เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการเป็นบริการที่ขั้นตอนธุรกรรมการชําระเงินดําเนินการบนแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการเกตเวย์การชําระเงินแทนที่จะดําเนินการบนเว็บไซต์ของธุรกิจ เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการได้รับความนิยมในหมู่ธุรกิจขนาดเล็กถึงขนาดกลาง เนื่องจากช่วยให้ขั้นตอนการชําระเงินง่ายขึ้นและลดภาระด้านความปลอดภัยที่เกี่ยวข้องกับการจัดการข้อมูลการชําระเงิน ในปี 2022 รายได้เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการคิดเป็นกว่า 57% ของรายได้ตลาดเกตเวย์การชําระเงินทั่วโลก
ด้านล่างนี้จะกล่าวถึงสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ รวมถึงการทํางานของเกตเวย์เหล่านี้ ข้อดีและข้อเสีย ตลอดจนผลกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้า
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- เกตเวย์การชําระเงินคืออะไร
- ประเภทของเกตเวย์การชําระเงิน
- เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการทํางานอย่างไร
- ข้อดีและข้อเสียของเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
- เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการเทียบกับเกตเวย์การชําระเงินแบบผสานในระบบ
- เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้าอย่างไร
- ฟีเจอร์ความปลอดภัยของเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
- ตัวเลือกการปรับแต่ง Stripe Checkout
เกตเวย์การชําระเงินคืออะไร
เกตเวย์การชําระเงินคือเทคโนโลยีที่ธุรกิจใช้เพื่อรับการชําระเงินออนไลน์ผ่านบัตรเครดิตและเดบิตจากลูกค้า โดยเป็นอินเทอร์เฟซระหว่างเว็บไซต์ของธุรกิจกับธนาคารผู้รับบัตร ซึ่งช่วยให้โอนข้อมูลการชําระเงินได้อย่างปลอดภัย เมื่อลูกค้าทําการซื้อทางออนไลน์และป้อนรายละเอียดการชําระเงิน เกตเวย์การชําระเงินจะเข้ารหัสข้อมูลและส่งไปให้ธนาคารผู้รับบัตรประมวลผลธุรกรรม
ประเภทของเกตเวย์การชําระเงิน
เกตเวย์การชําระเงินแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลัก โดยอิงตามวิธีการผสานการทํางานกับอินเทอร์เฟซผู้ใช้และการจัดการธุรกรรม เกตเวย์การชําระเงินแต่ละประเภทมีความยากในการผสานการทํางานกัน หน้าที่รับผิดชอบด้านการรักษาความปลอดภัย และการควบคุมขั้นตอนการชําระเงินในระดับที่ต่างกัน
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ: เกตเวย์เหล่านี้จะนําลูกค้าไปยังแพลตฟอร์มของผู้ให้บริการชําระเงินเพื่อป้อนรายละเอียดการชําระเงิน หลังจากธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์ ระบบจะนําลูกค้ากลับไปยังเว็บไซต์ของธุรกิจ วิธีนี้เป็นที่นิยมเพราะวิธีช่วยปลดภาระความรับผิดชอบในการจัดการข้อมูลการชําระเงินที่ละเอียดอ่อนไปให้กับผู้ให้บริการเกตเวย์การชําระเงิน ซึ่งอาจช่วยลดข้อกําหนดในการปฏิบัติตามมาตรฐานต่างๆ ของธุรกิจ เช่น มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสําหรับอุตสาหกรรมบัตรชําระเงิน (PCI DSS)
