ตัวเลือกโครงสร้างองค์กรของธุรกิจสตาร์ทอัพสามารถกําหนดแนวโน้มของธุรกิจไปได้หลายปี โครงสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณจะส่งผลต่อการดําเนินงานทั่วไปและผู้มีโอกาสเป็นลูกค้าในระยะยาว ซึ่งรวมถึงการระดมทุน ผลกระทบทางภาษี ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และศักยภาพในการเติบโต การตัดสินใจเลือกโครงสร้างธุรกิจเป็นส่วนสําคัญในการวางแผนเพื่อการเติบโตและความยั่งยืน
การวิเคราะห์จากสภาธุรกิจและผู้ประกอบการขนาดเล็กระบุว่า ในปี 2019 มีบริษัทนายจ้างกว่า 6.1 ล้านบริษัทในสหรัฐอเมริกา โดย 89% ในนั้นมีพนักงานไม่ถึง 20 คน แต่มีธุรกิจขนาดเล็กเหล่าจำนวนน้อยมากในนี้ที่เติบโตขึ้นสู่ระยะที่สามารถหาเงินลงทุนจากสถาบันได้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเพราะการตัดสินใจในระยะแรกที่เริ่มทำธุรกิจ การตัดสินใจเพียงครั้งเดียว ไม่ว่าจะเป็นการจัดตั้งบริษัทแบบ LLC หรือ Corporation จะส่งผลโดยตรงต่อความสามารถของธุรกิจสตาร์ทอัพในการจัดหาเงินทุน จ้างบุคลากรที่มีความสามารถ และจัดการความรับผิดด้านภาษี
ไม่ว่าคุณจะสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพด้านเทคโนโลยีหรือองค์กรแห่งใหม่ที่อาจพลิกโฉมในตลาดท้องถิ่น คุณก็ควรเข้าใจถึงข้อแตกต่างระหว่างบริษัทแบบ LLC กับ Corporation ด้านล่างนี้ เราจะอธิบายความแตกต่างที่สําคัญๆ ระหว่างโครงสร้างธุรกิจเหล่านี้ อธิบายว่าโครงสร้างเหล่านี้จะส่งผลอย่างไรกับธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณ และให้คําแนะนําเกี่ยวกับวิธีทําการตัดสินใจที่สําคัญนี้
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- บริษัท LLC คืออะไร
- บริษัท Corporation คืออะไร
- บริษัท LLC กับ Corporation ความคล้ายคลึงกันและความแตกต่าง
- ธุรกิจควรเลือกบริษัท LLC และ Corporation อย่างไร
บริษัท LLC คืออะไร
LLC หรือบริษัทจํากัด เป็นโครงสร้างธุรกิจประเภทหนึ่งที่รวมองค์ประกอบของบริษัทแบบ Corporation และห้างหุ้นส่วนเข้าด้วยกัน อีกทั้งยังเป็นตัวเลือกยอดนิยมในหมู่เจ้าของธุรกิจขนาดเล็กเนื่องจากได้รับประโยชน์ด้านความคุ้มครองและความยืดหยุ่น
ต่อไปนี้คือลักษณะสําคัญบางประการของ LLC
ความรับผิดแบบจํากัด: บริษัทจํากัด (LLC) มอบความรับผิดแบบจํากัดแก่เจ้าของ (ซึ่งเรียกว่าสมาชิก) ซึ่งหมายความว่าทรัพย์สินส่วนบุคคลของสมาชิกจะได้รับการคุ้มครองหากธุรกิจมีหนี้หรือถูกฟ้อง ส่วนบริษัท Corporation มีความคุ้มครองที่คล้ายกัน
การเสียภาษีแบบส่งผ่าน: บริษัท LLC มักจะไม่จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งต่างจากบริษัท Corporation แต่ว่าผลกําไรและการขาดทุนของธุรกิจจะ "ส่งผ่าน" ไปยังรายรับส่วนบุคคลของสมาชิก ซึ่งจะรายงานข้อมูลนี้ในแบบแสดงภาษีส่วนบุคคลของตน วิธีนี้จะหลีกเลี่ยง "การเก็บภาษีสองต่อ" ที่อาจเกิดขึ้นกับบริษัท Corporation ซึ่งมีการเรียกเก็บภาษีผลกําไรในระดับองค์กรก่อน จากนั้นจึงเรียกเก็บภาษีอีกครั้งเมื่อแจกจ่ายเป็นเงินปันผล
ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน: บริษัท LLC มีความยืดหยุ่นมากกว่าบริษัทในแง่ของการดําเนินงานและการกํากับดูแล ตัวอย่างเช่น มีข้อกําหนดสําหรับการประชุมประจําปีและการทําบันทึกน้อยกว่า
ความยืดหยุ่นในการเป็นเจ้าของ: บริษัท LLC สามารถมีสมาชิกได้หลายคน และสมาชิกเหล่านี้อาจเป็นบุคคลทั่วไป, บริษัท LLC, บริษัท Corporation หรือแม้แต่นิติบุคคลต่างชาติก็ได้ นอกจากข้อตกลงการดําเนินงานของบริษัท LLC โดยทั่วไปแล้ว สมาชิกจะสามารถโอนผลประโยชน์ในการเป็นเจ้าของของบริษัท LLC ได้อย่างอิสระ
โครงสร้างการจัดการ: สมาชิกของบริษัท LLC สามารถเลือกที่จะจัดการธุรกิจด้วยตัวเอง (ผ่านสมาชิก) หรือแต่งตั้งผู้จัดการให้ดูแลการดําเนินธุรกิจ (ผ่านผู้จัดการ) ก็ได้
บริษัท Corporation คืออะไร
Corporation คือนิติบุคคลประเภทหนึ่งที่แยกจากเจ้าของตามกฎหมาย โดยสร้างขึ้นตามกฎหมายของรัฐที่จดทะเบียนอยู่ และถือว่าเป็น "บุคคล" แยกต่างหากเพื่อวัตถุประสงค์ด้านกฎหมายและภาษี นั่นหมายความว่าบริษัทประเภทนี้สามารถเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ทำสัญญา ฟ้องร้องและถูกฟ้องร้อง รวมถึงมีส่วนร่วมในการดําเนินธุรกิจได้เหมือนกับบุคคลทั่วไป
ต่อไปนี้คือลักษณะสําคัญบางประการของบริษัท Corporation
ความรับผิดแบบจํากัด: เช่นเดียวกับบริษัทจํากัด (LLC) บริษัท Corporation ก็มอบความรับผิดแบบจํากัดให้แก่เจ้าของ (เรียกว่าผู้ถือหุ้น) ด้วย ซึ่งหมายความว่าผู้ถือหุ้นจะไม่รับผิดชอบต่อหนี้สินและภาระของบริษัทเป็นการส่วนตัว ความรับผิดทางการเงินของพวกเขาจํากัดอยู่เพียงจํานวนเงินที่ลงทุนในบริษัท
ความสามารถในการโอนหุ้น: กรรมสิทธิ์ในบริษัทจะเป็นไปตามหุ้น ซึ่งโดยปกติแล้วจะโอนได้ง่าย การซื้อและขายผลประโยชน์จากกรรมสิทธิ์ในบริษัทจะง่ายกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับนิติบุคคลธุรกิจประเภทอื่นๆ
สถานะของธุรกิจระยะยาว: บริษัทดำเนินธุรกิจได้ในระยะยาว โดยสามารถดำเนินงานได้ต่อเนื่องแม้ว่าเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นจะเสียชีวิตหรือขายหุ้นไปแล้วก็ตาม ถือเป็นข้อได้เปรียบที่สําคัญสําหรับการวางแผนธุรกิจในระยะยาว
การเก็บภาษีสองต่อ: บริษัท Corporation อาจต้องเสียภาษีสองต่อ ซึ่งแตกต่างจากบริษัทประเภท LLC เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อบริษัท Corporation จ่ายภาษีเงินได้นิติบุคคลจากผลกําไรของตน จากนั้นผู้ถือหุ้นต้องจ่ายภาษีรายรับส่วนบุคคลที่ได้รับการแจกจ่ายเป็นเงินปันผล อย่างไรก็ตาม ธุรกิจขนาดเล็กบางแห่งอาจหลีกเลี่ยงปัญหานี้ได้โดยการเลือกเป็นบริษัทประเภท S ซึ่งมีการเรียกเก็บภาษีคล้ายกับบริษัท LLC
