การขยายธุรกิจเข้าสู่ญี่ปุ่นหมายถึงการเข้าสู่ตลาดอีคอมเมิร์ซที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยตลาดการค้าแบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) มีมูลค่ากว่า 420 ล้านล้านเยน และตลาดแบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) มีมูลค่ากว่า 22.7 ล้านล้านเยนในปี 2022 อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานในญี่ปุ่นจําเป็นต้องใช้ความเข้าใจเกี่ยวกับความนิยมด้านการชําระเงินท้องถิ่น ค่านิยมทางวัฒนธรรม รวมถึงระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการชําระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์และการคุ้มครองข้อมูล
เราสามารถช่วยให้ธุรกิจที่สนใจในตลาดของญี่ปุ่นพิจารณาเกี่ยวกับปัจจัยสําคัญต่างๆ ด้านล่างนี้
- สร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมและประเพณี
- เสริมสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัย
- สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าในท้องถิ่น
สถานการณ์ในตลาด
แม้ว่าญี่ปุ่นจะใช้วิธีการชําระเงินระหว่างประเทศหลายวิธี เช่น Apple Pay และ Google Pay แต่วิธีการชําระเงินในท้องถิ่นยังเป็นที่นิยมในหมู่ลูกค้าและธุรกิจในญี่ปุ่น แม้จะมีการผสมผสานวิธีการทางธนาคารแบบเดิมๆ เข้ากับโซลูชันการชําระเงินดิจิทัล และลูกค้าในญี่ปุ่นยังใช้เงินสดกันเป็นจำนวนมาก แต่การใช้การชําระเงินแบบไร้สัมผัสและกระเป๋าเงินดิจิทัล ก็เพิ่มขึ้นด้วย การผสมผสานนี้ในญี่ปุ่นทําให้เกิดโอกาสและความท้าทายเฉพาะตัวสําหรับธุรกิจที่กําลังคิดจะขยายไปสู่ภูมิภาคนี้
บริบททางกฎหมายของญี่ปุ่นก็เป็นลักษณะเฉพาะของวัฒนธรรมการชําระเงินอีกอย่างหนึ่ง โดยมีหลายองค์กรที่ดูแลภาคธุรกิจการเงินของญี่ปุ่นอย่างใกล้ชิด ไม่ว่าจะเป็น Financial Services Agency (FSA) ที่ดูแลบริการทางการเงิน ตั้งแต่ภาคการธนาคาร หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ตลอดจนภาคธุรกิจประกันภัย และกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรม (METI) ที่กำกับดูแลการชําระเงินด้วยบัตร
วิธีการชําระเงิน
ระบบการชําระเงินในญี่ปุ่นมีวิธีการชําระเงินในท้องถิ่นที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงเครือข่ายบัตรเครดิตที่มีมาอย่างยาวนานและแพลตฟอร์มรหัส QR ที่ล้ำหน้า เรามาดูวิธีการชําระเงินยอดนิยม 5 วิธีในญี่ปุ่นกัน
การใช้งานในปัจจุบัน
เงินสดยังคงเป็นวิธีการชำระเงินที่ใช้กันอย่างเป็นกิจวัตรในสังคมญี่ปุ่น โดยกระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่นรายงานว่ามีเพียง 36% ของการชําระเงินเท่านั้นที่เป็นแบบไร้เงินสดในปี 2022 วิธีการชําระเงินต่างๆ เช่น Konbini มอบบริการที่ครบวงจรสําหรับผู้ที่ซื้อสินค้าทางออนไลน์แต่ชอบจ่ายเป็นเงินสด โดยให้ลูกค้าชําระเงินจากการซื้ออีคอมเมิร์ซด้วยเงินสดที่ร้านสะดวกซื้อในพื้นที่
