ข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสําหรับอีคอมเมิร์ซ: คู่มือสําหรับธุรกิจ

Billing
Billing

Stripe Billing ช่วยให้คุณเรียกเก็บเงินและจัดการลูกค้าได้ในทุกแบบที่ต้องการ ตั้งแต่การเรียกเก็บเงินแบบตามรอบไปจนถึงการเรียกเก็บเงินตามการใช้งาน และสัญญาการเจรจาการขาย

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติทํางานอย่างไร
  3. บทบาทของการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซคืออะไร
  4. วิธีตั้งค่าการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ
    1. การตั้งค่าผลิตภัณฑ์และค่าบริการ
    2. วิธีการชําระเงิน
    3. การชําระเงินของลูกค้า
    4. การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ
    5. การสื่อสารกับลูกค้า
    6. การปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านภาษี
  5. ข้อดีของการติดตั้งใช้งานการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซ
  6. วิธีจัดการการสมัครใช้บริการและการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้าของลูกค้า
    1. เครื่องมือด้านเทคนิค
    2. กลยุทธ์ติดต่อลูกค้า
    3. กระบวนการภายใน
    4. ฟีเจอร์ของผลิตภัณฑ์
  7. ความท้าทายและโซลูชันที่มีการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซ
    1. การชําระเงินที่ไม่สําเร็จและการเลิกใช้บริการโดยไม่ได้ตั้งใจ
    2. ความเหนื่อยล้าจากค่าใช้จ่ายรายเดือนและการเลิกใช้บริการโดยสมัครใจ
    3. การผสานการทํางาน
    4. การจัดการค่าบริการและแพ็กเกจ
    5. การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกําหนด
    6. การโต้แย้งการชําระเงินและการดึงเงินคืนของลูกค้า
  8. แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสําหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติช่วยลดความยุ่งยากในการทําธุรกรรมและการจัดการการสมัครใช้บริการสําหรับธุรกิจ โดยช่วยให้ธุรกิจสร้างใบแจ้งหนี้และการแจ้งเตือนการชําระเงินอัตโนมัติ รวมทั้งมอบตัวเลือกการประมวลผลการชําระเงินที่หลากหลายให้แก่ลูกค้าได้ วิธีนี้ทำให้เกิดกระบวนการที่รวดเร็วและถูกต้องมากขึ้น ซึ่งลดค่าใช้จ่ายในการบริหารและข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นโดยมนุษย์ ตลาดอีคอมเมิร์ซแบบสมัครใช้บริการทั่วโลกคาดว่าจะเพิ่มขึ้นจาก 199 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023 เป็นเกือบถึง 331 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2024

คู่มือนี้จะกล่าวถึงบทบาทของการเรียกเก็บเงินแบบอัตโนมัติสำหรับอีคอมเมิร์ซ ข้อดีของการใช้การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ และแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

  • ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติทํางานอย่างไร
  • บทบาทของการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซคืออะไร
  • วิธีตั้งค่าการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ
  • ข้อดีของการติดตั้งใช้งานการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซ
  • วิธีจัดการการสมัครใช้บริการและการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้าของลูกค้า
  • ความท้าทายและโซลูชันที่มีการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซ
  • แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสําหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติทํางานอย่างไร

ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจะรวมข้อมูลจากหลายๆ แหล่งเพื่อสร้างใบแจ้งหนี้โดยอัตโนมัติ ส่งไปให้ผู้รับที่เหมาะสม รวมทั้งประมวลผลและกระทบยอดการชําระเงินของลูกค้า กระบวนการทํางานมีดังนี้

  • การผสานการทํางานข้อมูล: ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจะผสานการทํางานกับซอฟต์แวร์ที่ธุรกิจมีอยู่ เช่น การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้า (CRM) และระบบการวางแผนทรัพยากรสําหรับองค์กร (ERP) แล้วดึงข้อมูลที่เกี่ยวข้อง เช่น ข้อมูลลูกค้า ค่าบริการ ผลิตภัณฑ์หรือบริการที่ซื้อ และข้อกําหนดการเรียกเก็บเงิน

  • การสร้างใบแจ้งหนี้: ระบบจะสร้างใบแจ้งหนี้โดยอัตโนมัติ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ผสานการทำงานและกฎที่กําหนดไว้ล่วงหน้า ธุรกิจสามารถปรับแต่งใบแจ้งหนี้เหล่านี้ได้ ซึ่งรวมถึงรายละเอียดเฉพาะ เช่น ภาษี ส่วนลด และวันครบกำหนด เพื่อให้ตรงกับการสร้างแบรนด์และกระบวนการเรียกเก็บเงินของธุรกิจ ระบบสามารถคํานวณภาษีโดยอัตโนมัติตามตําแหน่งที่ตั้งของลูกค้าและอัตราภาษีที่เกี่ยวข้อง

  • การประมวลผลการชําระเงิน: ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจะผสานการทํางานกับเกตเวย์การชําระเงินต่างๆ ทําให้ลูกค้าชําระเงินออนไลน์ได้โดยใช้บัตรเครดิตและเดบิต การโอนเงินผ่าน ACH หรือวิธีอื่นๆ หลายๆ ระบบมาพร้อมกับฟีเจอร์หลายสกุลเงินที่ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ เรียกเก็บเงินจากลูกค้าด้วยสกุลเงินที่ต้องการได้ ระบบจะดําเนินการชําระเงินอย่างปลอดภัยและอัปเดตบัญชีที่เกี่ยวข้อง

