การทําความเข้าใจรายรับของธุรกิจต้องอาศัยการตรวจสอบปัจจัยอื่นๆ ที่มากกว่าแค่ผลกําไรในแต่ละเดือน ธุรกิจส่วนใหญ่ควรติดตามและประเมินเมตริกด้านรายรับต่างๆ เพื่อทําความเข้าใจผลการดําเนินงานของบริษัทและคาดการณ์การเติบโตในอนาคต เมตริกเฉพาะที่ธุรกิจเลือกวัดจะส่งผลต่อความสามารถในการประเมินสถานะของธุรกิจและการดําเนินการกับข้อมูลเชิงลึกเป็นอย่างยิ่ง
การรักษาลูกค้าเป็นปัญหาสําคัญลำดับต้นๆ สําหรับธุรกิจ SaaS อยู่เสมอ เนื่องจากเหตุผลที่สำคัญ การปรับปรุงการรักษาลูกค้า 5% สามารถเพิ่มผลกําไรของบริษัทได้ 25%–95% และต้นทุนในการให้บริการลูกค้าใหม่มักจะสูงกว่าการรักษาลูกค้าเดิม 5-25 เท่า ในปี 2021 มีการคาดการณ์ว่าตลาด SaaS จะมีมูลค่าประมาณ $1.46 แสนล้าน และคาดว่าจะพุ่งไปถึง $1.95 แสนล้านภายในปี 2023 ธุรกิจ SaaS ซึ่งสามารถระบุโอกาสในการปรับกลยุทธ์การรักษาลูกค้าได้จะมีศักยภาพสูงในการเติบโต และนี่ก็คือส่วนที่อัตราการรักษารายรับสุทธิ (NRR) มีความจำเป็น
ต่อไปนี้คือสิ่งที่ธุรกิจต้องรู้เกี่ยวกับความหมายของ NRR วิธีการคํานวณ และเหตุผลที่อัตรานี้มีความสําคัญต่อการรักษาลูกค้า SaaS รวมถึงกลยุทธ์การเติบโต
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- การรักษารายรับสุทธิคืออะไร
- วิธีคํานวณอัตราการรักษารายรับสุทธิ
- อัตราการรักษารายรับสุทธิเทียบกับอัตราการรักษารายรับขั้นต้น
- เกณฑ์มาตรฐานของอัตราการรักษารายรับสุทธิ
- อัตราการรักษารายรับสุทธิที่ดีคืออะไร
- ทําไมอัตราการรักษารายรับสุทธิจึงสําคัญต่อธุรกิจ SaaS
- การรักษารายรับด้วย Stripe Billing
อัตราการรักษารายรับสุทธิคืออะไร
อัตราการรักษารายรับสุทธิ (NRR) เป็นเมตริกที่วัดความสามารถของบริษัทในการรักษารายรับจากลูกค้าปัจจุบันในช่วงเวลาที่เจาะจง NRR เป็นเมตริกที่ครอบคลุมกว่าอัตราการรักษารายรับขั้นต้น (GRR) หรืออัตราการรักษาลูกค้า เนื่องจากได้รับอิทธิพลจากการเปลี่ยนแปลงรายรับที่มาจากการขายต่อยอด การขยายธุรกิจ และรายรับที่สูญเสียไปจากการเลิกใช้บริการของลูกค้า
วิธีคํานวณอัตราการรักษารายรับสุทธิ
NRR คํานวณโดยใช้รายรับที่เพิ่มขึ้นสุทธิจากลูกค้าปัจจุบันของบริษัทเมื่อสิ้นสุดช่วงเวลาที่กําหนดไว้ แล้วนำมาหารด้วยรายรับในช่วงเริ่มต้นจากลูกค้ารายเดียวกัน NRR จะพิจารณาการเปลี่ยนแปลงของรายรับตามแบบแผนล่วงหน้าจากหลายๆ แหล่ง ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าใหม่ ราคาที่เพิ่มขึ้น การขายต่อยอด และการขยายธุรกิจ รวมถึงการสูญเสียรายรับจากลูกค้าที่เลิกใช้บริการหรือดาวน์เกรดในรอบระยะเวลานี้
