ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับ 3D Secure: สิ่งที่ธุรกิจต้องรู้

Payments
Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ธุรกิจสตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรใหญ่ระดับโลก

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. 3D Secure คืออะไร
  3. 3D Secure ทํางานอย่างไร
    1. การเริ่มต้นธุรกรรม
    2. คําขอตรวจสอบสิทธิ์
    3. ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์
    4. การยืนยันหรือการปฏิเสธ
    5. ธุรกรรมเสร็จสิ้น
  4. 3D Secure 1 เทียบกับ 3D Secure 2
    1. ประสบการณ์ของลูกค้า
    2. การผสานการทํางานกับอุปกรณ์เคลื่อนที่
    3. จุดข้อมูล
    4. ขั้นตอนที่ราบรื่น
    5. ขอบเขตธุรกรรม
    6. ข้อบังคับและการปฏิบัติตามข้อกําหนด
    7. การสื่อสารกับบริษัทผู้ออกบัตรและธุรกิจ
  5. ประโยชน์ของการติดตั้งใช้งาน 3D Secure
  6. ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ 3D Secure ที่พบบ่อย
  7. ความท้าทายและข้อเสียของ 3D Secure
  8. วิธีนํา 3D Secure มาใช้กับระบบการชําระเงินของคุณ

การชําระเงินแบบดิจิทัลเป็นจุดรวมของความสะดวกและความปลอดภัย เมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น ก็ต้องการโซลูชันที่รักษาความปลอดภัยให้ข้อมูลของลูกค้าโดยไม่กระทบต่อประสบการณ์ทางออนไลน์ 3D Secure คือโปรโตคอลการตรวจสอบสิทธิ์ที่เหมาะสําหรับการปกป้องการชําระเงิน โดยเป็นโซลูชันหนึ่งที่ตอบโจทย์ความท้าทายนี้ ใน 3D Secure 2 เฟรมเวิร์กที่เสถียรนี้จะได้รับการอัปเกรดโดยเน้นการปกป้องที่เข้มงวดและประสบการณ์ลูกค้าที่ราบรื่นยิ่งขึ้น

การเติบโตของธุรกรรมบนอุปกรณ์เคลื่อนที่และดิจิทัลได้ปูทางให้กับโปรโตคอลอย่าง 3D Secure 2 โดยรายงานจาก Grand View Research ระบุว่าตลาดการตรวจสอบสิทธิ์การชําระเงินแบบ 3D Secure ทั่วโลกมีมูลค่า 1.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2022 ธุรกิจต่างๆ ต้องการระบบที่ผสานการทํางานกับแพลตฟอร์มที่มีอยู่แล้วอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นระบบที่ให้การปกป้องที่เข้มงวด พร้อมทั้งยกระดับประสบการณ์การชําระเงินโดยรวม ด้านล่างนี้ เราจะอธิบายเกี่ยวกับ 3D Secure อย่างละเอียด ตั้งแต่ความหมาย วิธีการทํางาน และวิธีที่ธุรกิจต่างๆ สามารถนําไปปรับใช้เพื่อช่วยปรับการทํางานและเพิ่มประสิทธิภาพระบบการชําระเงิน ซึ่งทั้งหมดนี้มาพร้อมการตอบสนองความต้องการของลูกค้า

บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

  • 3D Secure คืออะไร
  • 3D Secure ทํางานอย่างไร
  • 3D Secure 1 เทียบกับ 3D Secure 2
  • ประโยชน์ของการติดตั้งใช้งาน 3D Secure
  • ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ 3D Secure ที่พบบ่อย
  • ความท้าทายและข้อเสียของ 3D Secure
  • วิธีใช้ 3D Secure ในระบบการชําระเงินของคุณ