  • การจัดการการติดตามหนี้: หากลูกค้าไม่ชำระเงินตามใบเรียกเก็บเงินตรงเวลา ระบบจะส่งการแจ้งเตือนและอีเมลติดตามโดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดการชําระเงินที่ล่าช้าและเพิ่มความคล่องตัวของกระแสเงินสดให้ธุรกิจได้

  • การรายงานและการวิเคราะห์ ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจะสร้างรายงานและการวิเคราะห์อย่างละเอียดเกี่ยวกับการออกใบแจ้งหนี้ การชําระเงิน และพฤติกรรมของลูกค้า เจ้าของธุรกิจสามารถใช้ข้อมูลนี้ในการระบุแนวโน้ม ปรับปรุงกระบวนการเรียกเก็บเงิน และทําการตัดสินใจทางธุรกิจอย่างมีข้อมูลได้

  • การจัดการการสมัครใช้บริการ : สําหรับธุรกิจที่มีโมเดลการเรียกเก็บเงินตามแบบแผนล่วงหน้า ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสามารถจัดการการสมัครใช้บริการได้ โดยจัดการการอัปเกรด การดาวน์เกรด การยกเลิก และการต่ออายุอัตโนมัติ

  • การรักษาความปลอดภัย: ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจะปกป้องข้อมูลทางการเงินที่ละเอียดอ่อน โดยทั่วไปแล้ว ผู้ใช้จะใช้ฟีเจอร์การเข้ารหัสและการตรวจจับการฉ้อโกง ซึ่งเป็นไปตามมาตรฐานอุตสาหกรรม เช่น มาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลสําหรับอุตสาหกรรมบัตรชําระเงิน (PCI DSS)

บทบาทของการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซคืออะไร

การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติช่วยให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซทําธุรกรรมทางการเงินได้ง่ายขึ้น ลดข้อผิดพลาดที่ดําเนินการด้วยตัวเอง และปรับปรุงประสบการณ์ของลูกค้า และอีกมากมาย รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสามารถช่วยเหลือธุรกิจได้ มีดังนี้

  • ธุรกรรมที่ง่ายขึ้น: การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติอํานวยความสะดวกในขั้นตอนการชําระเงินที่รวดเร็วและง่ายดายสําหรับลูกค้า ด้วยการคํานวณยอดรวมโดยอัตโนมัติและมอบตัวเลือกการชําระเงินที่สะดวกสบาย
  • ฟีเจอร์การจัดการการสมัครใช้บริการ: แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหลายแห่งมีผลิตภัณฑ์หรือบริการแบบสมัครใช้บริการ ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจะช่วยจัดการการสมัครใช้บริการเหล่านี้ได้ โดยการสร้างและส่งใบแจ้งหนี้ การประมวลผลการชําระเงิน และจัดการการต่ออายุหรือยกเลิกการสมัครใช้บริการโดยไม่ต้องให้เจ้าหน้าที่ดูแล
  • ความสามารถในการปรับขนาด: เมื่อธุรกิจอีคอมเมิร์ซเติบโตขึ้น ปริมาณธุรกรรมจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสามารถปรับขยายได้เพื่อจัดการปริมาณธุรกรรมที่เพิ่มขึ้น โดยไม่มีข้อผิดพลาดหรือค่าใช้จ่ายในการจัดการพนักงานเพิ่มขึ้น
  • การสนับสนุนการขายทั่วโลก: อีคอมเมิร์ซมักเกี่ยวข้องกับการขายข้ามพรมแดน ซึ่งมาพร้อมกับความท้าทายต่างๆ เช่น หลายสกุลเงิน กฎหมายภาษี และข้อบังคับด้านการปฏิบัติตามข้อกําหนด ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจะจัดการความซับซ้อนเหล่านี้ได้โดยการปรับราคาตามอัตราแลกเปลี่ยน การเรียกเก็บภาษีที่ถูกต้อง และการสร้างความมั่นใจว่าได้ปฏิบัติตามมาตรฐานระดับสากล
  • การผสานการทํางานข้อมูลแบบเรียลไทม์: ธุรกิจสามารถผสานการทำงานของระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติเข้ากับระบบอีคอมเมิร์ซอื่นๆ ได้ เช่น การจัดการสินค้าคงคลังและ CRM ซึ่งช่วยให้อัปเดตแพลตฟอร์มต่างๆ ได้แบบเรียลไทม์ ตัวอย่างเช่น หากธุรกิจไม่มีผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง ระบบการเรียกเก็บเงินจะแสดงข้อมูลดังกล่าวทันทีเพื่อป้องกันไม่ให้มีคําสั่งซื้อเพิ่มเติม หลีกเลี่ยงไม่ให้ลูกค้าไม่พอใจและการโต้แย้งการชําระเงินที่อาจเกิดขึ้น
  • การตลาดและส่วนลดที่ปรับให้เหมาะกับแต่ละบุคคล: ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสามารถติดตามพฤติกรรมและความต้องการด้านการซื้อของลูกค้าได้ และธุรกิจต่างๆ ก็ใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับแต่งความพยายามด้านการตลาดได้ ตัวอย่างเช่น ธุรกิจสามารถนําส่วนลด คูปอง และข้อเสนอพิเศษมาใช้กับบัญชีของลูกค้าโดยอิงตามประวัติการซื้อสินค้า ซึ่งจะช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วมของลูกค้าและส่งเสริมให้ลูกค้าใช้บริการอีกครั้ง
  • การบริการลูกค้าที่ดีขึ้น: ระบบอัตโนมัติช่วยให้ทีมบริการลูกค้าตอบคําถามและแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วยการเปิดให้ลูกค้าเข้าถึงประวัติธุรกรรมได้อย่างง่ายดาย ลูกค้ายังเข้าถึงข้อมูลการเรียกเก็บเงินของตัวเองได้ผ่านอินเทอร์เฟซที่ใช้งานง่าย ซึ่งช่วยลดความจําเป็นในการติดต่อฝ่ายบริการลูกค้า

