How to accept B2B payments: What businesses need to know

Payments
Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด ตั้งแต่ธุรกิจสตาร์ทอัพไปจนถึงองค์กรใหญ่ระดับโลก

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. ประเภทของการชําระเงินแบบ B2B
  3. การประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ทำงานอย่างไร
  4. ความท้าทายเกี่ยวกับชําระเงินแบบ B2B
  5. แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B
  6. วิธีรับชําระเงินแบบ B2B
    1. ขั้นตอนการรับชําระเงินแบบ B2B
  7. Stripe ธุรกิจประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ได้อย่างไร

การชําระเงินแบบ B2B คือธุรกรรมระหว่างธุรกิจที่มีการแลกเปลี่ยนสินค้า บริการ หรือข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับธุรกรรมของลูกค้า การชําระเงินประเภทนี้มักจะเกี่ยวข้องกับยอดเงินที่สูงกว่า กำหนดการชําระเงินที่ยาวนานกว่า สัญญาที่ซับซ้อนกว่า และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องหลายราย ซึ่งอาจทําให้การชําระเงินเสร็จสิ้นได้ช้าลง ทั้งผู้ชําระเงินและผู้รับเงินจะต้องจัดการการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับและประเด็นด้านความปลอดภัย ซึ่งทำให้การดำเนินการธุรกรรมเหล่านี้มีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น จากความท้าทายเหล่านี้ การชําระเงินแบบ B2B จึงอาจต้องใช้ซอฟต์แวร์หรือแพลตฟอร์มการชําระเงินเฉพาะทาง ในปี 2023 มูลค่าของตลาด B2B ทั่วโลกมีมูลค่ากว่า 26 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ

ต่อไปนี้เราจะอธิบายสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับการชําระเงินแบบ B2B ไม่ว่าจะเป็นการชําระเงิน B2B ประเภทต่างๆ วิธีรับชําระเงิน และวิธีขับเคลื่อนกลยุทธ์ของคุณอย่างถูกต้องและแม่นยํา

บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

  • ประเภทของการชําระเงินแบบ B2B
  • การประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ทำงานอย่างไร
  • ความท้าทายเกี่ยวกับชําระเงินแบบ B2B
  • แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B
  • วิธีรับชําระเงินแบบ B2B
  • Stripe ช่วยธุรกิจประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ได้อย่างไร

ประเภทของการชําระเงินแบบ B2B

เช่นเดียวกับการชําระเงินประเภทอื่นๆ การชําระเงินแบบ B2B ไม่ได้ใช้เพียงวิธีการชําระเงินเดียว ขณะที่เทคโนโลยีได้ทำให้เกิดวิธีการชำระเงินที่หลากหลายมากขึ้นเรื่อยๆ วิธีการชําระเงินแบบ B2B ก็หลากหลายขึ้นเช่นกัน ต่อไปนี้คือข้อมูลสรุปเกี่ยวกับประเภทการชําระเงินแบบ B2B หลักๆ บางส่วน

  • การโอนเงินระหว่างธนาคาร
    การโอนเงินระหว่างธนาคารเป็นธุรกรรมโดยตรงระหว่างบัญชีธนาคารและมักจะใช้กับการชำระเงินขนาดใหญ่และมีความอ่อนไหวด้านเวลาสูง วิธีนี้รวดเร็วและเชื่อถือได้ แต่อาจมีราคาแพงโดยมีค่าธรรมเนียมตั้งแต่ 15 ถึง 45 ดอลลาร์สหรัฐ ทั้งสองฝ่ายจะต้องเปิดเผยข้อมูลทางการเงินแก่กันเพื่อเริ่มต้นธุรกรรม

  • การโอนเงินแบบ ACH
    การโอนเงินแบบ ACH หรือ การชําระเงินแบบสํานักหักบัญชีอัตโนมัติ คือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เหมาะกับธุรกรรมขนาดเล็กถึงกลางและการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า ซึ่งถูกกว่าการโอนเงินผ่านธนาคาร แต่ใช้เวลานานกว่าในการดําเนินการ โดยปกติแล้วจะใช้เวลา 2-3 วันทําการ

