู้บริโภคส่วนใหญ่อาศัยอำนาจของประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมนีและกฎหมายว่าด้วยการแข่งขันอย่างไม่เป็นธรรม (UWG) ระเบียบข้อบังคับเหล่านี้ระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับค่าบริการที่โปร่งใส สิทธิ์ในการถอนเงิน และการติดป้ายฉลากอย่างเหมาะสม โดยศูนย์ผู้บริโภค (Verbraucherzentralen) มีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้กฎหมายแนวทางสําหรับอีคอมเมิร์ซ
กฎหมายสื่อทางไกล (TMG) และประมวลกฎหมายแพ่งของเยอรมนีกํากับดูแลธุรกิจออนไลน์ โดยกําหนดมาตรฐานการเข้ารหัสสําหรับเกตเวย์การชําระเงินและออกประกาศที่ชัดเจนเกี่ยวกับข้อกําหนดและเงื่อนไข นโยบายการคืนสินค้า สินเชื่อสำหรับผู้บริโภค และค่าธรรมเนียมการจัดส่งโปรโตคอลระบุตัวตนดิจิทัล
ระบบ eID ของเยอรมนีที่เปิดใช้งานตามกฎระเบียบ eIDAS ใช้ฟีเจอร์ไบโอเมตริกในการระบุตัวตนสําหรับธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งรวมถึงการจดจําใบหน้า การสแกนลายนิ้วมือ และลายเซ็นดิจิทัลนโยบายการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ของรัฐบาล
สํานักงานความปลอดภัยด้านข้อมูล (BSI) ของรัฐบาลกลางกำหนดแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ซึ่งรวมถึงการใช้การเข้ารหัส ไฟร์วอลล์ และการปรับปรุงซอฟต์แวร์บ่อยๆ ธุรกิจต้องใช้ไฟร์วอลล์ตามแนวทางของ BSI เพื่อกรองข้อมูลการใช้งานบนเครือข่ายทั้งขาเข้าและขาออกระเบียบข้อบังคับเพื่อการป้องกันการฟอกเงิน
กฎหมายการฟอกเงิน (GwG)ของเยอรมนีกำหนดให้ต้องยืนยันตัวตนของลูกค้าอย่างเต็มรูปแบบ ธุรกิจจะต้องยื่นรายงานกิจกรรมที่น่าสงสัยกับหน่วยข้อมูลข่าวกรองทางการเงิน (FIU) และหากไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนดดังกล่าวอาจส่งผลให้ต้องเสียค่าปรับและถูกเพิกถอนใบอนุญาตข้อบังคับด้านการปฏิบัติตามข้อกําหนดทางการค้า
กฎหมายการค้าและการชําระเงินต่างประเทศกํากับดูแลการคว่ำบาตรทางการค้าร่วมกับระเบียบข้อบังคับของสหภาพยุโรปที่เกี่ยวข้องโดยตรง ส่วนประมวลระเบียบศุลกากรของสหภาพยุโรป (UCC) กำกับดูแลกฎระเบียบศุลกากรระหว่างประเทศ UCC ระบุข้อกำหนดเกี่ยวกับการจัดทำเอกสาร การจำแนกประเภทผลิตภัณฑ์ รวมทั้งมาตรการควบคุมการนําเข้าและส่งออก พร้อมกําหนดบทลงโทษสําหรับการไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบเทคโนโลยีตรวจจับการฉ้อโกง
อัลกอริทึมตรวจสอบติดตามธุรกรรมแบบเรียลไทม์ใช้แมชชีนเลิร์นนิงในการระบุรูปแบบที่น่าสงสัย กฎหมายการฟอกเงินและระเบียบข้อบังคับด้านการธนาคารกําหนดให้ธุรกิจต้องนําเทคโนโลยีที่เหมาะสมมาใช้ตรวจสอบติดตามธุรกรรมและตรวจจับการฉ้อโกงการเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับในอนาคต
การแก้ไขกฎหมาย GDPR กฎหมายป้องกันการฟอกเงิน และกฎหมายป้องกันอาชญากรรมอยู่ระหว่างการหารือกันอย่างต่อเนื่อง ทำให้ธุรกิจต้องทันต่อสถานการณ์และปรับเปลี่ยนมาตรการการปฏิบัติตามข้อกําหนดอยู่เสมอ
