การชําระเงินข้ามพรมแดนคือธุรกรรมระหว่างผู้ชําระเงินกับผู้รับเงินในประเทศต่างๆ การชําระเงินเหล่านี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถซื้อสินค้า รับบริการ และรับส่งเงินข้ามพรมแดนระหว่างประเทศได้
การชําระเงินข้ามพรมแดนอาจมีค่าใช้จ่ายสูงและล่าช้าเนื่องจากจะต้องส่งเงินผ่านคนกลางหลายราย เช่น ธนาคารและสถาบันการเงิน ระบบธนาคารใหม่แต่ละระบบจะบวกเวลาและค่าธรรมเนียมการประมวลผลของตนเองเพิ่มไปด้วย นอกจากนี้ ความหลากหลายของสกุลเงินรวมถึงกฎหมายและข้อตกลงระหว่างประเทศยังทําให้กระบวนการชําระเงินมีความซับซ้อน
แต่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆ ล่าสุดได้เริ่มทําให้การชําระเงินข้ามพรมแดนง่ายขึ้น แพลตฟอร์มการชําระเงินแบบบล็อกเชนและดิจิทัลช่วยให้การชําระเงินข้ามพรมแดนเป็นเรื่องง่าย รวดเร็วขึ้น และมีค่าใช้จ่ายถูกลง เทคโนโลยีเหล่านี้จะเพิ่มความโปร่งใส ลดจํานวนคนกลาง และลดค่าธรรมเนียม
ภายในปี 2028 คาดว่าการชำระเงินแบบธุรกิจถึงธุรกิจ (B2B) ทั่วโลกจะสูงถึง 124 ล้านล้านดอลลาร์ โดยมาจากธุรกรรมข้ามพรมแดนเป็นหลัก ด้านล่างนี้เราจะอธิบายวิธีที่ธุรกิจต่างๆ ใช้การชําระเงินข้ามพรมแดนกับธุรกรรมแบบ B2B ความท้าทายของการชําระเงินเหล่านี้ แนวโน้มของตลาด รวมถึงวิธีรับมือกับระเบียบข้อบังคับและภาษีต่างๆ
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- การชําระเงินข้ามพรมแดนทำงานอย่างไร
- วิธีที่ธุรกิจต่างๆ ใช้การชําระเงินข้ามพรมแดนกับธุรกรรมแบบ B2B
- ความท้าทายด้านการชําระเงินแบบ B2B ข้ามพรมแดน
- แนวโน้มการเติบโตในตลาดการชําระเงินแบบ B2B ข้ามพรมแดน
- นวัตกรรมการชําระเงินแบบ B2B ข้ามพรมแดนในแบบเรียลไทม์
- ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคลาวด์สําหรับการชําระเงินข้ามพรมแดน
- วิธีจัดการกับข้อกําหนดและภาษีต่างๆ สำาหรับธุรกรรมทั่วโลก
การชําระเงินข้ามพรมแดนทำงานอย่างไร
ปัจจัยหลายๆ อย่างส่งผลต่อรูปแบบการชําระเงินข้ามพรมแดน ซึ่งรวมถึงประเทศ ระเบียบข้อบังคับ สกุลเงิน และวิธีการชําระเงิน ต่อไปนี้คือขั้นตอนในการชําระเงินข้ามพรมแดนโดยทั่วไป
การเริ่มต้น: อันดับแรก ธุรกิจจะเริ่มต้นการชําระเงินให้แก่ผู้รับที่อยู่ต่างประเทศด้วยการโอนเงินผ่านธนาคาร การโอนเงินระหว่างธนาคาร หรือแพลตฟอร์มการชําระเงินเฉพาะทาง
การแปลงสกุลเงิน: เนื่องจากผู้ส่งและผู้รับอยู่คนละประเทศ ธนาคารหรือผู้ให้บริการชําระเงินของผู้ส่งจึงต้องแปลงเงินจากสกุลเงินของผู้ส่งเป็นสกุลเงินของผู้รับโดยใช้อัตราแลกเปลี่ยนปัจจุบัน
ธนาคารตัวกลาง: การชําระเงินอาจต้องผ่านธนาคารตัวกลางก่อน ซึ่งธนาคารเหล่านี้จะช่วยอํานวยความสะดวกในการส่งการชำระเงินดังกล่าวไปยังปลายทางที่ต้องการ