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของตัวเอง: เกตเวย์เหล่านี้ซึ่งเรียกอีกอย่างว่าเกตเวย์แบบผสานในระบบของผู้ค้าจะเก็บรวบรวมรายละเอียดการชําระเงินในเว็บไซต์ของธุรกิจ แล้วจึงส่งข้อมูลไปยัง URL ของเกตเวย์การชําระเงิน วิธีนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถควบคุมประสบการณ์ผู้ใช้ได้มากขึ้น แต่จะเพิ่มความรับผิดชอบในการรักษาข้อมูลการชําระเงินให้ปลอดภัย
เกตเวย์การชําระเงินผ่าน API: เกตเวย์เหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถผสานการทํางานกับฟีเจอร์การประมวลผลการชําระเงินเข้ากับเว็บไซต์หรือแอปของตัวเองโดยตรงผ่านอินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (API) ของเกตเวย์ วิธีนี้มอบประสบการณ์ผู้ใช้ที่ง่าย เนื่องจากลูกค้าไม่จําเป็นต้องออกจากแพลตฟอร์มของธุรกิจเพื่อทําธุรกรรมให้เสร็จสิ้น โดยวิธีการนี้กําหนดให้ธุรกิจต้องจัดการข้อมูลการชําระเงิน เช่นเดียวกับเกตเวย์การชำระเงินบนระบบของตัวเอง
เกตเวย์การชำระเงินบนระบบของผู้ให้บริการทำงานอย่างไร
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการจะนําลูกค้าจากเว็บไซต์ของธุรกิจไปที่แพลตฟอร์มของเกตเวย์เพื่อดําเนินการชําระเงิน ต่อไปนี้คือรายละเอียดทีละขั้นตอนของกระบวนการ
การเริ่มต้นการชำระเงิน: เมื่อลูกค้าตัดสินใจซื้อสินค้าและเริ่มขั้นตอนการชําระเงินบนเว็บไซต์ของธุรกิจ ลูกค้าจะเลือกวิธีการชําระเงิน จากนั้นก็จะถูกนำทางไปยังแพลตฟอร์มของเกตเวย์การชําระเงิน
การป้อนข้อมูลการชําระเงิน: ระบบจะนําลูกค้าไปที่หน้าของผู้ให้บริการเกตเวย์การชําระเงินโฮสต์ไว้ ซึ่งมีการขอให้ลูกค้ากรอกรายละเอียดการชําระเงิน เช่น ข้อมูลบัตรเครดิตหรือบัญชีธนาคาร
การเข้ารหัสข้อมูล: เกตเวย์การชําระเงินจะเข้ารหัสข้อมูลการชําระเงินของลูกค้าเพื่อให้ส่งไปทางออนไลน์อย่างปลอดภัย การเข้ารหัสนี้ช่วยปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อนจากการถูกดักเก็บโดยผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาต
การอนุมัติการชําระเงิน: เกตเวย์การชําระเงินจะส่งรายละเอียดธุรกรรมไปให้ผู้ประมวลผลการชําระเงินหรือธนาคารที่เชื่อมโยงกับบัตรหรือบัญชีธนาคารของลูกค้า ผู้ประมวลผลจะตรวจสอบรายละเอียดธุรกรรมกับธนาคารของลูกค้าเพื่อยืนยันว่าบัญชีมีเงินเพียงพอและรายละเอียดถูกต้อง
ผลลัพธ์ของธุรกรรม: ธนาคารของลูกค้าจะตอบกลับเกตเวย์การชําระเงินเพื่อระบุว่าธุรกรรมนั้นๆ ได้รับการอนุมัติหรือปฏิเสธ ซึ่งโดยปกติขั้นตอนนี้จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่วินาที
การซื้อเสร็จสิ้น: หลังจากได้รับการตอบกลับ เกตเวย์การชําระเงินจะนำลูกค้ากลับไปที่เว็บไซต์ของธุรกิจ ธุรกิจจะแสดงข้อความแจ้งลูกค้าเพื่อบอกว่าธุรกรรมสําเร็จหรือไม่
การชําระเงิน: หากธุรกรรมได้รับการอนุมัติ จะมีการโอนเงินจากธนาคารของลูกค้าไปยังบัญชีธนาคารของธุรกิจ ขั้นตอนนี้อาจใช้เวลา 2-3 วัน โดยขึ้นอยู่กับธนาคารและผู้ประมวลผลการชําระเงินที่เกี่ยวข้อง
บันทึกธุรกรรม: เกตเวย์การชําระเงินจะให้รายละเอียดธุรกรรมกับธุรกิจเพื่อเป็นข้อมูล ซึ่งสามารถนําไปใช้กระทบยอด คืนเงิน หรือใช้เพื่อการบริการลูกค้าได้
ข้อดีและข้อเสียของเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
ต่อไปนี้คือสรุปข้อดีและข้อเสียของเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการในแง่เทคนิคและธุรกิจ
ข้อดี
การรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกําหนด: เกตเวย์บนระบบของผู้ให้บริการจะจัดการการจัดเก็บ การเข้ารหัส และการรับส่งข้อมูลการชําระเงิน ซึ่งช่วยลดภาระของธุรกิจในการปฏิบัติตามข้อกําหนด PCI DSS ความปลอดภัยของเกตเวย์สามารถป้องกันการละเมิดข้อมูลและการฉ้อโกงได้อย่างมาก
การผสานการทํางานที่ง่าย: โดยปกติแล้ว การนําเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการมาใช้จะมีภาระในการพัฒนาระบบน้อยกว่าเมื่อเทียบกับโซลูชันแบบที่อยู่บนระบบของตัวเองหรือโซลูชันแบบใช้งานผ่าน API โดยธุรกิจสามารถผสานการทํางานด้วยการเปลี่ยนเส้นทางเพจซึ่งเรียบง่าย และช่วยลดความจําเป็นที่จะต้องมีโครงสร้างพื้นฐานส่วนหลังขนาดใหญ่เพื่อการประมวลผลการชําระเงิน
ค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐาน: เนื่องจากผู้ให้บริการเกตเวย์การชําระเงินเป็นผู้จัดการทั้งด้านเทคนิคและการรักษาความปลอดภัยของการประมวลผลการชําระเงิน ธุรกิจจึงสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดูแลโครงสร้างพื้นฐานการชำระเงินให้ปลอดภัยและเป็นไปตามข้อกําหนด ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถนำทรัพยากรไปจัดสรรให้กับด้านอื่นๆ ที่ช่วยเสริมสร้างการเติบโตของธุรกิจ เช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาด และบริการลูกค้าได้
การประมวลผลการชําระเงินแบบจ้างภายนอก: การจ้างผู้บริการเกตเวย์จัดการขั้นตอนการชำระเงินทำให้ธุรกิจสามารถใช้ฟีเจอร์ขั้นสูงของผู้ให้บริการ เช่น การตรวจจับการฉ้อโกง การจัดการความเสี่ยง และฟังก์ชันการชําระเงินทั่วโลกได้โดยที่ไม่ต้องพัฒนาระบบเหล่านี้เอง
การขยายตลาด: เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการมักรองรับหลายสกุลเงินและวิธีการชําระเงิน รวมถึงบัตรเครดิต กระเป๋าเงินดิจิทัล และตัวเลือกการชําระเงินในท้องถิ่น ความยืดหยุ่นนี้จะทลายอุปสรรคทางภูมิศาสตร์และโลจิสติกส์ในการเข้าสู่ตลาดและการขยายธุรกิจ ทําให้ธุรกิจสามารถให้บริการกลุ่มเป้าหมายทั่วโลกได้
ข้อมูลเชิงลึก: เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการมีเครื่องมือการวิเคราะห์และการรายงานที่มีข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับพฤติกรรมการซื้อของลูกค้า แนวโน้มการชําระเงิน และอัตราความสําเร็จของธุรกรรม ธุรกิจต่างๆ สามารถนําข้อมูลนี้ไปใช้ประกอบการตัดสินใจ เพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์การขาย และปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือบริการของตัวเองได้
ความสามารถในการขยาย: เมื่อธุรกิจเติบโต ความต้องการด้านการประมวลผลการชําระเงินก็อาจมีความซับซ้อนมากขึ้น เกตเวย์การชําระเงินในระบบได้รับการออกแบบมาเพื่อเติบโตไปพร้อมกับธุรกิจด้วยฟีเจอร์อย่าง การจัดการการดึงเงินคืน และการรองรับยอดธุรกรรมที่เพิ่มขึ้นโดยไม่จําเป็นต้องเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานครั้งใหญ่
การเข้าสู่ตลาดที่รวดเร็วขึ้น: สําหรับธุรกิจใหม่หรือธุรกิจที่ต้องการเข้าสู่ตลาดออนไลน์อย่างรวดเร็ว เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการช่วยให้คุณสามารถรับชําระเงินทางออนไลน์ได้อย่างรวดเร็ว ธุรกิจสามารถคว้าโอกาสในตลาดได้เร็วกว่าการที่จะต้องพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการประมวลผลการชําระเงินด้วยตัวเอง
