คำอธิบายส่วนต่างกำไรขั้นต้นของ SaaS: คืออะไรและเหตุใดจึงสำคัญ

Billing
Billing

Stripe Billing ช่วยให้คุณเรียกเก็บเงินและจัดการลูกค้าได้ในทุกแบบที่ต้องการ ตั้งแต่การเรียกเก็บเงินแบบตามรอบไปจนถึงการเรียกเก็บเงินตามการใช้งาน และสัญญาการเจรจาการขาย

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. ส่วนต่างกำไรขั้นต้นมีความสำคัญต่อธุรกิจ SaaS อย่างไร
  3. วิธีคำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้นสำหรับธุรกิจ SaaS
    1. กำหนดรายรับ
    2. ระบุ COGS
    3. คำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้น
  4. เกณฑ์เปรียบเทียบสำหรับส่วนต่างกำไรขั้นต้นของ SaaS
    1. เกณฑ์เปรียบเทียบทั่วไป
    2. ปัจจัยที่มีอิทธิพลตต่อเกณฑ์เปรียบเทียบ
  5. เหตุใดรายรับที่เกิดขึ้นตามแบบแผนล่วงหน้าและส่วนต่างกำไรบริการจึงมีความสำคัญ
    1. รายรับตามแบบแผนล่วงหน้า
    2. ส่วนต่างกำไรของบริการ
  6. วิธีปรับปรุงส่วนต่างกำไรขั้นต้นสำหรับ SaaS
    1. เพิ่มรายรับสูงสุด
    2. ลดต้นทุน

ส่วนต่างกำไรขั้นต้นของ SaaS คือรายรับที่ธุรกิจการให้บริการระบบซอฟต์แวร์ (SaaS) ได้รับหลังจากหักต้นทุนโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา การส่งมอบ และการบำรุงรักษาบริการซอฟต์แวร์ โดยทั่วไปค่านี้จะแสดงเป็นเปอร์เซ็นต์ของรายรับทั้งหมด และทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้หลักเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินและโอกาสในการเติบโตของธุรกิจ

ตลาด SaaS ทั่วโลกมีมูลค่าเกือบ $2.74 แสนล้านในปี 2023 และคาดว่าจะเกิน $3.17 แสนล้านในปี 2024 ส่วนต่างกำไรขั้นต้นช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้เข้าใจว่าตนสามารถครอบคลุมต้นทุนโดยตรงและยังคงทำกำไรได้หรือไม่ ด้านล่างนี้ เราจะพูดถึงวิธีคำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้น เกณฑ์เปรียบเทียบที่ควรทราบ และวิธีที่ธุรกิจ SaaS จะปรับปรุงส่วนต่างกำไรขั้นต้นของตนได้

เนื้อหาในบทความนี้

  • ส่วนต่างกำไรขั้นต้นมีความสำคัญต่อธุรกิจ SaaS อย่างไร
  • วิธีคำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้นสำหรับธุรกิจ SaaS
  • เกณฑ์เปรียบเทียบสำหรับส่วนต่างกำไรขั้นต้นของ SaaS
  • เหตุใดรายรับที่เกิดขึ้นตามแบบแผนล่วงหน้าและส่วนต่างกำไรบริการจึงมีความสำคัญ
  • วิธีปรับปรุงส่วนต่างกำไรขั้นต้นสำหรับ SaaS

ส่วนต่างกำไรขั้นต้นมีความสำคัญต่อธุรกิจ SaaS อย่างไร

ส่วนต่างกำไรขั้นต้นเป็นเมตริกที่สำคัญสำหรับธุรกิจ SaaS เพราะจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพในด้านต่อไปนี้

  • ความสามารถในการทำกำไร: ส่วนต่างกำไรขั้นต้นช่วยให้ทราบว่าธุรกิจจะมีเงินเหลือเท่าไรจากรายรับแต่ละดอลลาร์ฯ หลังจากจ่ายต้นทุนโดยตรงที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำบริการ ส่วนต่างกำไรขั้นต้นที่สูงบ่งชี้ว่าธุรกิจสามารถครอบคลุมต้นทุนโดยตรง และมีทรัพยากรเหลือสำหรับการวิจัยและพัฒนา การตลาด การธุรการ และค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานอื่นๆ ซึ่งมีความสำคัญเป็นพิเศษสำหรับภาคส่วน SaaS ที่การบำรุงรักษาและอัปเดตซอฟต์แวร์ต้องทำอย่างต่อเนื่องและใช้ทรัพยากรมาก