  • เช็คกระดาษ
    แม้การใช้ระบบดิจิทัลจะเพิ่มขึ้น แต่เช็คกระดาษก็ยังเป็นวิธีการที่ใช้กันทั่วไปสําหรับธุรกรรมแบบ B2B ซึ่งผู้ตอบแบบสำรวจของสมาคมวิชาชีพการเงิน การสำรวจโดย AFP ปี 2020 กว่า 2 ใน 3 ยังคงใช้เช็คในการชําระเงินแบบ B2B เป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าตัวเช็คจะเป็นเอกสารยืนยันได้ แต่ก็มีความเสี่ยงตามมาด้วย เช่น ความเป็นไปได้ที่เช็คจะเด้ง นอกจากนี้การประมวลผลด้วยตนเองยังทําให้เกิดความล่าช้าและค่าใช้จ่ายในการจัดการได้อีกด้วย

  • บัตรเครดิต
    บัตรเครดิต สะดวกสําหรับธุรกรรมแบบทันที และโดยทั่วไปมักใช้สําหรับการชําระเงินขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ธุรกิจมักจะต้องแบกรับค่าธรรมเนียมเพื่อความสะดวกนี้ เนื่องจากค่าธรรมเนียมและวงเงินธุรกรรม จึงไม่ค่อยมีการใช้บัตรเครดิตกับธุรกรรมขนาดใหญ่

  • แพลตฟอร์มแบบเพียร์ทูเพียร์
    แพลตฟอร์มแบบเพียร์ทูเพียร์ เช่น PayPal อํานวยความสะดวกด้านการชำระเงินทั้งในและระหว่างประเทศ โดยช่วยให้ทําธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องให้ฝ่ายใดเปิดเผยรายละเอียดธนาคารแก่กันโดยตรง ค่าธรรมเนียมคิดตามธุรกรรมและอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

แพลตฟอร์มดิจิทัลอื่นๆ เช่น Square และ Venmo สําหรับธุรกิจ ให้บริการธุรกรรมที่รวดเร็วและมีโครงสร้างค่าธรรมเนียมที่หลากหลาย โดยมักมีฟีเจอร์เพิ่มเติม เช่น การติดตามสินค้าคงคลังและฟังก์ชันการออกใบแจ้งหนี้ ซึ่งน่าสนใจสำหรับธุรกิจขนาดเล็ก

การประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ทำงานอย่างไร

เราสามารถแจกแจงองค์ประกอบสำคัญของการประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ได้หลายข้อดังต่อไปนี้

  • การเจรจาและการทำสัญญา
    ก่อนที่การชําระเงินจะเกิดขึ้น คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายจะต้องยอมรับข้อกําหนดและเงื่อนไข รวมถึงราคา วิธีการชําระเงิน และลําดับเวลา การเจรจาสัญญาเป็นการวางพื้นฐานของขั้นตอนการชําระเงินทั้งหมด โดยแจกแจงความคาดหวังและสร้างรากฐานทางกฎหมายเพื่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจ

  • การสร้างและการจัดส่งใบแจ้งหนี้
    เมื่อจัดส่งสินค้าหรือบริการแล้ว ผู้ขายจะจัดทำใบแจ้งหนี้ ซึ่งแจกแจงค่าใช้จ่าย เงื่อนไขการชําระเงิน และข้อมูลสําคัญอื่นๆ ผู้ขายจะส่งใบแจ้งหนี้นี้ไปให้ผู้ซื้อโดยมักส่งทางอีเมล แต่ธุรกิจบางแห่งอาจยังส่งไปรษณีย์แบบเดิมอยู่ ระบบการออกใบแจ้งหนี้ดิจิทัล ได้รับความนิยมมากขึ้นเนื่องจากสามารถเร่งขั้นตอนนี้ได้

  • การกระทบยอดและการอนุมัติใบแจ้งหนี้
    หลังจากได้รับใบแจ้งหนี้ แผนกบัญชีเจ้าหนี้ของผู้ซื้อจะตรวจสอบเอกสารเพื่อยืนยันว่าสอดคล้องกับสัญญาและสินค้าหรือบริการที่ได้รับ เมื่อได้รับอนุมัติ ระบบจะกําหนดเวลาสําหรับการชําระเงินตามใบแจ้งหนี้นี้ ซอฟต์แวร์บัญชีสมัยใหม่สามารถทำขั้นตอนนี้ได้โดยอัตโนมัติ แต่โดยทั่วไปแล้วมักกำหนดให้มีการยืนยันและอนุมัติโดยบุคคล

