Ecommerce chargebacks 101: What they are, why they happen, and how to prevent them

Radar
Radar

ต้านการฉ้อโกงด้วยประสิทธิภาพที่ทรงพลังของเครือข่าย Stripe

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซคืออะไร
  3. การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซมีหลักการทํางานอย่างไร
  4. เหตุใดการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซจึงเกิดขึ้น
  5. การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซส่งผลต่อธุรกิจอย่างไร
  6. วิธีป้องกันการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซ

มาร์เก็ตเพลสออนไลน์กำลังเติบโตอย่างรวดเร็ว แต่การช็อปปิ้งแบบดิจิทัลที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นก็มาพร้อมกับความท้าทายที่เพิ่มขึ้นจากการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซ

ไม่ใช่การดึงเงินคืนทุกรายการที่จะเป็นการฉ้อโกง แต่ในฐานะกลไก การดึงเงินคืนมีความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงเป็นพิเศษ และอาจก่อให้เกิดกิจกรรมฉ้อโกงจำนวนมาก LexisNexis ประมาณการว่าเงิน $1 ที่สูญเสียไปจากการฉ้อโกงนั้นก่อให้เกิดค่าใช้จ่าย $4.24 สำหรับธุรกิจที่ไม่ได้ผสานการดำเนินงานด้านประสบการณ์ลูกค้าเข้ากับกลยุทธ์ป้องกันการฉ้อโกง แต่ตัวเลขนั้นจะลดลงเหลือ $3.66 สำหรับธุรกิจที่ผสานการทำงานดังกล่าว

การทําความเข้าใจและจัดการกับปัญหาการดึงเงินคืนถือเป็นข้อกังวลที่สําคัญสําหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ การดึงเงินคืนไม่เพียงแต่ส่งผลให้สูญเสียยอดขายและมีค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้น แต่ค่าธรรมเนียมกการดึงเงินคืนที่สูงยังอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับผู้ประมวลผลการชำระเงิน และบางครั้งก็อาจนำไปสู่การยกเลิกบัญชีได้ นอกจากนี้ การดึงเงินคืนยังอาจสร้างส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคด้วย การดําเนินการเพื่อลดการดึงเงินคืนคือการลงทุนเพื่อสถานะในระยะยาวและความยั่งยืนของธุรกิจออนไลน์ ด้านล่างนี้เป็นข้อมูลเชิงลึกและกลยุทธ์ที่จะช่วยธุรกิจปกป้องตัวเองจากค่าใช้จ่ายที่สูงและผลกระทบเชิงลบจากการดึงเงินคืนที่อาจเกิดขึ้นได้

บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

  • การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซคืออะไร
  • การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซมีการทํางานอย่างไร
  • เหตุใดจึงเกิดการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซ
  • การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซส่งผลต่อธุรกิจอย่างไร
  • วิธีป้องกันการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซ

การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซคืออะไร

การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซคือกระบวนการที่ลูกค้าโต้แย้งการเรียกเก็บเงินจากธุรกิจออนไลน์และพยายามปรับคืนธุรกรรม การดึงเงินคืนเป็นรูปแบบการคุ้มครองผู้บริโภค แต่บางครั้งก็อาจถูกนำไปใช้ในทางที่ผิด ซึ่งเรียกว่าการฉ้อโกงการดึงเงินคืน หรือเป็นการดำเนินการที่เกิดจากความเข้าใจผิดจริงๆ

การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซมีหลักการทํางานอย่างไร

การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซประกอบด้วยชุดของขั้นตอนที่เกี่ยวข้องกับลูกค้า ธุรกิจ และบริษัทหรือธนาคารผู้ออกบัตร ต่อไปนี้คือกระบวนการทำงาน

  • การเริ่มต้น: ลูกค้าติดต่อบริษัทผู้ออกบัตรเครดิตหรือธนาคารเพื่อโต้แย้งธุรกรรม และแจ้งเหตุผลสำหรับการดึงเงินคืน เช่น การเรียกเก็บเงินที่เป็นผลจากการใช้งานที่ไม่ได้รับอนุญาต ไม่เคยได้รับสินค้าที่เกี่ยวข้องกับการเรียกเก็บเงินรายการดังกล่าว หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้รับมาไม่ตรงกับที่อธิบายไว้ ด้านล่างนี้เราจะอธิบายสาเหตุที่การดึงเงินคืนเกิดขึ้น

