ประกันภัยการดึงเงินคืนมักจะเรียกว่าการคุ้มครองการดึงเงินคืน คือบริการที่ผู้ประมวลผลการชําระเงิน และบริษัทประกันภัยจะเสนอเพื่อปกป้องธุรกิจจากความสูญเสียทางการเงินที่เกี่ยวข้องกับการดึงเงินคืน การดึงเงินคืนเกิดขึ้นเมื่อลูกค้าโต้แย้งธุรกรรมและส่งคําขอคืนเงินจากธนาคารหรือบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตผ่านทางธุรกิจ Mastercard ประมาณการว่าปริมาณการดึงเงินคืนจะสูงถึง 337 ล้านรายการภายในปี 2026
องค์ประกอบหลักของประกันภัยการดึงเงินคืนมีดังนี้
ขอบเขตการคุ้มครอง: ประกันภัยนี้มักจะคุ้มครองธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงซึ่งลูกค้าโต้แย้ง คุณจําเป็นต้องทราบประเภทการดึงเงินคืนที่ได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากกรมธรรม์อาจแตกต่างกันออกไป
เงินชดเชย: เมื่อเกิดการดึงเงินคืนภายใต้การคุ้มครองขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยจะคืนเงินให้แก่ธุรกิจตามยอดธุรกรรมลบด้วยยอดหักลดที่เกี่ยวข้อง วิธีนี้จะช่วยลดการสูญเสียทางการเงินที่เกิดจากการโต้แย้งการชําระเงินที่เป็นการฉ้อโกง
เครื่องมือป้องกัน: ผู้ให้บริการหลายรายยังมีเครื่องมือและบริการต่างๆ เพื่อลดโอกาสในการดึงเงินคืน ซึ่งอาจรวมถึงระบบการตรวจจับการฉ้อโกง การแจ้งเตือนธุรกรรมที่น่าสงสัย และแนวทางปฏิบัติแนะนำสําหรับการประมวลผลการชําระเงิน
ค่าใช้จ่ายของกรมธรรม์: ค่าใช้จ่ายของประกันภัยการดึงเงินคืนอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมของธุรกิจ ปริมาณธุรกรรม และอัตราการดึงเงินคืนในอดีต ผู้ให้บริการบางรายอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมคงที่ แต่ผู้ให้บริการรายอื่นอาจมีรูปแบบค่าบริการแบบเป็นเปอร์เซ็นต์
ขั้นตอนการเรียกสินไหม: ธุรกิจมักจะต้องส่งหลักฐานให้กับผู้ให้บริการประกันภัยเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมและลักษณะการดึงเงินคืนที่ไม่ถูกต้อง ขั้นตอนการเรียกสินไหมและข้อกําหนดอาจแตกต่างกันไปตามผู้ให้บริการ
ด้านล่างนี้เราจะอธิบายสิ่งที่ธุรกิจควรทราบเกี่ยวกับประกันภัยการดึงเงินคืน ไม่ว่าจะเป็นวิธีการใช้งาน ค่าใช้จ่านย และประเภทธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จาก รวมถึงวิธีที่ Stripe สามารถช่วยเหลือคุณได้
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- ใครบ้างที่ต้องใช้ประกันภัยการดึงเงินคืน
- ประกันภัยการดึงเงินคืนทํางานอย่างไร
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของประกันภัยการดึงเงินคืน
- ประโยชน์และข้อจํากัดของประกันภัยการดึงเงินคืน
- วิธีการสมัครและจัดการประกันภัยการดึงเงินคืน
ใครบ้างที่ต้องใช้ประกันภัยการดึงเงินคืน