3D Secure คืออะไร

3D Secure คือชื่อย่อสําหรับ "Three-Domain Secure" เป็นโปรโตคอลการตรวจสอบสิทธิ์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยส่งเสริมความปลอดภัยของธุรกรรมบัตรเครดิตและบัตรเดบิต โปรโตคอลนี้ได้รับการพัฒนาโดย Visa ภายใต้ชื่อ "Verified by Visa" หน่วยงานหลัก 3 ฝ่ายคือ บริษัทผู้ออกบัตร สถาบันผู้รับบัตร และหน่วยงานที่ทำงานร่วมกัน

หน้าที่การทำงานหลักของ 3D Secure คือการเพิ่มขั้นตอนการยืนยันอีกชั้นหนึ่งสําหรับการชําระเงินออนไลน์ แม้ธุรกรรมแบบเดิมจะใช้แค่รายละเอียดบัตรและรหัสความปลอดภัยเท่านั้น แต่ธุรกรรม 3D Secure จะแจ้งให้เจ้าของบัตรทราบรหัสผ่านเพิ่มเติมหรือส่งรหัสแบบใช้ครั้งเดียวไปยังอุปกรณ์เคลื่อนที่ ปกติแล้วขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นในหน้าต่างป๊อปอัพหรืออินเทอร์เฟซภายในแอป

3D Secure ทํางานอย่างไร

ขั้นตอนการทำงานของ 3D Secure คือการดําเนินการหลายขั้นตอนกับหลายหน่วยงานที่มอบการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติมสําหรับธุรกรรมออนไลน์ แต่ละขั้นตอนเหล่านี้มีส่วนก่อให้เกิดการสร้างระบบการตรวจสอบสิทธิ์ที่น่าเสถียรและมีประสิทธิภาพ

โปรโตคอลนี้ใช้ระบบที่มีการทำงานร่วมกันที่ซับซ้อนระหว่าง 3 หน่วยงาน ได้แก่ บริษัทผู้ออกบัตร สถาบันผู้รับบัตร และหน่วยงานที่ทำงานร่วมกัน ด้านล่างเราจะมาอธิบายแต่ละขั้นตอนของกระบวนการอย่างละเอียด

การเริ่มต้นธุรกรรม

เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าทางออนไลน์ ลูกค้าจะกรอกรายละเอียดบัตรในเว็บไซต์ของธุรกิจตามปกติ ในขั้นตอนนี้ เซิร์ฟเวอร์ของธุรกิจจะทราบถึงความจําเป็นในการยืนยันตัวตนแบบ 3D Secure และส่งคําขอให้สถาบันผู้รับบัตร หรือสถาบันทางการเงินที่ประมวลผลธุรกรรมบัตร

ธุรกิจจะมีบทบาทสําคัญในขั้นตอนนี้ เนื่องจากเซิร์ฟเวอร์จะกําหนดว่าจำเป็นต้องใช้ 3D Secure หรือไม่ โดยพิจารณาจากลักษณะของธุรกรรมและนโยบายของผู้ออกบัตร การตระหนักว่ากรณีควรใช้มาตรการรักษาควาปลอดภัยเพิ่มเติมจะช่วยลดโอกาสเกิดธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงได้อย่างมาก

คําขอตรวจสอบสิทธิ์

สถาบันผู้รับบัตรส่งต่อคําขอนี้ไปยังเครือข่ายบัตร โดยมักจะเป็น Visa หรือ Mastercard ซึ่งอํานวยความสะดวกในการสื่อสารระหว่างบริษัทผู้ออกบัตรและสถาบันผู้รับบัตร

การสื่อสารที่ทันเวลาและแม่นยำระหว่างสถาบันผู้รับบัตรและเครือข่ายบัตร สามารถส่งผลให้ธุรกรรมสำเร็จหรือไม่สำเร็จได้ ข้อผิดพลาดหรือความล่าช้าอาจทําให้เกิดการละทิ้งธุรกรรมซึ่งส่งผลเสียต่อทั้งประสบการณ์ของลูกค้าและรายรับของธุรกิจ

ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์

เครือข่ายบัตรจะระบุบริษัทผู้ออกบัตรและส่งคําขอตรวจสอบสิทธิ์ให้กับบริษัทผู้ออกบัตร จากนั้นบริษัทผู้ออกบัตรจะแจ้งข้อมูลเพิ่มเติมให้เจ้าของบัตรทราบ ซึ่งปกติแล้วจะดําเนินการผ่านหน้าต่างป๊อปอัพหรืออินเทอร์เฟซภายในแอป

ในระหว่างขั้นตอนนี้ บริษัทผู้ออกบัตรต้องรักษาสมดุลระหว่างความปลอดภัยและประสบการณ์ของลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพ แม้การยืนยันตัวตนของเจ้าของบัตรเป็นสิ่งสําคัญอย่างยิ่ง แต่การใช้ข้อความแจ้งที่ซับซ้อนเกินควรหรือใช้เวลานานอาจทําให้ลูกค้าหยุดดำเนินการและนําไปสู่การสูญเสียยอดขายได้

การยืนยันหรือการปฏิเสธ

เมื่อเจ้าของบัตรให้ข้อมูลตามคําขอแล้ว บริษัทผู้ออกบัตรจะประเมินข้อมูลดังกล่าวเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ธุรกรรม จากนั้นบริษัทผู้ออกบัตรจะส่งการตอบกลับกลับผ่านเครือข่ายบัตรให้แก่ผู้รับบัตร ซึ่งจะทำหน้าที่แจ้งให้ธุรกิจทราบในภายหลัง

ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญในกระบวนการธุรกรรม การตรวจสอบสิทธิ์ธุรกรรมที่ดำเนินการถูกต้องจะอนุญาตให้ธุรกรรมไปสู่ขั้นตอนต่อไป และมักจะลดภาระของธุรกิจที่มีต่อการดึงเงินคืนที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกง ในทางกลับกัน หากตรวจสอบสิทธิ์ไม่ผ่านอาจส่งผลให้เกิดการยกเลิกธุรกรรม แต่ก็ถือว่าเป็นมาตรการป้องกันการใช้บัตรโดยไม่ได้รับอนุญาต

ธุรกรรมเสร็จสิ้น

สุดท้าย หากบริษัทผู้ออกบัตรยืนยันตัวตนของเจ้าของบัตรแล้ว ธุรกิจก็จะทําธุรกรรมต่อและจัดส่งสินค้าหรือบริการให้ ธุรกิจควรส่งข้อความที่ชัดเจนถึงลูกค้าเกี่ยวกับผลลัพธ์ของธุรกรรมในขั้นตอนนี้เพื่อปูทางสู่การติดต่อหลังการซื้อ เช่น การจัดส่งผลิตภัณฑ์และการบริการลูกค้า

How 3D Secure works – and why Stripe payments are safe - A step-by-step guide to how 3D secure works with an explanation of Stripe payment safety.

3D Secure 1 เทียบกับ 3D Secure 2

EMVCo ได้เปิดตัวการอัปเดตสําหรับ 3D Secure 2 (จาก 3D Secure 1) ในเดือนตุลาคม 2016 แต่ธุรกิจ ผู้ออกบัตร และเกตเวย์การชําระเงินไม่ได้เริ่มใช้งานในทันที การนำ 3D Secure 2 มาใช้ในปี 2019 ที่เพิ่มขึ้นเป็นผลจากข้อบังคับใหม่หลายๆ อย่าง ซึ่งรวมถึงคําสั่งว่าด้วยบริการชําระเงินฉบับปรับปรุง (PSD2) และข้อกําหนดสําหรับการตรวจสอบสิทธิ์ลูกค้าแบบรัดกุม (SCA) ของสหภาพยุโรป

แม้ 3D Secure 1 และ 3D Secure 2 จะเป็นโปรโตคอลการตรวจสอบสิทธิ์สําหรับธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตออนไลน์เหมือนกัน แต่ทั้งสองกระบวนการนี้ก็มีความแตกต่างที่สําคัญในการออกแบบและประสบการณ์ของลูกค้า ข้อมูลเปรียบเทียบมีดังนี้