โครงสร้างการจัดการ: บริษัท Corporation มีโครงสร้างอย่างเป็นทางการซึ่งรวมถึงผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริหาร และเจ้าหน้าที่ โดยผู้ถือหุ้นจะเลือกคณะกรรมการบริหารที่จะรับผิดชอบทิศทางและกลยุทธ์โดยรวมของบริษัท จากนั้นคณะกรรมการจะแต่งตั้งเจ้าหน้าที่ (เช่น CEO, CFO ฯลฯ) ในการจัดการการดําเนินงานในแต่ละวัน
ประเภทบริษัท Corporation
บริษัท Corporation มีหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีข้อดีข้อเสียและการดำเนินงานในแบบเฉพาะตัว บริษัท Corporation มีประเภทหลักๆ ดังนี้
บริษัทประเภท C (C corp) เป็นบริษัทประเภทมาตรฐาน โดยบริษัทประเภท C จะแยกจากเจ้าของตามกฎหมาย ให้การคุ้มครองความรับผิดแบบจํากัด และมีโครงสร้างการจัดการอย่างเป็นทางการ และโอนกรรมสิทธิ์ของตนผ่านหุ้นได้อย่างง่ายดาย ข้อเสียหลักของบริษัทประเภท C คือโอกาสที่จะต้องเสียภาษีสองต่อ ในระดับองค์กรและระดับบุคคลเมื่อมีการแจกจ่ายเงินปันผลให้แก่ผู้ถือหุ้น
บริษัทประเภท S (S corp): บริษัทประเภท S ได้รับการออกแบบมาเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการเก็บภาษีสองต่อที่เกี่ยวข้องบริษัทประเภท C ผลกำไรหรือขาดทุนจะถูกส่งผ่านไปยังแบบแสดงรายการภาษีส่วนบุคคลของเจ้าของเหมือนกับ LLC แทนที่จะมีการเรียกเก็บในระดับบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทประเภทนี้มีข้อจํากัดดังนี้ บริษัทประเภท S สามารถมีผู้ถือหุ้นได้ไม่เกิน 100 คน โดยผู้ถือหุ้นทุกคนต้องเป็นพลเมืองหรือผู้พํานักอาศัยในสหรัฐอเมริกาและสามารถออกหุ้นได้เพียงประเภทเดียว
บริษัทประเภท B (B corp): บริษัทประเภท B คือบริษัท Corporation ที่มุ่งมั่นสร้างประโยชน์ให้สาธารณะ นอกเหนือจากการสร้างผลกําไร ซึ่งหมายความว่าบริษัทประเภท B มีความรับผิดชอบทั้งต่อสังคมและผู้ถือหุ้น บริษัทประเภท B จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานบางอย่างในด้านประสิทธิภาพต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบ และความโปร่งใส กระบวนการรับรองดังกล่าวดําเนินการโดยบริษัทอื่น (B Lab) และธุรกิจสามารถเป็นได้ทั้งบริษัทประเภท C หรือประเภท S และบริษัทประเภท B ที่ได้รับการรับรองก็ได้
องค์กรไม่แสวงผลกําไร: องค์กรไม่แสวงผลกําไรจัดตั้งขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ด้านการกุศล การศึกษา วิทยาศาสตร์ ศาสนา หรือวรรณกรรม โดยจะได้รับการยกเว้นภาษีตามมาตรา 501(c)(3) ของ IRS และผลกําไรใดๆ ที่ได้จากการดําเนินการจะต้องนําไปใช้เพื่อต่อยอดพันธกิจขององค์กร และไม่ได้แจกจ่ายให้กับสมาชิกหรือกรรมการบริษัท การบริจาคเงินให้กับองค์กรไม่แสวงผลกําไรมักจะช่วยให้ผู้บริจาคนำไปลดหย่อนภาษีได้