  • ความสามารถในการปรับขนาด: ส่วนต่างกำไรขั้นต้นที่สูงเป็นตัวบ่งชี้ว่าธุรกิจมีโอกาสขยายการปฏิบัติงานโดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนโดยตรงตามสัดส่วน ซึ่งมีความเกี่ยวข้องเป็นพิเศษสำหรับธุรกิจ SaaS ที่มักจะมีต้นทุนขั้นต้นในการพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นจำนวนสูง แต่มีต้นทุนเพิ่มค่อนข้างต่ำสำหรับลูกค้าที่เพิ่มมาแต่ละราย

  • ความดึงดูดนักลงทุน: นักลงทุนมักจะดูที่ส่วนต่างกำไรขั้นต้นเมื่อประเมินธุรกิจ SaaS โดยทั่วไปส่วนต่างกำไรขั้นต้นจะเป็นตัวบ่งชี้ว่าโมเดลธุรกิจมีความมั่นคงและมีโอกาสแข็งแกร่งที่จะทำกำไร นอกจากนี้ยังชี้ว่าธุรกิจมีอำนาจในการกำหนดราคาและควบคุมต้นทุน ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่น่าสนใจสำหรับผู้ให้กู้และนักลงทุนในกรรมสิทธิ์หุ้นส่วน

  • ตำแหน่งในตลาด: การติดตามส่วนต่างกำไรขั้นต้นทำให้ธุรกิจสามารถเปรียบเทียบตัวเองกับบริษัทที่ใกล้เคียงกันและคู่แข่งได้ ธุรกิจ SaaS สามารถใช้เกณฑ์เปรียบเทียบเหล่านี้เพื่อวัดประสิทธิผลและประสิทธิภาพการปฏิบัติงานในมาร์เก็ตเพลสได้

  • การจัดสรรทรัพยากร: ส่วนต่างกำไรขั้นต้นช่วยให้ฝ่ายบริหารทำการตัดสินใจได้อย่างมีข้อมูลว่าควรจัดสรรทรัพยากรไปที่ใด โดยส่วนต่างกำไรขั้นต้นที่ต่ำอาจเตือนว่าควรมีการทบทวนการกำหนดราคา ต้นทุนในการส่งมอบบริการ หรือกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย

  • การกำหนดราคา: การวิเคราะห์ส่วนต่างกำไรขั้นต้นอาจมีอิทธิพลกับกลยุทธ์การกำหนดราคา ธุรกิจที่มีส่วนต่างกำไรขั้นต้นสูงกว่าอาจมีข้อได้เปรียบในการแข่งขันด้านราคา หากจำเป็น หรือสามารถลงทุนในฟีเจอร์บริการที่ดีขึ้นเพื่อให้เหมาะสมกับราคาระดับพรีเมียม

วิธีคำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้นสำหรับธุรกิจ SaaS

ต่อไปนี้เป็นรายละเอียดวิธีที่มักใช้ในการคำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้นสำหรับธุรกิจ SaaS

กำหนดรายรับ

  • รายรับจากการชำระเงินตามรอบบิล: นี่คือแหล่งที่มาของรายรับหลักสำหรับธุรกิจ SaaS ส่วนใหญ่ และมาจากค่าธรรมเนียมรายปีหรือรายเดือนที่ชำระเงินตามแบบแผนล่วงหน้าซึ่งลูกค้าจ่ายเพื่อเข้าใช้ซอฟต์แวร์

  • รายรับอื่นๆ: ธุรกิจ SaaS บางแห่งอาจมีกระแสรายรับเพิ่มเติม เช่น บริการเฉพาะทาง การเป็นที่ปรึกษา หรือค่าธรรมเนียมแบบจ่ายครั้งเดียว รายรับเหล่านี้ควรมีการติดตามแยกต่างหากเพื่อให้คำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้นได้อย่างแม่นยำ หากธุรกิจ SaaS มีกระแสรายรับหลายทางหรือมีหลายกลุ่มผลิตภัณฑ์ ขอแนะนำให้คำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้นของแต่ละกลุ่มแยกกันเพื่อระบุจุดแข็งและจุดอ่อน