ในการคํานวณ NRR คุณจะต้องระบุรายรับที่สร้างขึ้นจากลูกค้าปัจจุบันในช่วงเวลาหนึ่งๆ โดยไม่รวมรายรับจากลูกค้าใหม่ที่ได้มาในรอบนั้น รายรับนี้เรียกว่า "รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าสุทธิ" นอกจากนี้ คุณยังจะต้องระบุรายรับที่สร้างขึ้นโดยลูกค้ารายเดียวกันในช่วงเริ่มต้นรอบบิล ซึ่งเรียกว่า "รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าในช่วงเริ่มต้น"
สูตรการคํานวณ NRR มีดังนี้
NRR = [(รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าในช่วงเริ่มต้น - รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าต่อเดือน (MRR) ที่สูญเสียไปจากลูกค้าที่เลิกใช้บริการ - MRR ที่สูญเสียไปจากการดาวน์เกรด + รายรับจากการอัปเกรด) / (รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าในช่วงเริ่มต้น)] x 100
ตัวอย่างเช่น สมมติว่าบริษัทมีรายรับตามแบบแผนล่วงหน้าจากลูกค้าปัจจุบัน $100,000 เมื่อต้นเดือนมกราคม ในระหว่างเดือนดังกล่าว บริษัทสูญเสีย MRR เป็นจำนวน $5,000 เนื่องจากลูกค้าเลิกใช้บริการ สูญเสียเงิน $2,000 เนื่องจากการดาวน์เกรด และได้รับเงิน $8,000 เนื่องจากอัปเกรด (การขายต่อยอด การขายเกี่ยวเนื่อง และการขยายธุรกิจ) ดังนั้น เราจะคำนวณ NRR สําหรับเดือนมกราคมได้ดังนี้
NRR = [($100,000 - $5,000 - $2,000 + $8,000) / ($100,000)] x 100
NRR = $101,000 / $100,000 x 100
NRR = 101%
คุณสามารถคํานวณ NRR ได้เป็นรายเดือน รายไตรมาส หรือรายปี ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับโมเดลธุรกิจของบริษัทและสิ่งที่ต้องการในข้อมูลเชิงลึก ตัวอย่างเช่น ธุรกิจสามารถคํานวณ NRR สําหรับตลาด ลูกค้า แคมเปญ หรือฤดูกาลที่เจาะจงได้
อัตราการรักษารายรับสุทธิกับอัตราการรักษารายรับขั้นต้น
อัตราการรักษารายรับสุทธิและอัตราการรักษารายรับขั้นต้น (GRR) เป็นทั้งเมตริกที่วัดการเติบโตของรายรับของบริษัทในช่วงเวลาหนึ่ง และให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกลยุทธ์การรักษาลูกค้า
อย่างไรก็ตาม อัตราทั้งสองอย่างนี้มีวิธีคํานวณแตกต่างกันและให้ข้อมูลที่ไม่เหมือนกันเกี่ยวกับประสิทธิภาพของธุรกิจ การคํานวณ NRR จะครอบคลุมมากกว่าและประกอบด้วยรายรับใหม่จากการอัปเกรด เช่น การขายต่อยอด การขายเกี่ยวเนื่อง และการขยายธุรกิจ แต่ GRR จะไม่นำรายรับเหล่านี้มาคำนวณ GRR จะพิจารณาเฉพาะรายรับที่รักษาไว้หรือสูญเสียไปจากลูกค้าปัจจุบันเท่านั้น
GRR คํานวณโดยการนำรายรับทั้งหมดที่สร้างขึ้นเมื่อสิ้นสุดรอบระยะเวลาหนึ่งๆ มาหารด้วยรายรับจากลูกค้ารายเดียวกันเมื่อเริ่มรอบระยะเวลา