การหักยอดและการชําระเงิน: ระบบการธนาคารที่เกี่ยวข้องจะดำเนินการหักยอดและชําระเงิน โดยจะยืนยันรายละเอียดการชําระเงิน ตรวจสอบว่ามีเงินทุนเพียงพอ แล้วจึงโอนเงินไปยังบัญชีธนาคารของผู้รับ
วิธีที่ธุรกิจต่างๆ ใช้การชําระเงินข้ามพรมแดนสำหรับธุรกรรมแบบ B2B
ต่อไปนี้คือตัวอย่างการใช้การชําระเงินข้ามพรมแดนสําหรับ B2B
การซื้อสินค้าและบริการ: ธุรกิจมักซื้อวัสดุ ส่วนประกอบ หรือผลิตภัณฑ์สําเร็จรูปจากซัพพลายเออร์ในต่างประเทศ จากนั้นธุรกิจเหล่านั้นก็จะชําระเงินตามใบแจ้งหนี้ด้วยการชําระเงินข้ามพรมแดน
การจัดการซัพพลายเชน: ซัพพลายเชนระดับโลกที่ซับซ้อนสามารถจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น การจัดส่ง โลจิสติกส์ และภาษีศุลกากรด้วยการชําระเงินข้ามพรมแดนได้
การชําระเงินให้แก่พนักงานหรือผู้รับจ้างตามสัญญาในต่างประเทศ: ธุรกิจที่มีพนักงานทำงานจากระยะไกลหรือผู้รับจ้างตามสัญญาในประเทศต่างๆ จ่ายเงินเดือน ค่าแรง และค่าธรรมเนียมโดยใช้การชำระเงินข้ามพรมแดน
การลงทุนในตลาดต่างประเทศ: บริษัทที่ต้องการขยายธุรกิจไปทั่วโลกอาจลงทุนกับธุรกิจต่างชาติ อสังหาริมทรัพย์ หรือสินทรัพย์อื่นๆ โดยต้องโอนเงินทุนด้วยการชําระเงินข้ามพรมแดนจึงจะดําเนินธุรกิจเหล่านั้นได้
การส่งกำไรกลับประเทศ: สามารถใช้การชําระเงินข้ามพรมแดนเพื่อโอนผลกําไรจากบริษัทในเครือที่อยู่ในตลาดต่างประเทศไปยังธุรกิจในประเทศบ้านเกิดของตนได้
การชําระธุรกรรมทางการเงิน: ธุรกิจต่างๆ อาจชําระเงินสำหรับธุรกรรมทางการเงิน เช่น การคืนเงินกู้ การจ่ายเงินปันผล หรือค่าลิขสิทธิ์ต่างๆ ด้วยการชําระเงินข้ามพรมแดนได้
ความท้าทายด้านการชําระเงินแบบ B2B ข้ามพรมแดน
แม้การชําระเงินข้ามพรมแดนจะมีประโยชน์สําหรับธุรกิจแบบ B2B แต่ก็อาจนําไปสู่ความท้าทายด้านการปฏิบัติงานและด้านการเงินได้
ความล่าช้าของธุรกรรม
การชําระเงินระหว่างประเทศอาจใช้เวลาหลายวันในการดําเนินการ ซึ่งความล่าช้านี้อาจส่งผลเสียต่ออุตสาหกรรมที่มีความอ่อนไหวเรื่องเวลา เช่น การผลิตและสินค้าที่เน่าเสียง่าย ปัจจัยที่อาจทําให้เกิดความล่าช้ามีดังนี้
ความแตกต่างของเขตเวลา: เวลาทําการของแต่ละธนาคารทั่วโลกที่แตกต่างกัน ซึ่งส่งผลต่อความรวดเร็วของการประมวลผลธุรกรรม
การประมวลผลด้วยตนเอง: การชําระเงินระหว่างประเทศในบางขั้นตอนยังคงต้องใช้บุคลากรเข้ามาดำเนินการด้วยตนเองซึ่งจะช้าลง
การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกําหนด: การตรวจสอบความปลอดภัยและการปฏิบัติตามข้อกําหนดที่ซับซ้อนอาจทําให้กระบวนการช้าลงได้เช่นกัน
การปฏิบัติตามข้อกําหนดโดยมีกรอบกฎหมายหลายรายการ