  • ดําเนินการชําระเงิน
    การชําระเงินเกิดขึ้นในขั้นตอนนี้ โดยเกิดขึ้นได้หลายวิธี เช่น การโอนเงินระหว่างธนาคาร, การชำระเงินแบบ ACH, การชําระด้วยบัตรเครดิตหรือเช็คกระดาษ แต่ละวิธีมีข้อดีและข้อเสียของตัวเอง เช่น ค่าใช้จ่าย ความเร็ว และระดับของเอกสารประกอบที่มีให้

  • การยืนยันธุรกรรม
    หลังจากชําระเงินแล้ว ตามปกติทั้งสองฝ่ายจะดําเนินการตามขั้นตอนการยืนยันธุรกรรม ผู้ชําระเงินจะยืนยันว่าระบบได้หักเงินจากบัญชีของตนแล้ว ในขณะที่ผู้รับเงินจะยืนยันว่าได้รับเงินแล้ว ขั้นตอนนี้มักจะเกี่ยวข้องกับการประสานงานระหว่างฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้กับฝ่ายบัญชีเจ้าหนี้

  • การบันทึกรายการ
    การจัดทำเอกสารที่เหมาะสมเป็นสิ่งสําคัญต่อการปฏิบัติตามข้อกําหนด การตรวจสอบ และการแก้ไขการโต้แย้งการชําระเงินที่อาจเกิดขึ้น โดยทั้งสองฝ่ายจะอัปเดตบันทึกทางบัญชีให้สอดคล้องกับธุรกรรมที่ดําเนินการเสร็จสมบูรณ์ เพื่อเตรียมพร้อมสําหรับการประเมินทางการเงินในอนาคต

  • การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกําหนด
    บ่อยครั้งที่มีการตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกําหนดระหว่างขั้นตอนการชําระเงินเพื่อยืนยันว่ากิจกรรมทั้งหมดเป็นไปตามกฎหมายและแนวทางที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมระหว่างประเทศหรืออุตสาหกรรมที่มีข้อบังคับที่เข้มงวด การไม่ทําการตรวจสอบเหล่านี้อาจทําให้เกิดปัญหาด้านกฎหมายได้

  • การแก้ไขการโต้แย้งการชําระเงิน
    หากพบปัญหาข้อมูลคลาดเคลื่อน เช่น การชําระเงินไม่ครบ หรือชำระเงินล่าช้า ขั้นตอนการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นทางการก็จะเริ่มขึ้น โดยอาจต้องมีการตรวจสอบสัญญา ใบแจ้งหนี้ และบันทึกการชําระเงิน

ตลอดขั้นตอนเหล่านี้ แพลตฟอร์มดิจิทัลและระบบซอฟต์แวร์สามารถช่วยได้ด้วยการทำงานอัตโนม้ติ มาตรการรักษาความปลอดภัย และมอบความสะดวกในการติดตาม ซึ่งช่วยให้ธุรกิจพัฒนาขั้นตอนการชําระเงินแบบ B2B ที่มีประสิทธิภาพได้

ความท้าทายเกี่ยวกับชําระเงินแบบ B2B

การจัดการการชําระเงินแบบ B2B ต้องใช้กลยุทธ์ที่ครอบคลุมหลายด้านเพื่อรับมือกับความไม่สอดคล้องของข้อมูล การปฏิบัติตามข้อกําหนด ค่าใช้จ่าย และสภาพคล่อง รวมทั้งปัจจัยอื่นๆ โดยแต่ละด้านอยู่ในสถานะพร้อมนำเทคโนโลยีมาใช้งานได้ ไม่ว่าจะเป็นอินเทอร์เฟซสําหรับการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (API) เครื่องมือติดตามตรวจสอบแบบเรียลไทม์ หรือซอฟต์แวร์ระบบอัตโนมัติ แม้จะไม่มีโซลูชันเดียวที่ใช้ได้กับทุกอย่าง แต่การผสมผสานเครื่องมือเหล่านี้ร่วมกันจะช่วยบรรเทาความซับซ้อนของการชําระเงินแบบ B2B ได้

  • ความไม่สอดคล้องในการซิงโครไนซ์ข้อมูล
    หนึ่งในความท้าทายที่ใหญ่ที่สุดในการจัดการการชําระเงินแบบ B2B คือการซิงโครไนซ์ข้อมูล เมื่อธุรกิจดําเนินงานโดยใช้ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร (ERP) และระบบธุรกรรมหลายอย่างที่ต่างกัน ความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลอาจทําให้การประมวลผลล่าช้า หรือยิ่งไปกว่านั้นอาจเกิดข้อผิดพลาดในการออกใบแจ้งหนี้ได้ การผสานการทํางานด้วย API ช่วยลดความท้าทายเหล่านี้ โดยทําให้ระบบต่างๆ สื่อสารกันได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น