สูตรสําหรับ GRR มีดังนี้
GRR = [(รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าในช่วงเริ่มต้น - MRR ที่สูญเสียไปจากลูกค้าที่เลิกใช้บริการ - MRR ที่สูญเสียไปจากการดาวน์เกรด) / (รายรับตามแบบแผนล่วงหน้าในช่วงเริ่มต้น)] x 100
GRR ต่างจาก NRR เนื่องจากไม่สามารถมีค่าสูงกว่า 100% ได้ แม้ว่าจะไม่มีการเลิกใช้บริการใดๆ และไม่มีการดาวน์เกรดก็ตาม เพราะจะไม่รวมการใช้จ่ายของลูกค้าในการอัปเกรด
เมตริกทั้งสองรูปแบบมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่ก็เป็นข้อมูลที่นำไปใช้ดำเนินการได้ทั้งคู่ แม้ NRR จะให้ภาพรวมเกี่ยวกับการเติบโตของรายรับที่ครบถ้วนกว่า เนื่องจากรวมการขายต่อยอดและการขายเกี่ยวเนื่อง แต่บางครั้งก็อาจปกปิดปัญหาด้านการรักษาลูกค้า หากบริษัทมีสามารถเพิ่มรายรับในหมู่ลูกค้าปัจจุบันได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่ง ในสถานการณ์นี้ คุณอาจมี NRR สูงแต่ก็สูญเสียลูกค้าไปเป็นจำนวนมากด้วย
ในทางตรงกันข้าม GRR จะเน้นให้เห็นถึงปัญหาด้านการรักษาลูกค้าด้วยการชี้ให้เห็นถึงการสูญเสีย MRR อย่างชัดเจน นอกจากนี้ GRR ยังมีประโยชน์สําหรับบริษัทที่มีโมเดลรายรับตามแบบแผนล่วงหน้าและไม่ตามแบบแผนล่วงหน้า เนื่องจากจะอธิบายอย่างครอบคลุมว่าบริษัทสามารถรักษาลูกค้าและเพิ่มรายรับโดยรวมตลอดช่วงระยะเวลาได้ดีเพียงใด
เกณฑ์มาตรฐานของอัตราการรักษารายรับสุทธิ
เกณฑ์มาตรฐานของ NRR ประกอบด้วยชุดมาตรฐานอุตสาหกรรมที่บริษัทต่างๆ สามารถนํามาใช้เปรียบเทียบประสิทธิภาพกับธุรกิจอื่นๆ ที่คล้ายคลึงกัน เกณฑ์มาตรฐานเหล่านี้มีจะแตกต่างกันไปในอุตสาหกรรมต่างๆ โดยปกติเกณฑ์มาตรฐานของ NRR จะอิงตามข้อมูลจากบริษัทภายในอุตสาหกรรมเดียวกันหรือมีโมเดลธุรกิจที่คล้ายกัน แล้วนํามาใช้เพื่อระบุเกณฑ์มาตรฐานสำหรับค่าที่ถือว่าเป็น NRR ที่ "ดี" หรือ "ค่าเฉลี่ย"
เพื่อให้บริษัท SaaS ของคุณมีความเข้าใจเรื่องการรักษาลูกค้าและแนวโน้มการเติบโตได้ดียิ่งขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป โปรดเปรียบเทียบ NRR ปัจจุบันของคุณกับ NRR ในอดีตของบริษัท รวมถึงเกณฑ์มาตรฐานของอุตสาหกรรม
อัตราการรักษารายรับสุทธิที่ดีคืออะไร
เกณฑ์มาตรฐานของ NRR จะแตกต่างกันไปโดยขึ้นอยู่กับอุตสาหกรรมและสถานะของธุรกิจ แต่โดยทั่วไปแล้ว NRR ที่สูงกว่า 100% จะบ่งชี้ถึงระดับการรักษาลูกค้าและการเติบโตของรายรับที่ดี
ต่อไปนี้คือภาพรวมคร่าวๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ NRR ในระดับต่างๆ บ่งชี้เกี่ยวกับธุรกิจ SaaS
