How to accept credit cards as a small business

Payments
Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ธุรกิจสตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรใหญ่ระดับโลก

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. ประเภทการชําระเงินด้วยบัตรเครดิต
    1. ธุรกรรมแบบรูดบัตร (แถบแม่เหล็ก)
    2. ธุรกรรมแบบเสียบ (ชิปการ์ด EMV)
    3. ธุรกรรมแบบแตะบัตร (แบบไร้สัมผัส)
    4. ธุรกรรมกระเป๋าเงินดิจิทัล
    5. ธุรกรรมออนไลน์และธุรกรรมแบบไม่ต้องแสดงบัตร (CNP)
  3. วิธีการทํางานของการประมวลผลบัตรเครดิต
  4. วิธีรับบัตรเครดิตสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
    1. เลือกผู้ให้บริการชําระเงิน (PSP)
    2. จัดทำบัญชีผู้ค้า
    3. ผสานการทํางานกับเกตเวย์การชําระเงิน
    4. ซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สําหรับธุรกรรมที่จุดขาย
    5. การปฏิบัติตามข้อกําหนดและข้อพิจารณาด้านความปลอดภัย
  5. แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการชําระเงินด้วยบัตรเครดิตสําหรับธุรกิจขนาดเล็ก
    1. มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง
    2. การประมวลผลการชําระเงิน
    3. ประสบการณ์ของลูกค้า
    4. การจัดการทางการเงิน
    5. การปรับปรุงและปรับตัวอย่างต่อเนื่อง

สําหรับธุรกิจส่วนใหญ่ การรับชําระเงินด้วยบัตรเครดิตเป็นสิ่งที่จําเป็น การรับบัตรเครดิตเปิดประตูสู่ฐานลูกค้าที่กว้างขวาง โดยมีบัตร Visa 4.3 พันล้านใบหมุนเวียนอยู่ทั่วโลกในปี 2023 ธุรกิจที่รับบัตรเครดิตสามารถเข้าถึงการวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูงเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ พร้อมทั้งใช้ประโยชน์จากเครื่องมือตรวจจับและป้องกันการฉ้อโกงขั้นสูงที่ผู้ประมวลผลบัตรเครดิตมีให้

ด้านล่างนี้ เราจะอธิบายรายละเอียดสําคัญของการรับชําระเงินด้วยบัตรเครดิตสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก ซึ่งรวมถึงประเภทของการชําระเงินด้วยบัตรและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับการจัดตั้งและดูแลระบบประมวลผลการชําระเงิน

บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

  • ประเภทการชําระเงินด้วยบัตรเครดิต
  • วิธีการทํางานของการประมวลผลบัตรเครดิต
  • วิธีรับบัตรเครดิตสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก
  • แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการรับชําระเงินด้วยบัตรเครดิตสําหรับธุรกิจขนาดเล็ก

ประเภทการชําระเงินด้วยบัตรเครดิต

การชําระเงินด้วยบัตรเครดิตทุกประเภทอาจมีกลไกการชําระเงินที่ไม่เหมือนกัน เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้าขึ้น ลูกค้าก็มีตัวเลือกมากขึ้นในการใช้บัตรเครดิต

ธุรกรรมแบบรูดบัตร (แถบแม่เหล็ก)

วิธีนี้ืคือการรูดบัตรผ่านเครื่องอ่านบัตร ที่อ่านแถบแม่เหล็กที่อยู่ด้านหลังของบัตร ธุรกรรมประเภทนี้ซึ่งใช้ในระบบบันทึกการขาย (POS) ได้รับความนิยมน้อยลงเนื่องด้วยข้อกังวลด้านความปลอดภัย

  • การส่งข้อมูล: แถบแม่เหล็กบรรจุข้อมูลที่ประกอบด้วยชื่อเจ้าของบัตร หมายเลขบัญชี วันหมดอายุของบัตร และรหัสความปลอดภัย เมื่อลูกค้ารูดบัตร เครื่องอ่านบัตรจะบันทึกข้อมูลนี้เพื่อเริ่มกระบวนการทําธุรกรรม

  • ด้านการรักษาความปลอดภัย: ธุรกรรมแบบรูดบัตรถือว่าปลอดภัยน้อยกว่าเนื่องจากข้อมูลในแถบแม่เล็กมีลักษณะแบบคงที่ ทําให้ง่ายต่อการโคลนและการฉ้อโกง