รัฐบาลญี่ปุ่นได้ส่งเสริมการชําระเงินแบบไร้เงินสดอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีนักท่องเที่ยวต่างชาติจํานวนมากขึ้น ถึงแม้ประชากรผู้สูงอายุยังคงใช้เงินสดเป็นหลัก แต่ไม่ใช่แค่คนยุคมิลเลนเนียลเท่านั้นที่เลือกใช้วิธีการชําระเงินแบบไร้เงินสด จากแบบสํารวจปี 2022 ผู้บริโภคชาวญี่ปุ่น 39% ใน 50 คน ใช้การชําระเงินแบบไร้เงินสดทุกครั้งที่ทําได้ ในขณะที่ 13% ใช้เงินสดเพียงอย่างเดียว
แม้มักจะมีการใช้เงินสดทําธุรกรรมในแต่ละวัน แต่การใช้บัตรเครดิตก็มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภาคธุรกิจต่างๆ อย่างการช็อปปิ้งออนไลน์ การเดินทาง และร้านอาหาร ธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตที่เพิ่มขึ้นเกือบ 13% ตั้งแต่ปี2022 ถึง 2023 สะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของความต้องการด้านการชำระเงินของผู้บริโภค การชําระเงินแบบไร้สัมผัสก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในแอปการชําระเงินผ่านอุปกรณ์เคลื่อนที่ของท้องถิ่น อย่าง LINE Pay และ Rakuten Pay โดยในช่วงปี 2024 ถึง 2025 คาดว่าทั้งสองวิธีนี้จะมีฐานผู้ใช้เพิ่มขึ้น 8% ถึง 6% ตามลำดับ
วิธีการชําระเงินแบบ B2C ที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น
- บัตรเครดิตและบัตรเดบิต
- Konbini
- กระเป๋าเงินดิจิทัล (เช่น PayPay)
- การโอนเงินผ่านธนาคาร (เช่น Furikomi)
วิธีการชําระเงินแบบ B2B ที่ได้รับความนิยมในญี่ปุ่น
- การโอนเงินผ่านธนาคาร (เช่น Furikomi)
- การหักบัญชีอัตโนมัติ
- บัตรเครดิต
แนวโน้มใหม่
แพลตฟอร์มต่างๆ อย่าง PayPay กำลังนําการชําระเงินด้วยรหัส QR เข้าสู่กระแสหลักในญี่ปุ่น โดยจะช่วยให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการได้ด้วยการโอนเงินที่รวดเร็ว จํานวนผู้ใช้บริการชําระเงินด้วยรหัส QR ที่ใช้งานอยู่เพิ่มขึ้นเกือบ 15 ล้านคนจากปี 2022 ถึง 2023 โดยมีจำนวนรวมทั้งหมดประมาณ 75.6 ล้านคน การชําระเงินด้วยรหัส QR มีอัตราการใช้งานสูงกว่าวิธีการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แบบเติมเงินล่วงหน้า เช่น บัตรสําหรับเดินทาง เป็นครั้งแรกในปี 2022
ในปี 2017 ญี่ปุ่นยอมรับบิตคอยน์เป็นรูปแบบการชำระเงินที่ถูกกฎหมาย ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่ทำเช่นนี้ ทำให้มีการใช้คริปโตเคอร์เรนซีมากขึ้นนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ภายในปี 2022 มีบัญชีสินทรัพย์คริปโตที่ใช้งานอยู่ประมาณ 3.7 ล้านบัญชีในญี่ปุ่น ถึงแม้จะยังไม่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในฐานะรูปแบบการชําระเงินก็ตาม FSA กำหนดให้การแลกเปลี่ยนสกุลเงินคริปโตเคอร์เรนซีต้องได้รับการจดทะเบียนและรักษามาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวด รวมถึงยังกำหนดเกณฑ์สูงสุดสำหรับเลเวเรจในการทำผลกำไรคริปโตเคอร์เรนซีด้วย
ความง่ายและความยากในการเข้าสู่ตลาด