ระบุ COGS

โดยทั่วไป ต้นทุนสินค้าที่ขาย (COGS) ในธุรกิจ SaaS จะประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

  • การโฮสต์และโครงสร้างพื้นฐาน: ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับเซิร์ฟเวอร์ ศูนย์ข้อมูล บริการคลาวด์ และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับการส่งมอบซอฟต์แวร์

  • การสนับสนุนลูกค้า: เงินเดือนและค่าใช้จ่ายสำหรับทีมสนับสนุนลูกค้า รวมถึงใบอนุญาตซอฟต์แวร์สำหรับเครื่องมือสนับสนุน

  • การพัฒนาและการบำรุงรักษา: เงินเดือนสำหรับนักพัฒนาและวิศวกร ใบอนุญาตสำหรับเครื่องมือพัฒนา และต้นทุนการบำรุงรักษาต่อเนื่อง

  • ต้นทุนคลาวด์โดยตรง: ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับบริการคลาวด์ เช่น ที่จัดเก็บข้อมูล แบนด์วิดท์ และกำลังประมวลผล ซึ่งมีสัดส่วนโดยตรงกับการใช้งาน

  • ต้นทุนบริการเฉพาะทาง: ต้นทุนโดยตรงในการมอบบริการเฉพาะทาง (หากมี) รวมถึงเงินเดือน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และใบอนุญาตซอฟต์แวร์

คุณจะต้องแยกค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานออกจาก COGS เนื่องจากค่าใช้จ่ายเหล่านี้ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการผลิตและการส่งมอบซอฟต์แวร์โดยตรง ค่าใช้จ่ายในการปฏิบัติงานประกอบด้วยสิ่งต่อไปนี้

  • การขายและการตลาด: เงินเดือนของฝ่ายขายและฝ่ายการตลาด ค่าโฆษณา และต้นทุนการตลาดอื่นๆ

  • ธุรการและทั่วไป: เงินเดือนสำหรับฝ่ายบริหารและพนักงานฝ่ายธุรการ ค่าเช่าสำนักงาน และค่าใช้จ่ายในการดำเนินการทางธุรกิจอื่นๆ

  • การวิจัยและการพัฒนา: ต้นทุนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟีเจอร์หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ นอกจากว่าจะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ที่มีอยู่

ธุรกิจ SaaS รายงานส่วนต่างกำไรขั้นต้นตามหลักบัญชีที่ไม่ได้รับรองโดยทั่วไป (ไม่ใช่ GAAP) ซึ่งไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างเช่น การจ่ายค่าตอบแทนให้พนักงานเป็นหุ้น คุณต้องทำความเข้าใจว่ามีการใช้เมตริกใดเมื่อเปรียบเทียบส่วนต่างกำไรขั้นต้น

คำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้น

ใช้สูตรนี้คำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้น:

(รายรับทั้งหมด - COGS) / รายรับทั้งหมด x 100 = ส่วนต่างกำไรขั้นต้น

ตัวอย่างการคำนวณ

ธุรกิจ SaaS แห่งหนึ่งมีการเงินดังต่อไปนี้

  • รายรับจากการชำระเงินตามรอบบิล: $1,000,000

  • รายรับจากบริการเฉพาะทาง: $100,000

  • ต้นทุนการโฮสต์และโครงสร้างพื้นฐาน: $150,000

  • ต้นทุนการสนับสนุนลูกค้า: $100,000

  • ต้นทุนการพัฒนาและการบำรุงรักษา: $200,000

ธุรกิจนี้จะคำนวณส่วนต่างกำไรขั้นต้นดังนี้

  • รายรับทั้งหมด: $1,000,000 + $100,000 = $1,100,000

  • COGS: $150,000 + $100,000 + $200,000 = $450,000

  • ส่วนต่างกำไรขั้นต้น: ($1,100,000 - $450,000) / $1,100,000 x 100 = 59.1%

เกณฑ์เปรียบเทียบสำหรับส่วนต่างกำไรขั้นต้นของ SaaS

เกณฑ์เปรียบเทียบสำหรับส่วนต่างกำไรขั้นต้นของ SaaS เป็นสิ่งสำคัญที่จะใช้ในการทำความเข้าใจสถานภาพทางการเงินและศักยภาพของธุรกิจเป็นการภายในและสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียภายนอก เช่น นักลงทุน แต่สิ่งที่จะตัดสินว่ากำไรส่วนต่างขั้นต้น "ดี" นั้นอาจแตกต่างกันไป ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกณฑ์เปรียบเทียบสำหรับส่วนต่างกำไรขั้นต้น