องค์กรวิชาชีพ (PC): PC คือองค์กรสําหรับอาชีพเฉพาะทาง เช่น แพทย์ ทนายความ นักบัญชี และวิศวกร ในหลายๆรัฐ ผู้ประกอบอาชีพเหล่านี้ไม่ได้รับอนุญาตให้จัดตั้งบริษัท Corporation มาตรฐานหรือ LLC ดังนั้นพวกเขาจึงจัดตั้ง PC แทน แม้ว่าโดยทั่วไปแล้ว PC จะให้การคุ้มครองความรับผิดแบบจํากัดในฐานะบริษัท Corporation มาตรฐาน แต่ในบางกรณี ผู้เชี่ยวชาญอาจต้องรับผิดเกี่ยวกับการฟ้องร้องกรณีปฏิบัติหน้าที่บกพร่องด้วย
บริษัทปิด: บริษัทปิดได้รับความนิยมมากขึ้นในหมู่ธุรกิจขนาดเล็ก โดยมีผู้ถือหุ้นจํานวนจํากัดและมีโครงสร้างการจัดการที่เข้มงวดน้อยกว่า ลักษณะการทำงานจะคล้ายกับห้างหุ้นส่วน หุ้นของบริษัทปิดจะไม่ขายให้กับสาธารณะ และมักจะมาพร้อมกับข้อจำกัดด้านความสามารถในการโอนเพื่อป้องกันไม่ให้ธุรกิจกลายเป็นบริษัทมหาชน
ทางเลือกที่เหมาะสมของบริษัทประเภท Corporation จะขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ ข้อ รวมถึงจํานวนผู้ถือหุ้น ความจําเป็นในการจัดหาเงินทุน ข้อพิจารณาทางด้านภาษี และเป้าหมายทางธุรกิจโดยรวม
บริษัท LLC กับ Corporation ความคล้ายคลึงกันและความแตกต่าง
ความคล้ายคลึงที่เด่นชัดระหว่าง LLC และ Corporation คือบริษัททั้งสองประเภทจะมอบความคุ้มครองความรับผิดแบบจํากัดสำหรับเจ้าของ อย่างไรก็ตาม แต่ละประเภทก็มีความแตกต่างอย่างมากในแง่ของโครงสร้างการจัดการภาษีและกฎการมีกรรมสิทธิ์
ต่อไปนี้เราจะพูดคุยเกี่ยวกับความคล้ายคลึงกันและความแตกต่าง
ความคล้ายคลึงกัน
ความรับผิดแบบจํากัด: ทั้งบริษัทและ LLC ต่างก็ให้การคุ้มครองความรับผิดแบบจํากัด ซึ่งหมายความว่าปกติแล้วเจ้าของจะไม่รับผิดชอบต่อหนี้สินและภาระทางธุรกิจด้วยตัวเอง
นิติบุคคลแยกต่างหาก: บริษัทที่เป็น LLC และ Corporation ถือเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากที่ก่อตั้งขึ้นโดยการยื่นเอกสารต่อรัฐ
ระเบียบข้อบังคับของรัฐ: บริษัททั้งสองประเภทอยู่ภายใต้กฎหมายของรัฐและจะต้องยื่นเอกสารที่จําเป็นต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งปกติแล้วมักเป็นสำนักงานรัฐมนตรีบริหารกิจการรัฐ
ข้อแตกต่าง
กรรมสิทธิ์: บริษัท Corporation กําหนดกรรมสิทธิ์ผ่านการออกหุ้น โดยสามารถออกหุ้นได้อย่างง่ายดาย ทําให้ขายกรรมสิทธิ์ได้สะดวกขึ้น นอกจากนี้ บริษัท Corporation ยังสามารถมีผู้ถือหุ้นได้ไม่ จํากัดจํานวนอีกด้วย ในทางตรงกันข้าม กรรมสิทธิ์ใน LLC มักจะโอนได้ยากและอาจต้องได้รับอนุมัติจากสมาชิกคนอื่นๆ และบางรัฐมีการจํากัดจํานวนสมาชิกที่ LLC มีได้อีกด้วย
การจัดการ: บริษัท Corporation มีโครงสร้างคงที่อันประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ ผู้ถือหุ้น และคณะกรรมการ คณะกรรมการบริหารจะดูแลธุรกิจและกิจการของบริษัท ในขณะที่เจ้าหน้าที่สามารถจัดการการดําเนินงานทั่วไปได้ ผู้ถือหุ้นจะเป็นผู้เลือกคณะกรรมการบริษัทและลงคะแนนเสียงเกี่ยวกับประเด็นหลักของบริษัท บริษัท LLC มีตัวเลือกมากกว่า โดยสามารถจัดการโดยสมาชิก (เจ้าของ) หรือโดยผู้จัดการก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับข้อกําหนดของสัญญาการดําเนินงานของบริษัท LLC เอง
