การชําระเงินแบบ B2B เป็นมากกว่าการแลกเปลี่ยนเงินระหว่างธุรกิจ องค์ประกอบจํานวนมากที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติตามข้อกําหนด การรักษาความปลอดภัย การแปลงสกุลเงิน และการออกใบแจ้งหนี้ สร้างให้เกิดได้ทั้งเครื่องจักรที่ทำงานอย่างราบรื่น หรือความไร้ประสิทธิภาพที่ติดพันยุ่งเหยิง และตอนนี้เมื่อธุรกิจดําเนินงานทั่วโลกมากขึ้น ธุรกรรมก็มีความซับซ้อนมากขึ้นและความเสี่ยงก็เพิ่มขึ้นด้วย สําหรับธุรกิจหลายราย กระบวนการแบบทําด้วยตัวเองก็ไม่เพียงพอ ธุรกิจต้องพึ่งพาระบบอัตโนมัติ ความแม่นยํา และการสังเกตรายละเอียด สําหรับธุรกิจ B2B ในปัจจุบันผู้ให้บริการอย่าง Stripe มีส่วนสำคัญในการเปลี่ยนชุดขั้นตอนที่ซับซ้อนให้เป็นกระบวนการที่ชัดเจนเข้าใจง่ายและเป็นอัตโนมัติเป็นส่วนใหญ่
ในภาคธุรกิจ B2B ซึ่งมีการคาดการณ์ว่าจะมีมูลค่าตลาดเกือบ 1.59 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 ประสิทธิภาพในกระบวนการชําระเงินของคุณเป็นสิ่งสําคัญ เวลาที่ใช้ไปกับปัญหาด้านการชําระเงินควรจะเป็นเวลาที่คุณใช้ไปกับธุรกิจหลัก ระบบการชําระเงิน ที่ได้รับการเพิ่มประสิทธิภาพจะส่งผลต่อผลกําไรของธุรกิจโดยลดข้อผิดพลาด เพิ่มความเร็ว และยกระดับประสบการณ์ของลูกค้า ด้านล่างนี้ เราจะอธิบายถึงเกี่ยวกับแง่มุมที่สําคัญของการชําระเงินแบบ B2B และดูว่าโซลูชันที่ปรับแต่งให้โดยเฉพาะ Stripe จะช่วยได้อย่างไรบ้าง
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- การชําระเงินแบบ B2B คืออะไร
- ประเภทการชําระเงินแบบ B2B
- การประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ทำงานอย่างไร
- แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B
- Stripe ช่วยเรื่องการประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ได้อย่างไร
การชําระเงินแบบ B2B คืออะไร+
การชําระเงินแบบ B2B คือธุรกรรมระหว่างธุรกิจต่างๆ ซึ่งโดยทั่วไปจะเกี่ยวกับสินค้า บริการ หรือข้อมูล การชําระเงินแบบ B2B มักมียอดสูงกว่าและเงื่อนไขการชําระเงินมีระยะเวลานานกว่า ซึ่งต่างจากธุรกรรมของลูกค้าทั่วไปที่มักจะมีขนาดเล็กและบ่อยกว่า ธุรกรรมเหล่านี้มักจะมีสัญญาที่ซับซ้อนและมีผู้มีส่วนได้ส่วนเสียหลายราย ทําให้มีการอนุมัติหลายชั้นและส่งผลให้กระบวนการชําระเงินช้าลง การปฏิบัติตามข้อกําหนดและการรักษาความปลอดภัยมีความซับซ้อนมากขึ้นในการชําระเงินแบบ B2B ซึ่งก่อให้เกิดความซับซ้อนในการปฏิบัติงานที่ผู้จ่ายและผู้รับเงินต้องจัดการ
ประเภทของการชําระเงินแบบ B2B
การโอนเงินระหว่างธนาคาร