แต่ละประเทศมีกรอบกฎหมายของตนเองสําหรับธุรกรรมทางการเงิน โดยรวมถึงกฎหมายป้องกันการฟอกเงิน (AML) มาตรฐานการต่อต้านการก่อการร้าย (CTF) และข้อกําหนดด้านการรู้จักลูกค้าของคุณ (KYC) การปฏิบัติตามข้อกำหนดที่หลากหลายและบางครั้งก็ขัดแย้งกันเหล่านี้อาจทำให้เกิดความยุ่งยากและมีค่าใช้จ่ายสูง นอกจากนี้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดก็อาจส่งผลให้ต้องรับบทลงโทษทางกฎหมายที่สําคัญๆ และสร้างความเสียหายต่อชื่อเสียงได้
ค่าใช้จ่ายที่ไม่ชัดเจนและคาดเดาไม่ได้
เส้นทางการชําระเงินมีค่าธรรมเนียมแอบแฝง รวมถึงการเรียกเก็บเงินจากธนาคารที่เกี่ยวข้อง ค่าธรรมเนียมธนาคารตัวกลาง และค่าธรรมเนียมตามอัตราค่าดำเนินการสำหรับการแปลงสกุลเงิน สิ่งที่ยากจะคาดเดาเหล่านี้ทําให้การคาดการณ์และการกระทบยอดทางการเงินเป็นเรื่องยุ่งยากซับซ้อน
ค่าธรรมเนียมธนาคารตัวกลางและค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม
การชําระเงินระหว่างประเทศส่วนใหญ่จะเกี่ยวข้องกับธนาคารหลายแห่ง ซึ่งรวมถึงธนาคารของผู้ส่งเงิน ธนาคารตัวกลาง และธนาคารของผู้รับเงิน โดยผู้เกี่ยวข้องแต่ละรายอาจเรียกเก็บค่าธรรมเนียมของตนเองด้วย ซึ่งอาจทำให้ผู้รับได้รับยอดรวมที่น้อยลง การที่มีธนาคารหลายๆ แห่งมาเกี่ยวข้องนี้อาจทําให้การติดตามการชําระเงินเป็นเรื่องยุ่งยาก
ความเสี่ยงของการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ (FX)
ความผันผวนของสกุลเงินอาจเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนไปอย่างมากในระหว่างกระบวนการชําระเงิน ทําให้เกิดการสูญเสียอย่างไม่คาดคิด เครื่องมือทางการเงินที่มีความซับซ้อนและแยบยลตลอดจนความเชี่ยวชาญจะสามารถปกป้องคุณจากความเสี่ยงของ FX ได้ แต่อาจไม่มีให้บริการแก่ธุรกิจทุกประเภท
ความเสี่ยงและข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน
การส่งหรือรับการชําระเงินระหว่างประเทศผ่านหลายๆ ระบบเป็นการเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงานมากขึ้น เช่น การกำหนดเส้นทาง Routing ผิด และการป้อนข้อมูลผิด ข้อผิดพลาดเหล่านี้อาจทำให้ธุรกรรมล่าช้าและต้องใช้ความพยายามและค่าใช้จ่ายจํานวนมากในการแก้ไขปัญหา
ข้อกังวลเกี่ยวกับการฉ้อโกงและการรักษาความปลอดภัย
การชําระเงินข้ามพรมแดนนั้นเสี่ยงต่อการฉ้อโกงเป็นอย่างยิ่งเนื่องจากมีหลายฝ่ายและหลายระบบเข้ามาเกี่ยวข้อง การละเมิดข้อมูล การหลอกลวงทางออนไลน์หรือฟิชชิ่ง และธุรกรรมที่ไม่ได้รับอนุญาตอาจทําให้เกิดการสูญเสียทางการเงินจํานวนมากและความเชื่อถือจากลูกค้าลดลง
การติดตามการชําระเงินแบบจํากัด
เนื่องจากระบบดั้งเดิมหลายๆ ระบบไม่มีการมองเห็นแบบเรียลไทม์ ธุรกิจต่างๆ จึงไม่สามารถติดตามการชำระเงินข้ามพรมแดนได้อย่างง่ายดาย ซึ่งความไม่แน่นอนนี้อาจส่งผลกระทบต่อซัพพลายเชน ทำให้ลำดับเวลาของโปรเจ็กต์ล่าช้า รวมถึงทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างซัพพลายเออร์และพาร์ทเนอร์ตึงเครียด
