แม้ว่าอีคอมเมิร์ซและการชําระเงินออนไลน์จะเติบโตและขยายตัวอย่างมาก แต่การชําระเงินที่จุดขายก็ยังคงเป็นรากฐานของเศรษฐกิจทั่วโลก ช่องทางการขายไม่เพียงหลากหลายมากขึ้นตามพัฒนาการของการชําระเงินแบบดิจิทัล แต่การชําระเงินด้วยบัตรยังซับซ้อนและหลากหลายมากขึ้นด้วยในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา
ธุรกิจที่รับการชําระเงินด้วยบัตรจากลูกค้า ไม่ว่าจะทางออนไลน์ ที่จุดขาย หรือทั้งสองทางจําเป็นต้องเข้าใจข้อแตกต่างที่สําคัญระหว่างธุรกรรมแบบแสดงบัตร (CP) กับธุรกรรมแบบไม่ต้องแสดงบัตรตัวจริง (CNP) รวมถึงวิธีที่ดีที่สุดในการจัดการธุรกรรมแต่ละแบบ
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- ธุรกรรมแบบแสดงบัตรคืออะไร
- ธุรกรรมแบบแสดงบัตรกับธุรกรรมแบบไม่ต้องแสดงบัตรจริงแตกต่างกันอย่างไร
- ธุรกรรมแบบแสดงบัตรจริงปลอดภัยมากกว่าธุรกรรมแบบไม่ต้องแสดงบัตรหรือไม่
- ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการประมวลผลธุรกรรมผ่านบัตรจริง
ธุรกรรมแบบแสดงบัตรคืออะไร
ธุรกรรมแบบแสดงบัตรหมายถึงธุรกรรมการชําระเงินที่เกิดขึ้นเมื่อทั้งผู้ถือบัตรและบัตรชําระเงินแสดงตัวตอนที่ทําธุรกรรม ซึ่งพบได้ทั่วไปในสภาพแวดล้อมการค้าปลีกแบบเดิม เช่น ร้านขายสินค้าอุปโภคบริโภคและร้านอาหาร โดยลูกค้าจะยื่นบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตตัวจริงให้กับแคชเชียร์เพื่อชําระเงิน
ระหว่างการทําธุรกรรมแบบแสดงบัตร ลูกค้าจะรูด เสียบ หรือแตะบัตรที่เทอร์มินัลระบบบันทึกการขาย (POS)ซึ่งทำหน้าที่อ่านข้อมูลบัตร ธุรกรรมจะได้รับอนุญาตหรือถูกปฏิเสธขึ้นอยู่กับข้อมูลที่อ่านจากบัตรและยอดเงินหรือวงเงินที่มีอยู่
ตัวอย่างธุรกรรมแบบแสดงบัตร
การซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค
ธุรกรรมแบบแสดงบัตรประเภทหนึ่งที่พบบ่อยที่สุดเกิดขึ้นเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าที่ร้านสินค้าอุปโภคบริโภคที่หน้าร้าน หลังจากที่แคชเชียร์คิดค่าสินค้าที่ลูกค้าซื้อทั้งหมดแล้ว ลูกค้าจะแสดงบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเพื่อชําระเงิน จากนั้นลูกค้าหรือพนักงานแคชเชียร์ก็จะรูด เสียบ หรือแตะบัตร (แตะบัตรในกรณีที่ใช้บัตรแบบไร้สัมผัส)ที่เทอร์มินัล POSเพื่อทําธุรกรรมให้เสร็จสิ้นการรับประทานอาหารที่ร้าน
ธุรกรรมแบบแสดงบัตรที่พบบ่อยอีกประเภทหนึ่งคือที่ร้านอาหาร เมื่อพนักงานเสิร์ฟนําใบเรียกเก็บเงินมาให้ที่โต๊ะ ลูกค้าก็จะยื่นบัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตให้พนักงานเสริ์ฟซึ่งจะนำบัตรไปที่เทอร์มินัล POS หรือใช้เครื่อง POS แบบพกพาเพื่อประมวลผลธุรกรรมการชําระเงินที่สถานีน้ำมัน