ประสบการณ์ของลูกค้า

  • 3D Secure 1: ระบบเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าไปที่หน้าการตรวจสอบสิทธิ์แยกต่างหาก ซึ่งบางครั้งก็ส่งผลให้ประสบการณ์การชําระเงินมีปัญหาติดขัด
  • 3D Secure 2: ออกแบบมาเพื่อปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า โดยจะช่วยลดปัญหาขัดข้องระหว่างขั้นตอนการชําระเงิน โดยปกติธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้นที่ต้องมีการตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มเติม

การผสานการทํางานกับอุปกรณ์เคลื่อนที่

  • 3D Secure 1: เนื่องจากวิธีการนี้ไม่ได้สร้างขึ้นมาเพื่อประสบการณ์การใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่โดยเฉพาะ บางครั้งวิธีนี้ก็นําไปสู่หน้าการตรวจสอบสิทธิ์ที่ล่าช้าหรือแสดงในรูปแบบแปลกๆ บนอุปกรณ์เคลื่อนที่
  • 3D Secure 2: ออกแบบมาสําหรับการใช้งานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ซึ่งได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพมาเพื่อให้ผสานการทํางานบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้ราบรื่นขึ้น และทํางานกับแอปและเบราว์เซอร์บนอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้อย่างง่ายดาย

จุดข้อมูล

  • 3D Secure 1: ใช้จุดข้อมูลน้อยกว่าในขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์
  • 3D Secure 2: ใช้จุดข้อมูลหลายจุดกว่า (เช่น ประวัติธุรกรรมและข้อมูลอุปกรณ์) เพื่อการประเมินตามความเสี่ยง วิธีนี้นี้จะช่วยให้ตรวจสอบสิทธิ์ได้อย่างชาญฉลาดยิ่งขึ้น ซึ่งธุรกรรมที่มีความเสี่ยงต่ำอาจไม่ต้องการการยืนยันเพิ่มเติม

ขั้นตอนที่ราบรื่น

  • 3D Secure 1: โดยทั่วไปแล้ว เจ้าของบัตรจะต้องใช้รหัสผ่านหรือการตรวจสอบสิทธิ์แบบคงที่บางรูปแบบ
  • 3D Secure 2: ใช้ขั้นตอน "ที่ราบรื่น" ซึ่งตรวจสอบสิทธิ์ธุรกรรมบางรายการได้โดยไม่ต้องมีการโต้ตอบกับเจ้าของบัตร

ขอบเขตธุรกรรม

ข้อบังคับและการปฏิบัติตามข้อกําหนด

  • 3D Secure 1: มีข้อกําหนดล่วงหน้าสำหรับการชําระเงินออนไลน์สมัยใหม่
  • 3D Secure 2: ออกแบบมาเพื่อปฏิบัติตามคําสั่งว่าด้วยบริการชําระเงินฉบับปรับปรุงของสหภาพยุโรป (PSD2) โดยเฉพาะข้อกําหนดในส่วนของการตรวจสอบสิทธิ์ลูกค้าแบบรัดกุม (SCA) สําหรับธุรกรรมออนไลน์

การสื่อสารกับบริษัทผู้ออกบัตรและธุรกิจ

  • 3D Secure 1: มีวิธีการที่จํากัดสําหรับบริษัทผู้ออกบัตรและธุรกิจเพื่อสื่อสารเกี่ยวกับธุรกรรม
  • 3D Secure 2: ช่วยให้บริษัทผู้ออกบัตรและธุรกิจสื่อสารกันได้โดยตรงมากขึ้น ทําให้สามารถตัดสินใจแบบเรียลไทม์โดยอิงตามความเสี่ยงของธุรกรรม

โปรโตคอลทั้งสองแบบมีสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสําหรับธุรกรรมบัตรเครดิต แต่การใช้งาน 3D Secure 2 มีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าในการมอบประสบการณ์ลูกค้า การเพิ่มประสิทธิภาพบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ และวิธีการตรวจสอบสิทธิ์ที่ปรับเปลี่ยนได้ การดำเนินการแบบใหม่นี้ช่วยให้ใช้โซลูชันที่ทันสมัยและใช้งานง่ายสําหรับการค้าออนไลน์ได้