ความเข้ากันไม่ได้ทางเทคโนโลยี
ข้อแตกต่างในแพลตฟอร์มเทคโนโลยีของธนาคารสามารถสร้างความไร้ประสิทธิภาพให้กับกระบวนการธุรกรรม ทำให้ต้องมีการกระทบยอดและการปรับยอดด้วยตนเองเพิ่มเติม
สิทธิ์เข้าถึงการธนาคารแบบจํากัด
ผู้รับเงินในบางภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกําลังพัฒนา อาจมีสิทธิ์เข้าถึงบริการทางธนาคารแบบจํากัด โดยผู้รับอาจต้องใช้ทางเลือกอื่นที่ปลอดภัยน้อยกว่าและล่าช้ามากขึ้นในการรับการชําระเงินระหว่างประเทศ
ระบบแบบเก่าและการผสานการทํางาน
ธุรกิจหลายแห่งยังคงชําระเงินด้วยระบบแบบเก่าที่ล้าสมัย ซึ่งมักจะเข้ากับโซลูชันการชําระเงินข้ามพรมแดนที่ทันสมัยไม่ได้ การผสานการทำงานของการชําระเงินข้ามพรมแดนเข้ากับระบบเก่าเหล่านี้อาจมีค่าใช้จ่ายสูง ใช้เวลานาน และอาจเกิดข้อผิดพลาดได้
แนวโน้มการเติบโตในตลาดการชําระเงินแบบ B2B ข้ามพรมแดน
แนวโน้มสําคัญหลายๆ ประการกำลังผลักดันให้มีการเติบโตและพลิกโฉมในตลาดการชําระเงินแบบ B2B ข้ามพรมแดน
การชําระเงินแบบเรียลไทม์: หลายๆ ประเทศต่างก็นําระบบการชําระเงินแบบเรียลไทม์มาใช้ ซึ่งช่วยให้ทําธุรกรรมข้ามพรมแดนได้เกือบจะทันที
โซลูชันฟินเทค (Fintech): บริษัทฟินเทคกําลังเปลี่ยนแปลงรูปแบบการธนาคารแบบเดิมด้วยโซลูชันการชําระเงินที่มีนวัตกรรมและใช้งานง่าย บริษัทเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีต่างๆ เช่น บล็อกเชน อินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (API) และ AI เพื่อทําให้กระบวนการต่างๆ ง่ายขึ้น ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มความโปร่งใส
ความโปร่งใสและการปฏิบัติตามข้อกําหนด: การตรวจสอบระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการชําระเงินข้ามพรมแดนเพิ่มขึ้น ธุรกิจต่างๆ นำเอาโซลูชันที่ให้บริการด้วยความโปร่งใสและตรวจสอบได้ตั้งแต่ต้นจนจบ (End-to-end visibility) การตรวจสอบการปฏิบัติตามข้อกําหนดอัตโนมัติ และฟังก์ชันการรายงานที่มีประสิทธิภาพมาใช้ เพื่อให้เป็นไปตามระเบียบข้อบังคับ
ประสบการณ์การชําระเงินที่เหมาะกับท้องถิ่น: ธุรกิจต้องการโซลูชันการชําระเงินที่รองรับความจำเป็นและความต้องการที่เฉพาะเจาะจงของตลาดต่างๆ ซึ่งรวมถึงฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การชําระเงินในสกุลเงินท้องถิ่น การสนับสนุนวิธีการชําระเงินในท้องถิ่น และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับในแต่ละประเทศ
สกุลเงินดิจิทัล: สกุลเงินดิจิทัลและและสกุลเงินดิจิทัลของธนาคารกลาง (CBDC) กําลังจะกลายเป็นวิธีการชําระเงินทางเลือกที่เป็นไปได้สําหรับการชําระเงินข้ามพรมแดน ซึ่งสกุลเงินเหล่านี้มีระยะเวลาการชําระเงินที่รวดเร็วขึ้น ค่าธรรมเนียมธุรกรรมที่ต่ําลง และมีความโปร่งใสเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับวิธีการแบบดั้งเดิม