ที่สถานีน้ำมัน ลูกค้าสามารถชําระเงินที่ตู้จ่ายน้ำมันได้โดยเสียบบัตรเข้าไปในเครื่องอ่านบัตรบนตู้จ่าย เลือกประเภทน้ำมัน แล้วเติมน้ำมันรถ นี่เป็นธุรกรรมแบบแสดงบัตรอีกรูปแบบหนึ่งซึ่งเทอร์มินัล POS ตั้งอยู่ที่ตู้จ่ายน้ำมันเองการซื้อของที่ร้านค้าปลีก
ร้านค้าปลีก เช่น ร้านเสื้อผ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือร้านหนังสือก็ประมวลผลธุรกรรมแบบแสดงบัตรเช่นเดียวกับที่ร้านขายเครื่องอุปโภคบริโภค โดยหลังจากที่ลูกค้านําสินค้าไปที่ช่องคิดเงิน พนักงานจะสแกนสินค้าและประมวลผลบัตรของลูกค้าผ่านเทอร์มินัล POSการซื้อตั๋วที่ช่องขายตั๋ว
ลูกค้ามักจะใช้บัตรเครดิตหรือบัตรเดบิตเมื่อซื้อตั๋วภาพยนตร์หรือตั๋วงานอีเวนต์โดยตรงจากช่องหรือเคาน์เตอร์ขายตั๋วขนส่งมวลชน
ปัจจุบันระบบขนส่งสาธารณะจํานวนมากเปิดให้ลูกค้าซื้อหรือเติมบัตรเดินทางโดยชำระเงินด้วยบัตรได้แล้ว โดยลูกค้าสามารถทําธุรกรรมเหล่านี้ได้ที่เคาน์เตอร์ที่มีเจ้าหน้าที่หรือที่เครื่องอัตโนมัติการชําระเงินแบบไร้สัมผัส
ความแพร่หลายของเทคโนโลยี NFC (เทคโนโลยีการสื่อสารระยะใกล้)ทำให้การชําระค่าทำได้ง่ายแค่เพียงแตะบัตรหรือสมาร์ทโฟนที่มีกระเป๋าเงินดิจิทัล เช่น Apple Pay หรือ Google Pay ที่เทอร์มินัล POS ที่ใช้งานร่วมกันได้ การชําระเงินแบบไร้สัมผัสเริ่มกลายเป็นธุรกรรมที่พบได้ทั่วไป ตั้งแต่ที่ร้านกาแฟไปจนถึงแผงกั้นในสถานีรถไฟใต้ดิน
ธุรกรรมแบบแสดงบัตรกับธุรกรรมแบบไม่ต้องแสดงบัตรจริงแตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างหลักระหว่างธุรกรรม CP กับธุรกรรม CNP อยู่ที่ตัวเจ้าของบัตรกับบัตรว่าอยู่ที่จุดขายหรือไม่ในขณะที่เกิดธุรกรรม ความแตกต่างนี้มีผลต่อหลายๆ ด้าน ซึ่งรวมถึงการรักษาความปลอดภัย ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับธุรกรรม และประสบการณ์ของลูกค้า ต่อไปนี้คือการแจกแจงความแตกต่างหลักๆ ที่สําคัญต่อธุรกิจ
การป้องกันความเสี่ยงและการฉ้อโกง
โดยทั่วไปแล้ว ธุรกรรมแบบ CP จะถือว่ามีความเสี่ยงน้อยกว่า เนื่องจากธุรกิจสามารถตรวจสอบบัตรจริงได้ และในบางกรณีก็สามารถยืนยันตัวตนของเจ้าของบัตรได้ด้วย ในทางกลับกัน ธุรกรรมแบบ CNP เช่น การซื้อทางออนไลน์หรือทางโทรศัพท์ จะมีความเสี่ยงสูงกว่าเนื่องจากธุรกิจไม่สามารถยืนยันตัวตนของลูกค้าได้ต่อหน้า ซึ่งหมายถึงธุรกิจอาจต้องนำมาตรการป้องกันการฉ้อโกงมาใช้กับธุรกรรม CNP เช่น การใช้หมายเลข CVV การจัดทำระบบตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัย หรือใช้เครื่องมือตรวจจับการฉ้อโกงขั้นสูงค่าใช้จ่ายในการประมวลผล
ผู้ประมวลผลการชําระเงินมักเรียกเก็บค่าธรรมเนียมธุรกรรม CNP สูงกว่าเนื่องจากความเสี่ยงจากการฉ้อโกง และการดึงเงินคืนที่สูงกว่า ซึ่งอาจส่งผลต่อผลกําไรของธุรกิจโดยบริษัทที่มีธุรกรรมแบบ CNP จํานวนมาก ในทางกลับ กันธุรกรรมแบบ CP มักจะมีค่าธรรมเนียมการประมวลผลที่ต่ำกว่าประสบการณ์ของลูกค้า
