การผสานบริการทางการเงินเข้ากับบริการดิจิทัลจะช่วยเปิดโอกาสมากมายให้ธุรกิจของคุณได้ ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มฟังก์ชันการชําระเงินลงในแอปพลิเคชันค้าปลีกหรือมอบการวิเคราะห์ทางการเงินโดยละเอียดภายในอินเทอร์เฟซสําหรับธุรกิจกับธุรกิจ (B2B) โซลูชันนี้ก็ให้ประโยชน์ต่างๆ ที่มากกว่าความสะดวกสบาย ซึ่งรวมถึงการมีส่วนร่วมที่มากขึ้น ช่องทางรายรับเพิ่มเติม และสภาพแวดล้อมที่รองรับกรณีการใช้งานสําหรับองค์กรและลูกค้า ข้อมูลของ Statista ระบุว่า บริการด้านการเงินแบบผสานรวมในตัวมีเงินลงทุนกว่า 4.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2021 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงประโยชน์ที่น่าดึงดูดของโซลูชันนี้
การผสานรวมระบบการเงินไว้ในแอปพลิเคชันซอฟต์แวร์ในวิธีที่ก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดพร้อมทั้งลดความเสี่ยงและหนี้สินให้น้อยที่สุดนั้นต้องใช้การผสมผสานกลยุทธ์และความแม่นยํา คุณจะต้องพิจารณาปัจจัยต่างๆ อย่างการปฏิบัติตามข้อกําหนด การรักษาความปลอดภัยของข้อมูล และวิธีออกแบบประสบการณ์ของลูกค้าที่สร้างความสะดวกและทำให้รู้สึกติดใจ แม้ฟีเจอร์ทางการเงินใหม่ๆ จะมีความซับซ้อนมากขึ้นก็ตาม ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณควรทราบเกี่ยวกับวิธีผสานบริการทางการเงินไว้ในธุรกิจของคุณ
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- การเงินแบบผสานรวมในตัวคืออะไร
- ประเภทการเงินแบบผสานรวมในตัว
- การเงินแบบผสานรวมในตัวมีการทํางานอย่างไร
- ประโยชน์ของการเงินแบบผสานรวมในตัว
- วิธีผสานรวมบริการด้านการเงิน
การเงินแบบผสานรวมในตัวคืออะไร
การเงินแบบผสานรวมในตัวคือการเชื่อมต่อเทคโนโลยีบริการทางการเงินเข้ากับแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันที่อยู่นอกภาคธุรกิจการเงิน นอกจากนี้ยังช่วยให้ธุรกิจที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจการเงินสามารถให้บริการต่างๆ เช่น การชําระเงิน การให้กู้ยืม หรือประกันภัยภายในอินเทอร์เฟซดิจิทัลของตัวเองได้ อินเทอร์เฟซการเขียนโปรแกรมแอปพลิเคชัน (API) และชุดพัฒนาซอฟต์แวร์ (SDK) ช่วยอํานวยความสะดวกในกระบวนการนี้ สร้างประสบการณ์ที่ผสานการทํางานมากขึ้นโดยที่ลูกค้าไม่ต้องสลับไปมาระหว่างแพลตฟอร์มหรือแอปต่างๆ
โมเดลการเงินแบบผสานรวมในตัวจะอํานวยความสะดวกในการเข้าถึงฟังก์ชันทางการเงินโดยตรง ขยายขอบเขต และการเข้าถึงบริการทางการเงิน นอกจากนี้ยังช่วยปูทางสู่โมเดลธุรกิจและช่องทางรายรับ)ใหม่ๆ สําหรับธุรกิจที่นําบริการเหล่านี้มารวมไว้ในแพลตฟอร์มของตนด้วย
ประเภทของการเงินแบบผสานรวมในตัว
บริการทางการเงินแบบผสานรวมในตัวมีหลายประเภท โดยแต่ละประเภทจะมีฟังก์ชันการทำงานที่แตกต่างกันภายในแพลตฟอร์มหรือแอปพลิเคชันที่ไม่ใช่ภาคการเงิน