สูงกว่า 100%
อัตรา NRR สูงกว่า 100% บ่งชี้ว่าธุรกิจอาจรักษาลูกค้าปัจจุบันทั้งหมดหรือส่วนมากไว้ได้ และสามารถเพิ่มรายรับจากการขายต่อยอดและการขยายธุรกิจ80%–100%
โดยทั่วไปแล้ว อัตรา NRR ที่ 80%–100% จะหมายความว่าธุรกิจยังคงรักษาลูกค้าไว้ได้ส่วนใหญ่ แต่อาจไม่สามารถเพิ่มรายรับให้ได้มากที่สุดเท่าที่ควร เมื่อมี NRR ในช่วงนี้ ธุรกิจอาจต้องตรวจสอบอัตราการเลิกใช้บริการและมูลค่าตลอดอายุการใช้งานของลูกค้า (LTV) เพื่อทําความเข้าใจว่า NRR ที่ต่ำกว่ามาตรฐานนี้เป็นผลมาจากการเลิกใช้บริการของลูกค้าหรือความล้มเหลวในการขายต่อยอดและการขายเกี่ยวเนื่องต่อลูกค้าปัจจุบันหรือไม่ต่ํากว่า 80%
อัตรา NRR ที่น้อยกว่า 80% โดยทั่วไปแล้วจะถือว่ามีระดับต่ํา และบ่งชี้ว่าบริษัทมีแนวโน้มที่จะรักษาลูกค้าไว้ได้ยากและอาจต้องมุ่งเน้นไปที่การปรับปรุงความพยายามในการรักษาลูกค้ามากขึ้น
ธุรกิจบางแห่งอาจมี NRR ต่ํากว่า 100% และยังคงถือว่ามีสถานะดี หากธุรกิจอยู่ในระยะที่มีการเติบโตสูงมาก โดยมีลูกค้ารายใหม่ในอัตราที่สูงกว่าการสูญเสียลูกค้าที่มีอยู่ วิธีนี้อาจส่งผลให้มีรายรับเพิ่มขึ้นโดยรวม
และอาจเป็นไปได้ว่าบริษัทจะมี NRR ที่ 100% ขึ้นไป แม้จะไม่สามารถรักษาลูกค้าเดิมทั้งหมดไว้ได้ก็ตาม
ต่อไปนี้เป็นสถานการณ์บางรูปแบบที่อาจเป็นไปได้
การเพิ่มราคา
หากบริษัทเพิ่มราคาของผลิตภัณฑ์หรือบริการ ก็อาจมีรายรับจากลูกค้าปัจจุบันเพิ่มขึ้น แต่อาจสูญเสียลูกค้าปัจจุบันบางส่วนไปบ้าง ตัวอย่างเช่น หากบริษัทมีลูกค้า 10 คน โดยแต่ละคนชําระเงินเดือนละ $100 และเพิ่มราคาเป็น $120 ต่อเดือน บริษัทอาจสูญเสียลูกค้า 1 ราย แต่ยังพบว่าอัตราการรักษารายรับสุทธิเพิ่มขึ้นโดยรวมจากลูกค้าที่เหลืออีก 9 รายการขายต่อยอด
หากบริษัททําการขายต่อยอดสินค้าหรือบริการที่มีราคาสูงขึ้นแก่ลูกค้าปัจจุบัน บริษัทอาจมีรายรับเพิ่มขึ้นแม้ว่าจะสูญเสียลูกค้าบางรายก็ตาม ตัวอย่างเช่น หากบริษัทมีลูกค้า 10 คน โดยแต่ละคนชําระเงิน $100 ต่อเดือนสําหรับบริการพื้นฐาน ต่อมา บริษัทขายต่อยอดบริการพรีเมียมให้แก่ลูกค้ารายดังกล่าว 5 ราย ซึ่งค่าใช้จ่าย $200 ต่อเดือน บริษัทอาจสูญเสียลูกค้า 4 รายที่ไม่ได้อัปเกรด แต่ยังคงมีอัตราการรักษารายรับสุทธิเพิ่มขึ้นจากลูกค้า 6 รายที่เหลือการได้ลูกค้าใหม่ที่มีศักยภาพในการสร้างรายรับสูงขึ้น