ธุรกรรมแบบเสียบ (ชิปการ์ด EMV)

บัตรติดชิป EMV (Europay, Mastercard และ Visa) จะใช้เสียบลงในเครื่องอ่านบัตร ตัวชิปจะสื่อสารกับเทอร์มินัลเพื่อตรวจสอบสิทธิ์ธุรกรรม ธุรกรรมประเภทนี้เป็นมาตรฐานในหลายๆ ภูมิภาค โดยเฉพาะในกรณีที่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดสําหรับธุรกรรมที่มีการแสดงบัตร

  • การส่งข้อมูล: ชิปจะสร้างรหัสธุรกรรมที่ไม่ซ้ำกันในการชําระเงินแต่ละครั้ง

  • ด้านการรักษาความปลอดภัย: การเข้ารหัสแบบไดนามิกทําให้มิจฉาชีพจําลองข้อมูลของบัตรได้ยาก ซึ่งช่วยลดการฉ้อโกงจากบัตรปลอมได้อย่างมาก

ธุรกรรมแบบแตะบัตร (แบบไร้สัมผัส)

ธุรกรรมแบบไร้สัมผัสใช้การสื่อสารระยะใกล้ (NFC) หรือเทคโนโลยีระบุตัวตนด้วยความถี่วิทยุ (RFID) ซึ่งทำให้สามารถแตะบัตรกับเครื่องอ่านบัตรได้โดยไม่ต้องสัมผัสโดยตรง ธุรกรรมประเภทนี้เป็นที่นิยมในสภาพแวดล้อมที่เน้นความรวดเร็วและความสะดวกสบาย เช่น การค้าปลีกและการขนส่งสาธารณะ

  • การส่งข้อมูล: การชําระเงินแบบไร้สัมผัสจะส่งข้อมูลผ่านสัญญาณเข้ารหัส โดยออกรหัสที่ไม่ซ้ํากันสําหรับธุรกรรมแต่ละรายการเช่นเดียวกับธุรกรรม EMV

  • ด้านการรักษาความปลอดภัย: ธุรกรรมแบบไร้สัมผัสให้ความปลอดภัยในระดับสูงด้วยการเข้ารหัสและการสร้างรหัสที่ไม่ซ้ํากันสําหรับธุรกรรมแต่ละรายการ

ธุรกรรมกระเป๋าเงินดิจิทัล

กระเป๋าเงินดิจิทัล (เช่น Apple Pay, Google Wallet) จัดเก็บข้อมูลบัตรเครดิตไว้ในอุปกรณ์เคลื่อนที่ เพื่อให้ลูกค้าชําระเงินผ่านอุปกรณ์ได้โดยใช้เทคโนโลยี NFC ธุรกรรมประเภทนี้ได้รับความนิยมมากขึ้นในการทําธุรกรรมออนไลน์และหน้าร้านเนื่องจากใช้งานสะดวก

  • การส่งข้อมูล: เมื่อการชําระเงินเริ่มขึ้น กระเป๋าเงินดิจิทัลจะแปลงข้อมูลธุรกรรมเป็นโทเค็น ซึ่งเป็นการแทนที่รายละเอียดข้อมูลบัตรที่มีความละเอียดอ่อนด้วยรหัสดิจิทัลที่ไม่ซ้ำเพื่อระบุรายการธุรกรรม

  • ด้านการรักษาความปลอดภัย: ธุรกรรมกระเป๋าเงินดิจิทัลมีความปลอดภัยในระดับสูงด้วยเทคนิคการแปลงข้อมูลเป็นโทเค็นและการยืนยันด้วยไบโอเมตริก (เช่น ลายนิ้วมือ การจดจําใบหน้า) บนอุปกรณ์ของผู้ใช้

ธุรกรรมออนไลน์และธุรกรรมแบบไม่ต้องแสดงบัตร (CNP)

ธุรกรรมแบบไม่ต้องแสดงบัตร หมายถึงการซื้อทางออนไลน์หรือทางโทรศัพท์ซึ่งไม่มีการแสดงตัวบัตรต่อธุรกิจ ธุรกรรมประเภทนี้ใช้สําหรับอีคอมเมิร์ซ คําสั่งซื้อทางโทรศัพท์ และกรณีการชําระเงินระยะไกลทั้งหมดที่ธุรกิจไม่สามารถยืนยันตัวบัตรหรือเจ้าของบัตรแบบพบหน้าได้