การรวมตลาด: ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องรายใหญ่ต่างเข้าซื้อกิจการบริษัทฟินเทคที่ขนาดเล็กกว่า และธนาคารแบบดั้งเดิมก็ร่วมเป็นพาร์ทเนอร์กับผู้ให้บริการเทคโนโลยี การรวมตลาดนี้ส่งผลให้มีโซลูชันการชําระเงินที่ครอบคลุมและเชื่อมต่อการทํางานระหว่างกันมากขึ้น
โมเดลธุรกิจถึงธุรกิจถึงผู้บริโภค (B2B2C): ผู้ให้บริการชําระเงินต่างหันมาใช้โมเดล B2B2C มากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งโมเดลเหล่านี้ให้บริการแก่ธุรกิจต่างๆ แล้วธุรกิจจึงให้บริการแก่ลูกค้าอีกต่อหนึ่ง โมเดลนี้จะเพิ่มการเข้าถึงและเพิ่มความสามารถในการขยายธุรกิจในตลาด
ซึ่งแนวโน้มเหล่านี้บ่งบอกว่าอนาคตของการชําระเงินข้ามพรมแดนจะรวดเร็วขึ้น ราคาถูกลง โปร่งใสขึ้น และเข้าถึงได้มากขึ้นสําหรับธุรกิจทุกขนาด
นวัตกรรมการชําระเงินแบบ B2B ข้ามพรมแดนในแบบเรียลไทม์
ต่อไปนี้คือความก้าวหน้าที่สําคัญในการชําระเงินแบบ B2B ข้ามพรมแดนในแบบเรียลไทม์
เครือข่ายการชําระเงินแบบเรียลไทม์: เครือข่ายการชําระเงินแบบเรียลไทม์อย่าง FedNow ในสหรัฐอเมริกาและ Faster Payments ในสหราชอาณาจักรช่วยให้ทําธุรกรรมข้ามพรมแดนได้แทบจะทันที ซึ่งช่วยลดความล่าช้าที่เกี่ยวกับการธนาคารแบบโต้ตอบแบบดั้งเดิมได้
เทคโนโลยีบล็อกเชนและบัญชีแยกประเภทแบบกระจาย (DLT): แพลตฟอร์มการชําระเงินอย่าง RippleNet และ IBM Blockchain World Wire ต่างใช้ DLT เพื่อสร้างบัญชีแยกประเภทสำหรับการชําระเงินที่ปลอดภัย โปร่งใส และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ บัญชีแยกประเภทเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องใช้คนกลาง อีกทั้งยังลดเวลาในการชําระเงิน และมีต้นทุนธุรกรรมที่ต่ำลงด้วย
แพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนโดย API: API ผสานการทํางานกับระบบการชําระเงิน ธนาคาร และสถาบันทางการเงินต่างๆ ที่หลากหลาย ซึ่งช่วยให้สามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพมากขึ้น การกระทบยอดที่เป็นระบบอัตโนมัติ และขั้นตอนการชําระเงินที่สะดวกง่ายดาย แพลตฟอร์มที่ขับเคลื่อนด้วย API อย่าง Visa B2B Connect ช่วยให้การชําระเงินข้ามพรมแดนแบบเรียลไทม์เปิดเผยและควบคุมได้มากขึ้น
ปัญญาประดิษฐ์ (AI) และแมชชีนเลิร์นนิง (ML): AI และ ML ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการกําหนดเส้นทาง ตรวจจับการฉ้อโกง และจัดการความเสี่ยงในแบบเรียลไทม์ ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้สามารถวิเคราะห์ข้อมูลจํานวนมากเพื่อหารูปแบบและความผิดปกติ นําไปสู่การตัดสินใจที่รวดเร็วขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดโอกาสในการเกิดข้อผิดพลาดหรือความล่าช้า