ประกันภัยการดึงเงินคืนมีประโยชน์อย่างยิ่งสําหรับธุรกิจและสถานการณ์บางประเภท ความเสี่ยงของธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงผลกระทบทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นจากการดึงเงินคืนจะขึ้นอยู่กับลักษณะการดำเนินงานของธุรกิจ ต่อไปนี้คือโปรไฟล์ธุรกิจหลักๆ ที่อาจต้องใช้การประกันภัยการดึงเงินคืน
ผู้ค้าปลีกออนไลน์: ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มีโอกาสที่จะการดึงเงินคืนสูง เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะเกิดธุรกรรมออนไลน์ที่เป็นการฉ้อโกงสูงกว่าและไม่มีการยืนยันบัตรหรือเจ้าของบัตรใบจริง
ธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง อุตสาหกรรมบางประเภท เช่น การเดินทาง เครื่องใช้ไฟฟ้า และสินค้าหรู ต้องเผชิญกับเหตุการณ์การดึงเงินคืนที่สูงขึ้นเนื่องมาจากมูลค่าของธุรกรรมที่สูงและความเสี่ยงของการฉ้อโกงที่มากกว่า
บริษัทที่มีปริมาณธุรกรรมสูง: ธุรกิจที่ประมวลผลธุรกรรมจำนวนมากอาจต้องเผชิญกับความเสี่ยงต่อการดึงเงินคืนสูงตามสัดส่วนการชำระเงิน ทําให้การเลือกใช้ประกันภัยเป็นมาตรการป้องกันที่ชาญฉลาด
ธุรกิจที่มีปัญหาเกี่ยวกับการดึงเงินคืนก่อนหน้านี้: หากธุรกิจมีประวัติการดึงเงินคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีค่าใช้จ่ายสูงหรือเกิดบ่อยครั้ง ประกันภัยการดึงเงินคืนสามารถให้การคุ้มครองทางการเงินแก่ธุรกิจอีกชั้นหนึ่งได้
ธุรกิจที่จําหน่ายสินค้าและบริการดิจิทัล: บริษัทเหล่านี้ต้องเผชิญกับความท้าทายเฉพาะตัวในการโต้แย้งการดึงเงินคืน เนื่องจากมักไม่มีหลักฐานการส่งมอบสินค้าหรือบริการ
บริษัทที่มีทรัพยากรจํากัดสําหรับการจัดการการโต้แย้งการชําระเงิน: ธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่ไม่มีทีมเฉพาะทางสําหรับจัดการกับการโต้แย้งการดึงเงินคืน อาจได้รับประโยชน์จากประกันภัยการดึงเงินคืน เนื่องจากสามารถช่วยลดภาระด้านการดูแลระบบและค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องได้
ธุรกิจในตลาดที่มีอัตราการฉ้อโกงสูง: บริษัทที่ดําเนินงานในพื้นที่ที่มีการฉ้อโกงการชําระเงินสูงกว่ามีแนวโน้มที่จะได้รับประโยชน์จากประกันภัยการดึงเงินคืนมากกว่า
ประกันภัยการดึงเงินคืนทํางานอย่างไร
Chargeback Insurance คือระบบป้องกันเพื่อความปลอดภัยทางการเงินที่ปกป้องธุรกิจจากความสูญเสียของการดึงเงินคืน คาดการณ์ว่ายอดค้าปลีกจากอีคอมเมิร์ซทั่วโลกจะสูงถึง 7.3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ภายในปี 2025 ซึ่งอัตราการฉ้อโกงและการดึงเงินคืนก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน วิธีการทํางานของประกันภัยการดึงเงินคืนมีดังนี้