  • การตรวจสอบโดยบริษัทผู้ออกบัตร: บริษัทผู้ออกบัตรหรือธนาคารตรวจสอบคําขอ หากเชื่อว่าการดําเนินการนี้ถูกต้อง ระบบจะโอนเงินที่ถูกโต้แย้งกลับคืนให้ลูกค้าชั่วคราว และเริ่มกระบวนการดึงเงินคืน

  • การแจ้งเตือนถึงธุรกิจ: บริษัทหรือธนาคารผู้ออกบัตรแจ้งธุรกิจเกี่ยวกับการดึงเงินคืน และอาจขอให้คุณส่งหลักฐานตอบโต้คําขอของลูกค้า ซึ่งอาจรวมถึงข้อมูลการจัดส่ง บันทึกการสื่อสาร หรือบันทึกธุรกรรม ส่วนนี้เรียกว่าการตอบโต้

  • การตอบกลับของธุรกิจ: ธุรกิจส่งหลักฐานทั้งหมดที่มีเพื่อตอบโต้คํากล่าวอ้างของลูกค้า ขั้นตอนนี้มีความสําคัญสําหรับธุรกิจเพราะช่วยให้สามารถปกป้องความถูกต้องของธุรกรรมได้

  • การตัดสินขั้นสุดท้าย: บริษัทผู้ออกบัตรจะตรวจสอบหลักฐานจากลูกค้าและธุรกิจ และทําการตัดสินขั้นสุดท้าย หากบริษัทผู้ออกบัตรตัดสินใจว่าจะดึงเงินคืน เครดิตชั่วคราวที่ส่งให้ลูกค้าจะกลายเป็นเครดิตถาวร หากบริษัทผู้ออกบัตรตัดสินใจปฏิเสธการดึงเงินคืน ระบบจะปรับคืนเครดิตชั่วคราวและเรียกเก็บเงินจากลูกค้าอีกครั้ง

  • ค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมที่อาจเรียกเก็บ: หากบริษัทผู้ออกบัตรตัดสินใจว่าจะดึงเงินคืน ธุรกิจมักจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการดึงเงินคืนและอาจมีค่าปรับอื่นๆ โดยขึ้นอยู่กับจํานวนการดึงเงินคืน

เหตุใดการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซจึงเกิดขึ้น

การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซเป็นดาบสองคม แม้ว่าจะได้รับการออกแบบมาเพื่อปกป้องผู้บริโภคจากธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงและประสบการณ์ที่ไม่พึงพอใจ แต่ก็อาจเป็นอันตรายต่อธุรกิจต่างๆ หากลูกค้านําไปใช้ในทางที่ผิด หรือหากเกิดขึ้นบ่อยเกินไป การดึงเงินคืนอาจเกิดขึ้นได้ในหลายสถานการณ์และด้วยเหตุผลที่แตกต่างกันดังนี้

  • ธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกง
    เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อผู้ไม่ประสงค์ดีเข้าถึงข้อมูลบัตรเครดิตของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาตและใช้ข้อมูลดังกล่าวในการซื้อ เมื่อเจ้าของบัตรตัวจริงสังเกตเห็นธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตเหล่านี้ ก็จะยื่นเรื่องดึงเงินคืนเพื่อขอรับเงินที่ถูกขโมย ดังนั้น ธุรกิจจึงจําเป็นต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยเข้มงวดในการตรวจจับและป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกง โดยเราจะอธิบายสิ่งนี้เพิ่มเติมด้านล่าง

  • ไม่ได้แสดงบัตรเครดิต
    โดยปกติแล้ว ธุรกรรมอีคอมเมิร์ซจะเกิดขึ้นโดยไม่ต้องแสดงบัตรใบจริง ซึ่งทําให้ยืนยันได้ยากว่าบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นเป็นเจ้าของบัตรจริงๆ หรือไม่ และนําไปสู่กรณีการฉ้อโกงที่สูงขึ้น สําหรับธุรกิจ การดําเนินการตามขั้นตอนการยืนยันเพิ่มเติม เช่น กําหนดให้ลูกค้าพิมพ์รหัส CVV ในระหว่างการซื้อจะช่วยลดปัญหานี้ได้