  • การส่งข้อมูล: ลูกค้าป้อนรายละเอียดบัตรด้วยตนเอง และระบบจะส่งรายละเอียดเหล่านี้ไปยังธุรกิจเพื่อดําเนินการ

  • ด้านการรักษาความปลอดภัย: ธุรกรรม CNP มีความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงสูงเนื่องจากไม่มีบัตรและเจ้าของบัตรปรากฏตัวจริง แนะนําให้ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง เช่น การตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัยและการเข้ารหัส Secure Sockets Layer (SSL)

วิธีการทํางานของการประมวลผลบัตรเครดิต

การประมวลผลบัตรเครดิตดำเนินการโดยเครือข่ายกิจการด้านการเงินและเทคโนโลยีที่ทํางานร่วมกันเพื่ออนุมัติและทำการชำระเงิน โดยมีขั้นตอนดังที่ระบุไว้ด้านล่างนี้

  • การเริ่มต้น: เมื่อลูกค้าทำรายการซื้อด้วยบัตรเครดิต ระบบจะเริ่มทําธุรกรรมด้วยการรูด เสียบ หรือแตะตัวบัตรจริง หรือผ่านวิธีการทางดิจิทัล (เช่น ป้อนรายละเอียดบัตรทางออนไลน์) ระบบ POS ของธุรกิจหรือเกตเวย์การชําระเงินจะบันทึกรายละเอียดธุรกรรม รวมถึงข้อมูลบัตรและยอดซื้อ

  • การอนุมัติวงเงิน: ระบบจะส่งรายละเอียดธุรกรรมไปยังผู้ประมวลผลการชําระเงินของธุรกิจ ซึ่งจะส่งข้อมูลไปที่ธนาคารผู้ออกบัตรผ่านเครือข่ายบัตรที่เกี่ยวข้อง (เช่น Visa, Mastercard) ธนาคารผู้ออกบัตรจะได้รับคําขอทําธุรกรรมและทําการตรวจสอบหลายรายการ เช่น ยืนยันความถูกต้องของบัตร วงเงินที่ใช้ได้ และความเสี่ยงด้านการฉ้อโกงต่างๆ หากธุรกรรมได้รับการอนุมัติ ธนาคารผู้ออกบัตรจะส่งรหัสการอนุมัติผ่านเครือข่ายกลับไปยังธุรกิจเพื่อแจ้งว่ามีวงเงินเพียงพอและได้กันเงินนั้นไว้สำหรับธุรกรรมนี้แล้ว

  • การจัดทำชุดข้อมูล: เมื่อสิ้นสุดวันทําการ ธุรกิจจะส่งรายการธุรกรรมที่ได้รับการอนุมัติทั้งหมดรวมเป็นชุดเดียวไปยังผู้ประมวลผลการชําระเงิน การจัดทำชุดข้อมูลคือขั้นตอนการรวบรวมธุรกรรมตลอดทั้งวันเพื่อนำไปประมวลผลพร้อมกัน

  • การหักยอดและการชําระเงิน: ผู้ประมวลผลการชําระเงินจะส่งต่อธุรกรรมที่จัดทำเป็นชุดแล้วไปยังเครือข่ายบัตร ซึ่งจะนําส่งไปยังธนาคารผู้ออกบัตรนั้นๆ เพื่อทําการชําระเงิน ขณะที่ชําระเงิน ธนาคารผู้ออกบัตรจะโอนเงินตามมูลค่าธุรกรรมไปยังธนาคารผู้รับบัตรของธุรกิจผู้ค้า แล้วธนาคารผู้รับบัตรจึงโอนเงินหลังหักค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องเข้าบัญชีของธุรกิจ โดยปกติขั้นตอนนี้จะใช้เวลา 1-3 วันทําการ ซึ่งหลังจากนั้นธุรกิจจึงจะใช้เงินดังกล่าวได้

  • ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่าย: ตลอดขั้นตอนดังกล่าว กิจการที่มีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกรรมจะทำการคิดค่าธรรมเนียมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรม ค่าธรรมเนียมเหล่านี้ประกอบด้วย ค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านบัตรระหว่างธนาคาร (ชําระให้กับธนาคารที่ออกบัตร) ค่าธรรมเนียมเครือข่ายระบบชำระเงิน (ชําระให้กับเครือข่ายบัตร) และค่าธรรมเนียมการประมวลผล (จ่ายให้กับผู้ประมวลผลการชําระเงิน) โครงสร้างค่าธรรมเนียมจะแตกต่างกันไปตามข้อตกลงระหว่างธุรกิจกับผู้ประมวลผลการชําระเงิน ประเภทของบัตรที่ใช้ (เช่น บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรสะสมรคะแนน) และลักษณะของธุรกรรม (เช่น ที่จุดขาย ทางออนไลน์)

  • การรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกําหนด: ระบบจะนําโปรโตคอลความปลอดภัย เช่น การเข้ารหัสและการแปลงเป็นโทเค็นมาใช้ตลอดขั้นตอนเพื่อปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของเจ้าของบัตร โดยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประมวลผลธุรกรรมบัตรเครดิตจะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสําหรับอุตสาหกรรมบัตรชําระเงิน (PCI DSS)

  • การโต้แย้งการชําระเงินและการดึงเงินคืน: ในกรณีที่เจ้าของบัตรโต้แย้งธุรกรรมหรือธุรกรรมมีโอกาสเป็นการฉ้อโกง ขั้นตอนการดึงเงินคืนอาจเริ่มขึ้น ซึ่งจะต้องมีการกลับรายการธุรกรรมและหักเงินจํานวนดังกล่าวจากบัญชีของธุรกิจระหว่างที่มีการตรวจสอบการโต้แย้งการชําระเงิน ธุรกิจจะต้องโต้ตอบการดึงเงินคืนด้วยหลักฐานสนับสนุนความถูกต้องของธุรกรรม ไม่เช่นนั้นก็อาจเสี่ยงที่จะเสียเงินดังกล่าวและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม

วิธีรับบัตรเครดิตสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

เลือกผู้ให้บริการชําระเงิน (PSP)

PSP ทำหน้าที่เชื่อมโยงธุรกิจ ลูกค้า สถาบันการเงิน และเครือข่ายบัตรเพื่อประมวลผลการชําระเงินออนไลน์ ธุรกิจควรพิจารณาปัจจัยเหล่านี้เมื่อเลือกใช้ PSP:

  • แนวโน้มตลาด: สำรวจแนวโน้มเกี่ยวกับการประมวลผลการชําระเงิน รวมถึงเทคโนโลยีเกิดใหม่และความต้องการด้านการชําระเงินของลูกค้า

  • การสนับสนุนทางเทคนิค: ตรวจสอบระดับการให้บริการสนับสนุนทางเทคนิคของ PSP ทั้งนี้บริการสนับสนุนตลอด 24 ชม. ฝ่ายบริการลูกค้าที่ตอบสนองอย่างรวดเร็ว และการเข้าถึงความเชี่ยวชาญทางเทคนิคจะช่วยแก้ไขปัญหาได้อย่างรวดเร็วและช่วยรักษาความต่อเนื่องของธุรกิจ

  • การปรับแต่งและการขยายขนาด: ประเมินว่า PSP อนุญาตให้ปรับแต่งบริการตามความต้องการของธุรกิจได้หรือไม่ และดูว่าสามารถรองรับการขยายไปพร้อมกับธุรกิจของคุณโดยรับมือกับปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นและการขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้หรือไม่

  • ความคิดเห็นจากลูกค้าและผู้เชี่ยวชาญ: เข้าร่วมฟอรัม ติดต่อธุรกิจอื่นๆ ที่ใช้ PSP เพื่อขอคําแนะนําจากผู้เชี่ยวชาญ

  • ฟีเจอร์ที่มีให้บริการ: ตรวจสอบฟีเจอร์ของ PSP แต่ละรายอย่างละเอียด ผู้ให้บริการรองรับธุรกรรมหลายสกุลเงินหรือมีเครื่องมือจัดทำรายงานหรือไม่ อินเทอร์เฟซใช้งานง่ายหรือไม่ สามารถผสานการทํางานกับซอฟต์แวร์การบัญชีหรือระบบการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) ของคุณได้หรือไม่