  • ความซับซ้อนในการปฏิบัติตามข้อกําหนด
    การจัดการด้านการปฏิบัติตามข้อกําหนดในสภาพแวดล้อมที่ซับซ้อนและมีการเปลี่ยนแปลงด้านระเบียบข้อบังคับอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายด้านภาษี มาตรการลงโทษทางการค้า หรือค่าธรรมเนียมธุรกรรมข้ามพรมแดน อาจเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้เวลานาน และบทลงโทษสําหรับการไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดก็อาจรุนแรง เนื่องจากไม่เพียงอาจส่งผลกระทบต่อผลกําไรของธุรกิจแต่ยังอาจกระทบต่อความสัมพันธ์ทางธุรกิจในระยะยาวด้วย เพื่อรักษาความได้เปรียบ ธุรกิจควรนำระบบการติดตามตรวจสอบแบบเรียลไทม์และระบบการปฏิบัติตามข้อกําหนดแบบอัตโนมัติมาใช้

  • การจัดการต้นทุน
    ค่าธรรมเนียมการประมวลผลอาจทำให้กำไรลดลงได้อย่างมาก ไม่ว่าคุณจะต้องจ่ายค่าธรรมเนียมธนาคาร ค่าธรรมเนียมการแปลงสกุลเงิน หรือค่าใข้จ่ายเรียกเก็บจากเกตเวย์การชําระเงิน ค่าใช้จ่ายอาจเพิ่มพูนขึ้้นอย่างรวดเร็ว การเจรจาต่อรองเงื่อนไขและการเลือกหาอัตราที่น่าพึงพอใจมากกว่าจะช่วยให้คุณสามารถควบคุมค่าใช้จ่ายเหล่านี้ได้มากขึ้น

  • เงื่อนไขการชําระเงินและผลกระทบ
    เงื่อนไขการชําระเงินอาจส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อสภาพคล่องของคุณ ถึงแม้ว่าการขยายกำหนดการชําระเงินให้ยาวขึ้นอาจทําให้คุณดึงดูดผู้ซื้อได้มากขึ้น แต่ก็อาจทำให้ทรัพยากรของคุณขาดความคล่องตัว ในทํานองเดียวกัน การเร่งให้ชําระเงินโดยเร็วอาจกดดันและส่งผลให้ห่วงโซ่อุปทานของคุณขัดข้องในที่สุด การรักษาสมดุลอย่างเหมาะสมต้องอาศัยการตรวจสอบการเงินของคุณอย่างใกล้ชิด และอาจต้องนำโมเดลเชิงคาดการณ์มาใช้

  • ปัญหาการกระทบยอด
    การกระทบยอดแบบทำด้วยตนเองเป็นอีกจุดที่มีความเสี่ยงต่อความไม่มีประสิทธิภาพ เมื่อการชําระเงินไม่จับคู่กับใบแจ้งหนี้แบบอัตโนมัติ ก็ต้องใช้แรงงานคนกระทบยอดรายการซึ่งส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงาน วิธีหนึ่งในการจัดการปัญหานี้ก็คือการใช้เครื่องมืออัตโนมัติที่จับคู่การชําระเงินกับใบแจ้งหนี้ที่ยังค้างชําระได้

  • ความท้าทายในการจัดการหลายสกุลเงินและธุรกรรมข้ามพรมแดน
    การจัดการกับหลายสกุลเงินอาจทำให้เรื่องยุ่งยากมากขึ้นอีก โดยความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนอาจส่งผลกระทบต่อกลยุทธ์การกําหนดราคาและผลกําไร ระบบการจัดการสกุลเงินขั้นสูงซึ่งล็อกหรือแปลงอัตราแลกเปลี่ยนได้แบบเรียลไทม์จะช่วยให้สามารถคาดการณ์สถานการณ์ได้ในระดับหนึ่ง