การรับกรมธรรม์: ขั้นแรก ให้ธุรกิจรับประกันภัยการดึงเงินคืนจากผู้ให้บริการประกันภัยโดยตรงหรือผ่านบริการประมวลผลการชําระเงินที่มอบความคุ้มครองนี้ ข้อกําหนดของประกันภัย ซึ่งรวมถึงวงเงินที่คุ้มครอง ประเภทการดึงเงินคืนที่ครอบคลุม และค่าเบี้ยประกันภัยจะกำหนดตามโปรไฟล์ความเสี่ยงของธุรกิจ
การเกิดการดึงเงินคืน: เมื่อลูกค้าเริ่มดึงเงินคืน ธุรกิจจะต้องปรับคืนธุรกรรมทางการเงิน การดึงเงินคืนอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ซึ่งมีตั้งแต่การใช้บัตรเครดิตโดยไม่อได้รับอนุญาติ ไปจนถึงความไม่พึงพอใจกับผลิตภัณฑ์หรือบริการ หรือการที่ลูกค้าอ้างสิทธิ์เพื่อฉ้อโกง
การยื่นคําขอเรียกสินไหม: หลังจากเกิดการดึงเงินคืน ธุรกิจจะยื่นคำขอรับสินไหมกับผู้ให้บริการประกันภัย โดยต้องส่งหลักฐานที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมดังกล่าว เช่น หลักฐานการซื้อ การยืนยันการจัดส่ง และข้อมูลการสื่อสารกับลูกค้า วัตถุประสงค์ของขั้นตอนนี้คือการแสดงให้เห็นว่าธุรกรรมนั้นถูกต้องและการดึงเงินคืนนั้นไม่ยุติธรรม
การตรวจสอบของบริษัทประกันภัย: บริษัทประกันภัยจะตรวจสอบคำขอเรียกสินไหมเพื่อพิจารณาว่าบริษัทเข้าเกณฑ์ความคุ้มครองของกรมธรรม์หรือไม่ บริษัทประเมินหลักฐานที่ธุรกิจส่งเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมและลักษณะการดึงเงินคืนที่ไม่ถูกต้อง
การชําระเงินและการจ่ายเงินชดเชย: หากคําขอได้รับอนุมัติ ผู้ให้บริการประกันภัยจะชดเชยเงินให้แก่ธุรกิจตามจำนวนการดึงเงินคืน หลังจากหักลดเงินที่เกี่ยวข้องแล้ว การชดเชยเงินนี้จะช่วยให้ธุรกิจได้เงินคืนจากที่สูญเสียไปกับธุรกรรมที่โต้แย้งได้
การป้องกันและการตรวจสอบ: ผู้ให้บริการประกันภัยการดึงเงินคืนหลายแห่งยังให้บริการเพื่อช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ป้องกันการดึงเงินคืนในอนาคตได้ด้วย โดยอาจรวมถึงการแจ้งเตือนธุรกรรมที่น่าสงสัย และคําแนะนําเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในการประมวลผลธุรกรรม
ประกันภัยการดึงเงินคืนมีประโยชน์เป็นพิเศษสําหรับธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูงที่จะถูกดึงเงินคืน เช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ หรือธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง ก่อนที่จะเลือกใช้ประกันภัยการดึงเงินคืน ธุรกิจควรศึกษาค่าใช้จ่าย ข้อจํากัด และข้อกําหนดที่เกี่ยวข้องกับนโยบายเหล่านี้
ปัจจัยที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายของประกันภัยการดึงเงินคืน
ค่าใช้จ่ายในประกันภัยการดึงเงินคืนสําหรับธุรกิจจะแตกต่างกันไปตามหลายปัจจัย ได้แก่
ระดับความเสี่ยงของอุตสาหกรรม: อุตสาหกรรมต่างๆ มีระดับความเสี่ยงการดึงเงินคืนแตกต่างกันไป ธุรกิจที่จัดอยู่ในหมวดหมู่ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ธุรกิจที่จําหน่ายสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ สินค้าหรูหรา หรือสินค้าดิจิทัล มีแนวโน้มที่จะต้องจ่ายเบี้ยประกันที่สูงขึ้นเนื่องจากมีโอกาสในการดึงเงินคืนมากกว่า