การเข้าสู่ตลาดในญี่ปุ่นต้องใช้กลยุทธ์ในการจัดการทุกอย่างตั้งแต่การเก็บภาษี ไปจนถึงการรับการชําระเงินระหว่างประเทศ เพื่อปฏิบัติตามภาระหน้าที่ทางกฎหมายเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยด้านการชําระเงิน ต่อไปนี้คือปัจจัยสําคัญที่ควรพิจารณา
ภาษี
ธุรกิจในญี่ปุ่นจะต้องเสียภาษีการบริโภคซึ่งคล้ายกับภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในหลายๆ ประเทศ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2019 เป็นต้นไป อัตราภาษีการบริโภคของญี่ปุ่นจะเพิ่มขึ้นเป็น 10% สําหรับสินค้าและบริการส่วนใหญ่ โดยมีข้อยกเว้นบางประการ เช่น อาหาร ที่คิดภาษี 8% แม้ผู้บริโภคจะมีหน้าที่รับผิดชอบในการจ่ายภาษีประเภทนี้ทันที แต่ธุรกิจต่างๆ ต้องเรียกเก็บและนําส่งภาษีให้กับรัฐบาล ซึ่งระบบใบแจ้งหนี้ของญี่ปุ่น จะช่วยให้ธุรกิจที่จ่ายภาษีการบริโภคได้รับเครดิตภาษีการซื้อที่เหมาะสม และ Stripe Invoicing จะช่วยให้กระบวนการออกใบแจ้งหนี้นี้ง่ายขึ้น ธุรกิจอาจถูกปรับได้หากไม่เรียกเก็บและรายงานจํานวนภาษีดังกล่าวอย่างถูกต้อง
การดึงเงินคืนและการโต้แย้งการชําระเงิน
กระบวนการการดึงเงินคืนและการโต้แย้งการชําระเงินของญี่ปุ่นนั้นมีผลมาจากข้อพิจารณาทางวัฒนธรรมและมาตรการทางกฎหมายที่เฉพาะเจาะจง กฎหมายสัญญาผู้บริโภคเป็นตัวกำหนดมาตรการป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงและไม่ได้รับอนุญาต หากผู้บริโภคพบการเรียกเก็บเงินที่ไม่ได้รับอนุญาตในบัญชีของตัวเอง ผู้บริโภคสามารถโต้แย้งการชําระเงินได้ และธุรกิจจะต้องส่งหลักฐานที่แสดงว่าธุรกรรมนั้นถูกต้องโดยทันที
ญี่ปุ่นมีโมเดลที่เน้นผู้บริโภคเป็นศูนย์กลางซึ่งคล้ายกับหลายประเทศในยุโรป ธุรกิจที่ดําเนินงานในญี่ปุ่นควรเตรียมพร้อมสําหรับกลไกนี้ และตระหนักถึงความสําคัญของการยืนยันธุรกรรม การทําบันทึกข้อมูลที่ละเอียดรอบคอบ และการรับมือกับการโต้แย้งการชําระเงินที่รวดเร็ว แม้ว่าบริษัทบัตรเครดิตจะมีหน้าที่จัดการการดึงเงินคืน แต่ญี่ปุ่นยังมีหน่วยงานอิสระชื่อว่า Japan Consumer Credit Association ซึ่งเกี่ยวข้องกับการแก้ไขการโต้แย้งการชําระเงินที่ซับซ้อนมากขึ้น รวมถึง Consumer Affairs Agency ด้วย โดยทั่วไปแล้ว บริษัทผู้ออกบัตรในญี่ปุ่นจะออกการดึงเงินคืนช้ากว่าเมื่อเทียบกับบริษัทผู้ออกบัตรในประเทศอื่นๆ ทำให้จัดการได้ละเอียดกว่าแม้มักจะมีการดึงเงินคืนน้อย
การชําระเงินระหว่างประเทศ
ความสามารถในการรับชําระเงินข้ามพรมแดนมีความสําคัญมากขึ้นทั้งสําหรับการขายแบบ B2B และ B2C ในญี่ปุ่น เนื่องจากมีอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่แข็งแรงและเชื่อมโยงกับตลาดระหว่างประเทศอย่างมาก ต่อไปนี้คือปัจจัยสําคัญที่ควรพิจารณาสําหรับการชําระเงินระหว่างประเทศ
มาตรฐานระดับโลก
ในด้านธุรกรรมระหว่างประเทศ ญี่ปุ่นปฏิบัติตามมาตรฐานสากล เช่น กรอบ Basel III สําหรับการกํากับดูแลการธนาคาร และปฏิบัติตามคําแนะนําจากหน่วยงานระหว่างประเทศ เช่น Financial Action Task Force (FATF) เพื่อต่อต้านการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้ายการแปลงสกุลเงิน