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B

ต่อไปนี้คือกลยุทธ์ที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ของคุณ

  • การผสานการทํางานโดยใช้ API เป็นอันดับแรก
    เมื่อระบบประมวลผลการชําระเงินของคุณสื่อสารกับแพลตฟอร์มอื่นๆ ได้อย่างคล่องแคล่ว ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการคลังสินค้า ระบบบัญชี หรือการจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) งานของคุณก็ง่ายขึ้นอย่างหไร้ขีดจํากัด API สามารถส่งข้อมูลแบบเรียลไทม์ระหว่างแพลตฟอร์ม ทําให้ข้อมูลคลาดเคลื่อนเกิดขึ้นได้ยาก แต่เมื่อเกิดข้อมูลคลาดเคลื่อนก็จะระบุได้ง่าย วิธีนี้ช่วยให้ธุรกิจของคุณคล่องตัว ช่วยให้คุณตรวจจับข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว และลดงานคนที่ต้องใช้เพื่อกระทบยอดในกรณีที่ข้อมูลที่ไม่ตรงกัน

  • การติดตามตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกําหนดแบบเรียลไทม์
    การปฏิบัติตามข้อกําหนดเป็นได้ทั้งสิ่งที่เสริมสร้างหรือทําลายการดําเนินธุรกิจแบบ B2B การติดตามตรวจสอบแบบเรียลไทม์ช่วยบ่งชี้ถึงความไม่สอดคล้องและปัญหาที่เกิดขึ้นได้ทันที ซึ่งทําให้การปฏิบัติตามข้อกําหนดเป็นเรื่องง่ายและช่วยให้คุณไม่ต้องเผชิญกับความประหลาดใจอันไม่พึงประสงค์ เช่น บทลงโทษทางกฎหมายและความยุ่งยากอื่นๆ

  • การตรวจสอบต้นทุนอย่างละเอียด
    ความโปร่งใสคือกุญแจสําคัญในการแจกแจงค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับธุรกรรม ทุกค่าธรรมเนียมการประมวลผล ค่าบริการเกตเวย์ หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชําระเงินควรมีการบันทึกเป็นเอกสารอย่างละเอียด การตรวจสอบค่าใช้จ่ายเป็นกิจวัตรช่วยให้คุณระบุได้ว่าควรจะเจรจาต่อรองขอเงื่อนไขที่ดีขึ้นหรือเปลี่ยนไปใช้รูปแบบบริการชําระเงินที่มีประสิทธิภาพมากขึ้นตอนไหน

  • การปรับเงื่อนไขการชำระเงินที่ลงตัว
    ธุรกิจทุกแห่งต้องการได้รับเงินอย่างรวดเร็วและโดยง่ายที่สุด แต่บางครั้งเงื่อนไขการชําระเงินที่เข้มงวดอาจทำให้เกิดผลเสียและทําให้ความสัมพันธ์ทางธุรกิจเกิดความตึงเครียด ในทางกลับกัน เงื่อนไขการชําระเงินที่ให้ระยะเวลายาวก็อาจส่งผลเสียต่อเงินทุนหมุนเวียนของคุณ การวิเคราะห์ช่วยคุณหาจุดที่เหมาะสมได้ ซึ่งอาจเป็น สุทธิ 45 วัน แทนที่จะเป็นสุทธิ 30 สุทธิหรือสุทธิ 60 การใช้โมเดลเชิงคาดการณ์จะช่วยให้คุณคาดการณ์ได้ดีขึ้นได้ว่าการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการชําระเงินจะส่งผลต่อธุรกิจของคุณในแต่ละด้านอย่างไร นับตั้งแต่สภาพคล่องไปจนถึงความสัมพันธ์กับซัพพลายเออร์

  • ระบบอัตโนมัติการกระทบยอดอัตโนมัติ
    การกระทบยอดแบบทำด้วยตัวเองอาจกินเวลาหลายชั่วโมงเกินกว่าที่หลายธุรกิจจะรับได้ โซลูชันอัตโนมัติสามารถจับคู่ใบแจ้งหนี้กับการชําระเงินที่ได้รับ ระบุความไม่สอดคล้องกันเพื่อการตรวจสอบ และช่วยคุณกับทีมของคุณให้รอดพ้นจากงานที่น่าเบื่อหน่ายซึ่งใช้เวลามาก

  • ตัวเลือกการรองรับหลายสกุลเงิน
    หากทำธุรกิจข้ามพรมแดน คุณจะต้องจัดการกับหลายสกุลเงิน และความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ธุรกิจบางแห่งเลือกบัญชีธนาคารแบบหลายสกุลเงิน แต่ยังมีระบบการจัดการสกุลเงินเฉพาะที่ช่วยให้คุณล็อกอัตราแลกเปลี่ยนที่ดีไว้ในช่วงเวลาที่กําหนดได้ ซึ่งจะช่วยให้คุณคาดการณ์ได้ในสถานการณ์ที่อาจมีความผันผวน