การเลือกใช้ธุรกรรมแบบ CP หรือ CNP อาจส่งผลต่อประสบการณ์ของลูกค้าด้วย ตัวอย่างเช่น เพื่อสร้างประสบการณ์การทําธุรกรรมแบบ CP ที่ดี ธุรกิจที่มีหน้าร้านจะต้องคํานึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงจากธุรกิจที่ต้องการสร้างประสบการณ์การทําธุรกรรมแบบ CNP ที่ดีที่สุด ข้อกังวลอันดับต้นๆ เกี่ยวกับประสบการณ์การทำธุรกรรมแบบ CNP ของลูกค้า ได้แก่ เวลาที่ใช้ในการโหลดเว็บไซต์และความน่าเชื่อถือของเกตเวย์การชําระเงิน ในขณะที่ข้อกังวลอันดับต้นๆ เกี่ยวกับธุรกรรมแบบ CP ที่ทำต่อหน้า ได้แก่ เวลาในการรอคิว การเข้าออกร้านของลูกค้า และแผนผังของร้านค้าโครงสร้างพื้นฐานและการปฏิบัติงาน
ธุรกรรมแบบ CP ต้องมีระบบ POS ที่จับต้องได้ ซึ่งอาจรวมถึงเครื่องอ่านบัตร เทอร์มินัล POS และเครื่องคิดเงิน ในทางตรงกันข้าม ธุรกรรม CNP ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัลอย่างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ เกตเวย์การชําระเงินที่ปลอดภัย และแอปพลิเคชันบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ ข้อกําหนดที่แตกต่างกันเหล่านี้ทำให้การเลือกใช้ CP หรือ CNP อาจส่งผลกระทบต่อการจัดระบบการทำงานของธุรกิจและต้นทุนที่เกี่ยวข้องช่องทางการขาย
การเลือกใช้ธุรกรรม CP หรือ CNP อาจขึ้นอยู่กับช่องทางการขายของธุรกิจด้วย ตัวอย่างเช่น ธุรกิจที่ดําเนินงานในสภาพแวดล้อมแบบร้านค้าปลีกดั้งเดิมอาจให้ความสําคัญกับธุรกรรม CP ในขณะที่ธุรกิจที่ขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์จะเน้นการเพิ่มประสิทธิภาพขั้นตอนการทำธุรกรรม CNP สําหรับธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่ส่วนใหญ่ นี่ไม่ใช่สถานการณ์แบบที่ต้องเลือก "อย่างใดอย่างหนึ่ง" เนื่องจากธุรกิจต้องใช้กลยุทธ์การชําระเงินที่ครอบคลุมช่องทางกรขายทั้งแบบ CP และ CNP หลายๆ ช่องทาง อย่างไรก็ตาม ธุรกิจที่การขายและการดําเนินการตามคําสั่งซื้อเกิดขึ้นทางออนไลน์ทั้งหมด เช่น ธุรกิจการให้บริการระบบซอฟต์แวร์ (SaaS) ก็อาจจะไม่มีการใช้ธุรกรรมแบบ CP เลยการเข้าถึงด้านภูมิศาสตร์
ธุรกรรมแบบ CNP ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้เกินกว่าสถานที่ตั้งทางกายภาพ ทําให้สามารถจําหน่ายสินค้าหรือบริการได้ทั่วโลก แต่ก็อาจทําให้ธุรกิจต้องเผชิญกับความท้าทายอื่นๆ ด้วย เช่น การจัดการการประมวลผลการชําระเงินระหว่างประเทศ และการจัดการการฉ้อโกงการชําระเงินข้ามพรมแดน
การเลือกระหว่างธุรกรรมแบบ CP และ CNP หรือการหาส่วนผสมที่ลงตัวเป็นการตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ที่ธุรกิจจะต้องดําเนินการ โดยพิจารณาจากปัจจัยต่างๆ เช่น โมเดลธุรกิจ ความต้องการของลูกค้า ขีดความสามารถในการดําเนินงาน การเข้าถึงทางภูมิศาสตร์ และระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้