เกณฑ์เปรียบเทียบทั่วไป

  • โดยทั่วไป ส่วนต่างกำไรขั้นต้นที่สูงกว่า 75% จะถือว่าดีสำหรับธุรกิจ SaaS ซึ่งบ่งชี้ว่าโมเดลธุรกิจมีสถานภาพที่ดีที่มีการกำหนดราคาและการปฏิบัติงานที่ได้รับการปรับให้เหมาะสม

  • ส่วนต่างกำไรขั้นต้นต่ำกว่า 70% อาจสร้างความกังวลให้กับนักลงทุนและนักวิเคราะห์ โดยบ่งชี้ว่าอาจมีปัญหาในด้านการกำหนดราคา การบริหารต้นทุน หรือตำแหน่งในการแข่งขัน

  • ธุรกิจ SaaS ที่มีผลประกอบการดีอันดับต้นๆ มักจะมีส่วนต่างกำไรขั้นต้นอยู่ที่ 80% ขึ้นไป ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิผลและความสามารถในการทำกำไรเป็นเลิศ

ปัจจัยที่มีอิทธิพลตต่อเกณฑ์เปรียบเทียบ

  • ระยะของธุรกิจ: ธุรกิจสตาร์ทอัพระยะแรกเริ่มอาจมีส่วนต่างกำไรขั้นต้นต่ำกว่า เนื่องจากมีต้นทุนขั้นแรกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และการหาลูกค้าที่สูงกว่า ส่วนต่างกำไรขั้นต้นที่ 50% ขึ้นไปถือว่ายอมรับได้สำหรับธุรกิจ SaaS ในระยะแรกเริ่ม ขณะที่ธุรกิจเติบโตไปเรื่อยๆ และมีเศรษฐกิจที่ใหญ่ขึ้น ส่วนต่างกำไรขั้นต้นก็มักจะเพิ่มขึ้นด้วย

  • อุตสาหกรรม: บางอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมที่ต้องใช้โครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่หรือใช้ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง อาจมีส่วนต่างกำไรขั้นต้นต่ำกว่าเป็นธรรมดาเนื่องจากมี COGS สูง

  • ตลาดเป้าหมาย: ธุรกิจที่มุ่งเป้าหมายไปที่ลูกค้าระดับองค์กรอาจมีส่วนต่างกำไรขั้นต้นสูงกว่าธุรกิจที่เน้นไปที่ธุรกิจขนาดเล็ก เนื่องจากโซลูชันสำหรับองค์กรมักจะมีค่าบริการระดับพรีเมียม

  • โมเดลธุรกิจ: โดยทั่วไป ธุรกิจที่ใช้โมเดล SaaS อย่างสมบูรณ์ซึ่งรายรับทั้งหมดมาจากการสมัครสมาชิกจะมีส่วนต่างกำไรขั้นต้นสูงกว่าธุรกิจที่ใช้โมเดลแบบผสมผสานซึ่งมีบริการเฉพาะทางหรือกระแสรายรับอื่นๆ

  • ความซับซ้อนของผลิตภัณฑ์: ผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนซึ่งต้องใช้การพัฒนาและสนับสนุนอย่างสูงต่อเนื่องอาจมีส่วนต่างกำไรขั้นต้นต่ำกว่าผลิตภัณฑ์ที่ซับซ้อนน้อยกว่าซึ่งมีต้นทุนการดูแลรักษาต่ำกว่า

เหตุใดรายรับที่เกิดขึ้นตามแบบแผนล่วงหน้าและส่วนต่างกำไรบริการจึงมีความสำคัญ

รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าสร้างรากฐานที่มั่นคงให้กับธุรกิจ SaaS ในขณะที่ส่วนต่างกำไรจากบริการที่เกิดจากบริการเฉพาะทาง เช่น ที่ปรึกษา การติดตั้งใช้งาน หรือการฝึกอบรม จะช่วยเพิ่มความสามารถในการทำกำไรและปรับปรุงความสัมพันธ์กับลูกค้า สิ่งเหล่านี้สร้างวงจรที่ดีซึ่งส่งเสริมการเติบโตที่ยั่งยืนและคาดการณ์ได้ ดึงดูดนักลงทุนและช่วยในการจัดหาเงินทุน อีกทั้งยังเพิ่มความพึงพอใจและการรักษาลูกค้าในวงการ SaaS ที่มีการแข่งขันสูงได้