วิธีตั้งค่าการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ

กุญแจสําคัญสู่ประโยชน์ของการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติคือการเลือกแพลตฟอร์มที่เหมาะสมในการจัดการ ธุรกิจอีคอมเมิร์ซสามารถใช้ Stripe Billing เพื่อเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสำหรับการสมัครใช้บริการและการชำระเงินตามแบบแผนล่วงหน้าได้ ด้านล่างเป็นภาพรวมของกระบวนการ ดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ใน Strips Docs เกี่ยวกับ Billing

การตั้งค่าผลิตภัณฑ์และค่าบริการ

ในแดชบอร์ด Stripe ไปที่ส่วน “ผลิตภัณฑ์” แล้วสร้างผลิตภัณฑ์การสมัครใช้บริการใหม่ กําหนดชื่อผลิตภัณฑ์ คําอธิบาย และรูปภาพที่เกี่ยวข้อง สร้างราคาตั้งแต่ 1 รายการขึ้นไปในผลิตภัณฑ์ ราคาแต่ละรายการควรประกอบด้วยฟีเจอร์ต่อไปนี้:

  • ชื่อเล่น: รหัสระบุภายในสําหรับการอ้างอิงของคุณ
  • รอบเวลา: ความถี่ของการเรียกเก็บเงิน (รายเดือน รายปี รายสัปดาห์ ฯลฯ)
  • ยอด: ราคาต่อรอบการเรียกเก็บเงิน
  • สกุลเงิน: สกุลเงินที่คุณจะเรียกเก็บเงินจากลูกค้า
  • ตัวยึดรอบการเรียกเก็บเงิน: วันของเดือนหรือสัปดาห์ที่การชําระเงินครั้งแรกจะเกิดขึ้น
  • ช่วงทดลองใช้: ช่วงทดลองใช้ฟรีสําหรับลูกค้าใหม่ (ตามจํานวนวันที่กําหนด)

วิธีการชําระเงิน

เปิดใช้วิธีการชําระเงินที่คุณต้องการยอมรับในแดชบอร์ด เช่น บัตรเครดิตและเดบิต กระเป๋าเงินดิจิทัล และการโอนเงิน ACH

การชําระเงินของลูกค้า

นําชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ฝั่งไคลเอ็นต์ (SDK) ของ Stripe มาใช้ใน JavaScript หรือไลบรารีฝั่งเซิร์ฟเวอร์ในแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซของคุณ Stripe ผสานการทํางานกับแพลตฟอร์มยอดนิยมอย่าง Shopify, WooCommerce และ Adobe Commerce และหากคุณมีแพลตฟอร์มที่ออกแบบเอง คุณสามารถใช้อินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (API) ของ Stripe เพื่อสร้างการผสานการทํางานที่ปรับแต่งได้
ช่วยแนะนำลูกค้าตลอดขั้นตอนการชําระเงิน ซึ่งลูกค้าจะเลือกแพ็กเกจการสมัครใช้บริการที่ต้องการแล้วป้อนข้อมูลการชําระเงิน (คุณดําเนินการนี้ได้โดยใช้ Stripe Checkout หรือ Stripe Elements เพื่อประสบการณ์ที่ปรับให้เหมาะกับคุณมากขึ้น) Stripe จะแปลงรายละเอียดการชําระเงินของลูกค้าเป็นโทเค็น ซึ่งจะช่วยปกป้องข้อมูลที่ละเอียดอ่อน

การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ

เมื่อพิจารณาจากช่วงเวลาของแพ็กเกจค่าบริการและตัวยึดรอบการเรียกเก็บเงิน Stripe จะสร้างใบแจ้งหนี้และพยายามเรียกเก็บเงินจากวิธีการชําระเงินของลูกค้าตามวันที่ระบุโดยอัตโนมัติ Stripe Billing จัดการขั้นตอนการประมวลผลการชําระเงิน รวมถึงการลองเรียกเก็บเงินซ้ําสําหรับการชําระเงินที่ไม่สําเร็จ และส่งเหตุการณ์ Webhook ไปที่ระบบแบ็กเอนด์เพื่อแจ้งเกี่ยวกับการชําระเงินที่เสร็จสมบูรณ์หรือดําเนินการไม่สําเร็จ การอัปเดตการสมัครใช้บริการ และการดําเนินการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