ปริมาณธุรกรรม: โดยทั่วไปธุรกิจที่มีปริมาณธุรกรรมสูงจะต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยการดึงเงินคืนมากกว่า เนื่องจากมีโอกาสเกิดการดึงเงินคืนมากขึ้นตามจํานวนธุรกรรมที่ได้รับการประมวลผล
อัตราการดึงเงินคืนในอดีต: ประวัติการดึงเงินคืนที่ผ่านมาของธุรกิจเป็นอีกปัจจัยสําคัญ บริษัทที่มีการดึงเงินคืนในอัตราที่สูงในอดีตอาจต้องจ่ายเบี้ยประกันภัยสูงขึ้น เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงต่อบริษัทประกันภัย
มูลค่าธุรกรรมเฉลี่ย: มูลค่าของธุรกรรมแต่ละรายการจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายในการประกันภัยด้วย มูลค่าธุรกรรมที่สูงขึ้นอาจทําให้เบี้ยประกันภัยการดึงเงินคืนสูงขึ้น เนื่องจากการอาจเกิดสูญเสียจากการดึงเงินคืนมากกว่า
ประเภทการคุ้มครอง: ขอบเขตความคุ้มครองที่ธุรกิจต้องการจะส่งผลต่อค่าใช้จ่ายด้วย กรมธรรม์ที่คุ้มครองสถานการณ์การดึงเงินคืนที่หลากหลายมักจะมีราคาแพงกว่ากรมธรรม์พื้นฐานที่มีการคุ้มครองแบบจํากัด
การหักลด: โดยทั่วไปแล้ว นโยบายที่มีการหักลดเยอะกว่าจะมีเบี้ยประกันภัยถูกกว่า ซึ่งธุรกิจจะต้องจ่ายเงินที่ดึงคืนก่อนบางส่วน จึงจะเริ่มรับความคุ้มครองจากประกันภัยได้ การเลือกกรมธรรม์ที่มียอดหักลดสูงขึ้นอาจเป็นลดค่าใช้จ่ายโดยรวมของประกันภัยได้
บริการเพิ่มเติม: บริษัทประกันภัยบางแห่งอาจมีบริการที่ให้มูลค่าเพิ่ม เช่น เครื่องมือตรวจจับการฉ้อโกงและระบบตรวจสอบธุรกรรม แพ็กเกจที่รวมบริการเหล่านี้อาจมีราคาแพงกว่าประกันภัยการดึงเงินคืนขั้นพื้นฐาน
ผู้ให้บริการประกันภัย: ค่าใช้จ่ายอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับโมเดลค่าบริการและบริการเฉพาะที่ผู้ให้บริการมีให้ การศึกษาข้อมูลและเปรียบเทียบใบเสนอราคาจากผู้ให้บริการแต่ละแห่งสามารถช่วยให้ธุรกิจหาตัวเลือกที่คุ้มค่าที่สุดได้
แม้ว่าประกันภัยการดึงเงินคืนจะช่วยป้องกันความสูญเสียทางการเงินอันเนื่องมาจากการดึงเงินคืน แต่ธุรกิจต่างๆ ต้องพิจารณาค่าเบี้ยประกันภัยและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยเทียบกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นและการสูญเสียจากการดึงเงินคืน
ประโยชน์และข้อจํากัดของประกันภัยการดึงเงินคืน
การเรียนรู้ว่าการประกันภัยการดึงเงินคืนสามารถทำอะไรได้บ้างและมีข้อจำกัดใดบ้าง คือส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ธุรกิจตัดสินใจว่าแพ็กเกจประเภทนั้นๆ ตอบโจทย์ความต้องการได้หรือไม่
ประโยชน์ของการประกันภัยการดึงเงินคืน