  • ความโปร่งใสกับซัพพลายเออร์และลูกค้า
    ความโปร่งใสสร้างความเชื่อมั่น หากซัพพลายเออร์และลูกค้ามีสิทธิ์เข้าถึงข้อมูลแบบเรียลไทม์ก็จะสามารถตรวจจับและจัดการปัญหาได้รวดเร็วยิ่งขึ้น การทำดังกล่าวไม่ได้หมายถึงการเปิดเผยข้อมูลของคุณทั้งหมด แต่เป็นการเปิดเผยข้อมูลเชิงกลยุทธ์ เช่น ไทม์ไลน์การชําระเงิน สถานะการดำเนินการ และข้อมูลอื่นๆ เกี่ยวกับธุรกรรม ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อการสร้างความสัมพันธ์ที่แข็งแรงในระยะยาว

  • การตรวจสอบเป็นประจํา
    ซึ่งเกี่ยวข้องกับการตรวจสอบบันทึกการชําระเงินของคุณกับรายการเดินบัญชีธนาคารและบันทึกทางบัญชี แล้วระบุในกรณีที่พบข้อมูลคลาดเคลื่อน ไม่ใช่เรื่องแปลกที่บริษัทต่างๆ จะพบว่าตนได้สูญเสียเงินจำนวนเล็กน้อยอย่างต่อเนื่องจากข้อผิดพลาดเล็กๆ น้อยๆ ซึ่งระบบอัตโนมัติอาจตรวจจับไม่พบ

การมุ่งเน้นการดำเนินการตามแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดเหล่านี้จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถของระบบการประมวลผลการชําระเงินของธุรกิจคุณ ทําให้การดําเนินงานมีความคล่องตัว เป็นไปตามข้อกําหนด และคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น แต่โซลูชันเหล่านี้ไม่ใช่โซลูชันแบบใช้ครั้งเดียวจบ เพราะหากใช้งานอย่างถูกต้อง โซลูชันเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์ที่ครอบคลุมซึ่งพัฒนาไปพร้อมกับธุรกิจของคุณ

วิธีรับชําระเงินแบบ B2B

ก่อนที่จะเริ่มรับชําระเงินแบบ B2B คุณควรประเมินความต้องการทางธุรกิจของคุณอย่างละเอียดถี่ถ้วน ซึ่งเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบสำคัญหลายรายการ:

  • คู่ค้าที่ทำธุรกรรมด้วย
    ขั้นตอนแรกคือการระบุให้ได้ว่าคุณกําลังทําธุรกิจกับใคร เป็นกิจการขนาดเล็กหรือบริษัทขนาดใหญ่ ข้อนี้เป็นเรื่องสําคัญเนื่องจากบริษัทขนาดใหญ่มักชอบใช้วิธีการชําระเงินอย่าง การโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (EFT) หรือการโอนเงินแบบสํานักหักบัญชีอัตโนมัติ (ACH) ในขณะที่ธุรกิจขนาดเล็กอาจชอบใช้บัตรเครดิต

  • วิธีการชําระเงินที่ต้องการ
    อุตสาหกรรมต่างๆ มีบรรทัดฐานการชําระเงินที่แตกต่างกัน และการทําความเข้าใจความแตกต่างเหล่านี้จะช่วยให้ธุรกิจของคุณประสบความสําเร็จได้ ตัวอย่างเช่น ในอุตสาหกรรมการให้บริการระบบซอฟต์แวร์ (SaaS) มักใช้วิธีการชําระเงินตามรอบบิลและการชำระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า เป็นมาตรฐาน และวิธีการเหล่านี้ก็ต้องใช้ฟังก์ชันเฉพาะ ในระบบการชําระเงินของคุณ

  • ปริมาณธุรกรรม
    ปริมาณและความถี่ของธุรกรรมอาจส่งผลต่อการเลือกผู้ให้บริการประมวลผลการชําระเงิน รวมถึงระดับของระบบอัตโนมัติที่คุณต้องการ หากคุณประมวลผลธุรกรรมหลายพันรายการต่อวัน ระบบอัตโนมัติไม่ใช่แค่ความสะดวกสบาย แต่เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมี

  • ธุรกรรมข้ามพรมแดน
    หากคุณทำธุรกิจกับคู่ค้าต่างประเทศ การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน ค่าธรรมเนียมระหว่างประเทศ และการปฏิบัติตามกฎหมายภาษีต่างประเทศจะกลายเป็นข้อกังวลทันที ซึ่งคุณต้องมีผู้ประมวลผลการชําระเงินที่สามารถจัดการหลายสกุลเงินและข้อมูลการส่งเงิน

  • ประเมินตัวเลือกบริการประมวลผลการชําระเงิน
    เมื่อเข้าใจความต้องการของตนเองอย่างชัดเจนแล้ว ขอให้คุณชั่งน้ําหนักในการพิจารณาตัวเลือกผู้ให้บริการประมวลผลการชําระเงิน โดยสิ่งที่ควรมองหามีดังนี้

    • คุณสมบัติและความสามารถในการขยายขนาด: แม้ผู้ให้บริการอย่าง Stripe จะมีฟีเจอร์มากมาย เช่น การเรียกเก็บเงินตามรอบบิลและรองรับหลายสกุลเงิน แต่ก็อาจไม่ใช่บริการที่ตอบโจทย์ทุกความต้องการ ควรตรวจสอบดูว่าแพลตฟอร์มที่คุณเลือกขยายได้ตามความต้องการของคุณหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากธุรกิจของคุณมีศักยภาพในการเติบโตสูง
    • โครงสร้างค่าธรรมเนียม: ค่าธรรมเนียมธุรกรรมเป็นเพียงส่วนเล็กๆ ที่คุณเห็น เจาะลึกลงไปเพื่อดูค่าธรรมเนียมรายเดือน ค่าธรรมเนียมการตั้งค่า และค่าใช้จ่ายแฝงอื่นๆ สิ่งนี้มีผลต่อผลกําไรของคุณโดยตรง ดังนั้นจึงควรทําการวิเคราะห์ต้นทุนและผลประโยชน์ให้รอบด้าน
    • การรักษาความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกําหนด: การละเมิดข้อมูลอาจหมายถึงหายนะสําหรับธุรกิจต่างๆ ตรวจสอบว่าผู้ให้บริการที่คุณเลือกปฏิบัติตามมาตรฐานอุตสาหกรรมว่าด้วยการรักษาความปลอดภัยของข้อมูล เช่น การปฏิบัติตามข้อกําหนดของอุตสาหกรรมบัตรชําระเงิน (PCI) สําหรับธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต

ขั้นตอนการรับชําระเงินแบบ B2B

หลังจากเลือกผู้ให้บริการและตั้งค่าระบบของคุณแล้ว คุณก็พร้อมแล้วที่จะเริ่มรับการชําระเงิน ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดเพิ่มเติมว่าขั้นตอนเป็นอย่างไร

  • การออกใบแจ้งหนี้
    ขั้นตอนแรกในการรับเงินคือใบแจ้งหนี้แบบละเอียด ถ้าเป็นไปได้ ให้ระบบของคุณทํางานอัตโนมัติเพื่อให้มีข้อมูลแสดงรายการ ภาษี และค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมโดยที่คุณไม่ต้องป้อนข้อมูล ผู้ให้บริการชําระเงินบางรายมีฟีเจอร์การออกใบแจ้งหนี้แบบไดนามิก ซึ่งหมายความว่าใบแจ้งหนี้จะอัปเดตแบบเรียลไทม์เมื่อมีการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้ทั้งคุณและลูกค้ามองเห็นข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับค่าใช้จ่าย

  • การบันทึกบัญชีและการทําบัญชี
    เมื่อคุณได้รับการชําระเงินแล้ว รายละเอียดธุรกรรมจะไหลเข้าสู่ซอฟต์แวร์บัญชีของคุณโดยอัตโนมัติ หากคุณผสานการทํางานระบบของผู้ให้บริการชําระเงินกับซอฟต์แวร์บัญชี ขั้นตอนนี้สามารถทําได้โดยอัตโนมัติ การซิงโครไนซ์แบบเรียลไทม์สามารถขจัดข้อผิดพลาดของมนุษย์และช่วยให้คุณประหยัดเวลาอันมีค่าได้โดยเฉพาะเมื่อมีข้อมูลจำนวนมาก

Stripe ธุรกิจประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ได้อย่างไร

แม้ปริมาณการชําระเงินในภาคการชําระเงินแบบ B2B จะสูงและเติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่โครงสร้างพื้นฐานที่รองรับภาคธุรกิจนี้มักจะล้าสมัย ต่อไปนี้คือวิธีที่ Stripe ใช้รับมือกับความท้าทายนี้:

  • การปรับปรุงระบบออกใบแจ้งหนี้ให้ทันสมัย
    เดิมทีธุรกิจจะเริ่มขั้นตอนการทําบัญชีด้วยใบแจ้งหนี้ฉบับกระดาษ วิธีนี้อาจนําไปสู่ข้อผิดพลาดและความไม่แน่นอนในการคาดการณ์รายรับ Stripe ได้พัฒนาใบแจ้งหนี้ออนไลน์ที่ผสานการทํางานกับระบบการชําระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในตัว ใบแจ้งหนี้เหล่านี้ปรับให้อยู่ในวิธีการและภาษาที่ธุรกิจต้องการใช้ และเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับในท้องถิ่น

  • การโอนเงินผ่านธนาคาร
    Stripe เปิดตัวการโอนเงินผ่านธนาคารเวอร์ชันใหม่ในปี 2022 ระบบนี้ใช้หมายเลขบัญชีธนาคารดิจิทัล (VBAN) เพื่อความสะดวกในการกระทบยอดและลดความซับซ้อนของขั้นตอนการคืนเงินและการส่งคืนสินค้า นอกจากนี้ยังทำงานผสานกับระบบอื่น ๆ เช่น การออกใบแจ้งหนี้และการชําระเงินตามรอบบิลได้ดี บริษัทที่ใช้ฟีเจอร์นี้ระบุว่าสามารถลดการทำงานด้วยคนในขั้นตอนการชําระเงินลงได้ ตัวอย่างเช่น ผู้ร่วมก่อตั้ง Yorlet ซึ่งเป็นบริษัทซอฟต์แวร์การจัดการอสังหาริมทรัพย์ ประมาณการณ์ว่าการโอนเงินผ่านธนาคารแบบใหม่นี้ช่วยประหยัดเวลาการทำงานได้ 1.5 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ได้เนื่องจากการกระทบยอดด้วยตัวเองลดลง

  • การชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า
    ธุรกรรมแบบ B2B จำนวนมาก เช่น การสมัครสมาชิกรายเดือนมีลักษณะเกิดซ้ำแบบมีแบบแผน แม้ธุรกิจหลายๆ แห่งต้องการที่จะลดความซับซ้อนของการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า แต่การจัดเตรียมการทำงานด้วยวิธีแบบเดิมต้องใช้กระบวนการที่ซับซ้อน ตัวอย่างเช่น ก่อนที่จะทําการหักบัญชีอัตโนมัติแบบ ACH ธุรกิจจะต้องยืนยันบัญชีของลูกค้าเป็นอันดับแรก ซึ่งอาจใช้เวลานาน

  • Stripe Financial Connections
    ฟีเจอร์นี้ทําให้ขั้นตอนการยืนยันตัวตนง่ายขึ้นสำหรับธุรกิจ ทําให้สามารถสร้างการเชื่อมต่อออนไลน์กับบัญชีธนาคารของลูกค้าได้โดยตรง ผู้ใช้ Stripe กว่าครึ่งชอบใช้ Financial Connections มากกว่าเทคนิคการฝากเงินยอดเล็กน้อย เพื่อยืนยันตัวตน

  • การทํางานร่วมกันและการผสานการทํางาน
    Stripe ทํางานร่วมกับบริษัทหลายราย รวมถึงแพลตฟอร์มการสื่อสารทั่วโลก Zoom เพื่อช่วยประมวลผลการชําระเงินผ่าน ACH โดยไม่ต้องมีการรอที่มักเกิดขึ้นกับการใช้เทคนิคการฝากเงินยอดเล็กน้อย ซึ่งถือเป็นการช่วยธุรกิจและทีมพัฒนาของแต่ละธุรกิจ

Stripe สร้างระบบที่ตั้งโปรแกรมได้มากขึ้นและมอบอนาคตที่สร้างผลกําไรได้มากขึ้นให้กับการชําระเงินแบบ B2B โดยการรับมือกับความท้าทายในภาคการชําระเงินแบบ B2B และนำเสนอโซลูชันที่จับต้องได้

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Payments

Payments

รับชำระเงินออนไลน์ ที่จุดขาย และทั่วโลกด้วยโซลูชันการชำระเงินที่สร้างมาสำหรับธุรกิจทุกขนาด

Stripe Docs เกี่ยวกับ Payments

ค้นหาคู่มือเกี่ยวกับการเชื่อมต่อ Payments API ของ Stripe