การประมวลผลการชําระเงิน: ช่วยให้ทําธุรกรรมแบบทันทีโดยไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางลูกค้าไปยังบริการของบริษัทอื่น ธุรกิจสามารถผสานเกตเวย์การชําระเงินหรือระบบบันทึกการขายไว้ในอินเทอร์เฟซดิจิทัล
บริการเงินกู้ยืม: อํานวยความสะดวกในการกู้เงินแบบทันทีหรือขยายวงเงินเครดิต ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอาจจะนําเสนอตัวเลือก "ซื้อตอนนี้ จ่ายทีหลัง" ในระหว่างขั้นตอนการชําระเงิน
ข้อเสนอด้านการประกันภัย: เปิดโอกาสให้ธุรกิจสามารถนําเสนอแพ็กเกจประกันภัยที่ออกแบบเองให้แก่ลูกค้า รวมถึงประกันภัยการเดินทางภายในแอปจองเที่ยวบิน หรือประกันภัยสินค้าในพอร์ทัลอีคอมเมิร์ซ
บริการด้านการลงทุน: ให้ลูกค้าลงทุนในหุ้น ตราสารหนี้ หรือตราสารทางการเงินอื่นๆ ได้ แพลตฟอร์มเนื้อหาที่นำเสนอข่าวทางการเงินอาจนำเสนอเงินลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องภายในแอปได้
การจัดการการเงินส่วนบุคคล: รวมฟีเจอร์การจัดทํางบประมาณและการติดตามค่าใช้จ่าย ธุรกิจต่างๆ สามารถผสานการทํางานฟีเจอร์เหล่านี้เข้ากับแพลตฟอร์มที่หลากหลาย เช่น แอปพลิเคชันการจัดการสาธารณูปโภค
กระเป๋าเงินดิจิทัล: มอบกลไกการจัดเก็บข้อมูลสําหรับสกุลเงินดิจิทัล ทําให้ลูกค้าจัดการเงินของตัวเองภายในแอปหรือแพลตฟอร์มเดียวได้ง่าย
การโอนเงินระหว่างลูกค้า: เปิดใช้การโอนเงินโดยตรงระหว่างลูกค้า ฟีเจอร์นี้พบได้ทั่วไปในแอปเครือข่ายสังคมหรือการส่งข้อความ ทําให้การส่งเงินเป็นเรื่องง่ายเหมือนกับการส่งข้อความหากัน
บริการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ: นำเสนอบริการแปลงสกุลเงินแบบเรียลไทม์และช่วยให้ลูกค้าเก็บเงินในหลายสกุลเงินได้ บริการเหล่านี้มีประโยชน์สําหรับแพลตฟอร์มที่มีฐานลูกค้าทั่วโลก
การให้บริการธนาคาร (BaaS): ขยายฟังก์ชันการธนาคารแบบเดิมๆ เช่น การสร้างและการจัดการบัญชีไปยังแพลตฟอร์มอื่นๆ แอปที่มีจุดมุ่งจะเป็นโซลูชันครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการทางการเงินของลูกค้ามักจะใช้โมเดลนี้
บริการด้านการปฏิบัติตามข้อกําหนด: ช่วยให้ธุรกิจปฏิบัติตามข้อกําหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับบริการทางการเงิน เช่น การตรวจสอบเพื่อป้องกันการฟอกเงิน (AML) และการตรวจสอบ "รู้จักลูกค้าของคุณ" (KYC)
การจัดการการเรียกเก็บเงินและการชําระเงินตามรอบบิล: การชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้าสําหรับบริการแบบสมัครสมาชิก ช่วยให้ธุรกิจจัดการรายรับและช่วยให้ลูกค้าดูแลการชําระเงินตามรอบบิลของตัวเองได้ง่ายขึ้น
บริการทางการเงินแบบผสานรวมในตัวแต่ละประเภทตอบสนองความต้องการที่แตกต่างกันไป และธุรกิจต่างๆ สามารถปรับแต่งฟังก์ชันเหล่านี้ให้เหมาะกับวัตถุประสงค์ของตัวเองโดยใช้ฟังก์ชันแบบเดี่ยวๆ หรือรวมฟังก์ชันเหล่านั้นเข้ากับบริการทางการเงินแบบองค์รวมก็ได้