การคุ้มครองทางการเงิน: สิทธิประโยชน์หลักๆ คือการคุ้มครองความสูญเสียทางการเงินอันเนื่องมาจากการดึงเงินคืน ประกันภัยจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดึงเงินคืนและปกป้องรายได้ของธุรกิจ
ภาระด้านการดูแลระบบลดลง: การจัดการการดึงเงินคืนอาจใช้เวลานานและต้องมีการดําเนินการด้านการดูแลระบบค่อนข้างมาก ประกันภัยการดึงเงินคืนสามารถลดภาระนี้ได้ เนื่องจากผู้ให้บริการประกันภัยมักจะให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนการโต้แย้งการชําระเงิน
การลดการฉ้อโกง: ผู้ให้บริการด้านการดึงเงินคืนหลายรายนําเสนอเครื่องมือและบริการเพื่อตรวจจับและป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกง ซึ่งช่วยลดโอกาสการดึงเงินคืนโดยรวมได้
การจัดการความเสี่ยงสําหรับธุรกรรมที่มีมูลค่าสูง: ธุรกิจที่ต้องจัดการกับสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าสูงนั้นเสี่ยงต่อการดึงเงินคืนเป็นพิเศษ เนื่องจากหากมีธุรกรรมที่ได้รับการโต้แย้งเพียงครั้งเดียวก็อาจเกิดการสูญเสียจํานวนมาก ประกันภัยการดึงเงินคืนจึงทําหน้าที่เพื่อลดความเสี่ยง และมีประสิทธิภาพเป็นพิเศษในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น สินค้าหรูหรือบริการแบบ B2B ที่มีมูลค่าธุรกรรมสูง
ข้อมูลเชิงลึกด้านการวิเคราะห์ที่ดียิ่งขึ้น: ผู้ให้บริการประกันภัยการดึงเงินคืนบางรายเสนอการวิเคราะห์ขั้นสูงร่วมกับบริการ เครื่องมือเหล่านี้สามารถระบุรูปแบบการดึงเงินคืนได้ โดยมอบข้อมูลเชิงลึกที่มีรายละเอียดจำนวนมาก เพื่อให้ธุรกิจสร้างกลยุทธ์ป้องกันการดึงเงินคืนได้
การสนับสนุนด้านการขยายขอบเขตการใช้งาน: ธุรกิจที่กําลังเติบโตต้องเผชิญกับการถูกดึงเงินคืนมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อธุรกิจขยายเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ หรือแพลตฟอร์มออนไลน์ ประกันภัยการดึงเงินคืนจึงเป็นองค์ประกอบสําคัญของกลยุทธ์การจัดการความเสี่ยงที่ขยายขอบเขตได้ เพื่อให้สอดคล้องกับปริมาณธุรกรรมและลักษณะการดำเนินงานที่เปลี่ยนแปลงไป
ผลกระทบที่มีต่อข้อตกลงการให้บริการของผู้ค้า: ผู้ให้บริการแก่ผู้ค้าและเกตเวย์การชําระเงินอาจเลือกทำงานร่วมกับธุรกิจที่มีประกันภัยการดึงเงินคืนมากกว่าธุรกิจที่ไม่มี ปัจจัยข้อนี้อาจนําไปสู่ข้อกําหนดในข้อตกลงการให้บริการที่ดีกว่าเนื่องจากประกันภัยมีการจัดการความเสี่ยงแบบเชิงรุก
ข้อจํากัดของการประกันภัยการดึงเงินคืน
ค่าใช้จ่าย: ประกันการดึงเงินคืนอาจมีเบี้ยสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับธุรกิจในอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงสูง หรือผู้ที่มีอัตราการดึงเงินคืนสูง
ข้อจํากัดความคุ้มครอง: การดึงเงินคืนบางประเภทอาจไม่ได้รับความคุ้มครอง ประกันภัยจะคุ้มครองการดึงเงินคืนเนื่องจากการฉ้อโกง แต่ไม่ครอบคลุมถึงความไม่พึงพอใจของลูกค้าหรือข้อผิดพลาดในการประมวลผล