ข้อเสีย
ประสบการณ์ของผู้ใช้: การเปลี่ยนเส้นทางเพจอาจส่งผลเสียต่อประสบการณ์การช็อปปิง ซึ่งอาจนําไปสู่อัตราการละทิ้งรถเข็นสินค้าที่สูงขึ้น แม้ว่าจะปรับแต่งได้บ้างบางส่วน แต่ธุรกิจอาจมีข้อจํากัดในการแก้ไขขั้นตอนการชําระเงินให้บรรลุเป้าหมายด้านประสบการณ์ผู้ใช้ของตนเอง
การพึ่งพาบุคคลที่สาม: ธุรกิจต่างๆ ต้องอาศัยความพร้อมให้บริการและประสิทธิภาพการทํางานของเกตเวย์ ปัญหาด้านระยะเวลาหยุดทํางานหรือประสิทธิภาพการทํางานของเกตเวย์อาจส่งผลกระทบต่อยอดขายและความพึงพอใจของลูกค้าโดยตรง
ค่าธรรมเนียมต่อเนื่อง: แม้ว่าเกตเวย์บนระบบของผู้ให้บริการจะช่วยลดความจําเป็นในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินเอง แต่ก็มีข้อเสียในตัวเอง ซึ่งอาจรวมถึงค่าธรรมเนียมธุรกรรม ค่าธรรมเนียมรายเดือน หรือค่าธรรมเนียมในการจัดตั้งที่ต้องจ่าย ทั้งนี้ความคุ้มค่าขึ้นอยู่กับปริมาณการขายและขนาดธุรกรรมของธุรกิจ
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการเทียบกับเกตเวย์การชําระเงินแบบผสานในระบบของผู้ค้า
การเลือกระหว่างเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการกับเกตเวย์การชำระเงินแบบผสานในระบบขึ้นอยู่กับความต้องการเฉพาะและทรัพยากรของธุรกิจ
เกตเวย์บนระบบของผู้ให้บริการมอบความง่ายและความปลอดภัยให้กับธุรกิจ โดยมีค่าใช้จ่ายด้านเทคนิคเพียงเล็กน้อย ซึ่งเหมาะสําหรับธุรกิจที่กําลังมองหาโซลูชันที่ใช้งานง่าย ลดภาระในการปฏิบัติตามข้อกําหนด และวิธีที่รวดเร็วในการเริ่มรับชําระเงินออนไลน์โดยไม่ต้องลงทุนมาก ซึ่งเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสําหรับธุรกิจขนาดเล็กหรือธุรกิจที่ไม่ค่อยเชี่ยวชาญด้านเทคนิค
เกตเวย์แบบผสานในระบบให้ประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีและมีตัวเลือกการปรับแต่งที่มากกว่า วิธีนี้อาจเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับธุรกิจที่ให้ความสําคัญกับการนำเสนอประสบการณ์ด้านแบรนด์และประสบการณ์ลูกค้าที่ราบรื่น และมีทรัพยากรทางเทคนิคในการจัดการด้านความปลอดภัยในระดับที่สูงขึ้นและความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามข้อกําหนดที่มากขึ้น เกตเวย์แบบผสานในระบบช่วยให้ธุรกิจควบคุมขั้นตอนการชําระเงินได้อย่างสมบูรณ์ และสร้างประสบการณ์ด้านแบรนด์ที่เป็นหนึ่งเดียว
ในท้ายที่สุดการตัดสินใจเลือกระหว่างสองตัวเลือกนี้ขึ้นอยู่กับเป้าหมายเชิงกลยุทธ์ของธุรกิจ ขีดความสามารถทางเทคนิค การให้ความสําคัญกับประสบการณ์ของลูกค้าและข้อจํากัดด้านงบประมาณ
ต่อไปนี้เป็นการเปรียบเทียบเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการกับเกตเวย์การชําระเงินแบบผสานในระบบโดยละเอียด
การผสานการทำงานและการจัดตั้ง
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
- ธุรกิจจะเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าไปยังแพลตฟอร์มของเกตเวย์การชําระเงินเพื่อประมวลผลการชําระเงิน
- ปกติแล้วการผสานการทํางานจะมีการเพิ่มลิงก์หรือปุ่มเปลี่ยนเส้นทางในหน้าการชําระเงิน
- โซลูชันบนระบบของผู้ให้บริการใช้ความเชี่ยวชาญทางเทคนิคน้อยกว่าในการนำมาใช้เมื่อเทียบกับโซลูชันแบบผสานในระบบ
- ธุรกิจจะเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าไปยังแพลตฟอร์มของเกตเวย์การชําระเงินเพื่อประมวลผลการชําระเงิน
เกตเวย์การชําระเงินแบบผสานในระบบ
- การประมวลผลการชําระเงินเกิดขึ้นภายในเว็บไซต์หรือสภาพแวดล้อมของแอปพลิเคชันของธุรกิจ
- ต้องผสานการทำงานกับ API
- โซลูชันแบบผสานในระบบต้องใช้ทรัพยากรทางเทคนิคและความเชี่ยวชาญในการนำมาใช้และบำรุงรักษา
- การประมวลผลการชําระเงินเกิดขึ้นภายในเว็บไซต์หรือสภาพแวดล้อมของแอปพลิเคชันของธุรกิจ
ประสบการณ์ของผู้ใช้
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
- ผู้ใช้จะถูกนําทางไปยังอีกสภาพแวดล้อมเพื่อชำระเงิน ซึ่งอาจทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้สะดุดได้
- โดยทั่วไปอินเทอร์เฟซการชําระเงินจะเป็นมาตรฐานที่ผู้ใช้คุ้นเคย
- การปรับแต่งหน้าการชําระเงินอาจมีข้อจํากัด ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของผู้ให้บริการเกตเวย์
- ผู้ใช้จะถูกนําทางไปยังอีกสภาพแวดล้อมเพื่อชำระเงิน ซึ่งอาจทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้สะดุดได้
เกตเวย์การชําระเงินแบบผสานในระบบ
- ลูกค้าไม่ได้ออกจากเว็บไซต์ของธุรกิจ
- ธุรกิจควบคุมการออกแบบการชําระเงินได้อย่างเต็มที่ จึงมอบประสบการณ์แบรนด์ที่สม่ำเสมอ
- โซลูชันแบบผสานในระบบต้องใช้การพัฒนาระบบส่วนหน้าเป็นอย่างมาก
- ลูกค้าไม่ได้ออกจากเว็บไซต์ของธุรกิจ
การรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกําหนด
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
- โซลูชันบนระบบของผู้ให้บริการให้ความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่า เนื่องจากข้อมูลการชําระเงินได้รับการประมวลผลและจัดเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของเกตเวย์
- ภาระในการปฏิบัติตามข้อกําหนดของ PCI DSS ลดลง
- ผู้ให้บริการเกตเวย์มีหน้าที่รับผิดชอบในการรักษาความปลอดภัยของขั้นตอนและข้อมูลการชําระเงิน
- โซลูชันบนระบบของผู้ให้บริการให้ความปลอดภัยในระดับที่สูงกว่า เนื่องจากข้อมูลการชําระเงินได้รับการประมวลผลและจัดเก็บไว้บนเซิร์ฟเวอร์ของเกตเวย์
เกตเวย์การชําระเงินแบบผสานในระบบ
- ธุรกิจมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของข้อมูลการชําระเงินที่ส่งผ่านระบบของตน
- มีข้อกําหนดในการปฏิบัติตามข้อกําหนดของ PCI DSS สูงกว่า
- โซลูชันแบบผสานในระบบต้องมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่รัดกุม ซึ่งรวมถึงการเข้ารหัสข้อมูลและแนวปฏิบัติด้านการจัดการข้อมูลที่ปลอดภัย
- ธุรกิจมีหน้าที่รักษาความปลอดภัยของข้อมูลการชําระเงินที่ส่งผ่านระบบของตน
การปรับแต่งและความยืดหยุ่น
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
- มีตัวเลือกการปรับแต่งขั้นตอนการชำระเงินและอินเทอร์เฟซที่จํากัด
- อาจไม่รองรับวิธีการชําระเงินหรือสกุลเงินที่ต้องการทั้งหมด
- มีตัวเลือกการปรับแต่งขั้นตอนการชำระเงินและอินเทอร์เฟซที่จํากัด
เกตเวย์การชําระเงินแบบผสานในระบบ
- สามารถปรับแต่งได้มาก ซึ่งช่วยให้ธุรกิจปรับแต่งประสบการณ์การชําระเงินให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของตนได้
- สามารถผสานการทํางานกับวิธีการชําระเงินที่หลากหลายและรองรับหลายสกุลเงิน ขึ้นอยู่กับAPI ของเกตเวย์