ประโยชน์ของการติดตั้งใช้งาน 3D Secure

  • ความเสี่ยงต่อธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงที่ลดลง
    เทคโนโลยี 3D Secure ตรวจสอบธุรกรรมแบบเรียลไทม์โดยการกำหนดให้ลูกค้าใช้ขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มเติม การดําเนินการนี้จะช่วยลดธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตส่วนใหญ่ และลดค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับการฉ้อโกงสําหรับธุรกิจ รวมถึงลดอัตราการดึงเงินคืน ทำให้มีอัตราความน่าเชื่อถือมากขึ้นในมุมของธนาคาร ในปี 2022 การฉ้อโกงการชําระเงินทําให้เกิดความสูญเสียในธุรกิจอีคอมเมิร์ซ สูงถึง 4.1 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐทั่วโลกตามข้อมูลของ Statista ซึ่งเป็นการเน้นย้ำถึงขอบเขตของธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงที่ธุรกิจต้องประสบ

  • เพิ่มความไว้วางใจและความมั่นใจของลูกค้า
    สําหรับผู้ซื้อ การตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มเติมคือสัญญาณที่ดีซึ่งบ่งบอกถึงความปลอดภัยในการดำเนินการต่อ ความมั่นใจที่เพิ่มขึ้นนี้ให้ประโยชน์ในระยะยาวได้ โดยให้ให้ผลลัพธ์ผ่านอายุการใช้งานของลูกค้า ช่วยเปลี่ยนผู้ซื้อแบบครั้งเดียวให้กลายเป็นลูกค้าประจำ และเปลี่ยนผู้ซื้อตามช่วงเวลาให้บอกต่อเกี่ยวกับแบรนด์ได้

  • การปฏิบัติตามมาตรฐานด้านการกํากับดูแล
    การปฏิบัติตามกฎหมายเป็นส่วนสําคัญของการทําธุรกิจในยุคดิจิทัลที่มีความซับซ้อนและหลีกเลี่ยงไม่ได้ หน่วยงานกํากับดูแลมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์อยู่บ่อยๆ ทําให้ธุรกิจตามทันได้ยาก การใช้ 3D Secure สามารถช่วยให้คุณปฏิบัติตามกฎระเบียบอยู่เสมอ อีกทั้งยังช่วยหลีกเลี่ยงค่าปรับและปัญหาด้านกฎหมายได้อีกด้วย ชื่อเสียงด้านการปฏิบัติตามข้อกําหนดที่เข้มงวดสามารถสร้างความแตกต่างทางการตลาดได้ ทําให้ลูกค้าที่มีข้อกังวลเลือกแพลตฟอร์มของคุณแทนคู่แข่งที่มีระบบความปลอดภัยน้อยกว่า

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ 3D Secure ที่พบบ่อย

มีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ 3D Secure หลายข้อที่อาจส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของธุรกิจในการใช้เทคโนโลยี การทราบความจริงที่อยู่เบื้องหลังความเข้าใจผิดเหล่านี้เป็นกุญแจสําคัญที่ช่วยให้เลือกใช้ได้อย่างถูกต้อง รายละเอียดมีดังนี้

  • ความเข้าใจผิดข้อที่ 1: 3D Secure ทำให้ลูกค้าเลิกซื้อสินค้าหรือบริการ
    แนวคิดว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นจะส่งผลให้ลูกค้าทิ้งรถเข็นนั้นเป็นจริงเพียงบางส่วน มีข้อมูลระบุว่า เมื่อคนเห็นว่าธุรกิจดำเนินการตามขั้นตอนในการปกป้องข้อมูลลูกค้า คนเหล่านั้นมีโอกาสที่จะทำการซื้อจนเสร็จสมบูรณ์มากขึ้น มาตรการเหล่านี้จะช่วยให้ลูกค้าเชื่อมโยงแบรนด์ของคุณเข้ากับความรู้สึกไว้วางใจและความปลอดภัย ซึ่งนําไปสู่การรักษาลูกค้าและความภักดีในระยะยาวได้