การโอนเงินระหว่างธนาคารเป็นธุรกรรมแบบทันทีและโดยตรงระหว่างบัญชีธนาคาร การชําระเงินทันทีเหล่านี้มักเป็นทางเลือกสําหรับธุรกรรมขนาดใหญ่ที่มีความอ่อนไหวด้านเวลา แม้ว่าจะรวดเร็วและมีความน่าเชื่อถือสูง แต่การชำระเงินประเภทนี้มีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการชําระเงินแบบ B2B ประเภทอื่นๆ อีกหลายประเภท โดยค่าธรรมเนียมอาจมีราคาตั้งแต่ 15 ถึง 45 ดอลลาร์สหรัฐต่อธุรกรรม และทั้งสองฝ่ายจะต้องแชร์ข้อมูลทางการเงินที่ละเอียดอ่อนเพื่อเริ่มการโอนเงิน
การโอนเงินแบบ ACH
การชําระเงินแบบผ่านระบบสํานักหักบัญชีอัตโนมัติ (ACH) คือการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับความนิยมขึ้นอย่างมาก โดยเฉพาะสําหรับธุรกรรมขนาดเล็กถึงขนาดกลาง การชําระเงินเหล่านี้ดําเนินการผ่านระบบแบบรวมศูนย์ที่ปลอดภัย ซึ่งเหมาะสําหรับการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า ในปี 2020 จํานวนการชําระเงินแบบ B2B ที่ดําเนินการโดยใช้ ACH เติบโตขึ้นมากกว่า 8% เทียบกับปีก่อนหน้า จากข้อมูลของ Nacha ซึ่งเป็นหน่วยงานบริหารจัดการเครือข่าย ACH การโอนเงินแบบ ACH มีค่าธรรมเนียมต่ำกว่าการโอนเงินระหว่างธนาคาร แต่ระยะเวลาในการดำเนินการจะนานกว่า โดยปกติแล้วจะใช้เวลา 2-3 วันทําการ
การโอนเงินแบบ SEPA
การชําระเงินในระบบ Single Euro Payments Area (SEPA) ได้รับความนิยมในยุโรป เนื่องจากช่วยให้ชําระเงินข้ามพรมแดนได้อย่างรวดเร็วใน36 ประเทศในเขต SEPA ระบบที่เป็นมาตรฐานของ SEPA ช่วยให้สามารถหักเงินจากบัญชีธนาคารในภูมิภาคที่ใช้สกุลเงินยูโรได้โดยตรง โดยปกติการโอนเงินแบบ SEPA จะมีการชำระรายการภายใน 1 วันทําการ และการโอนเงินแบบ SEPA Instant Credit Transfers จะมีการชําระรายการภายในไม่ถึง 10 วินาที
เช็คแบบกระดาษ
เช็คอาจดูล้าสมัยในยุคดิจิทัล แต่ยังคงเป็นวิธีการชําระเงินที่ใช้กันทั่วไปในการทําธุรกรรมแบบ B2B จากการสำรวจเกี่ยวกับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์โดยสมาคมวิชาชีพการเงิน (AFP) ปี 2020 พบว่า ธุรกิจ 68% ที่ตอบแบบสำรวจรายงานว่าใช้เช็คในการชําระเงินแบบ B2B เป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าตัวเช็คจะเป็นเอกสารยืนยันได้ แต่ก็มีความเสี่ยงตามมาด้วย กล่าวคือเช็คอาจจะเด้งได้ เป็นต้น นอกจากนั้นค่าใช้จ่ายในการดําเนินงาน ซึ่งรวมถึงการประมวลผลด้วยคนก็อาจทําให้เกิดความล่าช้า
บัตรเครดิต
บัตรเครดิต มอบความสะดวกด้วยการทําธุรกรรมแบบทันที แต่โดยทั่วไปแล้วจะสงวนไว้สําหรับรายการชําระเงินขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ความสะดวกสบายของดังกล่าวมาพร้อมกับค่าใช้จ่ายซึ่งมักอยู่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมที่ธุรกิจต้องชําระ โดยทั่วไปแล้ว บัตรเครดิตจะไม่ใช้กับธุรกรรมมูลค่าสูงเนื่องจากขีดจำกัดวงเงินที่ธุรกิจด้านการออกบัตรกำหนด และเนื่องจากค่าธรรมเนียมที่ธุรกิจต้องจ่ายเพื่อการรับชําระเงินด้วยบัตรเครดิตมักจะคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากยอดธุรกรรมทั้งหมด
แพลตฟอร์มแบบเพียร์ทูเพียร์