ปัจจัยหลักที่ช่วยให้ประสบความสําเร็จ
ระบบการชําระเงินในเยอรมนีมีความรัดกุมในหลายๆ ด้าน แต่ก็ประสบปัญหาหลายประการ ทั้งความเชื่องช้าทางเทคโนโลยี ไปจนถึงข้อกังวลเรื่องความปลอดภัยทางไซเบอร์ ธุรกิจที่ประสบความสําเร็จต้องแก้ไขปัญหาเหล่านี้โดยใช้วิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ที่ครอบคลุมหลายแง่มุม
วิธีการชําระเงินที่หลากหลาย
เยอรมนีนำโซลูชันการชําระเงินแบบดิจิทัลมาใช้งานช้าเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในยุโรป จากรายงานของ Bundesbank ในปี 2021 69% ชาวเยอรมันตั้งใจว่าจะใช้เงินสดต่อไป สําหรับธุรกรรมที่จุดขาย การยอมรับเงินสดจะช่วยให้ธุรกิจปิดการขายกับลูกค้าที่ไม่นิยมใช้วิธีการชําระเงินแบบอื่นๆ ส่วนวิธีการชำระเงินทางออนไลน์ที่มีตัวเลือกหลากหลายจะช่วยเพิ่มโอกาสให้ลูกค้าเจอวิธีการชําระเงินที่ต้องการมาตรการป้องกันการฉ้อโกงที่รัดกุม
แม้ว่าเยอรมนีจะเป็นหนึ่งในประเทศที่มีการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์แข็งแกร่งที่สุด ทว่าภัยคุกคามทางไซเบอร์ที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ ทําให้ระบบการชําระเงินอยู่ภายใต้แรงกดดันอย่างต่อเนื่อง การศึกษาของ Cybersecurity Ventures คาดการณ์ว่ามูลค่าความเสียหายจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ทั่วโลกจะอยู่ที่ 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐต่อปีภายในปี 2025 การใช้มาตรการป้องกันการฉ้อโกง เช่น 3D Secure และอัลกอริทึมของแมชชีนเลิร์นนิงจะช่วยธุรกิจยกระดับความสามารถในการตรวจจับการฉ้อโกงได้ข้อมูลระบุตัวตนของลูกค้าที่ได้รับการยืนยันอย่างรอบคอบ
การตรวจสอบตัวตนของลูกค้ายังช่วยปกป้องบริษัทจากธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกง การใช้บริการยืนยันที่อยู่ (AVS) และการตรวจสอบค่าการยืนยันบัตร (CVV) สามารถยืนยันความถูกต้องของธุรกรรมที่ไม่ได้แสดงบัตรจริงได้การสร้างความเชื่อมั่นในหมู่ลูกค้าท้องถิ่น
แม้ว่ากระบวนการจะล่าช้า แต่การจัดตั้งองค์กรในท้องถิ่นอาจเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจที่ต้องการขยายการดําเนินงานในเยอรมนีในวงกว้าง ในทางกลับกัน การเป็นพาร์ทเนอร์กับบริษัทท้องถิ่นเป็นวิธีที่รวดเร็วกว่าในการสร้างความไว้วางใจจากผู้ซื้อในประเทศ ในขณะเดียวกัน การแจ้งค่าบริการ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม ลําดับเวลา และนโยบายการยกเลิกล่วงหน้าจะช่วยให้ลูกค้ามีความมั่นใจในธุรกิจของคุณ
ประเด็นสำคัญ
ธุรกิจที่ดําเนินกิจการในเยอรมนีสามารถปรับปรุงประสบการณ์การชําระเงินของลูกค้าได้ด้วยกลยุทธ์ที่ครอบคลุมรอบด้านเพื่อรับมือกับความคาดหวังของลูกค้าและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ซึ่งรวมถึงการเสนอวิธีการชําระเงินที่หลากหลาย ยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัย และสร้างความไว้วางใจในหมู่ผู้บริโภค การดำเนินการเหล่านี้มีความซับซ้อนอย่างมากและจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์หลายอย่างที่ต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับตลาดเยอรมนีและลักษณะนิสัยของผู้บริโภค ต่อไปนี้คือสรุปข้อมูลอย่างคร่าวๆ พร้อมด้วยเคล็ดลับบางส่วนที่จะช่วยปรับปรุงกลยุทธ์ของคุณ