ต่อไปนี้เป็นข้อมูลว่าเหตุใดตัวเลขเหล่านี้จึงเป็นสิ่งสำคัญ

รายรับตามแบบแผนล่วงหน้า

  • ความคาดการณ์ได้และเสถียรภาพ: รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าซึ่งโดยปกติจะมาจากการชำระเงินตามรอบบิล ช่วยสร้างกระแสรายรับที่คงที่และคาดการณ์ได้ซึ่งทำให้สามารถพยากรณ์ วางแผน และจัดงบประมาณทางการเงินได้ง่ายขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงจากความผันผวนต่ำกว่าธุรกิจที่พึ่งพาการขายครั้งเดียวด้วย

  • มูลค่าตลอดอายุการใช้งาน (LTV) ของลูกค้า: โมเดลรายรับตามแบบแผนล่วงหน้ากระตุ้นให้มุ่งเน้นไปที่ความพึงพอใจและการรักษาลูกค้า ลูกค้าที่พึงพอใจมีแนวโน้มสูงกว่าที่จะต่อการสมัครสมาชิก ซึ่งเป็นการเพิ่มมูลค่าตลอดอายุการใช้งานและสร้างรายรับมากกว่าในระยะยาว

  • การประเมินมูลค่าธุรกิจ: นักลงทุนให้คุณค่ากับธุรกิจที่มีกระแสรายรับตามแบบแผนล่วงหน้าเป็นอย่างสูง ความคาดการณ์ได้นี้ช่วยลดการรับรู้ความเสี่ยง นำไปสู่มูลค่าที่สูงขึ้นและการเข้าถึงเงินทุนที่ง่ายขึ้น

  • ความสามารถในการปรับขนาด: โมเดลรายรับตามแบบแผนล่วงหน้ามีลักษณะที่ปรับขยายได้ตามธรรมชาติ เมื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ขึ้นมาแล้ว ต้นทุนต่อหน่วยที่เพิ่มขึ้นจากการให้บริการลูกค้าเพิ่มขึ้นนั้นค่อนข้างต่ำ ทำให้สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วโดยไม่ต้องเพิ่มต้นทุนจำนวนมาก

ส่วนต่างกำไรของบริการ

  • ความสามารถในการทำกำไร: ส่วนต่างกำไรของบริการสามารถส่งผลต่อความสามารถในการทำกำไรโดยรวมของธุรกิจ SaaS ได้เป็นอย่างมาก ส่วนต่างกำไรที่สูงของบริการจะก่อให้เกิดผลกำไร

  • ความสำเร็จของลูกค้า: บริการเฉพาะทางจะช่วยปรับปรุงความพึงพอใจของลูกค้าและการนำไปใช้ ทำให้รักษาลูกค้าได้มากขึ้นและมี LTV สูงขึ้น

  • โอกาสในการขายต่อยอดและการขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกัน: การมีส่วนร่วมของบริการช่วยเปิดโอกาสในการค้นหาและตอบสนองความต้องการของลูกค้า และเป็นช่องทางไปสู่การขายฟีเจอร์เพิ่มเติมต่อยอดหรือขายสินค้าเสริมที่เกี่ยวข้องกัน

  • การสร้างความแตกต่าง: การให้บริการเฉพาะทางคุณภาพสูงอาจสร้างความแตกต่างให้กับธุรกิจ SaaS ของคุณได้ และดึงดูดลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับโซลูชันที่ครอบคลุม

วิธีปรับปรุงส่วนต่างกำไรขั้นต้นสำหรับ SaaS

ต่อไปนี้เป็นกลเม็ดในการปรับปรุงผลต่างกำไรขั้นต้นของธุรกิจ SaaS

เพิ่มรายรับสูงสุด

  • การคิดค่าบริการตามคุณค่า: เปลี่ยนจากการคิดค่าบริการบวกต้นทุนไปใช้การคิดค่าบริการตามคุณค่าด้วยการประเมินคุณค่าที่ลูกค้าได้จากผลิตภัณฑ์ของคุณแล้วคิดค่าบริการให้เหมาะสม โดยอาจมีการแบ่งชั้นสินค้า/บริการของคุณสำหรับลูกค้ากลุ่มต่างๆ ที่มีงบประมาณแตกต่างกันไป