  • ไม่ได้รับสินค้า
    บางครั้ง ลูกค้าไม่ได้รับผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อเนื่องจากเกิดข้อผิดพลาดในการจัดส่งหรือปัญหาด้านลอจิสติกส์อื่นๆ หากลูกค้าคิดว่าธุรกิจไม่ตอบสนองหรือไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที พวกเขาก็อาจยื่นขอดึงเงินคืน ซึ่งเป็นสาเหตุที่ธุรกิจต่างๆ จะต้องมอบบริการจัดส่งสินค้าที่น่าเชื่อถือ และสื่อสารกับลูกค้าเกี่ยวกับความล่าช้าหรือปัญหาต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น

  • สินค้าที่จัดส่งไม่เป็นไปตามที่อธิบายไว้
    เมื่อลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่สั่งซื้อและพบว่าผลิตภัณฑ์นั้นแตกต่างจากที่แสดงทางออนไลน์อย่างมาก ก็อาจยื่นเรื่องดึงเงินคืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากนโยบายการคืนสินค้าของธุรกิจไม่ชัดเจนหรือไม่น่าพึงพอใจ ธุรกิจควรตรวจสอบให้แน่ใจว่าคําอธิบายผลิตภัณฑ์และรูปภาพนั้นมีความถูกต้องและชัดเจนเพื่อลดโอกาสของการเกิดเหตุการณ์นี้

  • การเรียกเก็บเงินซ้ํา
    บางครั้งข้อบกพร่องทางเทคนิคหรือข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างการประมวลผลการชําระเงินอาจส่งผลให้มีการเรียกเก็บเงินซ้ําสําหรับการซื้อรายการเดียว เมื่อลูกค้าทราบว่ามีการเรียกเก็บเงินหลายครั้ง ก็อาจยื่นขอดึงเงินคืนเพื่อขอรับเงินจากการเรียกเก็บเงินซ้ําซ้อนได้ ธุรกิจสามารถป้องกันเหตุการณ์นี้ได้ด้วยการติดตามและแก้ไขข้อผิดพลาดในการเรียกเก็บเงินโดยทันที

  • ข้อผิดพลาดในการประมวลผล
    ข้อผิดพลาดในการประมวลผลอาจรวมถึงข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการทําธุรกรรม เช่น เมื่อธุรกิจเรียกเก็บเงินจากลูกค้าด้วยจํานวนที่ผิดพลาด ลูกค้าที่พบว่ารายการเรียกเก็บเงินไม่ถูกต้องในใบแจ้งยอดอาจยื่นดึงเงินคืนเพื่อแก้ไขปัญหา สิ่งนี้เน้นย้ำถึงความสำคัญของการที่ธุรกิจจะต้องให้ความสำคัญกับการประมวลผลธุรกรรมอย่างพิถีพิถันและแก้ไขข้อผิดพลาดอย่างทันท่วงที

  • ความไม่พอใจของลูกค้า
    หากลูกค้าไม่พอใจกับผลิตภัณฑ์หรือคิดว่าระดับบริการที่ได้รับไม่เพียงพอ ก็อาจขอเงินคืนจากธุรกิจดังกล่าว แต่หากธุรกิจไม่ได้แก้ไขปัญหาดังกล่าวให้เป็นไปตามความพึงพอใจของลูกค้า ลูกค้าก็อาจยื่นเรื่องขอดึงเงินคืนเป็นทางเลือกสุดท้าย การให้บริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยมและนโยบายการส่งคืนสินค้าที่เป็นธรรมคือกุญแจสําคัญในการป้องกันการดึงเงินคืนประเภทนี้

  • การฉ้อโกงที่เป็นมิตร
    การฉ้อโกงที่เป็นมิตรคือเมื่อลูกค้าละเมิดกระบวนการขอคืนเงินโดยเจตนาด้วยการกล่าวอ้างว่าธุรกรรมนั้นไม่ได้รับอนุญาตหรือไม่ได้รับสินค้า แม้ว่าจะได้รับและเก็บสินค้าไว้แล้วก็ตาม นี่เป็นรูปแบบหนึ่งของการโจรกรรมและจะส่งผลเสียต่อธุรกิจ การใช้กระบวนการยืนยันตัวตนที่รัดกุมและการเก็บบันทึกอย่างละเอียดสามารถช่วยให้ธุรกิจโต้แย้งการดึงเงินคืนในกรณีดังกล่าวได้

การดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซส่งผลต่อธุรกิจอย่างไร

ตามทฤษฎีแล้ว การดึงเงินคืนเป็นกลไกการคุ้มครองผู้บริโภค แต่สามารถนําไปใช้ในการฉ้อโกงธุรกิจได้เช่นกัน ในทั้งสองกรณี การดึงเงินคืนอาจก่อให้เกิดปัญหาร้ายแรงและค่าใช้จ่ายสําหรับธุรกิจ ต่อไปนี้คือรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซที่มีผลต่อธุรกิจต่างๆ

  • ความสูญเสียทางการเงิน
    เมื่อลูกค้ายื่นเรื่องขอดึงเงินคืน ธุรกิจไม่เพียงสูญเสียรายรับจากการขายเท่านั้น แต่ยังรวมถึงผลิตภัณฑ์ด้วย (หากมีการจัดส่งไปแล้ว) นอกจากนี้ เครือข่ายบัตรยังมักเรียกเก็บเงินจากธุรกิจสําหรับการดึงเงินคืนแต่ละรายการ โดยจะมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ $20 ถึง $100 ขึ้นไป ตัวอย่างเช่น หากธุรกิจขายแล็ปท็อปที่มีมูลค่า $1,000 จะถูกดึงเงินคืน ก็อาจสูญเสียทั้งแล็ปท็อปและต้องจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม ในกรณีนี้ การทํางานร่วมกับผู้ให้บริการประมวลผลการชําระเงินที่เหมาะสมอาจเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ตัวอย่างเช่น Stripe ให้บริการการป้องกันการดึงเงินคืน ซึ่งครอบคลุมจํานวนเงินที่โต้แย้งบวกค่าธรรมเนียม

  • ต้นทุนการปฏิบัติงาน
    การจัดการกับการดึงเงินคืนต้องอาศัยเวลาและทรัพยากร หากไม่ได้ร่วมงานกับผู้ให้บริการชําระเงินที่จัดการการดึงเงินคืน ธุรกิจต่างๆ จะต้องจัดสรรพนักงานเพื่อจัดการการโต้แย้งการดึงเงินคืน รวบรวมหลักฐาน และสื่อสารกับธนาคารและผู้ประมวลผลการชําระเงินด้วยตนเอง ซึ่งอาจเป็นเรื่องยากเป็นพิเศษสําหรับธุรกิจขนาดเล็กที่มีทรัพยากรจํากัด

  • ค่าธรรมเนียมการประมวลผลที่เพิ่มขึ้น
    หากธุรกิจประสบปัญหาการดึงเงินคืนสูงเมื่อเทียบกับปริมาณการขาย ผู้ประมวลผลการชําระเงินอาจจัดหมวดหมู่ธุรกิจดังกล่าวว่ามีความเสี่ยงสูง ซึ่งอาจทําให้ค่าธรรมเนียมธุรกรรมเพิ่มขึ้นหรือมีข้อกําหนดที่เข้มงวดขึ้น ตัวอย่างเช่น ร้านค้าออนไลน์ขนาดเล็กที่มีการดึงเงินคืนเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันอาจพบว่าผู้ประมวลผลการชําระเงินเพิ่มค่าธรรมเนียมธุรกรรมจาก 2.9% เป็น 4.5%

  • สูญเสียบริการการประมวลผลการชําระเงิน
    หากธุรกิจมีอัตราการดึงเงินคืนเกินอัตราที่กำหนดไว้ ผู้ประมวลผลการชําระเงินอาจยุติการให้บริการไปเลย นั่นหมายความว่าธุรกิจจะไม่สามารถรับชําระเงินผ่านบัตรเครดิตได้อีกต่อไป ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการดําเนินธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

  • ความเสียหายต่อชื่อเสียง
    การดึงเงินคืนบ่อยๆ อาจทําลายชื่อเสียงของธุรกิจได้ ลูกค้าอาจมองว่าธุรกิจนั้นไม่น่าเชื่อถือหรือแม้กระทั่งเป็นการฉ้อโกง ในยุคของรีวิวออนไลน์และโซเชียลมีเดีย รีวิวในเชิงลบสามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วและอาจทำให้ผู้คนเปลี่ยนใจไม่ซื้อสินค้าหรือบริการ ตัวอย่างเช่น หากร้านขายเสื้อผ้าออนไลน์ส่งสินค้าที่ไม่ตรงกับคําอธิบายบ่อยๆ ก็จะส่งผลให้มีการดึงเงินคืนจํานวนมาก ผู้ที่ได้อ่านประสบการณ์เหล่านี้ในรีวิวจะหันไปเลือกซื้อสินค้าจากที่อื่น