- สามารถปรับแต่งได้มาก ซึ่งช่วยให้ธุรกิจปรับแต่งประสบการณ์การชําระเงินให้เข้ากับความต้องการเฉพาะของตนได้
ผลกระทบด้านค่าใช้จ่าย
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
- มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าน้อยลงเนื่องจากไม่ต้องพัฒนาเพิ่มมาก
- โซลูชันบนระบบของผู้ให้บริการมีค่าใช้จ่ายต่อเนื่องมากกว่า เนื่องจากคิดค่าธรรมเนียมต่อธุรกรรมหรือมีค่าบริการรายเดือน
- มีค่าใช้จ่ายล่วงหน้าน้อยลงเนื่องจากไม่ต้องพัฒนาเพิ่มมาก
เกตเวย์การชําระเงินแบบผสานในระบบ
- มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแรกเริ่มสูงกว่า เนื่องจากต้องผสานการทำงานกับ API และต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกําหนดด้านความปลอดภัย
- โซลูชันแบบผสานในระบบมีค่าใช้จ่ายในระยะยาว ซึ่งจะแตกต่างกันไปตามค่าธรรมเนียมธุรกรรม การใช้งาน API และความต้องการด้านการจัดการความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกําหนดอย่างต่อเนื่อง
- มีค่าใช้จ่ายในการพัฒนาแรกเริ่มสูงกว่า เนื่องจากต้องผสานการทำงานกับ API และต้องดำเนินการให้สอดคล้องกับข้อกําหนดด้านความปลอดภัย
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้าอย่างไร
เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ของลูกค้าในหลายๆ ด้าน ซึ่งได้แก่:
ขั้นตอนการชำระเงินหยุดชะงัก: เกตเวย์บนระบบของผู้ให้บริการจะเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าไปยังเว็บไซต์ภายนอกเพื่อประมวลผลการชําระเงิน ซึ่งอาจทำให้ประสบการณ์การช็อปปิงสะดุดได้ แม้ว่าลูกค้าบางรายอาจไม่ว่าอะไรเรื่องการเปลี่ยนเส้นทาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรู้จักและเชื่อถือแพลตฟอร์มการชําระเงินนั้น แต่บางรายอาจรู้สึกขัดข้องหรือสับสน ซึ่งอาจนําไปสู่การละทิ้งรถเข็นสินค้าได้ นอกจากนี้ยังมีข้อจํากัดซึ่งทำให้ไม่สามารถปรับแต่งหน้าการชําระเงินได้อย่างเต็มรูปแบบ ซึ่งอาจลดทอนประสบการณ์แบรนด์ที่เป็นหนึ่งเดียว และทําให้ธุรกิจสร้างเส้นทางการช็อปปิงที่สอดผสานลงตัวได้ยากขึ้น
อินเทอร์เฟซการชําระเงินที่คุ้นเคยและเชื่อถือได้: ลูกค้าอาจรู้สึกปลอดภัยมากขึ้นหากระบบเปลี่ยนเส้นทางไปยังแพลตฟอร์มการชําระเงินที่มีชื่อเสียงและเป็นที่รู้จักดี ความไว้วางใจนี้อาจทำให้ลูกค้ารู้สึกถึงประสบการณ์การช็อปปิงที่ดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับธุรกิจใหม่หรือขนาดเล็ก ความคุ้นเคยกับแพลตฟอร์มเหล่านี้ยังหมายความว่าลูกค้าคุ้นเคยกับการใช้งานแพลตฟอร์มเหล่านี้ ซึ่งจะช่วยย่นเวลาการเรียนรู้และทําให้ขั้นตอนการชําระเงินเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น
ความเร็วธุรกรรมที่ไม่แน่นอน: ความเร็วของขั้นตอนการชําระเงินบนแพลตฟอร์มบนระบบของผู้ให้บริการอาจแตกต่างกันไป ความล่าช้าหรือไม่มีประสิทธิภาพในระบบของเกตเวย์อาจส่งผลกระทบต่อความเร็วในการประมวลผลธุรกรรม ซึ่งสุดท้ายแล้วจะส่งผลกระทบต่อความพึงพอใจของลูกค้า
การสนับสนุนลูกค้าและการแก้ปัญหา: ในกรณีที่เป็นปัญหาด้านธุรกรรมหรือการคืนเงิน ลูกค้าอาจต้องติดต่อทั้งธุรกิจและเกตเวย์การชําระเงินเพื่อขอให้แก้ไข ซึ่งอาจทําให้ประสบการณ์ด้านการบริการลูกค้าซับซ้อนกว่าเดิม