  • การคิดค่าบริการตามการใช้งาน: พิจารณาใช้การคิดค่าบริการตามการใช้งานที่ลูกค้าจะจ่ายตามปริมาณที่ตนใช้งาน วิธีนี้จะช่วยให้ต้นทุนสอดคล้องกับรายรับและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานอย่างคุ้มค่า

  • การขยาย: มุ่งเน้นการขายต่อยอดหรือขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องต่อลูกค้าปัจจุบัน วิธีนี้มักจะประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าการหาลูกค้าใหม่ และสามารถเพิ่มรายรับได้เป็นเป็นอย่างสูงโดยที่ไม่ต้องเพิ่มต้นทุนตามสัดส่วน

  • ลดอัตราการเลิกใช้บริการ/ซื้อสินค้า: ให้ความสำคัญกับการรักษาลูกค้า การลดอัตราการเลิกใช้บริการ/ซื้อสินค้าจะช่วยเพิ่ม LTV ของลูกค้าปัจจุบันและอาจมีผลต่อรายรับและความสามารถในการทำกำไรเป็นอย่างสูง

  • การสนับสนุนระดับพรีเมียม: เสนอแพ็กเกจการสนับสนุนระดับพรีเมียมเป็นกระแสรายรับเสริม ลูกค้าที่ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการขายซอฟต์แวร์โดยใช้บุคลากรมักจะยินดีจ่ายเพิ่มเพื่อรับบริการนี้

ลดต้นทุน

  • โครงสร้างพื้นฐานในระบบคลาวด์:ปรับแต่งโครงสร้างพื้นฐานในระบบคลาวด์ของคุณด้วยการวิเคราะห์รูปแบบการใช้งาน ปรับขนาดอินสแตนซ์ให้เหมาะสม และใช้อินสแตนซ์แบบสปอตหรืออินสแตนซ์แบบจอง พิจารณาการใช้เครื่องมือการจัดการต้นทุนคลาวด์เพื่อดูข้อมูลเชิงลึกและเพิ่มประสิทธิภาพแบบอัตโนมัติ

  • ผู้ให้บริการ: หมั่นตรวจสอบสัญญากับผู้ให้บริการสำหรับการโฮสต์ ใบอนุญาตซอฟต์แวร์ และบริการอื่นๆ เจรจาเพื่อให้ได้ข้อตกลงที่ดีขึ้นหรือสำรวจผู้ให้บริการรายอื่นเพื่อลดต้นทุน

  • การบริการลูกค้า: นำทรัพยากรแบบบริการตัวเองมาใช้ เช่น ฐานความรู้, คำถามที่พบบ่อย (FAQ) และฟอรัมออนไลน์ เพื่อลดภาระให้กับทีมสนับสนุนลูกค้า ใช้แชตบ็อตหรือการสนับสนุนที่ขับเคลื่อนโดยปัญญาประดิษฐ์ (AI) เพื่อตอบข้อซักถามทั่วไปโดยอัตโนมัติ และพิจารณาการจ้างงานนอกประเทศหรือเอาท์ซอร์สเพื่อลดต้นทุนตามตำแหน่งที่ตั้ง

  • การพัฒนา: ปรับปรุงการพัฒนาเพื่อลดเวลาที่ใช้ในการออกสู่ตลาด (TTM) และลดต้นทุนการบำรุงรักษาให้ต่ำที่สุด ใช้ระเบียบวิธีที่คล่องตัว ทำให้การทดสอบเป็นอัตโนมัติ และลงทุนกับเครื่องมือสำหรับนักพัฒนาที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน พิจารณาการจ้างงานนอกประเทศหรือเอาท์ซอร์ส

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Billing

Billing

เรียกเก็บและรักษารายรับได้มากขึ้น ใช้วิธีอัตโนมัติกับขั้นตอนการจัดการรายรับ ตลอดจนรับการชำระเงินได้ทั่วโลก

Stripe Docs เกี่ยวกับ Billing

สร้างและจัดการการชำระเงินตามรอบบิล ติดตามการใช้งาน และออกใบแจ้งหนี้