หากบริษัทซื้อกิจการใหม่ที่มีศักยภาพสร้างรายได้สูงกว่าลูกค้าที่เสียไป บริษัทอาจมีอัตราการรักษารายรับสุทธิเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะสูญเสียลูกค้าในปัจจุบันไปบางรายก็ตาม ตัวอย่างเช่น หากบริษัทสูญเสียลูกค้า 5 รายที่ชําระเงินเดือนละ $100 แต่ได้ลูกค้าใหม่ 2 รายที่ชําระเงิน $500 ต่อเดือนต่อคน บริษัทอาจมีอัตราการรักษารายรับสุทธิเพิ่มขึ้น แม้ว่าจะสูญเสียลูกค้าไปบ้างก็ตาม
สถานการณ์เหล่านี้จึงเป็นเหตุผลที่การพิจารณา NRR ควบคู่กับเมตริกอื่นๆ เพื่อให้ได้ภาพที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ แม้ NRR ที่สูงจะเป็นตัวบ่งชี้ในแง่บวกเสมอ แต่คุณก็อาจยังคงประสบปัญหาเกี่ยวกับการรักษาลูกค้าอยู่ แม้ว่า NRR จะอยู่ในระดับที่ดีเมื่อสิ้นสุดรอบเวลาการรายงาน แต่การทราบว่าสิ่งใดที่ทํางานได้ดีและอะไรที่สามารถปรับปรุงได้ก็ยังเป็นสิ่งสำคัญ
ทําไมอัตราการรักษารายรับสุทธิจึงสําคัญต่อธุรกิจ SaaS
เมตริกรายรับจะบอกว่าธุรกิจได้เงินจากไหน และสูญเสียเงินในส่วนใด สําหรับธุรกิจ SaaS เมตริกรายรับสามารถระบุได้ว่าผลิตภัณฑ์และบริการใดประสบความสําเร็จหรือไม่สําเร็จในกลุ่มตลาดหลัก เปิดเผยความไม่มีประสิทธิภาพในกระบวนการทํางานด้านการตลาด การขาย และการหาลูกค้าใหม่ รวมทั้งส่งผลต่อแผนคาดการณ์และการใช้จ่ายงบประมาณ
ต่อไปนี้คือสาเหตุบางประการที่ NRR เป็นเมตริกรายรับที่สําคัญสําหรับธุรกิจ SaaS
วัดประสิทธิภาพของความพยายามรักษาลูกค้า
NRR ที่ต่ําบ่งชี้ว่าบริษัทอาจประสบปัญหาในการรักษาลูกค้า และอาจต้องปรับปรุงการมีส่วนร่วมและความพึงพอใจของลูกค้าให้ดีขึ้นบ่งบอกถึงศักยภาพการเติบโตในอนาคต
NRR มักใช้ถูกนำไปใช้ร่วมกับเมตริกอื่นๆ เช่น อัตราการเลิกใช้บริการ/ซื้อสินค้าและ LTV เพื่อให้เข้าใจถึงผลการดําเนินงาน สถานะ และการเติบโตของธุรกิจได้อย่างสมบูรณ์ยิ่งขึ้นตรวจพบปัญหาแต่เนิ่นๆ
NRR นําเสนอมุมมองประสิทธิภาพรายรับของธุรกิจในช่วงระยะเวลาหนึ่งๆ ซึ่งจะช่วยให้ธุรกิจระบุปัญหาได้ตั้งแต่เนิ่นๆ ธุรกิจแบบสมัครใช้บริการที่ระบุปัญหาการรักษาลูกค้าได้ตั้งแต่เนิ่นๆ จะสามารถป้องกันการสูญเสียรายรับเป็นจำนวนมากในอนาคตได้ประเมินผลการดําเนินงานของธุรกิจโดยรวม
NRR ที่สูงบ่งชี้ว่าบริษัทไม่เพียงสามารถรักษาลูกค้าและเพิ่มรายรับด้วยการขายต่อยอดและการขยายธุรกิจ แต่ยังมอบประสบการณ์และผลิตภัณฑ์ที่ลูกค้าชื่นชอบอีกด้วย
การรักษารายรับด้วย Stripe Billing
หลังจากทําความเข้าใจ NRR แล้ว ธุรกิจต่างๆ จะต้องแปลข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินการ วิธีที่ดีที่สุดคือการใช้โซลูชันแบบครบวงจรสําหรับการจัดการรายได้ของลูกค้า เช่น Stripe Billing