เมื่อคุณเลือก PSP ได้แล้ว ให้เจรจาต่อรองเงื่อนไข พูดคุยเรื่องการลดค่าธรรมเนียม โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธุรกิจของคุณมีการประมวลผลธุรกรรมจํานวนมาก และสอบถามเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายแฝงหรือโอกาสในการลดค่าธรรมเนียมในอนาคต

จัดทำบัญชีผู้ค้า

บัญชีผู้ค้าเป็นบัญชีธนาคารเฉพาะทางที่เปิดให้ธุรกิจรับการชําระเงินผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิตได้ โดยทําหน้าที่เป็นตัวกลางถือครองเงินจากธุรกรรมผ่านบัตรไว้ก่อนที่จะโอนไปยังบัญชีธนาคารของธุรกิจ PSP บางราย เช่น Stripe ผนวกบัญชีผู้ค้าเข้ากับกับบริการต่างๆ ของตน ทำให้ธุรกิจไม่จำเป็นต้องสร้างบัญชีผู้ค้าเอง ซึ่งทําให้ขั้นตอนง่ายขึ้นและช่วยลดภาระด้านการบริหารจัดการ หากต้องการใช้บัญชีผู้ค้า มีประเด็นที่ควรพิจารณาดังนี้:

  • ความสอดคล้องกับโมเดลธุรกิจ: มองหาผู้ให้บริการที่เข้าใจโมเดลธุรกิจของคุณ การได้ผู้ให้บริการที่เหมาะสมจะนําไปสู่เงื่อนไขน่าพึงพอใจมากขึ้นและทำให้การปฏิบัติงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

  • การเตรียมการสมัคร: เมื่อสมัครขอใช้บัญชีผู้ค้า ให้จัดทําข้อมูลวิเคราะห์ธุรกิจที่ครอบคลุม ซึ่งรวมถึงแผนธุรกิจ สถานะทางการเงิน ปริมาณการขายที่คาดการณ์ และกลยุทธ์รับมือการฉ้อโกง เพื่อแสดงให้ผู้ให้บริการบัญชีผู้ค้าเห็นว่าคุณเป็นพันธมิตรธุรกิจที่มีความรับผิดชอบและยังช่วยให้คุณได้เงื่อนไขบริการที่ดีขึ้นอีกด้วย

  • ปัจจัยในการพิจารณาอนุมัติ: ควรรู้ว่าปัจจัยใดบ้างที่ส่งผลต่อการอนุมัติการสมัครใช้บริการของคุณ เช่น ประวัติสินเชื่อ ประเภทอุตสาหกรรม และปริมาณการขาย จัดการสัญญาณอันตรายที่อาจเกิดขึ้นก่อนปัญหา

  • ความต้องการในอนาคต: พิจารณาดูว่าการเปลี่ยนแปลงขนาดหรือโมเดลธุรกิจคุณจะส่งผลต่อความต้องการด้านบัญชีผู้ค้าอย่างไร และให้แน่ใจว่าผู้ให้บริการมีความยืดหยุ่นพอที่จะปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว

ผสานการทํางานกับเกตเวย์การชําระเงิน

เกตเวย์การชําระเงินคือเทคโนโลยีที่ธุรกิจใช้ในการรับชำระเงินจากการซื้อด้วยบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิตของลูกค้า โดยรับหน้าที่ในขั้นตอนการสื่อสารระหว่างเว็บไซต์ของธุรกิจกับธนาคารผู้รับบัตร และส่งข้อมูลการชําระเงินซึ่งเป็นข้อมูลที่ละเอียดอ่อนอย่างปลอดภัย เมื่อเลือกเกตเวย์การชําระเงิน ธุรกิจควรพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้:

  • ฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัย: ประเมินฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยของเกตเวย์การชําระเงิน ซึ่งรวมถึงการเข้ารหัสและการแปลงเป็นโทเค็น