เสนอวิธีการชําระเงินที่หลากหลาย
ดำเนินงานให้เหนือกว่าข้อกำหนดพื้นฐาน
เสนอบริการกระเป๋าเงินดิจิทัลยอดนิยมอย่าง PayPal, Apple Pay และ Google Pay เป็นทางเลือกให้กับลูกค้า การเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ประมวลผลการชําระเงินช่วยให้เชื่อมต่อการทำงานได้ง่ายขึ้นรู้จักกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของคุณ แล้วมอบสิ่งที่ลูกค้าต้องการ
เสนอการชำระเงินตามใบแจ้งหนี้สําหรับธุรกรรมแบบ B2B หรือแผนผ่อนชําระสําหรับการซื้อจํานวนมาก แนะนำให้ใช้ผู้ให้บริการ BNPL เพื่อตอบสนองแนวโน้มที่กําลังเติบโตนี้ปรับกระบวนการชําระเงินให้เหมาะกับท้องถิ่น
แปลหน้าการชําระเงินและข้อความแสดงข้อผิดพลาดเป็นภาษาเยอรมัน แสดงราคาเป็นสกุลเงินยูโร และแสดงข้อมูลการแปลงสกุลเงินอย่างชัดเจน
ยกระดับมาตรการรักษาความปลอดภัย
ให้ความสําคัญกับการคุ้มครองข้อมูลเป็นอันดับแรก
ปฏิบัติตามข้อบังคับด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในเยอรมนีที่เข้มงวด เช่น GDPR นําเกตเวย์การชําระเงินที่ปลอดภัยมาใช้ รับประกันการปฏิบัติตามข้อกําหนดของ PCI และแจ้งแนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลอย่างโปร่งใสทําทุกวิถีทางเพื่อบรรเทาความเสี่ยงด้านการฉ้อโกง
ใช้เครื่องมือตรวจจับการฉ้อโกง ใช้การตรวจสอบสิทธิ์แบบ 3D Secure กับธุรกรรมออนไลน์ และจัดทําช่องทางการรายงานที่ชัดเจนสําหรับกิจกรรมที่น่าสงสัยสร้างความเชื่อมั่นด้วยการรับรองมาตรฐาน
แสดงสัญลักษณ์และใบรับรองมาตรฐานด้านความปลอดภัยบนเว็บไซต์ เช่น TÜV หรือ Trusted Shop เพื่อสร้างความมั่นใจให้ลูกค้า
สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
เลือกแนวทางปฏิบัติที่โปร่งใสที่สุดเท่าที่จะทําได้
แจ้งค่าบริการ ค่าธรรมเนียมธุรกรรม และนโยบายการยกเลิกล่วงหน้าให้ชัดเจน แจ้งขั้นตอนการชําระเงินและลําดับเวลาอย่างชัดเจนมอบการสนับสนุนส่วนบุคคลแก่ลูกค้าทุกที่ที่ทําได้
จัดหาตัวแทนบริการลูกค้าที่พูดภาษาเยอรมันและสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับการชําระเงินได้ทันทีและอย่างมีประสิทธิภาพติดต่อสื่อสารกันเป็นประจำในเชิงรุก
แจ้งลูกค้าเป็นประจำเกี่ยวกับตัวเลือกการชําระเงินใหม่ๆ การอัปเดตความปลอดภัย และการหยุดชะงักที่อาจเกิดขึ้น แนะนำให้จัดทำจดหมายข่าวหรือคําถามที่พบบ่อยเป็นภาษาเยอรมัน
เกี่ยวกับ Stripe
ตั้งแต่ Stripe เริ่มให้บริการในเยอรมนีในปี 2017 ธุรกิจสตาร์ทอัพและองค์กรขนาดใหญ่ ซึ่งรวมถึง Axel Springer, SHARE NOW และ Avocadostore ได้ใช้ซอฟต์แวร์ Stripe เพื่อรับชําระเงินและจัดการธุรกิจทางออนไลน์
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