การเงินแบบผสานรวมในตัว: การเงินแบบผสานรวมในตัวจะผสานการทำงานของบริการทางการเงินต่างๆ เข้าในกระบวนการทางธุรกิจและแพลตฟอร์มโดยตรง จากนั้นธุรกิจก็จะเริ่มต้นและรับชําระเงินข้ามพรมแดนได้ในขั้นตอนการทํางานที่มีอยู่ ด้วยเหตุนี้จึงไม่จำเป็นต้องใช้ระบบการธนาคารที่แยกกัน รวมถึงช่วยลดการติดขัดในขั้นตอนการชําระเงินด้วย
กระเป๋าเงินและบัญชีหลากหลายสกุลเงิน: กระเป๋าเงินดิจิทัลและบัญชีที่รองรับหลายสกุลเงินช่วยให้การทำธุรกรรมข้ามพรมแดนเป็นเรื่องง่าย ธุรกิจสามารถถือครองและจัดการเงินทุนในสกุลเงินต่างๆ ได้ ซึ่งช่วยลดความจําเป็นในการแปลงสกุลเงินตลอดจนลดความเสี่ยงจากการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคลาวด์สําหรับการชําระเงินข้ามพรมแดน
ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้การชําระเงินข้ามพรมแดนรวดเร็วขึ้น ปลอดภัยมากขึ้น และเข้าถึงได้ง่ายขึ้น มาดูกันว่าเทคโนโลยีคลาวด์พลิกโฉมการชําระเงินข้ามพรมแดนอย่างไร
นวัตกรรมและการทํางานร่วมกัน: ระบบคลาวด์สร้างสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมนวัตกรรมและการทํางานร่วมกัน บริษัทฟินเทคและสถาบันการเงินแบบดั้งเดิมสามารถพัฒนาและนำโซลูชันใหม่ๆ มาใช้บนแพลตฟอร์มคลาวด์ได้อย่างรวดเร็ว นอกจากนี้ เทคโนโลยีคลาวด์ยังช่วยให้นิติบุคคลต่างๆ ทํางานร่วมกันบนแพลตฟอร์มที่ใช้งานร่วมกันและใช้ชุดข้อมูลที่แชร์กันด้วย
ความสามารถในการขยายและความยืดหยุ่น: แพลตฟอร์มคลาวด์สามารถปรับขนาดได้อย่างมีนัยสำคัญ ช่วยให้สถาบันการเงินและผู้ประมวลผลการชําระเงินสามารถจัดการธุรกรรมจํานวนมากขึ้นได้โดยไม่ต้องลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สําคัญ ความยืดหยุ่นนี้มีประโยชน์อย่างยิ่งในการจัดการกับปริมาณธุรกรรมที่พุ่งสูงในช่วงวันหยุดหรือช่วงเวลาอื่นๆ ที่มีปริมาณการใช้งานสูง
การรักษาความปลอดภัย: แพลตฟอร์มคลาวด์สมัยใหม่มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่แน่นหนา รวมถึงมีการเข้ารหัส การตรวจสอบสิทธิ์แบบหลายปัจจัย และการตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง มาตรการเหล่านี้ช่วยปกป้องข้อมูลทางการเงินที่ละเอียดอ่อนจากการละเมิดและการฉ้อโกง
การประมวลผลแบบเรียลไทม์: เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยลดเวลาในการชําระเงินของธุรกรรมระหว่างประเทศ ผ่านการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตความเร็วสูงและฟังก์ชันการประมวลผลที่มีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้ แทนที่จะต้องรอหลายวัน ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถโอนเงินข้ามพรมแดนได้ภายในไม่กี่นาที