ธุรกรรมแบบแสดงบัตรจริงปลอดภัยมากกว่าธุรกรรมแบบไม่ต้องแสดงบัตรหรือไม่
ใช่ ธุรกรรมแบบ CP ถือว่าปลอดภัยกว่าธุรกรรมแบบ CNP
ในธุรกรรมแบบ CP ผู้ถือบัตรและบัตรชําระเงินจะไปแสดงตัวที่จุดขาย ซึ่งทำให้ธุรกิจสามารถตรวจสอบความถูกต้องของธุรกรรมได้หลายวิธี ตัวอย่างเช่น เทอร์มินัลบัตรจะอ่านแถบแม่เหล็กของบัตรหรือชิป EMVซึ่งเป็นการยืนยันการแสดงบัตรตัวจริงที่จุดขาย ในหลายๆ กรณี ผู้ถือบัตรจะต้องป้อน PIN หรือลงลายมือชื่อเพื่ออนุมัติธุรกรรม โดยธุรกิจยังสามารถตรวจสอบสัญญาณการทุจริตและตรวจสอบบัตรประจําตัวของเจ้าของบัตรได้ด้วยหากจําเป็น
ในทางกลับกัน ธุรกรรมแบบ CNP ซึ่งไม่ต้องให้ผู้ถือบัตรแสดงบัตรตัวจริงกับธุรกิจ (เช่น เมื่อซื้อสินค้าออนไลน์หรือการชําระเงินผ่านโทรศัพท์)ย่อมมีความปลอดภัยน้อยกว่า ธุรกรรมเหล่านี้ต้องพึ่งพาเจ้าของบัตรให้ป้อนข้อมูลบัตรด้วยตนเอง ซึ่งอาจเปิดช่องให้เกิดกิจกรรมที่เป็นการฉ้อโกง เนื่องจากไม่มีการแสดงตัวบัตรและเจ้าของบัตร ธุรกิจจึงไม่สามารถยืนยันธุรกรรมได้เหมือนกับตอนที่ทำธุรกรรมแบบ CP
นอกจากนี้เป็นที่สังเกตว่าผู้ประมวลผลการชําระเงิน มักจัดธุรกรรมแบบ CNP อยู่ในหมวดหมู่ที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งทําให้ค่าธรรมเนียมการประมวลผลสูงขึ้นสำหรับธุรกิจ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงจากการฉ้อโกงและการดึงเงินคืนที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมประเภทนี้ซึ่งสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระบบการรักษาความปลอดภัยของธุรกรรมแบบ CNP มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงที่ผ่านมาพร้อมๆ กับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ซึ่งรวมถึงการเข้ารหัส การแปลงเป็นโทเค็น และการใช้รหัสความปลอดภัย (เช่น CVV หรือ CVC) รวมถึงวิธีการยืนยันเพิ่มเติม เช่น การตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัยและการตรวจสอบสิทธิ์ด้วยไบโอเมตริก นอกจากนี้ เครื่องมือและระบบตรวจจับการฉ้อโกงยังทันสมัยมากขึ้น ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงเกี่ยวกับธุรกรรมแบบ CNP
ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในการประมวลผลธุรกรรมแบบแสดงบัตร
ธุรกิจต้องจ่ายค่าธรรมเนียมการประมวลผลธุรกรรมแบบแสดงบัตรให้กับผู้ประมวลผลการชําระเงิน (บริษัทที่จัดการการโอนเงินจากลูกค้าไปยังธุรกิจ) สําหรับธุรกรรมแต่ละรายการที่เกี่ยวข้องกับบัตรเดบิตหรือบัตรเครดิต ค่าใช้จ่ายเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ รวมถึงผู้ประมวลผลการชําระเงิน ประเภทของบัตรที่ใช้ทำธุรกรรม อุตสาหกรรมของธุรกิจ และยอดขายของธุรกิจ ต่อไปนี้คือปัจจัยบางอย่างที่ส่งผลต่อค่าใช้จ่ายเหล่านี้