การสื่อสารกับลูกค้า

ขณะนําระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติไปใช้งาน โปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้สื่อสารกับลูกค้าเกี่ยวกับข้อกําหนดการเรียกเก็บเงิน การเรียกเก็บเงินที่เสร็จสมบูรณ์ การต่ออายุ การยกเลิก และการชําระเงินที่ไม่สําเร็จ คุณสามารถตั้งค่าระบบอัตโนมัติที่กำหนดเองสําหรับการสื่อสารเหล่านี้ได้ที่แท็บ "ระบบอัตโนมัติ" ใน Stripe Billing

  • ข้อกําหนดการเรียกเก็บเงิน: ระบุข้อกําหนดการเรียกเก็บเงิน (ราคา รอบ วันต่ออายุ) อย่างชัดเจนก่อนที่ลูกค้าจะสมัครใช้บริการ
  • ใบเสร็จ: ส่งใบเสร็จทางอีเมลหลังการชําระเงินแต่ละครั้ง
  • การแจ้งเตือนการต่ออายุ: แจ้งลูกค้าก่อนถึงกําหนดต่ออายุการสมัครใช้บริการ
  • การยกเลิก: ระบุวิธีการที่ตรงไปตรงมาเพื่อให้ลูกค้ายกเลิกการสมัครใช้บริการของตนเอง
  • การชําระเงินที่ไม่สําเร็จ: แจ้งลูกค้าเกี่ยวกับการชําระเงินที่ไม่สําเร็จและช่วยให้ลูกค้าอัปเดตข้อมูลการชําระเงิน

การปฏิบัติตามข้อกําหนดด้านภาษี

Stripe Tax สามารถคํานวณและใช้ภาษีการขายโดยอัตโนมัติตามตําแหน่งที่ตั้งของลูกค้า และสร้างรายงานภาษีสําหรับบันทึกของคุณ

ข้อดีของการติดตั้งใช้งานการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซ

นอกเหนือจากฟังก์ชันหลักพื้นฐานในการสร้างใบแจ้งหนี้และประมวลผลการชำระเงิน ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติยังสร้างประโยชน์และโอกาสต่างๆ มากมายสำหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซอีกด้วย ต่อไปนี้คือวิธีที่การนำระบบเรียกเก็บเงินอัตโนมัติมาใช้ช่วยให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของคุณประสบความสำเร็จได้

  • โอกาสในการขายต่อยอดและการขายต่อเนื่องที่ตรงเป้าหมาย: ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสามารถติดตามประวัติการซื้อและความชอบของลูกค้าได้ ธุรกิจต่างๆ จึงสามารถมอบข้อเสนอการขายต่อยอดและการขายต่อเนื่องที่ตรงเป้าหมายสูงให้ลูกค้าได้ในตอนที่เรียกเก็บเงิน กลยุทธ์นี้มีประสิทธิภาพมากกว่าแคมเปญอีเมลทั่วไปและอาจเพิ่มมูลค่าคําสั่งซื้อเฉลี่ยได้อย่างมาก
  • ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานที่ลดลง: สําหรับธุรกิจที่มีธุรกรรมจํานวนมาก การเรียกเก็บเงินด้วยตนเองอาจใช้เวลานานและเกิดข้อผิดพลาดมากขึ้น การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสามารถปรับขนาดตามธุรกิจของคุณ และช่วยให้คุณสามารถจัดการธุรกรรมที่มีปริมาณมากได้โดยไม่ต้องเพิ่มจำนวนพนักงาน
  • ปฏิบัติตามกฎหมายภาษีได้ง่ายขึ้น: ธุรกิจสามารถกำหนดค่าระบบเรียกเก็บเงินอัตโนมัติเพื่อจัดการการคำนวณภาษีตามที่ตั้งของลูกค้าและประเภทผลิตภัณฑ์ เพื่อให้แน่ใจว่าการจัดเก็บและรายงานภาษีถูกต้องแม่นยำ ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดข้อผิดพลาดที่มีค่าใช้จ่ายสูงและลดบทลงโทษที่เกิดจากไม่ปฏิบัติตามข้อกําหนด
  • ป้องกันการฉ้อโกงและลดการดึงเงินคืนที่ดีขึ้น: แพลตฟอร์มการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจํานวนมากผสานการทํางานกับซอฟต์แวร์ตรวจจับการฉ้อโกงและสามารถรายงานธุรกรรมที่น่าสงสัยให้ตรวจสอบได้โดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยให้ขั้นตอนการโต้แย้งการดึงเงินคืนง่ายขึ้น ช่วยประหยัดทั้งเวลาและทรัพยากรให้คุณได้
  • การจัดการความสัมพันธ์ลูกค้าที่ดียิ่งขึ้น: เมื่อผสานการทํางานระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติเข้ากับ CRM คุณจะมองเห็นประวัติการซื้อ ข้อมูลการเรียกเก็บเงิน และการโต้ตอบของลูกค้าในแบบองค์รวม สิ่งนี้จะอํานวยความสะดวกในการบริการลูกค้าที่ปรับให้เหมาะกับคุณมากขึ้นและอาจทําให้มูลค่าตลอดอายุการใช้งานของลูกค้าเพิ่มขึ้น
  • การพยากรณ์และการวางแผนทางการเงินที่แม่นยำยิ่งขึ้น: การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติให้ข้อมูลที่แม่นยำแบบเรียลไทม์เกี่ยวกับรายได้ประจำ อัตราการหยุดใช้บริการ และมูลค่าตลอดอายุลูกค้า ซึ่งช่วยให้การคาดการณ์ทางการเงินมีความแม่นยํามากขึ้น และช่วยปรับปรุงการตัดสินใจที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูลเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางการตลาด การจัดการสินค้าคงคลัง และด้านธุรกิจที่สำคัญอื่นๆ
  • ความสามารถในการทดสอบกลยุทธ์การเพิ่มประสิทธิภาพค่าบริการ: การเรียกเก็บเงินอัตโนมัติทำให้การทดลองใช้โมเดลค่าบริการและระดับการสมัครสมาชิกที่แตกต่างกันง่ายยิ่งขึ้นมาก โมเดลอีคอมเมิร์ซแบบเดิมๆ มักต้องเสียค่าบริการแบบคงที่ แต่ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติจะช่วยให้คุณสํารวจโมเดลค่าบริการที่ยืดหยุ่นมากขึ้น เช่น การเรียกเก็บเงินตามการใช้งาน (จ่ายเงินเฉพาะที่ใช้) หรือโมเดลแบบผสมผสาน (รวมองค์ประกอบแบบคงที่และตามการใช้งาน) คุณสามารถทําการทดสอบ A/B เพื่อดูว่าตัวเลือกใดบ้างที่ตรงกับลูกค้าของคุณมากที่สุด และเพิ่มประสิทธิภาพกลยุทธ์ค่าบริการเพื่อสร้างรายรับสูงสุด
  • อัตราการเลิกใช้บริการโดยไม่ได้ตั้งใจที่ลดลง: ระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสามารถส่งอีเมลหรือการแจ้งเตือนที่ปรับให้เหมาะกับลูกค้าโดยเฉพาะ เพื่อแจ้งให้ลูกค้าทราบเกี่ยวกับการต่ออายุที่ใกล้ครบกําหนด การชําระเงินไม่สําเร็จ หรือปัญหาอื่นๆ เกี่ยวกับบัญชี การสื่อสารเชิงรุกนี้จะช่วยป้องกันไม่ให้เลิกใช้บริการโดยไม่ได้ตั้งใจเนื่องจากบัตรหมดอายุหรือปัญหาการเรียกเก็บเงิน
  • ปรับปรุงภาพลักษณ์ของแบรนด์: กระบวนการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติที่เป็นมิตรกับผู้ใช้สะท้อนถึงความเป็นมืออาชีพและความน่าเชื่อของคุณ ซึ่งแสดงว่าคุณให้ความสําคัญกับเวลาของลูกค้า ช่วยสร้างความภักดีกับแบรนด์และความไว้วางใจ