การเงินแบบผสานรวมในตัวมีหลักการทํางานอย่างไร
บริการทางการเงินที่ผสานรวมในตัวใช้ API และ SDK ซึ่งใช้เป็นตัวเชื่อมระหว่างผู้ให้บริการทางการเงินกับธุรกิจที่ต้องการผสานรวมบริการเหล่านี้ API และ SDK เหล่านี้ทํางานเป็นชุดโครงสร้างที่นักพัฒนาใช้ผสานการทํางานด้านการเงินบางอย่างเข้ากับแพลตฟอร์มของตน เนื่องจาก API และ SDK เป็นระบบที่แยกกันทำงานได้ ธุรกิจจึงเลือกได้ว่าจะรวมบริการทางการเงินแบบใดในระบบ เช่น การประมวลผลการชําระเงิน การให้กู้ยืม ประกันภัย ฯลฯ
ต่อไปนี้คือองค์ประกอบที่สําคัญทางการทำงานของบริการทางการเงินแบบผสานรวมในตัว
การผสานการทํางานกับ API: ธุรกิจต่างๆ ผสานการทํางานกับ API จากผู้ให้บริการทางการเงินได้ โดย API มีลิงก์ตรงไปยังบริการทางการเงินที่กำหนดโดยไม่ต้องใช้แพลตฟอร์มตัวกลาง
การแลกเปลี่ยนข้อมูล: เมื่อผสานการทํางานแล้ว API เหล่านี้จะช่วยอํานวยความสะดวกในการโอนข้อมูลระหว่างสถาบันทางการเงินและแพลตฟอร์มการเงิน ตัวอย่างเช่น หากลูกค้าป้อนข้อมูลการชําระเงินบนเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ ระบบจะส่งข้อมูลนั้นให้กับผู้ประมวลผลการชําระเงินผ่าน API เพื่อยืนยันและทําธุรกรรมให้เสร็จสิ้น
ประสบการณ์ของผู้ใช้: ลูกค้าโต้ตอบกับบริการทางการเงินผ่านอินเทอร์เฟซของแพลตฟอร์มที่ดูแล ตัวอย่างเช่น เมื่อลูกค้าบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเลือกชําระเงินด้วยกระเป๋าเงินดิจิทัล เว็บไซต์จะแจ้งเตือนให้อนุมัติการชําระเงินภายในอินเทอร์เฟซเดียวกัน โดยที่ไม่ต้องเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บไซต์ภายนอก
การปรับแต่งบริการ: ธุรกิจสามารถปรับแต่งบริการทางการเงินให้ตรงตามข้อกําหนดเฉพาะเจาะจงหรือข้อกําหนดตามฐานลูกค้าก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกเกณฑ์การให้กู้ยืมที่เฉพาะเจาะจงหรือปรับแต่งประเภทประกันภัยข้อเสนอของธุรกิจ เป้าหมายก็คือการมอบโซลูชันทางการเงินที่ปรับแต่งให้เหมาะกับข้อเสนอในระดับที่ใหญ่ขึ้นของแพลตฟอร์ม
โมเดลรายรับ: ธุรกิจสามารถสร้างรายได้จากบริการที่ผสานรวมเหล่านี้ผ่านโมเดลต่างๆ เช่น จากค่าธรรมเนียมธุรกรรมหรือข้อตกลงการแบ่งรายรับกับผู้ให้บริการทางการเงิน
การปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับ: โดยทั่วไปแล้วผู้ให้บริการทางการเงินจะจัดการการปฏิบัติตามกฎระเบียบทางการเงิน ทําให้แพลตฟอร์มหลักมีเวลาดำเนินงานที่สำคัญ
การดำเนินการแบบเรียลไทม์: ฟังก์ชันทางการเงินที่ผสานรวมในตัวส่วนใหญ่ทํางานได้แบบเรียลไทม์ ปัจจัยนี้ช่วยให้ลูกค้าสามารถรับการอนุมัติเงินกู้ทันทีหรือการยืนยันการชําระเงินทันทีได้
ความสามารถในการขยายขอบเขตการใช้งาน: เนื่องจากบริการเหล่านี้สร้างขึ้นด้วย API และ SDK แบบแยกส่วน ธุรกิจจึงสามารถปรับลดหรือขยายขอบเขตได้ตามต้องการ ผ่านการเพิ่มหรือนําบริการออกได้อย่างง่ายดายเมื่อแพลตฟอร์มเติบโตหรือเมื่อความต้องการของลูกค้าเปลี่ยนแปลงไป