แพลตฟอร์มต่างๆ เช่น PayPal และ Venmo เพื่อธุรกิจทำหน้าที่เป็นคนกลางที่อํานวยความสะดวกด้านการชําระเงินทั้งในและต่างประเทศ แพลตฟอร์มเหล่านี้ช่วยให้ลูกค้าและธุรกิจทำธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วโดยไม่จําเป็นต้องเปิดเผยรายละเอียดธนาคารให้กับอีกฝ่าย ค่าธรรมเนียมอาจแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น สกุลเงินและประเทศต้นทาง บ่อยครั้งที่แพลตฟอร์มเหล่านี้ยังมีฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การติดตามสินค้าคงคลังและฟังก์ชันการออกใบแจ้งหนี้ซึ่งน่าสนใจสำหรับธุรกิจขนาดเล็กและขนาดกลาง
การประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ทำงานอย่างไร
-ขั้นตอนการออกใบแจ้งหนี้: หลังจากจัดส่งผลิตภัณฑ์หรือบริการแล้ว ผู้ขายจะออกใบแจ้งหนี้ที่ระบุต้นทุน จํานวน และเงื่อนไขการชําระเงิน แม้ว่ากระบวนการใบแจ้งหนี้แบบกระดาษจะยังมีการใช้งานอยู่ทั่วไป แต่ธุรกิจหลาย แห่งก็กําลังเปลี่ยนไปใช้ระบบการออกใบแจ้งหนี้แบบอิเล็กทรอนิกส์ ระบบเหล่านี้ผสานการทํางานกับซอฟต์แวร์บัญชีของลูกค้าและช่วยให้คุณติดตามและเร่งกระบวนการชําระเงินได้ง่ายขึ้น
กระบวนการอนุมัติ: การอนุมัติการชําระเงินในบริบท B2B มักมีการอนุมัติหลายชั้นซึ่งโดยปกติจะเกี่ยวข้องกับหลายแผนก เช่น การเงินและจัดซื้อ ขั้นตอนการทํางานนี้ทำให้รวดเร็วขึ้นได้ด้วยแพลตฟอร์มการชําระเงินอัตโนมัติ ซึ่งจะช่วยรักษาการปฏิบัติตามกฎระเบียบภายในองค์กรได้อีกด้วย
เลือกวิธีการชําระเงิน: ตัวเลือกการชำระเงินมีหลายวิธี มีตั้งแต่วิธีการแบบดั้งเดิม เช่น เช็ค การโอนเงินผ่านธนาคาร ไปจนถึงแพลตฟอร์มใหม่ๆ เช่น กระเป๋าเงินดิจิทัล ธุรกิจมักใช้วิธี ACH หรือการโอนเงินระหว่างธนาคารเนื่องจากมีค่าธรรมเนียมน้อยกว่าและมีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่สูงกว่า วิธีการโอนเงินระหว่างประเทศ เช่น SWIFT เป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสําหรับธุรกรรมที่มีหลายสกุลเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง
การคุ้มครองข้อมูล: การปกป้องข้อมูลทางการเงินและธุรกรรมในกระบวนการชําระเงินเป็นสิ่งสําคัญ มาตรการรักษาความปลอดภัยมาตรฐาน ซึ่งรวมถึงการเข้ารหัสและการตรวจสอบสิทธิ์แบบ 2 ปัจจัย ช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการละเมิดข้อมูลและกิจกรรมการฉ้อโกง
การกระทบยอด: หลังจากที่ชําระรายการแล้ว ทั้งสองฝ่ายควรยืนยันธุรกรรมในบันทึกการเงินของตนเอง ระบบอัตโนมัติช่วยได้โดยการจับคู่ธุรกรรมกับใบแจ้งหนี้และอัปเดตบันทึกทางบัญชีเกือบจะในทันที
การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ: การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับของอุตสาหกรรมเป็นเรื่องที่ต้องทำโดยไม่มีการต่อรอง ธุรกิจแต่ละแห่งจะต้องตระหนักและปฏิบัติตามกฎเหล่านี้ ตั้งแต่เกณฑ์การปฏิบัติว่าด้วยการป้องกันการฟอกเงิน (AML) ไปจนถึงระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการรู้จักลูกค้าของคุณ (KYC) เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาทางกฎหมาย
กระบวนการชําระเงินแบบ B2B นั้นเกี่ยวข้องกับหลายขั้นตอน และแต่ละขั้นตอนก็มีความซับซ้อนและข้อควรพิจารณาของในตัวเอง ระบบอัตโนมัติและเทคโนโลยีมีบทบาทมากขึ้นในการทําให้กระบวนการเหล่านี้ชัดเจนและเข้าใจง่ายมากขึ้น
แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดในการประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B
กระบวนการชําระเงินแบบ B2B ที่เหมาะสําหรับธุรกิจช่วยธุรกิจได้มากกว่าแค่การโอนเงิน แต่เป็นสภาพแวดล้อมซับซ้อนที่ประกอบด้วยแนวทางปฏิบัติ แพลตฟอร์ม และความร่วมมือ ซึ่งหากดําเนินการอย่างถูกต้อง จะส่งผลอย่างมากต่อผลกําไรของธุรกิจคุณ ต่อไปนี้คือสรุปแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดที่ธุรกิจแบบ B2B ควรพิจารณานำไปใช้ในตอนที่พัฒนากลยุทธ์การชําระเงิน
ใช้ใบแจ้งหนี้แบบดิจิทัล: การเปลี่ยนไปใช้ใบแจ้งหนี้แบบดิจิทัลมีข้อดีหลายประการ ตัวอย่างเช่น ระบบบัญชีที่ทันสมัยส่วนใหญ่สามารถสร้างใบแจ้งหนี้ได้โดยการดึงช่องข้อมูลที่จําเป็นทั้งหมดมาจากส่วนธุรกิจต่างๆ กระบวนการนี้ช่วยลดข้อผิดพลาดที่เกิดจากการทําด้วยตัวเอง เร่งกระบวนการออกใบแจ้งหนี้ และช่วยรับประกันว่าใบแจ้งหนี้ของคุณจะถูกต้องและเป็นปัจจุบัน นอกจากนี้ การใช้ระบบดิจิทัลยังทำให้ผสานการออกใบแจ้งหนี้เข้ากับขั้นตอนการทํางานอัตโนมัติขนาดใหญ่ได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะช่วยให้คุณทราบข้อมูลการชําระเงินที่ล่าช้า เริ่มการติดตามผล และผสานการทํางานกับระบบการจัดการสินค้าคงคลังได้ เพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่มีการเรียกเก็บเงินค่าสินค้ากับลูกค้าในกรณีที่คุณไม่สามารถส่งมอบ
ทําขั้นตอนการอนุมัติให้โปร่งใส: ธุรกรรม B2B ที่ซับซ้อนมักต้องมีการอนุมัติหลายระดับภายในองค์กรและในฝั่งของลูกค้า คุณสามารถใช้แพลตฟอร์มอัตโนมัติแบบอ้างอิงตามบทบาทเพื่อกําหนดความรับผิดชอบในการอนุมัติของพนักงานแต่ละคน เมื่อทุกคนทราบถึงบทบาทของตัวเองในกระบวนการอนุมัติแล้ว ธุรกรรมจะดําเนินไปอย่างราบรื่นมากขึ้น ความโปร่งใสแบบนี้จะช่วยให้ธุรกิจระบุจุดที่เป็นคอขวดได้รวดเร็วขึ้น ทําให้ระบุได้ว่าธุรกรรมติดขัดอยู่ที่จุดใดได้ง่ายขึ้น ข้อมูลนี้ช่วยให้ปรับปรุงกระบวนการได้ง่ายขึ้น โดยใช้ธุรกรรมแต่ละรายการเป็นบทเรียนสําหรับการปรับปรุง