วิธีจัดการการสมัครใช้บริการและการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้าของลูกค้า

ดูข้อมูลสรุปเกี่ยวกับกลยุทธ์ เครื่องมือ และฟีเจอร์บางอย่างที่สามารถช่วยคุณจัดการการสมัครใช้บริการของลูกค้าและการชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้าได้อย่างละเอียดยิ่งขึ้น

เครื่องมือด้านเทคนิค

  • แดชบอร์ดแบบรวมศูนย์: ใช้แพลตฟอร์มการจัดการการสมัครใช้บริการ (เช่น Stripe) ที่มีแดชบอร์ดแบบรวมศูนย์เพื่อดูและจัดการการสมัครใช้บริการทั้งหมดได้ในที่เดียว
  • พอร์ทัลลูกค้า: ระบุพอร์ทัลบริการตัวเอง ซึ่งลูกค้าจะอัปเดตข้อมูลการชําระเงิน เปลี่ยนแปลงแพ็กเกจการสมัครใช้บริการ ดูประวัติการเรียกเก็บเงิน และยกเลิกการสมัครใช้บริการได้หากต้องการ
  • ระบบอัตโนมัติ: ทํางานหลักๆ โดยอัตโนมัติ เช่น การอัปเกรดแพ็กเกจหรือการดาวน์เกรด การแบ่งชําระตามสัดส่วน (ปรับค่าใช้จ่ายสำหรับการเปลี่ยนแปลงกลางรอบ) และการลองเรียกเก็บเงินซ้ำสำหรับการชำระเงินที่ไม่สําเร็จ
  • อีเมลเกี่ยวกับธุรกรรม: ส่งอีเมลอัตโนมัติสําหรับการชําระเงินที่เสร็จสมบูรณ์ การต่ออายุที่ใกล้ครบกําหนด การชําระเงินที่ไม่สําเร็จ และเหตุการณ์สําคัญอื่นๆ
  • ระบบอัปเดตข้อมูลบัญชี: ใช้ระบบอัปเดตข้อมูลบัตรอัตโนมัติเพื่ออัปเดตข้อมูลบัตรที่หมดอายุหรือข้อมูลบัตรที่เปลี่ยนใหม่โดยอัตโนมัติ ซึ่งช่วยลดอัตราการเลิกใช้บริการโดยไม่ตั้งใจได้