  • ความสะดวกในการผสานการทํางาน: พิจารณาถึงความซับซ้อนของการผสานการทํางานเกตเวย์การชําระเงินกับระบบของคุณ การผสานการทํางานที่เรียบง่ายจะช่วยลดค่าใช้จ่ายและลดการหยุดชะงักในการปฏิบัติงานของคุณให้เหลือน้อยที่สุด ทํางานร่วมกับทีมพัฒนาเว็บหรือผู้เชี่ยวชาญภายนอกอย่างใกล้ชิดเพื่อประเมินการผสานการทํางานทางเทคนิค โดยมุ่งเน้นด้านต่างๆ เช่น การเชื่อมต่ออินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (API) การเข้ารหัสข้อมูล และกลไกการจัดการข้อผิดพลาด

  • ประโยชน์จากการค้าแบบแพลตฟอร์มรวม: มองหา PSP ที่มีโซลูชันการค้าแบบแพลตฟอร์มรวมที่สามารถเชื่อมต่อช่องทางการขายภายในร้าน อุปกรณ์เคลื่อนที่ และช่องทางการขายออนไลน์ของคุณ ซึ่งจะสร้างมุมมองการโต้ตอบกับลูกค้าแบบองค์รวม และสามารถส่งมอบบริการและทำการตลาดแบบกําหนดเป้าหมายได้ดีขึ้น

  • ประสบการณ์ของผู้ใช้: มองหาขั้นตอนการชําระเงินที่เข้าใจง่ายและตรงไปตรงมา ซึ่งลดจํานวนขั้นตอนที่ต้องใช้ในการทําธุรกรรมให้เสร็จและทํางานบนแพลตฟอร์มมือถือกับเว็บได้ด้วย

  • ประสิทธิภาพการทํางาน: ทําการทดสอบอย่างละเอียดซึ่งรวมการทดสอบสถานการณ์ต่างๆ เช่น ธุรกรรมไม่สําเร็จ การคืนเงิน และการดึงเงินคืน เพื่อยืนยันว่าระบบสามารถทำงานได้ภายใต้เงื่อนไขต่างๆ

ซื้อฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สําหรับธุรกรรมที่จุดขาย

เมื่อเลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์สําหรับธุรกรรมที่จุดขาย ให้ลองพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้

  • ข้อพิจารณาเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์: เมื่อเลือกฮาร์ดแวร์สําหรับธุรกรรมผ่านบัตรเครดิตที่จุดขาย ควรพิจารณาถึงความทนทาน ความง่ายในการใช้งาน ความเข้ากันได้กับบัตรประเภทต่างๆ (เช่น ชิป แถบแม่เหล็ก NFC) และอายุแบตเตอรี่ของอุปกรณ์เคลื่อนที่

  • การผสานการทํางานกับระบบออนไลน์: ระบบธุรกรรมที่จุดขายควรจะสามารถผสานการทํางานกับระบบออนไลน์ของคุณได้อย่างสมบูรณ์ โดยซิงโครไนซ์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้และให้มุมมองกิจกรรมของลูกค้าที่รวมเป็นหนึ่งเดียว

  • การสนับสนุนอย่างต่อเนื่อง: ค้นหาผู้ให้บริการที่ให้การสนับสนุนและการฝึกอบรมเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์อย่างต่อเนื่องเพื่อให้เกิดปัญหาและหยุดทํางานน้อยที่สุดและแก้ปัญหาได้อย่างรวดเร็ว

  • การประเมินโซลูชันอย่างครอบคลุม: พิจารณาสภาพแวดล้อมของฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ โดยพิจารณาว่าส่วนประกอบต่างๆ ผสานการทำงานเข้ากันได้ดีเพียงใด การอัปเดตซอฟต์แวร์ทำได้ง่ายหรือไม่ ตลอดจนพิจารณาว่ามีฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การจัดการสินค้าคงคลังหรือโปรแกรมสะสมคะแนนของลูกค้าหรือไม่

  • การซิงโครไนซ์ข้อมูล: มองหาโซลูชันที่ซิงโครไนซ์ข้อมูลแบบเรียลไทม์ได้ในทุกช่องทาง ซึ่งรวมถึงข้อมูลการขาย ระดับสินค้าคงคลัง และข้อมูลลูกค้า

  • การรองรับอนาคต: เลือกฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ที่รองรับอนาคต ซึ่งหมายความว่าสามารถปรับเปลี่ยนให้เข้ากับวิธีการชําระเงินแบบใหม่ๆ รองรับการปฏิบัติตามข้อบังคับที่กําลังจะมีผลบังคับใช้ และผสานการทํางานกับเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าขึ้นได้อย่างง่ายดาย