ข้อยกเว้นของกรมธรรม์: กรมธรรม์บางฉบับจะมีข้อยกเว้นและเงื่อนไขที่จํากัดกรณีการคุ้มครองการดึงเงินคืน
ความรู้สึกว่าปลอดภัยเกินจริง: การพึ่งพาประกันภัยเพียงอย่างเดียวอาจทําให้ธุรกิจรู้สึกว่าไม่จำเป็นต้องใช้การป้องกันการฉ้อโกงและแนวทางการบริการลูกค้าที่ครอบคลุม
ขั้นตอนการเรียกสินไหม: ขั้นตอนการยื่นคําขอเรียกสินไหมและรับเงินชดเชยอาจมีความซับซ้อนและใช้เวลานาน ทำให้ต้องยื่นเอกสารจำนวนมากเพื่อใช้เป็นหลักฐานพิสูจน์
ความซับซ้อนในภาคธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง: ในภาคธุรกิจต่างๆ เช่น คริปโตเคอร์เรนซี เกม หรือความบันเทิงสําหรับผู้ใหญ่ ความซับซ้อนของการโต้แย้งการดึงเงินคืนจะเพิ่มขึ้น กรมธรรม์ประกันภัยการดึงเงินคืนแบบมาตรฐานอาจไม่ครอบคลุมถึงความแตกต่างของภาคธุรกิจเหล่านี้ทั้งหมด ทำให้ธุรกิจต้องขอหาความคุ้มครองที่เฉพาะทางหรือเพิ่มเติมจากเดิม
ผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อความสัมพันธ์กับลูกค้า: สําหรับธุรกิจ การพึ่งพาประกันภัยเพื่อจัดการการโต้แย้งการดึงเงินคืนอาจทําให้มีโอกาสติดต่อกับลูกค้าโดยตรงน้อยลงเมื่อเกิดข้อร้องเรียนหรือปัญหา ซึ่งอาจส่งผลต่อความภักดีของลูกค้าและการกลับมาใช้บริการหรือซื้อสินค้าซ้ำ
ข้อควรพิจารณาตามระเบียบข้อบังคับ: ธุรกิจที่ดําเนินงานในหลายเขตอํานาจศาลจะต้องพิจารณาข้อกําหนดหลายประการเกี่ยวกับการดึงเงินคืนและการคุ้มครองผู้บริโภค กรมธรรม์ประกันภัยการดึงเงินคืนจะต้องปฏิบัติตามสภาพแวดล้อมด้านกฎหมายที่หลากหลายเหล่านี้
การวัดปริมาณความสูญเสียทางอ้อม: แม้ประกันภัยการดึงเงินคืนจะรับผิดชอบความสูญเสียทางการเงินโดยตรง แต่ไม่ได้พิจารณาความสูญเสียทางอ้อม เช่น ความเสียหายต่อชื่อเสียงของแบรนด์หรือความเชื่อมั่นของลูกค้า ซึ่งอาจส่งผลกระทบทางการเงินในระยะยาวได้
ลักษณะการฉ้อโกงที่เปลี่ยนแปลงไป: กลยุทธ์ที่เปลี่ยนแปลงไปของมิจฉาชีพอาจทำให้ธุรกิจและบริษัทประกันภัยต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์อยู่เสมอ สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงนี้อาจทําให้ช่องว่างด้านความคุ้มครองหากไม่มีการตรวจสอบและอัปเดตกรมธรรม์ประกันภัยเป็นประจํา
วิธีสมัครและจัดการประกันภัยการดึงเงินคืน
สมัครใช้การประกันภัยการดึงเงินคืน
วิเคราะห์ความเสี่ยง: เริ่มต้นด้วยการประเมินความเสี่ยงในการดึงเงินคืนของธุรกิจ ดูประวัติธุรกรรม ประเภทผลิตภัณฑ์หรือบริการที่จําหน่าย และอัตราการดึงเงินคืนโดยทั่วไปในอุตสาหกรรมของคุณ รวบรวมข้อมูลให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทําได้เพื่อทําความเข้าใจว่าธุรกิจของคุณต้องเผชิญกับความเสี่ยงอะไรบ้าง