  • ความเข้าใจผิดข้อที่ 2: 3D Secure เป็นโซลูชันป้องกันการฉ้อโกงที่ครบสูตร
    แม้ว่า 3D Secure จะลดความเสี่ยงของธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงได้อย่างมาก แต่ทุกระบบก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ ดังนั้น กลยุทธ์ที่สมดุลควรมีมาตรการรักษาความปลอดภัยหลายชั้น ซึ่งรวมแต่ไม่จํากัดเพียง 3D Secure เพื่อต่อสู้กับกิจกรรมการฉ้อโกงประเภทต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด

  • ความเข้าใจผิดข้อที่ 3: 3D Secure ทำให้ธุรกรรมช้าลง
    มีความคิดที่ว่า 3D Secure เพิ่มความล่าช้าโดยไม่จําเป็นในการทําธุรกรรม แต่เวลาเพิ่มขึ้น 2-3 วินาทีในการตรวจสอบสิทธิ์อาจช่วยประหยัดเวลาในระยะยาวได้ โดยจะช่วยลดจํานวนธุรกรรมที่ต้องได้รับการตรวจสอบเนื่องจากมีการฉ้อโกง โอกาสในการลดค่าธรรมเนียมการดึงเงินคืนและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการฉ้อโกงอาจสามารถชดเชยความล่าช้าเพียงเล็กน้อยที่เกิดขึ้นเมื่อทำธุรกรรมได้

  • ความเข้าใจผิดข้อที่ 4: 3D Secure มีไว้สําหรับอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงเท่านั้น
    บางคนเห็นว่า 3D Secure มีเป็นประโยชน์ต่อภาคธุรกิจอย่างสินค้าหรูหราหรือการพนันออนไลน์ ซึ่งมักเป็นธุรกรรมที่มีมูลค่าสูงเท่านั้น แต่ไม่ถูกเสมอไป ธุรกิจในหลายภาคส่วนสามารถรับประโยชน์จากความปลอดภัยที่เพิ่มเข้ามาได้ แม้แต่ธุรกิจที่ไม่มีการปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูงก็ตาม 3D Secure ก็เหมือนกับกรมธรรม์ประกันภัย ที่มีไว้แล้วไม่ได้ใช้ ดีกว่าไม่มีและจำเป็นต้องใช้

ความท้าทายและข้อเสียของ 3D Secure

แม้ 3D Secure จะมีประโยชน์หลายประการ แต่ก็ยังมีความท้าทายและข้อเสียหลายประการที่ธุรกิจอาจต้องเผชิญเมื่อนําเทคโนโลยีนี้ไปใช้งาน

  • อัตราการทิ้งรถเข็นเพิ่มขึ้น
    ความท้าทายอย่างหนึ่งของ 3D Secure ที่ธุรกิจอาจเผชิญคืออัตราการละทิ้งรถเข็นที่เพิ่มขึ้น บางครั้งลูกค้าจะออกจากกระบวนการทําธุรกรรมเมื่อพบว่ามีขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มเติม เนื่องจากคิดว่าการดําเนินการนี้ยุ่งยากหรือไม่เข้าใจจุดประสงค์ แม้ว่าจุดประสงค์ของ 3D Secure คือการเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง แต่ลูกค้าที่มองว่าวิธีนี้ไม่สะดวกจะมีโอกาศทำธุรกรรมจนเสร็จสมบูรณ์น้อยลง