กลยุทธ์ติดต่อลูกค้า

  • การแจ้งเตือนการต่ออายุ: ติดต่อลูกค้าล่วงหน้า 2-3 วันก่อนถึงเวลาต่ออายุการสมัครใช้บริการ เปิดโอกาสให้ลูกค้าอัปเดตข้อมูลการชําระเงินหรือยกเลิกได้ตามต้องการ
  • แคมเปญดึงดูดให้กลับมา: หากลูกค้ายกเลิก ให้ส่งอีเมลเชิญชวนให้กลับมาใช้บริการอีกครั้ง พร้อมทั้งให้แรงจูงใจให้สมัครใช้บริการอีกครั้ง
  • ตรรกะการลองซ้ำ: นําขั้นตอนการติดตามหนี้มาใช้เพื่อเรียกเก็บเงินที่ชําระไม่สําเร็จซ้ำโดยอัตโนมัติหลายครั้งก่อนที่จะทําเครื่องหมายที่การสมัครใช้บริการว่ามีหนี้ค้างชําระ
  • การแจ้งเตือนทางอีเมล: ส่งอีเมลส่วนตัวให้ลูกค้าหลังจากชําระเงินไม่สําเร็จ โดยกระตุ้นให้ลูกค้าอัปเดตข้อมูลการชําระเงิน
  • ช่องทางการสนับสนุนเฉพาะทาง: ระบุช่องทางการสนับสนุนเฉพาะทาง (เช่น อีเมล แชทแบบสด) สําหรับการสอบถามเกี่ยวกับการเรียกเก็บเงินและการสมัครใช้บริการโดยเฉพาะ
  • การติดต่อในเชิงรุก: หากลูกค้าประสบปัญหาในการต่ออายุการสมัครใช้บริการ ให้ติดต่อเพื่อช่วยเหลือ
  • ข้อเสนอแนะของลูกค้า: รวบรวมข้อเสนอแนะจากลูกค้าเกี่ยวกับประสบการณ์การเรียกเก็บเงินและใช้ข้อมูลนี้เพื่อปรับปรุงกระบวนการของคุณ

กระบวนการภายใน

  • การระงับบัญชี: ระงับการเข้าถึงผลิตภัณฑ์หรือบริการชั่วคราวสําหรับบัญชีที่มีหนี้ค้างชําระ
  • เมตริกหลัก: ติดตามเมตริกการสมัครใช้บริการ เช่น รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าต่อเดือน (MRR) อัตราการเลิกใช้บริการ/ซื้อสินค้า มูลค่าตลอดอายุการใช้งานของลูกค้า (LTV) และรายรับเฉลี่ยต่อผู้ใช้ (ARPU)
  • การวิเคราะห์กลุ่มประชากรตามอาณาเขต: วิเคราะห์กลุ่มลูกค้า (กลุ่มลูกค้าที่สมัครใช้บริการพร้อมกัน) เพื่อระบุแนวโน้มการเลิกใช้บริการและการรักษาลูกค้า

ฟีเจอร์ของผลิตภัณฑ์

  • ฟังก์ชันหยุดชั่วคราว: อนุญาตให้ลูกค้าระงับการสมัครใช้บริการชั่วคราวแทนการยกเลิก ซึ่งอาจทําให้มีอัตราการเปิดใช้งานอีกครั้งสูงขึ้น
  • โปรแกรมความภักดี: ให้รางวัลแก่สมาชิกที่ภักดีด้วยส่วนลด เนื้อหาพิเศษ หรือการเข้าถึงฟีเจอร์ใหม่ๆ ก่อนใคร
  • โปรแกรมแนะนําบริการ: กระตุ้นให้ลูกค้าแนะนําเพื่อนและครอบครัวด้วยการนําเสนอรางวัลจูงใจ นี่อาจเป็นวิธีที่คุ้มต้นทุนในการรับผู้สมัครใช้บริการรายใหม่

ความท้าทายและโซลูชันที่มีการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซ

ต่อไปนี้เป็นความท้าทายทั่วไปบางประการที่ธุรกิจต่างๆ พบเจอเมื่อต้องเรียกเก็บเงินอัตโนมัติในอีคอมเมิร์ซ พร้อมแนวคิดในการรับมือกับความท้าทายเหล่านี้

การชําระเงินที่ไม่สําเร็จและการเลิกใช้บริการโดยไม่ได้ตั้งใจ

ส่วนสําคัญของการเลิกใช้บริการเกิดจากการชําระเงินที่ไม่สําเร็จ อันเนื่องมาจากรายละเอียดบัตรหมดอายุหรือไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจทําให้เกิดการสูญเสียรายรับและลูกค้าไม่พึงพอใจ

วิธีแก้ปัญหา

  • ระบบอัปเดตข้อมูลบัญชี: ติดตั้งระบบอัปเดตข้อมูลบัตรอัตโนมัติเพื่ออัปเดตข้อมูลบัตรที่ล้าสมัยโดยอัตโนมัติ เครื่องมือนี้ผสานการทำงานอยู่ในบริการจัดการสมัครใช้บริการของ Stripe
  • การจัดการการติดตามหนี้: ตั้งค่ากระบวนการติดตามหนี้ด้วยการลองเรียกเก็บเงินซ้ำหลายครั้งและอีเมลเตือนที่ปรับแต่งได้เพื่อแจ้งให้ลูกค้าอัปเดตรายละเอียดการชําระเงิน
  • ตรรกะการลองเรียกเก็บเงินซ้ำอัจฉริยะ: ใช้การกําหนดเวลาเรียกเก็บเงินซ้ำแบบอัจฉริยะที่ปรับเปลี่ยนตามพฤติกรรมลูกค้าและประวัติการชําระเงิน เพื่อให้มีอัตราการชําระเงินสําเร็จที่ดีขึ้น