ฟีเจอร์ความปลอดภัยของเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
โซลูชันเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการมีฟีเจอร์การรักษาความปลอดภัยหลายอย่างที่ช่วยปกป้องข้อมูลธุรกรรม ลดการฉ้อโกง และช่วยให้มั่นใจเรื่องการปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรม ฟีเจอร์เหล่านี้ทำให้ลูกค้าเชื่อถือ และช่วยปกป้องชื่อเสียงของธุรกิจ ต่อไปนี้คือฟีเจอร์หลักๆ ด้านความปลอดภัยซึ่งมักเกี่ยวข้องกับโซลูชันเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการ
การเข้ารหัส: เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการใช้การเข้ารหัสเพื่อปกป้องข้อมูลที่ส่งถึงกันระหว่างลูกค้า ธุรกิจ และผู้ประมวลผลการชําระเงิน การเข้ารหัสจะแปลงข้อมูลที่ละเอียดอ่อน เช่น หมายเลขบัตรเครดิต ให้อยู่ในรูปแบบที่ปลอดภัย ซึ่งสามารถถอดรหัสได้โดยผู้ที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
Secure Sockets Layer (SSL) และ Transport Layer Security (TLS): โปรโตคอลเหล่านี้สร้างลิงก์ที่เข้ารหัสระหว่างเว็บเซิร์ฟเวอร์และเบราว์เซอร์ โดยเก็บข้อมูลทั้งหมดที่ส่งผ่านระหว่างลูกค้ากับเกตเวย์การชําระเงินเป็นความลับ
การแปลงเป็นโทเค็น: ขั้นตอนการแปลงเป็นโทเค็นเป็นการแทนที่ข้อมูลการชําระเงินที่ละเอียดอ่อนด้วยรหัสระบุหรือโทเค็นที่ไม่ซ้ําซึ่งไม่มีค่าที่ใช้ได้ ถึงแม้ว่าโทเค็นจะถูกดักเก็บไป แต่จะไม่สามารถใช้ดึงรายละเอียดการชําระเงินเดิมได้ ซึ่งเป็นการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่งให้กับขั้นตอนธุรกรรม
การปฏิบัติตามข้อกําหนดของ PCI DSS: โซลูชันการชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการยึดถือมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสําหรับอุตสาหกรรมบัตรชําระเงิน (PCI DSS) ซึ่งเป็นชุดข้อกําหนดที่กํากับดูแลวิธีการที่ธุรกิจต้องใช้ในการประมวลผล จัดเก็บ หรือส่งข้อมูลบัตรเครดิต
ระบบตรวจจับและป้องกันการฉ้อโกง เกตเวย์การชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการหลายแห่งมีเครื่องมือตรวจจับและป้องกันธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกง ซึ่งรวมถึงการวิเคราะห์รูปแบบความเร็ว ตําแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ และปัจจัยด้านพฤติกรรมเพื่อระบุและบล็อกกิจกรรมที่น่าสงสัย
3D Secure: นี่เป็นขั้นตอนการตรวจสอบสิทธิ์เพิ่มเติมสําหรับการชําระเงินออนไลน์ ซึ่งขอให้ลูกค้าป้อนรหัสผ่านหรือรหัสที่ส่งไปยังโทรศัพท์ เป็นการเพิ่มการรักษาความปลอดภัยอีกชั้นหนึ่งเพื่อยืนยันว่าบุคคลที่ซื้อสินค้าดังกล่าวเป็นเจ้าของบัตรจริง
การตรวจสอบด้านความปลอดภัยเป็นประจํา: โซลูชันการชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการมักมีการตรวจสอบด้านความปลอดภัยเป็นประจํา เพื่อยืนยันการปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อบังคับล่าสุดด้านการรักษาความปลอดภัย การตรวจสอบเหล่านี้ช่วยระบุช่องโหว่ที่อาจเกิดขึ้นและตรวจสอบให้มั่นใจว่ามาตรการรักษาความปลอดภัยของเกตเวย์ยังเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