การปฏิบัติตามข้อกําหนดและข้อพิจารณาด้านความปลอดภัย

ปฏิบัติตามแนวทางที่ดีที่สุดด้านการรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกําหนดดังต่อไปนี้ เพื่อให้เท่าทันข้อกําหนดทางกฎหมายและมาตรฐานอุตสาหกรรมอยู่เสมอ

  • การอัปเดตเรื่องการปฏิบัติตามข้อกําหนดเป็นประจํา: จัดทำกําหนดเวลาตรวจสอบและอัปเดตแนวทางการปฏิบัติตามข้อกําหนดเป็นประจํา ซึ่งรวมถึงการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงมาตรฐานของ PCI DSS และทำการเปลี่ยนแปลงตามจําเป็นในเวลาที่เหมาะสม

  • แผนรับมือกับเหตุการณ์: จัดทําแผนรับมือกับเหตุการณ์การละเมิดด้านความปลอดภัยที่อาจเกิดขึ้นอย่างครอบคลุม แผนนี้ควรประกอบด้วยขั้นตอนการควบคุม สืบสวน แจ้งเตือน และฟื้นฟู รวมถึงบทบาทและความรับผิดชอบของทีม

  • การให้ความรู้พนักงานอย่างต่อเนื่อง: จัดทําโปรแกรม่ให้ความรู้พนักงานอย่างต่อเนื่อง โดยเน้นเรื่องแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดด้านความปลอดภัย ภัยคุกคามใหม่ๆ และข้อมูลอัปเดตเกี่ยวกับการปฏิบัติตามข้อกําหนด การฝึกอบรมเป็นประจําจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากความผิดพลาดของมนุษย์และช่วยรักษาวัฒนธรรมการตระหนักถึงความปลอดภัย

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเกี่ยวกับการชําระเงินด้วยบัตรเครดิตสําหรับธุรกิจขนาดเล็ก

มาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูง

  • การเข้ารหัสจากต้นทางถึงปลายทาง (E2EE) และการแปลงเป็นโทเค็น: นอกจากการปฏิบัติตามข้อกําหนดพื้นฐานของ PCI DSS แล้ว เทคนิค E2EE และการแปลงเป็นโทเค็นยังทําให้ข้อมูลของเจ้าของบัตรได้รับการเข้ารหัสในทุกจุดของขั้นตอนการทําธุรกรรม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงต่อการละเมิดข้อมูลได้

  • การตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัย (MFA) สำหรับธุรกรรม: นำ MFA มาใช้กับธุรกรรมออนไลน์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับการซื้อมูลค่าสูงหรือการเปลี่ยนแปลงข้อมูลบัญชี ซึ่งจะเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง และลดความเสี่ยงในการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต

  • การตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยเป็นประจําและการทดสอบการเจาะระบบ: การตรวจสอบการรักษาความปลอดภัยอย่างละเอียดและจัดให้มีการทดสอบการเจาะระบบเป็นประจําจะช่วยระบุช่องโหว่ในระบบการประมวลผลการชําระเงินของคุณ และแก้ไขได้ก่อนที่มิจฉาชีพจะมีโอกาสใช้ประโยชน์จากช่องโหว่เหล่านั้น

การประมวลผลการชําระเงิน

  • การแปลงสกุลเงินแบบไดนามิก (DCC): ให้บริการ DCC แก่ลูกค้าต่างประเทศเพื่อให้ลูกค้าดูราคาและชําระเงินเป็นสกุลเงินท้องถิ่นของตนเองได้ วิธีนี้จะช่วยปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้าและอาจช่วยเพิ่มยอดขายจากตลาดต่างประเทศได้

  • ระบบกําหนดเส้นทางอัจฉริยะ: ใช้ระบบกําหนดเส้นทางอัจฉริยะเพื่อเลือกเกตเวย์การชําระเงินที่ดีที่สุดโดยอิงตามปัจจัยต่างๆ เช่น อัตราความสําเร็จของธุรกรรม ค่าธรรมเนียมการประมวลผล และธนาคารผู้ออกบัตร ซึ่งจะช่วยเพิ่มอัตราการอนุมัติและลดต้นทุนได้