  • การสูญเสียสินค้าและการเติมสินค้า
    ในกรณีที่มีการส่งคืนผลิตภัณฑ์ ธุรกิจอาจต้องรับภาระต้นทุนเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้องกับการเติมสินค้าและการปรับปรุงผลิตภัณฑ์เพื่อจำหน่ายอีกครั้ง หากสินค้านั้นเน่าเปื่อยได้หรือจำหน่ายได้เป็นเวลาจำกัด (เช่น สินค้าตามฤดูกาล) ธุรกิจอาจไม่สามารถจําหน่ายสินค้านั้นต่อได้

  • ปัญหาด้านกระแสเงินสด
    การดึงเงินคืนอาจทําให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับกระแสเงินสด โดยเฉพาะสําหรับธุรกิจขนาดเล็ก เมื่อลูกค้าเริ่มดึงเงินคืน ระบบจะถอนเงินออกจากบัญชีของธุรกิจทันที ซึ่งอาจเป็นปัญหา หากธุรกิจอาศัยรายรับนั้นในการดําเนินธุรกิจ สําหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ มาร์เก็ตเพลส และแพลตฟอร์มที่มีขนาดใหญ่ ก็อาจทำให้คาดการณ์รายรับได้ยากหรือคาดการณ์ไม่ได้เลย ซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการวางแผนการเติบโต

แม้ว่าการดึงเงินคืนบางรายการจะไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ แต่หลายๆ รายการจะไม่เป็นเช่นนั้น ธุรกิจควรดําเนินการทุกอย่างเท่าที่ทำได้ เพื่อลดการดึงเงินคืนผ่านการให้บริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม การสื่อสารที่ชัดเจน คําอธิบายผลิตภัณฑ์ที่ถูกต้องแม่นยำ และมาตรการป้องกันการฉ้อโกงที่มีประสิทธิภาพ ขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจปกป้องรายรับ ชื่อเสียง และความสัมพันธ์กับผู้ประมวลผลการชําระเงินได้ ด้านล่างเป็นข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการป้องกันเหล่านี้

วิธีป้องกันการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซ

การป้องกันการดึงเงินคืนในอีคอมเมิร์ซเป็นสิ่งสําคัญสําหรับการปกป้องชื่อเสียงและสถานะทางการเงินของธุรกิจออนไลน์ ธุรกิจเหล่านี้สามารถใช้กลยุทธ์ต่างๆ ร่วมกันเพื่อลดความเสี่ยงที่จะถูกดึงเงินคืน ต่อไปนี้คือรายละเอียดการดําเนินการบางส่วนเหล่านี้

  • เขียนคําอธิบายผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจนและถูกต้อง
    ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคําอธิบายผลิตภัณฑ์ทั้งหมดในเว็บไซต์ของคุณครบถ้วนและแม่นยํา เพิ่มรูปภาพความละเอียดสูงจากมุมต่างๆ เพื่อให้ลูกค้ามีข้อมูลมากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ วิธีนี้จะช่วยลดการดึงเงินคืนที่เกิดขึ้นเมื่อลูกค้าได้รับผลิตภัณฑ์ที่แตกต่างจากที่ลูกค้าคิดไว้

  • สร้างและเผยแพร่นโยบายที่โปร่งใส
    โปรดแจ้งนโยบายการจัดส่ง การคืนสินค้า การคืนเงิน และการยกเลิกของคุณอย่างชัดเจนล่วงหน้า ตรวจสอบว่านโยบายเหล่านี้เข้าถึงได้ง่ายบนเว็บไซต์และเขียนด้วยภาษาที่ชัดเจน ซึ่งจะลดโอกาสในการเข้าใจผิดและการดึงเงินคืนในภายหลัง

  • การบริการลูกค้าที่ยอดเยี่ยม
    ให้การสนับสนุนลูกค้าอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพผ่านหลายช่องทาง (อีเมล โทรศัพท์ แชท ฯลฯ) การตอบคําถามและข้อร้องเรียนของลูกค้าด้วยการบริการลูกค้าที่มีคุณภาพสูงอาจทําให้ลูกค้าไม่ยื่นเรื่องดึงเงินคืน

  • เสนอการยืนยันคําสั่งซื้อและแจ้งข้อมูลอัปเดตเป็นประจํา
    ส่งการยืนยันคําสั่งซื้อทันทีหลังจากที่ลูกค้าทําการซื้อ และแจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับสถานะการจัดส่งและการนำส่ง การทำเช่นนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถกำหนดระยะเวลาและช่วยจัดการกับความคาดหวัง ซึ่งจะลดโอกาสในการดึงเงินคืนได้