การจัดเก็บข้อมูลซ้ำอีกชุดและการสํารองข้อมูล: โซลูชันการชําระเงินบนระบบของผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือจะมีระบบการสํารองและการกู้คืนข้อมูล เพื่อป้องกันการสูญเสียข้อมูลในกรณีที่ระบบล้มเหลวหรือมีการโจมตีทางไซเบอร์
ตัวเลือกการปรับแต่ง Stripe Checkout
Stripe Checkout ซึ่งเป็นเกตเวย์การชําระเงินบนระบบของ Stripe มีตัวเลือกการปรับแต่งมากมายเพื่อให้ธุรกิจสามารถสร้างประสบการณ์ด้านแบรนด์และการชําระเงินที่เป็นหนึ่งเดียวมากขึ้นให้แก่ลูกค้า หากคุณต้องการการปรับแต่งเองมากกว่าที่ Stripe Checkout จะรองรับได้ เรามี Stripe Elements ซึ่งจะมีองค์ประกอบพื้นฐานสําหรับสร้างแบบฟอร์มการชําระเงินที่ออกแบบเองได้มากขึ้น โดยยังคงใช้ฟีเจอร์การประมวลผลและความปลอดภัยของ Stripe อยู่เบื้องหลัง
นี่คือภาพรวมของฟีเจอร์ปรับแต่งที่มีให้ใช้งานใน Stripe Checkout
การสร้างแบรนด์: Stripe Checkout ให้คุณปรับแต่งรูปลักษณ์อินเทอร์เฟซการชําระเงินให้สอดคล้องกับแบรนด์ของคุณ ซึ่งรวมถึงการเพิ่มโลโก้ การเลือกสีแบรนด์ ตลอดจนการปรับแต่งปุ่มและรูปแบบข้อความเพื่อสร้างรูปลักษณ์ที่สอดคล้องกันตลอดประสบการณ์การช็อปปิง
การแปลภาษาให้เข้ากับท้องถิ่น: Stripe Checkout รองรับการแปลภาษาโดยอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่าระบบจะรตรวจจับตําแหน่งที่ตั้งและภาษาที่ลูกค้ากําหนดเพื่อแสดงหน้าการชําระเงินในภาษาและรูปแบบที่ตรงความต้องการมากที่สุด ฟีเจอร์นี้ช่วยสร้างประสบการณ์ที่ดียิ่งขึ้นสําหรับลูกค้าทั่วโลก
รายละเอียดผลิตภัณฑ์และค่าบริการ: คุณสามารถกําหนดค่า Stripe Checkout ให้แสดงข้อมูลผลิตภัณฑ์บางอย่าง เช่น ชื่อ คําอธิบาย และราคา เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับสิ่งที่กำลังจะซื้อ
วิธีการชําระเงิน: Stripe รองรับวิธีการชําระเงินที่หลากหลาย ซึ่งรวมถึงบัตรเครดิต กระเป๋าเงินดิจิทัล (เช่น Apple Pay และ Google Pay) และวิธีการชําระเงินในท้องถิ่น ซึ่งคุณสามารถปรับแต่งตัวเลือกที่มีให้ลูกค้าตามตําแหน่งที่ตั้งหรือตามความต้องการของธุรกิจได้
URL แจ้งธุรกรรมสําเร็จและยกเลิก: เมื่อธุรกรรมเสร็จสมบูรณ์แล้ว คุณสามารถเปลี่ยนเส้นทางโดยนำลูกค้าไปยัง URL ที่ต้องการตามผลลัพธ์ เช่น ไปที่หน้า "ขอบคุณ" หากการชําระเงินสําเร็จหรือไปที่หน้า "ลองอีกครั้ง" หากการชําระเงินไม่สําเร็จ ซึ่งสร้างประสบการณ์ที่ลูกค้าจะได้รับการแนะนำมากขึ้น
การชําระเงินตามรอบบิลและการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า: Stripe Checkout รองรับโมเดลการเรียกเก็บเงินตามรอบบิลและการเรียกเก็บเงินตามแบบแผนล่วงหน้า ซึ่งธุรกิจต่างๆ สามารถปรับแต่งให้ลูกค้าตั้งค่าและจัดการแพ็กเกจบริการและรอบการชําระเงินได้
คูปองและส่วนลด: คุณสามารถผสานฟังก์ชันคูปองหรือรหัสส่วนลดเข้ากับอินเทอร์เฟซ Stripe Checkout เพื่อให้ลูกค้าใช้ส่วนลดกับการซื้อได้
ช่องข้อมูลที่ออกแบบเอง: Stripe Checkout มีตัวเลือกให้เพิ่มช่องข้อมูลหรือบันทึกแบบกําหนดเอง แต่ฟีเจอร์เหล่านี้ค่อนข้างจำกัดเมื่อเทียบกับฟอร์มการชําระเงินแบบผสานในระบบเต็มรูปแบบ
แม้ว่า Stripe Checkout จะมีตัวเลือกการปรับแต่งมากมาย แต่ธุรกิจที่มีความต้องการการปรับแต่งที่มากขึ้นอาจต้องพิจารณาใช้ API ของ Stripe
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