บริการทางการเงินที่ผสานรวมในตัวมอบประสบการณ์แบบอินเทอร์แอกทีฟที่ผสานการทํางานมากขึ้นให้แก่ลูกค้า ในขณะเดียวกันก็เปิดโอกาสทางธุรกิจสําหรับสถาบันทางการเงินแบบเดิมๆ และธุรกิจในภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ด้วย
ประโยชน์ของการเงินแบบผสานรวมในตัว
การผสานบริการทางการเงินไว้ในแพลตฟอร์มของคุณมีประโยชน์หลายประการ สิ่งที่คุณจะได้รับจากการผสานบริการทางการเงินมีดังนี้
เพิ่มความติดใจและการมีส่วนร่วมของลูกค้า: การให้บริการทางการเงินภายในแพลตฟอร์มจะช่วยให้ลูกค้ามีส่วนร่วมได้นานขึ้นโดยการลดความจําเป็นในการสลับไปมาระหว่างแอปหรือเว็บไซต์หลายๆ แห่ง ตลอดจนเพิ่มระยะเวลาที่ใช้ไปกับแพลตฟอร์มของคุณ
การกระจายรายรับ: การเพิ่มบริการทางการเงิน เช่น บริการกู้ยืม คําแนะนําในการลงทุน และการประมวลผลการชําระเงินจะช่วยให้ธุรกิจของคุณเข้าถึงช่องทางรายได้อื่นๆ วิธีนี้จะช่วยลดการพึ่งพาแหล่งรายรับเพียงแหล่งเดียวและช่วยป้องกันวิกฤตทางเศรษฐกิจได้ในระดับหนึ่ง
ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับข้อมูลลูกค้าอย่างละเอียด: ข้อมูลที่ธุรกิจรวบรวมจากธุรกรรมทางการเงินเหล่านี้มีคุณค่าต่อการสร้างข้อมูลเชิงลึก ซึ่งช่วยในการพัฒนาแคมเปญการตลาดที่มีการกําหนดเป้าหมายมากขึ้น และปรับแต่งบริการตามความต้องการของลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ประสบการณ์ของผู้ใช้ที่ดีขึ้น: การผสานรวมบริการทางการเงินหมายความว่าแพลตฟอร์มของคุณสามารถเป็นศูนย์รวมที่ครบวงจรเพื่อตอบสนองความต้องการที่หลากหลายได้ ความสะดวกสบายนี้สามารถนําไปสู่ความพึงพอใจของลูกค้าที่เพิ่มขึ้นและผู้ใช้ที่ภักดีมากขึ้นในระยะยาว
การสร้างรายได้แบบเร่งรัด: การให้บริการทางการเงินจะมีการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมธุรกรรมหรือค่าคอมมิชชัน ซึ่งส่งผลต่อผลกำไรสุทธิของคุณ บริการเหล่านี้ยังเปิดโอกาสในการสร้างโมเดลการสมัครใช้บริการ ซึ่งอาจทําให้เกิดรายรับตามแบบแผนล่วงหน้าที่เสถียรและเกิดขึ้นซ้ำๆ ได้
ธุรกรรมที่เรียบง่าย: การจัดการธุรกรรมในแพลตฟอร์มของคุณอาจต้องใช้การทําบัญชีและการรายงานทางการเงินที่มีความซับซ้อนน้อยลง โดยการลดภาระด้านการบริหารที่เกี่ยวข้องกับการจัดการการดําเนินงานด้านการเงิน
ความไว้วางใจและความภักดีของลูกค้า: การให้บริการทางการเงินที่ผ่านการพิจารณามาอย่างดีจะช่วยยกระดับชื่อเสียงของแบรนด์ จากการมอบบริการที่มีมูลค่าสูงให้แก่ลูกค้า ซึ่งช่วยเพิ่มความเชื่อมั่นและกระตุ้นให้เกิดการใช้งานแพลตฟอร์มของคุณในระยะยาว
การเข้าถึงตลาดที่กว้างขึ้น: บริการทางการเงินมีความน่าดึงดูดต่อกลุ่มประชากรที่หลากหลาย และอาจช่วยในการเข้าถึงลูกค้ากลุ่มใหม่ๆ ได้ ตัวอย่างเช่น แพลตฟอร์มซื้อสินค้าปลีกอาจดึงดูดลูกค้าที่สนใจในด้านการเงินหรือการลงทุนส่วนบุคคล