การแปลงสกุลเงินในญี่ปุ่นเกิดขึ้นในหลายสถานการณ์ ตั้งแต่ธุรกรรม B2B ขนาดใหญ่ ไปจนถึงการซื้อแบบรายบุคคลจากนักท่องเที่ยว ธนาคารและสถาบันการเงินในญี่ปุ่นใช้ Tokyo Interbank Offered Rate (TIBOR) เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงธุรกรรมระหว่างธนาคาร บริการแปลงสกุลเงินอื่นๆ จะใช้ TIBOR เป็นมาตรฐาน แต่อัตราการแลกเปลี่ยนที่เรียกเก็บจากผู้บริโภคมักจะเป็นราคารวมส่วนเพิ่มจากผู้ให้บริการแล้ว โดยธนาคารและสถาบันการเงินต่อไปนี้คือผู้ให้บริการแปลงสกุลเงินรายใหญ่ในญี่ปุ่น Mitsubishi UFJ Financial Group (MUFG), Sumitomo Mitsui Banking Corporation (SMBC) และ Nomuraแพลตฟอร์มจากตลาดเกิดใหม่
สําหรับธุรกิจที่จําหน่ายสินค้าให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาเที่ยวญี่ปุ่นหรือลูกค้าอีคอมเมิร์ซ ในประเทศอื่นๆ การรับวิธีการชําระเงินยอดนิยมจากตลาดภายนอก เช่น WeChat Pay ก็จะช่วยลดอุปสรรคในขั้นตอนการชําระเงินได้
ความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัว
การชําระเงินในญี่ปุ่นมีระเบียบข้อบังคับและระเบียบการทางกฎหมายจำนวนมาก แม้มาตรการเหล่านี้อาจเพิ่มอุปสรรคให้แก่ธุรกิจของคุณ แต่การมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดด้านการชําระเงินจะเป็นตัวเสริมสร้างความเชื่อมั่นของผู้บริโภคต่อบริษัทของคุณได้ ต่อไปนี้คือระเบียบข้อบังคับและแนวทางอุตสาหกรรมที่ควรพิจารณา
กฎหมายบริการชําระเงิน
กฎหมายว่าด้วยการขายแบบผ่อนชําระระบุถึงภาระหน้าที่ของธุรกิจบนอินเทอร์เน็ตในญี่ปุ่นที่รับการชําระเงินผ่านบัตรเครดิต ซึ่งเป็นการจัดการข้อมูลบัตรของลูกค้าอย่างปลอดภัย กฎหมายว่าด้วยบริการชําระเงิน ซึ่งบังคับใช้ครั้งแรกในปี 2009 จะช่วยควบคุมเงินและบริการชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์ โดยเป็นตัวกำหนดมาตรฐานและระเบียบข้อบังคับใหม่สําหรับบริษัทผู้ออกเงินอิเล็กทรอนิกส์และบริการคริปโตกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค
กฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางการค้าเฉพาะกลุ่ม จะบังคับใช้กับธุรกิจที่ให้บริการผู้บริโภค และมีจุดมุ่งหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคโดยห้ามไม่ให้มีการบิดเบือนราคาและเงื่อนไขการชําระเงินกฎหมายป้องกันการฟอกเงิน (AML)
พระราชบัญญัติว่าด้วยการป้องกันการโอนเงินที่ได้มาจากอาชญากรรม ได้รับการร่างขึ้นมาเพื่อป้องกันการฟอกเงินและการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย โดยบังคับใช้กับบริการทางการเงินบางอย่าง กำหนดให้ใช้กระบวนการระบุตัวตนของลูกค้าอย่างเข้มงวด และกําหนดให้สถาบันการเงินต้องรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัยทุกรายการไปยังหน่วยงานกฎหมายคุ้มครองข้อมูล
กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล จะควบคุมการใช้และจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลโดยธุรกิจ ซึ่งกำหนดให้บริษัทใช้มาตรการที่จําเป็นเพื่อป้องกันการรั่วไหลและความเสียหายของข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้นเทคโนโลยีตรวจจับการฉ้อโกง
ขณะนี้มีการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น แมชชีนเลิร์นนิง ซึ่งเป็นสาขาย่อยของปัญญาประดิษฐ์ (AI) และการยืนยันตัวตนแบบ 3D Secure เพื่อระบุรูปแบบและลักษณะผิดปกติแบบเรียลไทม์ที่บ่งชี้พฤติกรรมที่เป็นการฉ้อโกง ธุรกิจในญี่ปุ่นจําเป็นต้องเปิดใช้การยืนยันตัวตนแบบ 3D Secure สําหรับธุรกรรมออนไลน์ภายในเดือนมีนาคม 2025
ปัจจัยหลักที่ช่วยให้ประสบความสําเร็จ
การผสมผสานระหว่างประเพณี นวัตกรรม พฤติกรรมของผู้บริโภค และการควบคุมดูแลทางกฎหมายคือตัวหนดทิศทางของระบบการชําระเงินในญี่ปุ่น ซึ่งแม้จะมีความทันสมัยในหลายๆ แง่มุม แต่การเปิดรับเทคโนโลยีที่ช้านั้นก่อให้เกิดความท้าทายในหลายๆ ภาคส่วน การสร้างธุรกิจที่ประสบความสําเร็จในญี่ปุ่นได้นั้นต้องใช้การแก้ไขปัญหาเหล่านี้ก่อน โดยมีหลายวิธีการ ดังนี้
มอบตัวเลือกการชําระเงินที่เน้นเงินสด
แม้ทั่วโลกมีแนวโน้มการใช้ธุรกรรมแบบไร้เงินสด แต่ญี่ปุ่นก็ยังคงใช้เงินสดอยู่ ธุรกรรมที่ใช้เงินสดยังคงมีอัตราส่วนประมาณ 64% ของการชำระเงินทั้งหมดในปี 2022 การรับเงินสดสําหรับการซื้อที่จุดขายและการชําระเงินผ่าน Konbini สําหรับธุรกรรมออนไลน์จะช่วยให้ธุรกิจปิดการขายกับลูกค้าที่ไม่ชอบใช้วิธีการชำระเงินแบบดิจิทัลได้สร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภค
วัฒนธรรมของญี่ปุ่นให้ความสำคัญต่อความเชื่อมั่นและชื่อเสียงเป็นอย่างมาก การแสดงคำแปลภาษาญี่ปุ่นคุณภาพสูงบนเว็บไซต์ การจัดการกับการโต้แย้งการชําระเงินอย่างรวดเร็ว และการเสนอบริการลูกค้าที่เยี่ยมยอดจะช่วยเพิ่มชื่อเสียงของธุรกิจ และช่วยให้คุณได้รับความภักดีจากลูกค้าในระยะยาวปฏิบัติตามข้อกําหนดที่เข้มงวด
ธุรกิจที่ปฏิบัติตามกฎระเบียบเฉพาะของญี่ปุ่น เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลและกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางการค้าเฉพาะกลุ่ม ถือเป็นธุรกิจที่มุ่งมั่นต่อการดำเนินงานที่ถูกกฎหมาย อีกทั้งยังช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นของลูกค้าด้วยใช้แนวทางปฏิบัติด้านการรักษาความปลอดภัยที่เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
การละเมิดการรักษาความปลอดภัยทางไซเบอร์ที่เข้มงวดจำนวนมากส่งผลกระทบต่อระบบการชําระเงินของญี่ปุ่น และสํานักงานตํารวจแห่งชาติรายงานว่าอาชญากรไซเบอร์มีอัตราสูงสุดเท่าที่เคยมีมา ในปี 2022 โดยเฉพาะการโจมตีผ่านแรนซัมแวร์ ดังนั้น การใช้ระเบียบการรักษาความปลอดภัยที่เป็นปัจจุบันอย่างต่อเนื่องสามารถลดการฉ้อโกงและความเสี่ยงจากอาชญากรรมทางไซเบอร์ได้
ประเด็นสำคัญ