การเสียภาษี: ข้อแตกต่างหลักระหว่างบริษัทประเภท LLC และ Corporation คือวิธีที่บริษัทเสียภาษี บริษัทจะถือว่าเป็นนิติบุคคลที่เสียภาษีแยกต่างหากและเสียภาษีในอัตราเงินได้ระดับบริษัท หลังจากบริษัทเสียภาษีเงินได้แล้ว จะมีการเรียกเก็บภาษีเงินปันผลที่แจกจ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นอีกครั้งตามอัตราภาษีบุคคลของผู้ถือหุ้นแต่ละราย (การเสียภาษีสองต่อ) ในทางตรงกันข้าม LLC มักจะมีการเสียภาษีแบบส่งต่อ ซึ่งผลกำไรและขาดทุนจะส่งต่อไปยังแบบแสดงรายการภาษีส่วนบุคคลของเจ้าของ อย่างไรก็ตาม บริษัท LLC สามารถเลือกเสียภาษีในฐานะบริษัทได้ และบริษัท Corporation ก็สามารถหลีกเลี่ยงการเสียภาษีสองต่อได้โดยการเลือกสถานะเป็นบริษัทประเภท S หากมีคุณสมบัติตรงตามเกณฑ์
ความเป็นทางการและเอกสาร: บริษัท Corporation จะต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับและกฎหมายที่มากขึ้น เช่น การจัดการประชุมประจําปี การจัดทํารายงานประจําปี การมีคณะกรรมการบริหาร โดยปกติแล้วบริษัทที่เป็น LLC จะไม่จําเป็นต้องดำเนินงานอย่างเป็นทางการเช่นนี้
การกระจายผลกําไร: บริษัท Corporation จะกําหนดกฎการกระจายผลกำไรตามจํานวนและประเภทหุ้นที่แต่ละคนเป็นเจ้าของ ในทางตรงกันข้าม LLC มีความยืดหยุ่นมากกว่าและสามารถแจกจ่ายผลกําไรได้หลายวิธีตามที่สมาชิกตัดสินใจ
ธุรกิจควรเลือกบริษัท LLC และ Corporation อย่างไร
การเลือกโครงสร้างธุรกิจที่เหมาะสมอาจส่งผลต่อความรับผิดทางกฎหมาย ตัวเลือกการระดมทุน ผลกระทบทางภาษี ความยืดหยุ่นด้านการปฏิบัติงาน หรือแม้แต่ความสําเร็จของธุรกิจในระยะยาว เรามาดูกันว่าบริษัทสตาร์ทอัพสามารถตัดสินใจเลือกบริษัท LLC และ Corporation ได้อย่างไรบ้าง
วิสัยทัศน์ในอนาคตของทีมผู้ก่อตั้ง: พิจารณาประเภทธุรกิจที่คุณวางแผนก่อตั้งและเป้าหมายระยะยาว หากคุณคาดว่าจะดำเนินงานในขอบเขตที่เล็กหรือมีเจ้าของหลักไม่กี่คน บริษัท LLC อาจเหมาะกับธุรกิจของคุณ เนื่องจากมีความยืดหยุ่นและความเรียบง่าย อย่างไรก็ตาม หากคุณมีวิสัยทัศน์ในการเติบโตสูง เปลี่ยนเป็นบริษัทมหาชน หรือดึงดูดบริษัทร่วมลงทุน บริษัทประเภท C อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า นักลงทุนจํานวนมากนิยมโครงสร้างแบบ Corporation เนื่องจากมีบทบาทที่กําหนดไว้อย่างชัดเจนและรู้สึกคุ้นเคย
ความต้องการด้านการลงทุนและการหาเงินทุน: บริษัทแบบ Corporation โดยเฉพาะบริษัทประเภท C มักจะเหมาะกับธุรกิจสตาร์ทอัพที่วางแผนจะระดมทุนจากนักธุรกิจร่วมลงทุนหรือจากการเสนอขายหุ้นครั้งแรก (IPO) เนื่องจากหุ้นของบริษัทแบบ Corporation สามารถโอนได้อย่างง่ายดายและสามารถแบ่งออกเป็นประเภทต่างๆ ตามสิทธิ์ที่แตกต่างกันซึ่งน่าดึงดูดสำหรับนักลงทุน