  • ความซับซ้อนในประสบการณ์ของลูกค้า
    การเพิ่มหลายขั้นตอนลงในกระบวนการชําระเงิน อาจนําไปสู่ความซับซ้อนของประสบการณ์ของลูกค้าได้ ยิ่งกระบวนการใช้งานได้ยากเท่าไร ลูกค้าก็จะเลิกดำเนินการกลางคันมากขึ้นเท่านั้น ประสบการณ์การชําระเงินควรเป็นไปอย่างราบรื่นที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ พร้อมกับการรักษามาตรการรักษาความปลอดภัยที่จําเป็น ซึ่งเป็นความสมดุลที่บางครั้งอาจมีความท้าทายเมื่อใช้ 3D Secure

  • ความต้องการด้านการปฏิบัติงาน
    การติดตั้งใช้งาน 3D Secure มักต้องใช้การเปลี่ยนแปลงของระบบและกระบวนการที่มีอยู่ ซึ่งอาจเกี่ยวข้องกับการอัปเดตโครงสร้างพื้นฐานด้านไอทีและการฝึกอบรมของพนักงาน รวมทั้งการที่ฝ่ายบริการลูกค้ามีเครื่องมือเพียงพอที่จะจัดการกับข้อสอบถามต่างๆ ได้ ธุรกิจอาจต้องลงทุนกับเวลาและทรัพยากรค่อนข้างมากในระยะแรก ซึ่งอาจทําให้ธุรกิจบางแห่งไม่สามารถนําเทคโนโลยีมาใช้ได้

  • ข้อกังวลเกี่ยวกับความรับผิด
    แม้ว่า 3D Secure จะขจัดความรับผิดต่อธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงของธุรกิจ แต่เงื่อนไขและข้อกําหนดที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงความรับผิดนี้อาจซับซ้อน ไม่มีสถานการณ์การฉ้อโกงใดที่ได้รับความคุ้มครองทั้งหมด ซึ่งธุรกิจต้องใช้มาตรการป้องกันการฉ้อโกงที่มีการตรวจสอบติดตามตลอดเวลา การไว้วางใจในความปลอดภัยมากเกินไปอาจทำให้ธุรกิจมีความระมัดระวังน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบในระยะยาว

แม้ว่า 3D Secure จะมาพร้อมความท้าทายบางประการ แต่การวางแผนที่เหมาะสมก็สามารถแก้ปัญหาเหล่านี้ได้ ตัวเลือกหนึ่งสําหรับธุรกิจคือการทํางานร่วมกับผู้ให้บริการการชําระเงินที่มีประสิทธิภาพและครอบคลุมอย่าง Stripe

วิธีนํา 3D Secure มาใช้กับระบบการชําระเงินของคุณ

การรวม 3D Secure เข้ากับระบบการชําระเงินช่วยเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่งที่ทําหน้าที่เป็นมาตรการป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงได้ Stripe มอบการสนับสนุนแบบครอบคลุมสําหรับ 3D Secure 2 ซึ่งเป็นโปรโตคอลความปลอดภัยในเวอร์ชันขั้นสูงและใช้งานง่ายกว่า ต่อไปนี้คือขั้นตอนหลักๆ และข้อควรพิจารณาสําหรับการติดตั้งใช้งาน

  • การเชื่อมต่อการทํางานกับ API ของ Stripe
    Stripe ให้บริการ 3D Secure 2 ผ่าน API การชำระเงิน และ Checkout feature การผสานการทํางานเครื่องมือเหล่านี้ไว้ในระบบของคุณจะช่วยปกป้องธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูงจากการฉ้อโกงที่อาจเกิดขึ้นได้ ข้อดีหลักของการใช้การผสานการทํางานของ Stripe คือความสามารถในการใช้ 3D Secure 2 เมื่อธนาคารเจ้าของบัตรรองรับฟังก์ชันนี้ และสามารถเปลี่ยนกลับไปใช้ 3D Secure 1 เมื่อจําเป็น