ค่าใช้จ่ายในการดําเนินงานที่ลดลง: แม้จะการตั้งค่าบริการทางการเงินที่ผสานรวมในตัวจะต้องใช้เงินทุนในระยะแรก แต่ก็คุ้มค่ากับการดําเนินงานในระยะยาว เนื่องจากมีการใช้ระบบอัตโนมัติกับบริการทางการเงิน ซึ่งช่วยลดเวลาและค่าใช้จ่ายทางธุรกิจในงานด้านการดูแลระบบได้
ความสร้างความแตกต่างในการแข่งขัน: แพลตฟอร์มหลายแห่งเสนอบริการหลักที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นการเพิ่มองค์ประกอบด้านการเงินจึงสามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณโดดเด่นมากขึ้น และทําให้คุณเป็นผู้นำในตลาดที่อิ่มตัวแล้ว
การจัดการเงินทุนที่ง่ายขึ้น: สําหรับธุรกิจที่ต้องการจัดการเงินทุนรวมหรือจัดการการดําเนินงานทางการเงินที่ซับซ้อน บริการทางการเงินที่ผสานรวมในตัวจะทําให้กระบวนการง่ายขึ้นด้วยการให้บริการโซลูชันที่ทํางานเหล่านี้โดยอัตโนมัติ
การผสานบริการทางการเงินสามารถช่วยให้ธุรกิจยกระดับข้อเสนอของตัวเองจนถึงระดับที่เคยมีแต่สถาบันทางการเงินขนาดใหญ่ทำได้ การลงทุนในบริการเหล่านี้มักจะให้ผลตอบแทนที่มากกว่าค่าใช้จ่าย ทั้งในด้านผลกําไรทางการเงินและความภักดีของลูกค้า
วิธีผสานรวมบริการด้านการเงิน
การผสานบริการทางการเงินไว้ในแพลตฟอร์มของคุณต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมาก ตั้งแต่การศึกษาขั้นต้นไปจนถึงการจัดการอย่างต่อเนื่อง ผู้ให้บริการอย่าง Stripe จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการติดตั้งใช้งาน เพื่อให้ธุรกิจดําเนินการได้ง่ายที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ต่อไปนี้คือคําแนะนําสั้นๆ เกี่ยวกับวิธีผสานรวมบริการด้านการเงิน
ขั้นตอนที่ 1: ประเมินความต้องการและวัตถุประสงค์ของคุณ
ก่อนที่จะเจาะลึกแง่มุมทางเทคนิค สิ่งสําคัญคือคุณต้องมีวิสัยทัศน์ที่ชัดเจนเกี่ยวกับเป้าหมายที่ต้องการบรรลุ คุณต้องการมอบประสบการณ์ที่ครอบคลุมมากขึ้นให้แก่ลูกค้าหรือไม่ คุณต้องการช่องทางรายรับเพิ่มเติมหรือไม่ การตอบคําถามเหล่านี้จะช่วยจํากัดประเภทบริการทางการเงินที่เหมาะสมกับเป้าหมายของคุณมากที่สุดได้
ขั้นตอนที่ 2: การศึกษาตลาดและการเลือกพาร์ทเนอร์
ศึกษาผู้ให้บริการทางการเงินซึ่งนําเสนอบริการที่คุณต้องการผสานการทำงานด้วย ตรวจสอบปัจจัยต่างๆ เช่น ความน่าเชื่อถือ ชื่อเสียง และบริการต่างๆ ที่นําเสนอ หลังจากตรวจสอบผู้ให้บริการแล้ว ให้เริ่มทำงานร่วมกัน (สําหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีที่ Stripe เปิดใช้งานการเงินแบบผสานรวมสําหรับธุรกิจ โปรดดูที่นี่)
ขั้นตอนที่ 3: การปฏิบัติตามข้อกําหนดและกฎหมาย