ค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านบัตรระหว่างธนาคาร
ค่าธรรมเนียมนี้เป็นค่าธรรมเนียมธนาคารของธุรกิจจ่ายให้ธนาคารของลูกค้าสําหรับธุรกรรมแต่ละรายการ จํานวนเงินค่าธรรมเนียมกําหนดโดยเครือข่ายบัตร และแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ เช่น ประเภทของบัตร (บัตรเครดิต บัตรเดบิต บัตรรางวัล ฯลฯ) ประเภทของธุรกรรม (หน้าร้านหรือทางออนไลน์) และประเภทของธุรกิจ โดยปกติค่าธรรมเนียมค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านบัตรระหว่างธนาคารจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดธุรกรรมบวกค่าธรรมเนียมคงที่ ดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่โปร่งใสของ Stripe ได้ที่นี่ค่าธรรมเนียมเครือข่าย
ค่าธรรมเนียมนี้คือค่าธรรมเนียมที่เครือข่ายบัตร (Visa, Mastercard, American Express และ Discover ในสหรัฐอเมริกา) เรียกเก็บสําหรับการใช้โครงสร้างพื้นฐานของเครือข่ายบัตร ซึ่งมักคิดเป็นเปอร์เซ็นต์เล็กน้อยจากมูลค่าธุรกรรมทั้งหมดค่าบริการของผู้ประมวลผล
ค่าธรรมเนียมนี้คือค่าธรรมเนียมที่ผู้ประมวลผลการชําระเงินเรียกเก็บเป็นค่าบริการ ซึ่งรวมถึงการประมวลผลธุรกรรม การบริการลูกค้า การดูแลรักษาบัญชี และอื่นๆ โดยมักเป็นส่วนที่โครงสร้างค่าบริการจะแตกต่างกันมากที่สุดระหว่างผู้ประมวลผลการชําระเงินแต่ละราย ค่าบริการดังกล่าวอาจเป็นค่าธรรมเนียมคงที่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของธุรกรรม หรือเป็นทั้ง 2 แบบผสมกัน
ค่าธรรมเนียมของธุรกรรม CP มักจะต่ำกว่าค่าธรรมเนียมธุรกรรมแบบ CNP เนื่องจากมีความเสี่ยงต่อการฉ้อโกงและการดึงเงินคืนที่ต่ำกว่า
ธุรกิจควรทำความเข้าใจค่าธรรมเนียมเหล่านี้เมื่อเลือกผู้ประมวลผลการชําระเงิน เนื่องจากอาจส่งผลกระทบต่อค่าใช้จ่ายโดยรวมของธุรกิจอย่างมีนัยสําคัญ ผู้ประมวลผลบางรายอาจเสนอโครงสร้างค่าบริการแบบเป็นขั้นบันไดหรือแบบรวมชุด ในขณะที่บางรายอาจคิดค่าบริการแบบค่าธรรมเนียมธุรกรรมผ่านบัตรระหว่างธนาคารบวกค่าบริการ ซึ่งเป็นการผลักภาระค่าธรรมเนียมการทําธุรกรรมผ่านบัตรระหว่างธนาคารไปยังธุรกิจโดยตรงบวกค่าธรรมเนียมคงที่
นอกจากนี้ธุรกิจยังควรพิจารณาค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ค่าธรรมเนียมอุปกรณ์ (เช่น เครื่องอ่านบัตรหรือระบบ POS) ค่าธรรมเนียมเกตเวย์การชําระเงิน (สําหรับธุรกรรมออนไลน์) และค่าธรรมเนียมเพิ่มเติมสําหรับบริการต่างๆ เช่น การจัดการการดึงเงินคืนหรือการรายงานขั้นสูง
ดูข้อมูลเพิ่มเติมว่า Stripe ช่วยขับเคลื่อนการชําระเงินแบบ CP และ CNP อย่างไรได้ที่นี่
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