ความยืดหยุ่นในการปฏิบัติงาน: บริษัท LLC มีข้อกําหนดทางกฎหมายน้อยกว่าและมีความยืดหยุ่นในการดําเนินงานมากกว่าบริษัท Corporation โดยมีข้อกําหนดในการประชุมที่เป็นทางการน้อยกว่า มีการยื่นเอกสารน้อยกว่า และมีความยืดหยุ่นในการกระจายผลกําไรที่มากขึ้น หากการมีโครงสร้างการจัดการที่ยืดหยุ่นกว่าและเป็นทางการน้อยกว่าเป็นสิ่งสําคัญสําหรับธุรกิจสตาร์ทอัพของคุณ บริษัท LLC อาจเป็นตัวเลือกที่ดี
ข้อพิจารณาด้านภาษี: บริษัท LLC คือนิติบุคคลแบบส่งต่อ นั่นหมายความว่า ผลกําไรจะส่งต่อไปยังรายรับส่วนบุคคลของเจ้าของโดยไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล แต่บริษัทประเภท C จะต้องเสียภาษีผลกําไรในระดับองค์กร และอาจต้องเสียภาษีอีกครั้งในระดับบุคคลจากเงินปันผล อย่างไรก็ตาม บริษัท Corporation จะไม่ต้องเสียภาษีสองต่อ หากยังคงรักษาผลกําไรและนำมาลงทุนใหม่หรือหากเลือกเป็นบริษัทประเภท S
ค่าตอบแทนพนักงาน: บริษัท Corporation อาจเป็นตัวเลือกโครงสร้างที่ดีที่สุด หากคุณวางแผนจะนําเสนอสิทธิ์ซื้อหุ้นอันเป็นส่วนหนึ่งของค่าตอบแทนพนักงาน ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไปสําหรับธุรกิจสตาร์ทอัพหลายๆ แห่ง แม้ว่า LLC จะสามารถแจกจ่ายผลกำไรให้กับสมาชิกได้ แต่กระบวนการดังกล่าวอาจมีความซับซ้อนกว่าการออกสิทธิ์ซื้อหุ้นในบริษัทแบบ Corporation
ความรับผิดและการคุ้มครองทางกฎหมาย: บริษัท LLC และ Corporation มีการคุ้มครองความรับผิดที่จํากัด แต่อาจมีกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่แตกต่างกันไปตามรัฐ บริษัทประเภทหนึ่งอาจให้ประโยชน์มากกว่าอีกประเภท โดยขึ้นอยู่กับรายละเอียดเฉพาะของธุรกิจคุณ
การเลือกนิติบุคคลที่เหมาะสมเป็นการตัดสินใจที่อาจส่งผลอย่างมากต่อธุรกิจของคุณในด้านกฎหมายและการเงิน แต่ธุรกิจสตาร์ทอัพทุกแห่งต่างก็มีความแตกต่างกัน และไม่มีวิธีใดที่เหมาะกับธุรกิจทุกประเภทเหมือนกัน หากคุณคาดว่าจะได้รับผลกําไรจํานวนมากในธุรกิจ โครงสร้างแบบ Corporation ก็อาจมีประโยชน์มากกว่า หากความยืดหยุ่นและความเรียบง่ายมีความสําคัญ LLC ก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีกว่า การทําความเข้าใจคุณลักษณะเฉพาะของธุรกิจอย่างเต็มรูปแบบจะช่วยคุณเลือกโครงสร้างธุรกิจที่ดีที่สุด เพิ่มความมั่นคง การเติบโต และความสําเร็จได้
พิจารณาการเลือกโครงสร้างธุรกิจผ่านการศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด การไตร่ตรองอย่างถี่ถ้วน และใช้บริการให้คำปรึกษาจากมืออาชีพ การเปลี่ยนโครงสร้างธุรกิจหลังจากที่ก่อตั้งไปแล้วอาจมีความซับซ้อนและมีค่าใช้จ่ายสูง ดังนั้น คุณจึงควรใช้เวลาเพื่อตัดสินใจให้ถูกต้องตั้งแต่แรก
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