  • การเน้นที่แอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่
    แอปบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ต้องใช้ขั้นตอนธุรกรรมที่ราบรื่น SDK สําหรับ iOS และ Android ของ Stripe สามารถทำงานได้ในตรวจสอบสิทธิ์ในแอป ซึ่งเป็นการสร้างประสบการณ์โดยตรงสำหรับลูกค้า การดําเนินการนี้จะป้องกันไม่ให้ระบบเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าไปยังหน้าภายนอกระบบ ซึ่งอาจขัดขวางขั้นตอนการชําระเงินได้ แม้ว่าหากธนาคารไม่รองรับ 3D Secure 2 แต่ SDK สําหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ของ Stripe จะแสดง 3D Secure 1 ในมุมมองเว็บที่ผสานรวมอยู่ในแอปของคุณ

  • การให้ความสําคัญกับประสบการณ์ของลูกค้า
    3D Secure 2 ได้รับการพัฒนาขึ้นโดยคำนึงถึงสมาร์ทโฟนเป็นหลัก ช่วยให้ธนาคารอัปเดตวิธีการตรวจสอบสิทธิ์ของตนได้ ตัวอย่างเช่น ลูกค้าสามารถตรวจสอบสิทธิ์การชําระเงินโดยใช้ลายนิ้วมือหรือ Face ID แทนที่จะต้องใช้รหัสผ่านหรือข้อความ SMS แบบดั้งเดิม เทคโนโลยีใหม่นี้ส่งเสริมประสบการณ์การทําธุรกรรมที่ดีขึ้นโดยลดความขัดข้องลง

  • ผสานรวมกับขั้นตอนการชำระเงินบนเว็บและอุปกรณ์เคลื่อนที่ได้
    3D Secure 2 ออกแบบมาเพื่อให้ผสานรวมขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์ไว้ในทั้งการชําระเงินบนเว็บและอุปกรณ์เคลื่อนที่ และลดความจำเป็นในการเปลี่ยนเส้นทางของทั้งหน้าเว็บ หากลูกค้ายืนยันตัวตนบนเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันของคุณ ลูกค้าจะเห็นข้อความแจ้งเกี่ยวกับ 3D Secure ภายในขั้นตอนการชําระเงิน

  • ติดตามข่าวสารล่าสุดเกี่ยวกับระเบียบข้อบังคับ
    หากคุณทําธุรกิจในยุโรป การบังคับใช้การตรวจสอบสิทธิ์ลูกค้าแบบรัดกุม (SCA) คือกุญแจสำคัญ ข้อบังคับ SCA กําหนดให้ใช้การตรวจสอบสิทธิ์ที่เข้มงวดมากขึ้นสําหรับการชําระเงินในยุโรป ทําให้ลูกค้าได้รับประโยชน์จากประสบการณ์การใช้งาน 3D Secure 2 อย่างมาก การใช้ 3D Secure 2 ช่วยให้ธุรกิจลดผลกระทบเชิงลบต่อการเปลี่ยนเป็นลูกค้าแบบชำระเงินได้

  • ใช้ความยืดหยุ่นของ 3D Secure 2
    การปรับตัวของ Stripe ตามโปรโตคอล 3D Secure 2 จะอนุญาตธุรกรรมบางรายการให้ข้ามการตรวจสอบสิทธิ์และใช้ขั้นตอนที่ "ราบรื่น" ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเห็นว่ามีความเสี่ยงต่ำ อย่างไรก็ตาม หากผู้ให้บริการชําระเงิน ขอยกเว้นและธุรกรรมใช้วิธีการที่ "ราบรื่น" การโอนความรับผิดอาจไม่มีผลบังคับใช้

การรวม 3D Secure 2 เข้ากับระบบการชําระเงินจะช่วยป้องกันการฉ้อโกงไปพร้อมๆ กับการสร้างความมั่นใจว่าประสบการณ์การชําระเงินจะง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ การใช้เครื่องมือของ Stripe และปฏิบัติตามแนวทางข้างต้นจะช่วยให้ธุรกิจสร้างความสมดุลระหว่างความปลอดภัยและความสะดวกในการใช้งานได้

ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้ 3D Secure กับ Stripe

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Payments

Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด

Stripe Docs เกี่ยวกับ Payments

ค้นหาคู่มือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Payments API ของ Stripe