ประสิทธิภาพในแง่ของค่าใช้จ่าย: สําหรับสถาบันการเงินที่ใช้บริการคลาวด์ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางกายภาพนั้นไม่มากและค่าใช้จ่ายในการบํารุงรักษาต่ํา ลูกค้าจึงประหยัดต้นทุนในการดำเนินงาน ซึ่งอยู่ในรูปแบบของค่าธรรมเนียมที่ต่ำลงสําหรับธุรกรรมระหว่างประเทศ
การทํางานร่วมกัน: ระบบที่ใช้คลาวด์นั้นจะผสานการทํางานกับระบบการธนาคารหลายๆ ระบบ เครือข่ายการชําระเงิน และกรอบกฎหมายในประเทศต่างๆ การทํางานร่วมกันนี้ช่วยลดความยุ่งยากในการส่งหรือรับการชำระเงินผ่านธนาคารและเขตอํานาจศาลหลายๆ แห่ง ซึ่งจะช่วยลดข้อผิดพลาดและความล่าช้า
การวิเคราะห์ขั้นสูงและ AI: แพลตฟอร์มคลาวด์มักจะมีการวิเคราะห์ขั้นสูงและฟังก์ชันเกี่ยวกับ AI เครื่องมือเหล่านี้สามารถตรวจจับการฉ้อโกง คาดการณ์รูปแบบธุรกรรม และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับแนวโน้มการชําระเงินได้ นอกจากนี้ การวิเคราะห์ขั้นสูงยังช่วยเพิ่มการปฏิบัติตามข้อกําหนดทางกฎหมายด้วยการตรวจจับกิจกรรมที่น่าสงสัยโดยอัตโนมัติ
การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ: ผู้ให้บริการระบบคลาวด์มักมีเครื่องมือและกรอบการทำงานที่ช่วยให้สถาบันการเงินปฏิบัติตามกฎระเบียบระหว่างประเทศ ซึ่งเครื่องมือเหล่านี้ประกอบด้วยโซลูชันการจัดเก็บข้อมูล การรายงานการปฏิบัติตามข้อกำหนด และการจัดเก็บบันทึกธุรกรรมอย่างปลอดภัย
ประสบการณ์ของลูกค้า: ผู้ให้บริการชําระเงินใช้เทคโนโลยีคลาวด์เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานที่ง่ายยิ่งขึ้นแก่ผู้ใช้ ฟีเจอร์ต่างๆ เช่น การติดตามการชําระเงินแบบเรียลไทม์ การแจ้งเตือนทันที และการเข้าถึงประวัติการชําระเงินได้อย่างง่ายดาย จะช่วยเพิ่มความโปร่งใสและสร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้า
การเข้าถึงทั่วโลก: เทคโนโลยีคลาวด์ช่วยให้ธุรกิจและบุคคลทั่วไปเข้าถึงบริการชําระเงินได้จากทุกที่ทั่วโลก องค์กรขนาดเล็กและขนาดกลาง (SMEs) ที่ต้องการขยายตลาดของตนไปยังต่างประเทศจะได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงนี้เป็นพิเศษ
การกู้คืนหลังเกิดภัยพิบัติและความต่อเนื่องทางธุรกิจ: แพลตฟอร์มคลาวด์มีโซลูชันการกู้คืนหลังเกิดภัยพิบัติและความต่อเนื่องทางธุรกิจที่แข็งแกร่ง หากเกิดความล้มเหลวของระบบหรือเกิดภัยพิบัติทางธรรมชาติ แพลตฟอร์มเหล่านี้จะกู้คืนข้อมูลและการบริการได้อย่างรวดเร็วโดยไม่กระทบต่อบริการชําระเงินข้ามพรมแดน
วิธีจัดการข้อกําหนดและภาษีสําหรับธุรกรรมทั่วโลก
ต่อไปนี้คือเคล็ดลับในการจัดการกับระเบียบข้อบังคับและภาษีสำหรับธุรกรรมข้ามพรมแดน
ระเบียบข้อบังคับ