ความเหนื่อยล้าจากค่าใช้จ่ายรายเดือนและการเลิกใช้บริการโดยสมัครใจ

ลูกค้าอาจรู้สึกยุ่งยากจากการสมัครสมาชิกมากเกินไปหรือสูญเสียความสนใจในผลิตภัณฑ์ จนนำไปสู่การยกเลิกโดยสมัครใจ

วิธีแก้ปัญหา

  • การสื่อสารที่ขับเคลื่อนด้วยคุณค่า: สื่อสารข้อเสนอคุณค่าของผลิตภัณฑ์หรือบริการของคุณอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้ลูกค้าสนใจ
  • การติดตามการใช้งาน: ตรวจสอบรูปแบบการใช้งานของลูกค้าและติดต่อกับผู้ที่ใช้ผลิตภัณฑ์แบบไม่เต็มที่เพื่อเสนอความช่วยเหลือหรือแผนทางเลือกอื่นๆ
  • แพ็กเกจที่ยืดหยุ่น: นำเสนอตัวเลือกการสมัครใช้บริการที่หลากหลาย รวมถึงฟังก์ชันหยุดชั่วคราว/ใช้งานต่อ เพื่อรองรับความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า

การผสานการทํางาน

การผสานการทํางานระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติเข้ากับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซที่มีอยู่หรือซอฟต์แวร์ธุรกิจอื่นๆ อาจเป็นความท้าทายทางเทคโนโลยี

วิธีแก้ปัญหา

  • ตัวเลือกผู้ให้บริการ: เลือกผู้ให้บริการเรียกเก็บเงินที่ผสานการทํางานกับแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซหรือระบบอื่นๆ เช่น CRM และซอฟต์แวร์การทําบัญชี
  • แหล่งข้อมูลสําหรับนักพัฒนา: จัดสรรทรัพยากรในการพัฒนาโดยเฉพาะ หรือพิจารณาว่าจ้างที่ปรึกษาเฉพาะทางเพื่อจัดการการผสานการทํางานที่ยากยิ่งขึ้น

การจัดการค่าบริการและแพ็กเกจ

การจัดการแพ็กเกจค่าบริการ ส่วนลด และโปรโมชันหลายรายการอาจทําได้ยากขึ้นเมื่อธุรกิจเติบโตขึ้น

วิธีแก้ปัญหา

  • ฟีเจอร์ค่าบริการ: เลือกแพลตฟอร์มการเรียกเก็บเงินที่มีฟีเจอร์การจัดการค่าบริการที่ช่วยให้คุณสร้าง อัปเดต และจัดการโครงสร้างค่าบริการที่ซับซ้อนได้อย่างง่ายดาย
  • การสื่อสารเกี่ยวกับค่าบริการ: แจ้งรายละเอียดค่าบริการอย่างชัดเจนเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความสับสนและเกิดการโต้แย้งการชําระเงิน

การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลและการปฏิบัติตามข้อกําหนด

การจัดการข้อมูลที่ละเอียดอ่อนของลูกค้ากําหนดให้มีมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เข้มงวดและปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับอย่าง PCI DSS

วิธีแก้ปัญหา

  • ผู้ให้บริการที่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของ PCI: เลือกผู้ให้บริการเรียกเก็บเงินที่ปฏิบัติตามข้อกําหนดของ PCI DSS และเป็นไปตามมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด
  • การเข้ารหัสข้อมูล: เข้ารหัสข้อมูลลูกค้าทั้งหมดที่อยู่ระหว่างส่งและขณะจัดเก็บ
  • การตรวจสอบความปลอดภัย: ทําการตรวจสอบความปลอดภัยเป็นประจําเพื่อระบุและแก้ไขช่องโหว่ในระบบการเรียกเก็บเงินของคุณ

การโต้แย้งการชําระเงินและการดึงเงินคืนของลูกค้า

ลูกค้าอาจโต้แย้งการเรียกเก็บเงินหรือเริ่มการดึงเงินคืน ซึ่งอาจใช้เวลานานและมีค่าใช้จ่ายสูงในการแก้ไขปัญหา

วิธีแก้ปัญหา

  • ชื่อผู้ค้าในการเรียกเก็บเงิน: ใช้ชื่อผู้ค้าในการเรียกเก็บเงินที่ชัดเจนและจําได้ง่ายในใบแจ้งยอดของลูกค้าเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสับสน
  • การสื่อสารกับลูกค้า: สื่อสารกับลูกค้าในเชิงรุกเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการสมัครใช้บริการหรือการเรียกเก็บเงินของตัวเอง
  • การจัดการการโต้แย้งการชําระเงิน: ดําเนินการตามขั้นตอนที่กําหนดไว้สําหรับการโต้แย้งการชําระเงินและการดึงเงินคืนอย่างรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ

แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดสําหรับการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติสําหรับธุรกิจอีคอมเมิร์ซ

ใช้แนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดต่อไปนี้เพื่อเพิ่มประโยชน์ของระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ

  • การติดตามหนี้เชิงพฤติกรรม: แทนที่จะส่งอีเมลติดตามหนี้ทั่วไป ให้ใช้ข้อมูลเชิงพฤติกรรมเพื่อปรับแต่งการสื่อสาร วิเคราะห์พฤติกรรมการชําระเงินที่ผ่านมา ประวัติการซื้อ และการมีส่วนร่วมเพื่อส่งข้อความเฉพาะบุคคล ที่สะท้อนถึงลูกค้าแต่ละรายและเพิ่มโอกาสในการกู้คืน
  • โมเดลการเลิกใช้บริการ/ซื้อสินค้าแบบคาดการณ์: ใช้อัลกอริทึมของแมชชีนเลิร์นนิงเพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมของลูกค้าและคาดการณ์ความเสี่ยงว่าลูกค้าจะเลิกใช้บริการ/ซื้อสินค้า ดังนั้นคุณจึงสามารถแทรกแซงการโปรโมตหรือรางวัลจูงใจเฉพาะบุคคลสําหรับลูกค้าที่มีความเสี่ยงก่อนที่จะยกเลิกได้
  • การเพิ่มประสิทธิภาพการสมัครใช้บริการ: ตรวจสอบและเพิ่มประสิทธิภาพข้อเสนอการสมัครใช้บริการอยู่เป็นประจํา โดยพิจารณาจากความคิดเห็นของลูกค้าและการวิเคราะห์ข้อมูล ทดลองใช้โมเดลค่าบริการ ตัวเลือกการรวมกลุ่ม และชุดฟีเจอร์ที่แตกต่างกันเพื่อเพิ่มมูลค่าตลอดอายุลูกค้าให้สูงสุดและลดอัตราการเลิกใช้บริการ
  • ค่าบริการแบบไดนามิก: ใช้กลยุทธ์การกำหนดราคาแบบไดนามิกที่จะปรับต้นทุนการสมัครใช้บริการตามความต้องการ รูปแบบการใช้งาน หรือปัจจัยอื่นๆ ซึ่งจะช่วยเพิ่มรายได้และมอบตัวเลือกค่าบริการที่ปรับให้เหมาะกับลูกค้า
  • ค่าบริการและการเรียกเก็บเงินตามการใช้งาน: สําหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการบางอย่าง ควรใช้การเรียกเก็บเงินตามการใช้งานหรือโมเดลค่าบริการตามการใช้งาน วิธีนี้ช่วยให้คุณสามารถเรียกเก็บเงินลูกค้าตามการใช้งาน ซึ่งอาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อผลิตภัณฑ์ที่มีระดับการใช้งานแตกต่างกันไป
  • การขยายบัญชีและการขายเกี่ยวเนื่อง: ใช้ข้อมูลการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติเพื่อระบุโอกาสสําหรับการขยายบัญชีหรือการขายที่เกี่ยวเนื่อง ตัวอย่างเช่น หากลูกค้าใช้งานเกินขีดจํากัดการใช้งานอย่างต่อเนื่อง ให้ใช้แพ็กเกจระดับที่สูงขึ้นที่มีทรัพยากรมากกว่า
  • ระบบอัตโนมัติสําหรับการรับรู้รายรับ: ผสานการทํางานระบบการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติกับซอฟต์แวร์การทําบัญชีของคุณเพื่อทําให้การรับรู้รายรับเป็นอัตโนมัติ วิธีนี้ทำให้มั่นใจว่าการรายงานทางการเงินและการปฏิบัติตามข้อกําหนดมีความถูกต้องแม่นยํา
  • การวิเคราะห์การสมัครใช้บริการ: ใช้การวิเคราะห์ขั้นสูงเพื่อรับข้อมูลเชิงลึกที่ละเอียดขึ้นเกี่ยวกับประสิทธิภาพการสมัครใช้บริการ ติดตามเมตริก เช่น MRR, อัตราการเลิกใช้บริการ, มูลค่าตลอดอายุการใช้งานของลูกค้า และอัตราการต่ออายุที่ระดับละเอียด วิธีนี้จะช่วยให้เราทราบแนวโน้ม ปรับกลยุทธ์ให้เหมาะสม และทําการตัดสินใจโดยใช้ข้อมูลได้
  • การผสานการทํางานกับแพลตฟอร์มเพื่อความสําเร็จของลูกค้า: ผสานการทํางานระบบการเรียกเก็บเงินของคุณเข้ากับแพลตฟอร์มความสำเร็จของลูกค้า เพื่อรับมุมมองแบบองค์รวมของสถานะของลูกค้าและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นก่อนที่จะลุกลามจนกลายเป็นการยกเลิก
  • การจัดการวงจรการสมัครใช้บริการ: พัฒนากลยุทธ์การจัดการวงจรการสมัครใช้บริการที่ครอบคลุมครอบคลุมทุกกระบวนการของลูกค้า ตั้งแต่การหาลูกค้าใหม่ไปจนถึงการต่ออายุ ซึ่งรวมถึงกลยุทธ์ด้านกระบวนการเริ่มต้นใช้งาน การมีส่วนร่วม การรักษาลูกค้า และการดึงดูดให้กลับมาใช้บริการอีกครั้ง ทั้งหมดนี้ปรับแต่งให้ตรงตามความต้องการเฉพาะของลูกค้าที่สมัครใช้บริการ

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Billing

Billing

เรียกเก็บและรักษารายรับได้มากขึ้น ใช้วิธีอัตโนมัติกับขั้นตอนการจัดการรายรับ ตลอดจนรับการชำระเงินได้ทั่วโลก

Stripe Docs เกี่ยวกับ Billing

สร้างและจัดการการชำระเงินตามรอบบิล ติดตามการใช้งาน และออกใบแจ้งหนี้