เลือกผู้ให้บริการประกันภัย: ศึกษาหาข้อมูลผู้ให้บริการประกันภัยหรือผู้ประมวลผลการชําระเงินที่ให้บริการประกันภัยการดึงเงินคืน เปรียบเทียบประเภทการดึงเงินคืนที่คุ้มครอง กระบวนการรับมือกับการเรียกร้องสินไหม และค่าใช้จ่ายโดยรวมของประกันภัย
เตรียมใบสมัคร: คุณจะต้องให้ข้อมูลโดยละเอียดเกี่ยวกับธุรกิจเมื่อสมัครใช้ประกันภัยการดึงเงินคืน ซึ่งรวมถึงบันทึกทางการเงิน ข้อมูลธุรกรรมการขาย และข้อมูลเกี่ยวกับมาตรการป้องกันการฉ้อโกงในปัจจุบัน รวมถึงประวัติการดึงเงินคืน
ปรับเปลี่ยนกรมธรรม์: ทํางานร่วมกับผู้ให้บริการประกันภัยเพื่อปรับเปลี่ยนกรมธรรม์ให้เหมาะกับธุรกิจของคุณ ส่วนนี้เกี่ยวข้องกับการพูดถึงขีดจำกัดด้านความคุ้มครอง จํานวนเงินที่หักลด และสถานการณ์เฉพาะที่คุณต้องการรับความคุ้มครอง
ส่งใบสมัครของคุณ: เมื่อรวบรวมข้อมูลที่จําเป็นและตัดสินใจยอมรับข้อกำหนดแล้ว ให้ส่งใบสมัครไปยังบริษัทประกันภัย โดยบริษัทยังอาจขอรายละเอียดเพิ่มเติมเพื่อดําเนินการประเมินให้เสร็จสิ้นด้วย
สรุปใจความกรมธรรม์: หลังจากใบสมัครได้รับการอนุมัติแล้ว ให้ตรวจสอบกรมธรรม์อย่างละเอียดก่อนลงชื่อ ทำความเข้าใจข้อกําหนดและเงื่อนไขทั้งหมด รวมถึงความคุ้มครองที่จะได้รับ ขั้นตอนการยื่นคําร้อง และข้อยกเว้น
การจัดการประกันภัยการดึงเงินคืน
ตรวจสอบกรมธรรม์ของคุณเป็นประจํา: ความต้องการและความเสี่ยงของธุรกิจอาจเปลี่ยนแปลงได้เมื่อเวลาผ่านไป ดังนั้นโปรดตรวจสอบกรมธรรม์ของคุณเป็นระยะๆ คุณอาจต้องปรับเปลี่ยนกรมธรรม์หากธุรกิจเติบโต เข้าสู่ตลาดใหม่ๆ หรือเปลี่ยนกลุ่มผลิตภัณฑ์
นํากลยุทธ์การป้องกันการฉ้อโกงไปใช้งาน: ทํางานร่วมกับบริษัทประกันภัยเพื่อพัฒนาและนํากลยุทธ์การป้องกันการฉ้อโกงไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ การติดตามข้อมูลการป้องกันการฉ้อโกงอยู่เสมอจะช่วยลดอัตราการดึงเงินคืนได้
ให้ความรู้แก่ทีมของคุณ: แจ้งให้ทีมของคุณ โดยเฉพาะทีมที่จัดการธุรกรรม บริการลูกค้า และการเงิน ทราบถึงแนวทางปฏิบัติแนะนำในการป้องกันการดึงเงินคืนด้านการเงิน
ตรวจสอบแนวโน้มการดึงเงินคืน: ติดตามการดึงเงินคืนที่เกิดขึ้น วิเคราะห์เพื่อเรียนรู้ถึงสาเหตุที่เกิดการดึงเงินคืนและสิ่งที่สามารถทําได้เพื่อป้องกันสถานการณ์ที่คล้ายกันในอนาคต
จัดการการเรียกสินไหมอย่างมีประสิทธิภาพ: หากคุณจําเป็นต้องยื่นคําร้อง โปรดดําเนินการทันทีและส่งเอกสารที่จําเป็นทั้งหมดเพื่อสนับสนุนกรณีดังกล่าว ทําความเข้าใจกระบวนการเรียกสินไหมของบริษัทประกันภัย และปฏิบัติตามอย่างรอบคอบเพื่อให้แก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นำข้อมูลเชิงลึกไปใช้เพื่อปรับปรุง: เรียนรู้จากประสบการณ์ด้านการดึงเงินคืนและการเรียกสินไหมแต่ละครั้ง ใช้ข้อมูลเชิงลึกเหล่านี้เพื่อปรับแนวทางปฏิบัติสําหรับธุรกิจและลดความเสี่ยงที่จะถูกดึงเงินคืนในอนาคต
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