รับทราบถึงหน้าที่ของคุณ: แต่ละประเทศมีชุดกฎสําหรับธุรกรรมทางการเงินเป็นของตัวเอง โดยชุดกฎเหล่านี้มักรวมถึงการคว่ําบาตร กฎหมายคุ้มครองข้อมูล เช่น กฎระเบียบว่าด้วยการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล (GDPR) ของสหภาพยุโรป และระเบียบข้อบังคับว่าด้วยการต่อต้านการฟอกเงิน (AML) เพื่อป้องกันกิจกรรมที่ผิดกฎหมาย เช่น การฟอกเงินหรือการจัดหาเงินทุนแก่กลุ่มผู้ก่อการร้าย ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับข้อกําหนดที่เฉพาะเจาะจงที่มีผลกับธุรกิจของคุณและประเทศที่เกี่ยวข้อง
เป็นพาร์ทเนอร์กับผู้เชี่ยวชาญ: ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายและการเงินที่มีความเชี่ยวชาญด้านธุรกรรมระหว่างประเทศ ซึ่งบุคคลเหล่านี้จะช่วยแนะนําคุณเกี่ยวกับปัญหาด้านการปฏิบัติตามข้อกําหนด ตลอดจนช่วยคุณกำหนดโครงสร้างธุรกิจด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพด้านภาษี
ใช้เทคโนโลยี: แพลตฟอร์มการชําระเงินและโซลูชันซอฟต์แวร์ที่ทันสมัยจํานวนมากมีฟีเจอร์การปฏิบัติตามข้อกําหนดในตัว เครื่องมือเหล่านี้จะตรวจสอบธุรกรรมเพื่อหาปัญหาที่อาจเกิดขึ้น สร้างรายงาน และช่วยคุณติดตามเอกสารประกอบที่จําเป็นทั้งหมดได้โดยอัตโนมัติ
ภาษี
ทําความเข้าใจสนธิสัญญาภาษี: สนธิสัญญาภาษีคือข้อตกลงระหว่างประเทศต่างๆ ที่กําหนดวิธีการเรียกเก็บภาษีรายรับข้ามพรมแดน สนธิสัญญาเหล่านี้อาจให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เช่น อัตราภาษีที่ลดลงหรือการยกเว้นภาษีในรายได้บางประเภท ทําความเข้าใจว่าสนธิสัญญาเหล่านี้มีผลกับธุรกิจและธุรกรรมของคุณอย่างไร
วางแผนล่วงหน้า: ทํางานร่วมกับที่ปรึกษาด้านภาษีหรือนักบัญชีที่มีความเชี่ยวชาญด้านภาษีระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนากลยุทธ์ที่ลดภาระภาษีโดยรวมของคุณตามกฎหมาย ตัวอย่างเช่น คุณอาจสร้างโครงสร้างธุรกิจขึ้นใหม่ เลือกตําแหน่งที่ตั้งที่ต้องการสําหรับดําเนินงาน หรือปรับเวลาในการทําธุรกรรมอย่างเป็นกลยุทธ์
เก็บบันทึกอย่างละเอียด: เก็บบันทึกอย่างละเอียดเกี่ยวกับรายรับ ค่าใช้จ่าย สินทรัพย์ และหนี้สินทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับธุรกรรมต่างประเทศของคุณ การมีบันทึกที่เป็นระบบระเบียบจะทําให้ยื่นขอคืนภาษี ตอบกลับต่อการตรวจสอบ และหลีกเลี่ยงบทลงโทษต่างๆ ได้ง่ายขึ้น
ค่าบริการสำหรับการโอน: หากบริษัทของคุณดําเนินงานในหลายๆ ประเทศ ให้ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับค่าบริการสำหรับการโอน ซึ่งกฎเหล่านี้จะควบคุมวิธีที่คุณกำหนดราคาสินค้าและบริการที่โอนระหว่างส่วนต่างๆ ของบริษัทของคุณ และช่วยป้องกันไม่ให้บริษัทต่างๆ เปลี่ยนมาใช้เขตอํานาจศาลที่เรียกเก็บภาษีต่ำ
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