ยืดหยุ่นในเรื่องตัวเลือกการชําระเงิน: การเสนอวิธีการชําระเงินที่หลากหลายจะช่วยสร้างบริการลูกค้าที่ดีขึ้นและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการดําเนินงานด้านการเงินได้ในขณะเดียวกัน ตัวเลือกการชําระเงินแต่ละแบบมีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น การโอนเงินระหว่างธนาคารมักจะใช้กับธุรกรรมขนาดใหญ่เพราะมีความน่าเชื่อถือ แต่ก็มีค่าธรรมเนียมและอาจช้ากว่าตัวเลือกอื่น บัตรเครดิตมีค่าธรรมเนียมการประมวลผล (และมีโอกาสเกิดการฉ้อโกง) แต่ธุรกรรมเหล่านั้นจะดําเนินการโดยทันที กระเป๋าเงินดิจิทัลมีการทําธุรกรรมที่รวดเร็วและมีค่าธรรมเนียมค่อนข้างต่ํา แต่ไม่แพร่หลายเท่าธุรกรรมผ่านบัตรเครดิต การเสนอตัวเลือกหลากหลายช่วยให้คุณตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้
อย่ามองข้ามการปฏิบัติตามข้อกําหนด: เนื่องจากระเบียบข้อบังคับมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในเรื่องธุรกรรมดิจิทัลและการคุ้มครองข้อมูล การปฏิบัติตามข้อกําหนดให้ทันการณ์อยู่เสมออาจเป็นเรื่องยาก ในบางครั้ง อาจดูเหมือนว่าการปฏิบัติตามข้อกําหนดทำให้เกิดความไม่สะดวก แต่ก็เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องทำเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาทางกฎหมาย รวมถึงยังเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับธุรกิจของคุณด้วย อย่างไรก็ตาม แพลตฟอร์มการชําระเงินสมัยใหม่หลายแห่งมีฟีเจอร์การปฏิบัติตามข้อกําหนดในตัวซึ่งอัปเดตอัตโนมัติเมื่อกฎหมายมีการเปลี่ยนแปลง ซึ่งช่วยให้ธุรกิจของคุณรักษาความถูกต้องตามกฎหมายได้โดยไม่ต้องใช้ความพยายามมาก
ใช้ระบบป้องกันการฉ้อโกงขั้นสูง: ปัจจุบันความเสี่ยงการฉ้อโกงในธุรกรรมดิจิทัลเกิดขึ้นเสมอ ซึ่งมาตรการตรวจสอบสิทธิ์แบบพื้นฐานไม่เพียงพอที่จะทำให้แน่ใจในความปลอดภัยของธุรกรรม การตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัยซึ่งใช้สิ่งที่ลูกค้ารู้ (เช่น รหัสผ่าน) สิ่งที่ลูกค้ามี (เช่น โทรศัพท์) หรือสิ่งที่ระบุตัวตนของลูกค้า (เช่น ลายนิ้วมือ) อาจทําให้มิจฉาชีพเข้าถึงข้อมูลได้ยากกว่าเดิมขึ้นมาก อัลกอริทึม AI ขั้นสูงสามารถติดตามธุรกรรมได้แบบเรียลไทม์ โดยระบุรูปแบบที่ผิดปกติหรือกิจกรรมที่น่าสงสัยและระบุเตือนให้มีการตรวจสอบก่อนที่ธุรกรรมจะได้รับอนุมัติ
Stripe ช่วยประมวลผลการชําระเงินแบบ B2B ได้อย่างไร
Stripe ช่วยลดความซับซ้อนเกี่ยวกับการชําระเงินแบบ B2B ตั้งแต่การออกใบแจ้งหนี้ไปจนถึงการเรียกเก็บเงินตามแบบแผนล่วงหน้า Stripe ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เปลี่ยนกระบวนการชําระเงินเป็นแบบอัตโนมัติได้หลายขั้นตอน ระบบอัตโนมัติจะลดการทํางานที่ดําเนินการด้วยตนเองและลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาด ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจของคุณมุ่งเน้นภารกิจหลักได้มากขึ้นโดยไม่ต้องยุ่งกับความซับซ้อนของธุรกรรม B2B
อินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (API): API ของ Stripe ออกแบบมาให้ยืดหยุ่น ซึ่งช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างโซลูชันการชําระเงินที่ออกแบบเองได้ การปรับเปลี่ยนได้นี้ช่วยให้ปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านการชําระเงินบางประเภทได้ง่ายในกรณีที่เกิดขึ้น
วิธีการชําระเงินที่หลากหลาย: ธุรกิจสามารถเลือกรับการชําระเงินได้หลายรูปแบบผ่าน Stripe ได้แก่ บัตรเครดิต กระเป๋าเงินดิจิทัล เช่น Apple Pay และ Google Pay และการโอนเงินผ่านธนาคาร ความหลากหลายนี้ช่วยให้ Stripe ปรับเปลี่ยนตามความต้องการด้านการชําระเงินแบบ B2B ต่างๆ ได้
รองรับหลายสกุลเงิน: Stripe จัดการธุรกรรมได้หลายสกุลเงิน ทําให้กระบวนการทำธุรกิจระหว่างประเทศเป็นเรื่องง่าย ทำให้ธุรกิจไม่ต้องจัดการการแปลงเปลี่ยนสกุลแยกต่างหาก
การออกใบแจ้งหนี้อัตโนมัติ: Stripe ทํากระบวนการออกใบแจ้งหนี้ให้เป็นอัตโนมัติ โดยสามารถจัดการใบเรียกเก็บเงินตามแบบแผนล่วงหน้าได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยประหยัดเวลาและลดงานด้านธุรการได้ โดยเฉพาะสําหรับธุรกิจที่มีสัญญาระยะยาว
เกณฑ์การปฏิบัติด้านความปลอดภัย: Stripe ใช้การเข้ารหัสและเทคโนโลยีอื่นๆ เพื่อปกป้องข้อมูลระหว่างการทําธุรกรรม ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการชําระเงินออนไลน์
การเรียกเก็บเงินตามรอบบิล: สําหรับธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมแบบมีแบบแผนล่วงหน้า Stripe เสนอบริการเรียกเก็บเงินตามรอบบิลที่มีรอบการเรียกเก็บเงินแบบอัตโนมัติซึ่งช่วยจัดการความสัมพันธ์แบบ B2B
Payment Links: Stripe สร้างลิงก์ชําระเงินที่ช่วยให้ทําธุรกรรมได้อย่างรวดเร็วและชัดเจนเข้าใจง่าย ธุรกิจต่างๆ สามารถส่งลิงก์ไปให้คู่ค้าของตนซึ่งจะชําระได้ในคลิกเดียว
Radar สําหรับการจัดการการฉ้อโกง: Radar ของ Stripe ใช้แมชชีนเลิร์นนิงเพื่อระบุกิจกรรมที่อาจเป็นการฉ้อโกง ซึ่งช่วยให้ธุรกิจมุ่งเน้นไปที่การดําเนินงานมากกว่าข้อกังวลด้านความปลอดภัย
การผสานการทํางานด้านบัญชี: ธุรกิจสามารถผสานการทํางานของ Stripe เข้ากับซอฟต์แวร์บัญชี เช่น QuickBooks ซึ่งช่วยให้กระบวนการกระทบยอดการชําระเงินและการอัปเดตบันทึกทางการเงินง่ายขึ้น
การรายงานและการวิเคราะห์ Stripe จัดทํารายงานธุรกรรมแบบละเอียดซึ่งช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ทําการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลได้
บริการด้านการเงิน: Stripe Capital เป็นตัวเลือกการจัดหาเงินทุนสําหรับธุรกิจที่ต้องการเงินทุนเพิ่มเติมสําหรับโครงการขนาดใหญ่หรือค่าใช้จ่ายอื่นๆ
ไปที่นี่ เพื่อเรียนรู้เพิ่มเติมว่า Stripe สร้างโซลูชันระบบการชำระเงินแบบ B2B ที่ปรับแต่งให้เหมาะสม ยืดหยุ่นและนำไปใช้งานได้ง่ายอย่างไร
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