  • กลไกการแก้ไขข้อขัดข้อง: ใช้กลไกการแก้ไขข้อขัดข้องที่เปลี่ยนเส้นทางธุรกรรมอัตโนมัติไปยังผู้ประมวลผลรองหากระบบของผู้ประมวลผลหลักไม่ทำงาน เพื่อให้สามารถบริการได้ต่อเนื่องและลดการสูญเสียยอดขาย

ประสบการณ์ของลูกค้า

  • การชำระเงิน: ยกระดับขั้นตอนการชําระเงิน โดยลดขั้นตอนและการติดขัดโดยเฉพาะบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ พิจารณาตัวเลือกการซื้อแบบคลิกเดียวและการจัดเก็บข้อมูลการชําระเงินของลูกค้าสําหรับธุรกรรมในอนาคต

  • การปรับแต่งให้เหมาะกับแต่ละบุคคล: ใช้ข้อมูลที่รวบรวมจากขั้นตอนการชําระเงินเพื่อปรับแต่งประสบการณ์การซื้อที่เหมาะกับลูกค้าเฉพาะราย ซึ่งอาจรวมถึงข้อเสนอหรือคําแนะนําที่จัดให้เฉพาะโดยพิจารณาจากประวัติการซื้อ

  • การสื่อสาร: แจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับขั้นตอนการชําระเงินโดยระบุคําแนะนําที่ชัดเจนและให้ข้อมูลสถานะธุรกรรมในทันที การสื่อสารที่โปร่งใสจะช่วยลดการขอดึงเงินคืนและเสริมสร้างความเชื่อมั่นของลูกค้า

การจัดการทางการเงิน

  • ค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านบัตรระหว่างธนาคาร: ทําความรู้จักกับปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านบัตรระหว่างธนาคาร และนำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดมาใช้เพื่อให้มีสิทธิ์ได้รับอัตราค่าธรรมาเนียมที่ต่ําที่สุด

  • การดึงเงินคืน: จัดทํากลยุทธ์ที่ครอบคลุมสําหรับการจัดการและโต้แย้งการดึงเงินคืน ซึ่งควรจะประกอบด้วยการบันทึกรายการธุรกรรมอย่างละเอียด บริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม และการใช้เครื่องมือต่างๆ เช่น บริการยืนยันที่อยู่ (AVS) และการตรวจสอบรหัสยืนยันบัตร (CVV)

  • กระแสเงินสด: ใช้ข้อมูลเชิงลึกจากการประมวลผลการชําระเงินเพื่อจัดการกระแสเงินสดของคุณให้ดียิ่งขึ้น การวิเคราะห์ช่วงเวลาการชําระรายการและการกระทบยอดการชําระเงินอย่างรวดเร็วจะช่วยให้คุณคาดการณ์และจัดการการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

การปรับปรุงและปรับตัวอย่างต่อเนื่อง

  • แนวโน้มอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมการชําระเงินมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับเทคโนโลยีล่าสุด การเปลี่ยนแปลงระเบียบข้อบังคับ และความต้องการด้านการชําระเงินของลูกค้าเพื่อปรับกลยุทธ์ของคุณให้สอดคล้องกัน

  • วงจรคำติชม: กําหนดกลไกเพื่อรวบรวมความคิดเห็นจากลูกค้าและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในเกี่ยวกับขั้นตอนการชําระเงิน ใช้คําติชมนี้เพื่อปรับปรุกลยุทธ์เกี่ยว่กับการชําระเงินของคุณอย่างต่อเนื่อง

  • การฝึกอบรมพนักงาน: ฝึกอบรมพนักงานของคุณเกี่ยวกับระเบียบปฏิบัติปัจจุบันด้านการรักษาความปลอดภัยการประมวลผลการชําระเงินและแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุด ทีมที่มีข้อมูลเพียงพอจะสามารถมอบบริการที่ดียิ่งขึ้นให้แก่ลูกค้าและช่วยบรรเทาความเสี่ยงได้

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับรองความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความเพียงพอ หรือสกุลเงินของข้อมูลในบทความนี้ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Payments

Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด

Stripe Docs เกี่ยวกับ Payments

ค้นหาคู่มือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Payments API ของ Stripe