แม้ว่าผู้ให้บริการทางการเงินจะจัดการการปฏิบัติตามข้อกําหนดทางกฎหมาย แต่คุณก็ควรมีความเข้าใจอย่างชัดเจนเกี่ยวกับหน้าที่ทางกฎหมายของตัวเอง ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญทางกฎหมายเพื่อตรวจสอบข้อตกลงในการทำงานร่วมกัน ข้อกําหนดของลูกค้า และระเบียบการคุ้มครองข้อมูล
ขั้นตอนที่ 4: การเชื่อมต่อการทํางานทางเทคนิค
การนําบริการทางการเงินมาใช้ในทางเทคนิคมักจะต้องใช้ API หรือ SDK โดยวิธีดำเนินการกับบริการประเภทต่างๆ มีดังนี้
การประมวลผลการชําระเงิน: ผสานการทํางาน API ของเกตเวย์การชําระเงินเพื่อจัดการธุรกรรมภายในแพลตฟอร์มของคุณ
บริการเงินกู้ยืม: ใช้ API เพื่อประเมินสิทธิ์ในการกู้เงินของลูกค้า และอํานวยความสะดวกให้กับกระบวนการเบิกจ่ายและชําระคืน
ข้อเสนอด้านการประกันภัย: ผสานฟังก์ชันการเลือกและการยื่นเอกสารเรียกร้องสินไหมผ่าน API ของบริษัทอื่น
บริการด้านการลงทุน: API สามารถดึงข้อมูลทางการเงินแบบเรียลไทม์ ทําให้ลูกค้าตัดสินใจลงทุนได้อย่างมีข้อมูลโดยไม่ต้องออกจากแพลตฟอร์มของคุณ
การจัดการการเงินส่วนบุคคล: คุณสามารถนําฟีเจอร์การจัดทํางบประมาณและการติดตามค่าใช้จ่ายไปใช้งานผ่าน API และการพัฒนาซอฟต์แวร์ของบริษัท
ขั้นตอนที่ 5: การออกแบบอินเทอร์เฟซผู้ใช้
ทํางานร่วมกับนักออกแบบอย่างใกล้ชิดเพื่อให้มั่นใจว่าอินเทอร์เฟซผู้ใช้ของคุณนั้นใช้งานง่าย และตรวจสอบว่าฟีเจอร์ทางการเงินจะเข้าถึงได้ง่ายและไม่กระทบต่อประสบการณ์ของผู้ใช้โดยรวม
ขั้นตอนที่ 6: การทดสอบ
ทําการทดสอบอย่างเข้มงวดเพื่อค้นหาข้อบกพร่อง ช่องโหว่ด้านความปลอดภัย หรือปัญหาด้านประสบการณ์ของผู้ใช้ ซึ่งรวมถึงการทดสอบประสิทธิภาพเพื่อประเมินว่าบริการทางการเงินใหม่จะส่งผลต่อการดําเนินงานโดยรวมของแพลตฟอร์มของคุณอย่างไร พิจารณาการทดลองใช้เวอร์ชันเบต้ากับกลุ่มเป้าหมายที่มีขนาดเล็ก ก่อนที่จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์ในวงกว้าง
ขั้นตอนที่ 7: การใช้งานและการเปิดตัว
เมื่อคุณทดสอบทุกอย่างอย่างละเอียดแล้ว ให้นําฟีเจอร์ใหม่มาใช้ในสภาพแวดล้อมใช้งานจริง
ขั้นตอนที่ 8: การตลาดและการนำไปใช้ของลูกค้า
โปรโมตฟีเจอร์ใหม่ผ่านช่องทางการตลาดของคุณ ให้ความรู้แก่ลูกค้าเกี่ยวกับประโยชน์ของฟีเจอร์เหล่านี้และวิธีการใช้งาน
ขั้นตอนที่ 9: ตรวจสอบและอัปเกรด
หลังจากเปิดตัว ให้คอยติดตามตรวจสอบประสิทธิภาพ การมีส่วนร่วมของลูกค้า และเมตริกทางการเงินอย่างต่อเนื่อง รวบรวมคําติชมเพื่อนำไปปรับปรุง
ขั้นตอนที่ 10: ความสามารถในการขยายขอบเขตการใช้งานและการเพิ่มในอนาคต
ลักษณะแบบแยกส่วนของ API และ SDK ช่วยให้คุณปรับขนาดหรือปรับบริการได้อย่างง่ายดาย นอกจากนี้โซลูชันจาก Stripe ยังออกแบบมาเพื่อให้เติบโตและเปลี่ยนแปลงไปพร้อมกับธุรกิจโดยเฉพาะ อย่างไรก็ดี คุณจําเป็นต้องปรับกลยุทธ์เกี่ยวกับบริการทางการเงินที่ผสานรวมในตัวเป็นระยะๆ แม้ว่าเครื่องมือเหล่านี้จะขยายไปพร้อมกับธุรกิจของคุณได้ก็ตาม
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