การรองรับวิธีการชําระเงินแบบเดิมที่เน้นระเบียบการรักษาความปลอดภัยด้านการชําระเงินและข้อมูล รวมถึงการปรับระบบการชําระเงินแต่ละด้านให้เข้ากับลูกค้าท้องถิ่นถือเป็นแง่มุมที่สําคัญที่ต้องพิจารณาเมื่อต้องการขยายธุรกิจไปยังญี่ปุ่น วิธีกําหนดวิสัยทัศน์เชิงกลยุทธ์ในญี่ปุ่นสรุปได้ดังนี้
สร้างสมดุลระหว่างนวัตกรรมและประเพณี
รองรับฐานลูกค้าที่ใช้เงินสด
แม้ทั่วโลกจะเปลี่ยนมาใช้การชําระเงินแบบดิจิทัล แต่ผู้บริโภคในญี่ปุ่นหลายรายก็ยังต้องการใช้เงินสดอยู่ และเพื่อตอบโจทย์ความต้องการนี้ คุณควรรวมตัวเลือก Konbini สำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์เพิ่มประสิทธิภาพให้กระบวนการชําระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
เมื่อปริมาณการซื้อผ่านสมาร์ทโฟนเติบโตขึ้นในญี่ปุ่น คุณควรปรับประสบการณ์การชําระเงินบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ให้เหมาะกับการขายบนอีคอมเมิร์ซ และรวมการชําระเงินด้วยกระเป๋าเงินดิจิทัลไว้เป็นตัวเลือกในขั้นตอนการชําระเงินใช้รหัส QR
ใช้รหัส QR เพื่อการชําระเงินที่รวดเร็วและไร้สัมผัสผ่านแพลตฟอร์มการชําระเงินยอดนิยมอย่าง PayPay
เสริมสร้างมาตรการรักษาความปลอดภัย
ให้ความสําคัญกับการคุ้มครองข้อมูลเป็นอันดับแรก
ปฏิบัติตามกฎระเบียบด้านความเป็นส่วนตัวของข้อมูลในญี่ปุ่น เช่น กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ใช้เกตเวย์การชําระเงิน และปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัยข้อมูลสําหรับอุตสาหกรรมบัตรชําระเงิน (PCI DSS)ใช้มาตรการป้องกันแรนซัมแวร์
สํารองข้อมูลในไฟล์ที่สําคัญอยู่เป็นประจํา เชื่อมต่องานเกตเวย์ความปลอดภัยบนอินเทอร์เน็ต และเปิดใช้การตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัยในระดับบริษัทตรวจจับและป้องกันการฉ้อโกงด้านการชําระเงินให้มากที่สุด
ใช้เครื่องมือตรวจจับการฉ้อโกง ใช้การยืนยันตัวตนแบบ 3D Secure กับธุรกรรมออนไลน์ และจัดทําช่องทางการรายงานที่ชัดเจนสําหรับกิจกรรมที่น่าสงสัย
สร้างความเชื่อมั่นในหมู่ลูกค้าท้องถิ่น
เชื่อมต่อกับวิธีการชําระเงินในประเทศ
เป็นพาร์ทเนอร์กับแพลตฟอร์มการชําระเงินรายใหญ่ในประเทศอย่าง PayPay และ LINE Pay เพื่อช่วยให้การทําธุรกรรมสะดวกสําหรับลูกค้าในประเทศมากขึ้นสร้างอินเทอร์เฟซออนไลน์แปลเป็นภาษาท้องถิ่น
สร้างความเชื่อมั่นและมอบประสบการณ์การชําระเงินที่ง่ายดายให้กับลูกค้าในญี่ปุ่นโดยใช้อินเทอร์เฟซการชําระเงินเป็นภาษาญี่ปุ่นมุ่งเน้นที่การสนับสนุนลูกค้า
ญี่ปุ่นให้ความสําคัญต่อการบริการเป็นพิเศษ ทำให้จำเป็นต้องมอบบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยมมากกว่าปกติ คุณจึงควรเสนอความช่วยเหลือแบบเรียลไทม์ โดยเฉพาะในกระบวนการชําระเงิน
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ดำเนินงานในเขตอํานาจศาลของคุณเพื่อรับคําแนะนําเกี่ยวกับสถานการณ์เฉพาะ
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