Stripe Billing จะมอบแผนภูมิที่แสดงอัตราการรักษารายรับสุทธิ ซึ่งแบ่งตามกลุ่มประชากรของลูกค้า นอกจากนี้ Stripe Billing ยังติดตามเมตริกสําคัญอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการชําระเงินของลูกค้า การขายต่อยอด การเลิกใช้บริการ และรายรับในวงกว้างยิ่งขึ้นด้วย วิธีนี้จะช่วยให้แพลตฟอร์ม SaaS ที่มีการเติบโตสูงมีรายได้มากขึ้น เปิดตัวผลิตภัณฑ์หรือโมเดลธุรกิจใหม่ๆ รวมถึงรับการชําระเงินตามแบบแผ่นล่วงหน้าได้ทั่วโลก
นอกจากนี้ Stripe Billing ยังมีฟีเจอร์ที่ช่วยให้ธุรกิจต่างๆ ปรับปรุงการรักษารายรับของตนได้ด้วย
แพ็กเกจการเรียกเก็บเงินที่ยืดหยุ่น
Stripe Billing ช่วยให้ธุรกิจสร้างแพ็กเกจการเรียกเก็บเงินที่ยืดหยุ่น ซึ่งประกอบด้วยความสามารถในการเสนอการทดลองใช้ฟรี ส่วนลด และการเรียกเก็บเงินแบบแบ่งชําระตามสัดส่วน การทําเช่นนี้จะช่วยให้ธุรกิจสามารถสร้างแพ็กเกจที่ปรับแต่งตามความต้องการของลูกค้าได้การชําระเงินอัตโนมัติ
Stripe Billing รองรับการชําระเงินอัตโนมัติ ซึ่งหมายความว่าธุรกิจจะสามารถเรียกเก็บเงินจากลูกค้าตามแบบแผนล่วงหน้าได้โดยไม่ต้องประมวลผลการชําระเงินด้วยตัวเองทุกครั้ง วิธีนี้จะช่วยให้มั่นใจว่ามีการเรียกเก็บเงินจากลูกค้าตามกําหนดเวลา และช่วยลดปัญหาในการเรียกเก็บเงินที่ส่งผลให้ลูกค้าเลิกใช้บริการตรรกะการลองซ้ํา
การชําระเงินไม่สําเร็จเป็นหนึ่งในเหตุผลหลักที่ลูกค้าเลิกใช้บริการธุรกิจ SaaS Stripe Billing มีตรรกะการลองซ้ําในตัว ซึ่งจะลองเรียกเก็บเงินซ้ําโดยอัตโนมัติสําหรับการชําระเงินที่ดําเนินการไม่สําเร็จ และแจ้งให้ธุรกิจทราบเกี่ยวกับปัญหาการเรียกเก็บเงิน วิธีนี้จะช่วยให้ธุรกิจแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บเงินได้อย่างรวดเร็วและลดการสูญเสียรายรับเนื่องจากการชําระเงินไม่สําเร็จการจัดการลูกค้า
Stripe Billing ช่วยให้ธุรกิจดูและจัดการข้อมูลลูกค้าทั้งหมดได้ในแดชบอร์ดเพียงแห่งเดียว โดยประกอบด้วยข้อมูลต่างๆ เช่น ที่อยู่ในการเรียกเก็บเงิน แพ็กเกจการสมัครใช้บริการ และประวัติการชําระเงิน แดชบอร์ดนี้จะช่วยให้ธุรกิจระบุและแก้ไขปัญหาการเรียกเก็บเงินได้อย่างรวดเร็ว
Stripe Billing มอบเครื่องมือที่ช่วยให้ธุรกิจจัดการรายรับจากการเรียกเก็บเงินตามแบบแผนล่วงหน้าและการสมัครใช้บริการได้อย่างง่ายดาย รวมทั้งทําให้กระบวนการเรียกเก็บเงินเป็นอัตโนมัติ ซึ่งจะเพิ่มการรักษารายรับได้โดยการลดปัญหาในการเรียกเก็บเงินซึ่งอาจนําไปสู่การเลิกใช้บริการของลูกค้า หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดเริ่มต้นที่นี่
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