  • ใช้เกตเวย์การชําระเงินที่ปลอดภัย
    ใช้เกตเวย์การชําระเงินและผู้ให้บริการประมวลผลที่มีชื่อเสียงและปลอดภัยเพื่อจัดการธุรกรรม วิธีนี้ช่วยเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่ง โดยมักมาพร้อมกับเครื่องมือตรวจจับการฉ้อโกงในตัว อย่างเช่น Stripe Radar

  • ใช้บริการยืนยันที่อยู่ (AVS)
    ใช้ AVS เพื่อเปรียบเทียบที่อยู่ในการเรียกเก็บเงินที่ลูกค้าระบุไว้กับที่อยู่ที่ลงทะเบียนกับบริษัทบัตรเครดิต ข้อมูลนี้จะช่วยในการระบุธุรกรรมที่อาจเป็นการฉ้อโกงได้

  • กำหนดให้มีการตรวจสอบค่าการยืนยันบัตร (CVV)
    การกําหนดให้ลูกค้าต้องป้อนรหัส CVV ในธุรกรรมจะลดการฉ้อโกงลงได้ เพราะช่วยยืนยันให้มั่นใจว่าบุคคลที่ซื้อสินค้าหรือบริการนั้นมีบัตรใบจริง ขั้นตอนนี้สําคัญอย่างยิ่งสําหรับธุรกรรมออนไลน์

  • ใช้การยืนยันตัวตนแบบ 3D Secure
    ใช้มาตรการรักษาความปลอดภัยเพิ่มเติม เช่น Verified by Visa หรือ Mastercard SecureCode เพื่อตรวจสอบสิทธิ์ตัวตนของลูกค้า เทคโนโลยีเหล่านี้กําหนดให้ลูกค้าต้องป้อนรหัสผ่านหรือรหัสก่อน จึงจะสามารถอนุมัติธุรกรรมได้

  • ตรวจสอบติดตามธุรกรรมเป็นประจํา
    จับตาดูรูปแบบการทําธุรกรรมและตรวจดูกิจกรรมที่น่าสงสัย เช่น คําสั่งซื้อหลายรายการจากที่อยู่ IP เดียวกันหรือคําสั่งซื้อหลายรายการที่ส่งภายในระยะเวลาสั้นๆ ขั้นตอนนี้สามารถระบุกิจกรรมการฉ้อโกง ซึ่งเป็นสาเหตุที่มักทำให้เกิดการดึงเงินคืน

  • ใช้เครื่องมือจัดการการดึงเงินคืน
    คุณควรใช้บริการบุคคลที่สามที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการการดึงเงินคืนโดยเฉพาะ เช่น Chargeback Protection ของ Stripe Chargeback Protection จะช่วยปกป้องรายได้ของคุณโดยการป้องกันการขายจากการโต้แย้งที่เป็นการฉ้อโกง จึงหลีกเลี่ยงการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ ไม่ว่าการโต้แย้งการชําระเงินนั้นจะถูกต้องหรือไม่ Stripe Chargeback Protection ช่วยให้มั่นใจว่าคุณจะได้รับเงินคืนสําหรับยอดรวมที่ถูกโต้แย้งและยกเว้นค่าธรรมเนียมที่เกี่ยวข้องต่างๆ

Chargeback Protection สร้างมาเพื่อให้บริการแก่ธุรกิจทั้งหมดที่ใช้ Stripe โดยครอบคลุมทั้งสินค้าดิจิทัลและสินค้าที่จับต้องได้ และใช้กับธุรกรรมทุกขนาดทั่วโลก เครื่องมือเหล่านี้สามารถช่วยคุณระบุการดึงเงินคืนที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนที่จะเกิดขึ้นจริง จัดการข้อพิพาทอย่างมีประสิทธิภาพ และเสนอข้อมูลเชิงลึกอันมีค่าสำหรับการปรับปรุงกลยุทธ์การป้องกันของคุณ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดไปที่นี่

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Radar

Radar

ต้านการฉ้อโกงด้วยประสิทธิภาพที่ทรงพลังของเครือข่าย Stripe

Stripe Docs เกี่ยวกับ Radar

ใช้ Stripe Radar เพื่อปกป้องธุรกิจจากการฉ้อโกง