ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเปลี่ยนแปลงและซับซ้อนมากขึ้นตามการเติบโต และนั่นอาจหมายถึงปริมาณการชําระเงินที่เพิ่มขึ้น ความหลากหลายของวิธีการชําระเงิน และการสร้างช่องทางสร้างรายรับเพิ่มเติมผ่านผลิตภัณฑ์และบริการใหม่ๆ การเปลี่ยนแปลงเหล่านี้อาจส่งผลอย่างมากต่องบการเงินของธุรกิจและต้องใช้แนวทางการทําบัญชีที่มีความคล่องตัวและแม่นยำกว่าเดิมเพื่อจัดการกับความสลับซับซ้อนทั้งหลายในแต่ละขั้นตอนของการเติบโต
การรับรู้รายรับคือแนวคิดที่มีการนำไปใช้งานกับธุรกิจทุกแห่ง แต่สําหรับธุรกิจบางประเภท จำเป็นต้องใช้วิธีการรับรู้รายรับที่กำหนดโดยเฉพาะเพื่อปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ASC 606 ต่อไปนี้คือสิ่งที่คุณต้องรู้เกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชี ASC 606 เหตุผลที่มาตรฐานดังกล่าวสำคัญกับธุรกิจและ 5 ขั้นตอนที่จะช่วยให้คุณปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชี ASC 606 อยู่เสมอ
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- การรับรู้รายรับคืออะไร
- ASC 606 คืออะไร
- การปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี ASC 606 สําคัญต่อธุรกิจอย่างไร
- โมเดล 5 ขั้นตอนสําหรับการรับรู้รายรับ ASC 606
- ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า
- ระบุภาระหน้าที่ในการปฏฺิบัติตามสัญญา
- กําหนดราคาธุรกรรม
- จัดสรรราคาธุรกรรม:
- รับรู้รายรับเมื่อบุคคลปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาเสร็จสิ้น
- ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า
- การรับรู้รายรับด้วย Stripe
การรับรู้รายรับคืออะไร
การรับรู้รายรับเป็นหลักการทำบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (GAAP) ซึ่งกําหนดว่าควรรับรู้รายรับของธุรกิจเมื่อใดและด้วยวิธีการใด การรับรู้รายรับกําหนดรอบการทําบัญชีที่จะบันทึกรายรับและค่าใช้จ่ายของธุรกิจ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากความซับซ้อนและการเปลี่ยนแปลงของรายรับอันเนื่องมาจากปัจจัยต่างๆ เช่น เวลาและความแน่นอน การรับรู้รายรับอย่างถูกต้องอาจไม่ใช่เรื่องง่าย ที่จริงแล้ว 40% ของผู้นําทางการเงินที่ตอบแบบสํารวจในการศึกษาล่าสุดของเรา กล่าวว่าทีมการเงินใช้เวลามากกว่า 10 ชั่วโมงในแต่ละเดือนเพื่อแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อมูลที่ไม่ตรงกันเพื่อกระทบยอดข้อมูล
นี่แสดงให้เห็นความสําคัญของการรับรู้รายรับอย่างถูกต้อง ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อสร้างมาตรฐานให้กับโครงสร้างการทําบัญชีรายรับ โดยกําหนดว่าควรรับรู้รายรับในรอบบัญชีที่ธุรกิจได้รับและรับรู้รายรับนั้น (หรือสามารถรับรู้ได้) ซึ่งอาจเกิดขึ้นก่อนหรือหลังจากได้รับการชําระเงิน
ASC 606 คืออะไร
Accounting Standards Codification (ASC) 606 กำหนดกรอบสากลให้กับธุรกิจในการรับรู้รายรับจากการขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า มาตรฐาน ASC 606 ส่งผลต่อค่าบริการและสัญญาของลูกค้าทั้งสําหรับธุรกิจเอกชนและธุรกิจมหาชน รวมทั้งอธิบายวิธีรับรู้รายได้จากสัญญาเหล่านั้น
ในเดือนพฤษภาคม 2014 คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีการเงิน (FASB) และคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) ได้ร่วมกันประกาศใช้ ASC 606 พวกเขาออกแบบ ASC 606 เพื่อแก้ปัญหาที่ซับซ้อนในการปรับแนวทางการรายงานรายรับของธุรกิจต่างๆ ในหลากหลายอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกัน แม้ว่ารายรับในภาคธุรกิจและธุรกิจต่างๆ จะมีลักษณะการทำงานที่แตกต่างกันก็ตาม ASC 606 สร้างความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับการรับรู้รายรับซึ่งช่วยรับมือกับความซับซ้อนของรายรับ
การปฏิบัติตามข้อกำหนดของมาตรฐานการบัญชี ASC 606 สําคัญต่อธุรกิจอย่างไร
การรับรู้รายรับตามมาตรฐาน ASC 606 ช่วยให้ธุรกิจหลายแห่งเข้าใจสถานะทางการเงินของตัวเองอย่างชัดเจน เมื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดของ ASC 606 ธุรกิจจะสามารถตรวจสอบจนมั่นใจว่าได้รับรู้รายรับตามการจัดส่งสินค้าหรือบริการจริง วิธีนี้จะช่วยป้องกันการรับรู้รายรับล่วงหน้าหรือล่าช้า ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพทางการเงินได้
ASC 606 ยังสร้างมาตรฐานที่ทําให้เปรียบเทียบงบการเงินได้ง่ายขึ้น ซึ่งมอบแนวทางให้กับนักลงทุน นักวิเคราะห์ และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ นักลงทุนและนักวิเคราะห์ใช้งบการเงินเพื่อทําการตัดสินใจอย่างมีข้อมูล และการปฏิบัติตามข้อกําหนด ASC 606 จะช่วยรับรองว่าตัวเลขรายรับของบริษัทมีความน่าเชื่อถือและใกล้เคียงกับบริษัทอื่นๆ ซึ่งจะช่วยให้ตัดสินใจลงทุนได้ดียิ่งขึ้น
ASC 606 มีความสําคัญเป็นพิเศษสําหรับธุรกิจประเภทต่อไปนี้
- บริษัทมหาชนหรือธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีรายรับต่อปีมากกว่า 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งกฎหมายกำหนดให้ธุรกิจเหล่านี้ต้องปฏิบัติตาม ASC 606, GAAP และ มาตรฐานการรายงานทางการเงินระหว่างประเทศ (IFRS)
- ธุรกิจสตาร์ทอัพที่อาจต้องใช้หลักการทําบัญชีแบบคงค้างเพื่อระดมเงินจากนักลงทุนหรือขอกู้เงินจากธนาคาร
- ธุรกิจแบบสมัครใช้บริการและแบบผู้ให้บริการ ซึ่งจําหน่ายสินค้าดิจิทัลหรือสินค้าจริงที่ลูกค้าชําระเงินล่วงหน้าก่อนที่จะได้รับสินค้าหรือบริการ
โมเดล 5 ขั้นตอนสําหรับการรับรู้รายรับ ASC 606
สําหรับธุรกิจแบบสมัครใช้บริการที่ต้องจัดการการเปลี่ยนแปลงการชําระเงินตามรอบบิล การคืนเงิน การโต้แย้งการชําระเงิน และการแบ่งชําระตามสัดส่วนของลูกค้า การรับรู้รายรับอาจซับซ้อนเป็นพิเศษ การอัปเดตการชำระเงินตามรอบบิลของของลูกค้าอาจทําให้การรับรู้และการเลื่อนเวลาการตัดบัญชีรายรับอย่างถูกต้องมีความซับซ้อนมากขึ้น ขั้นตอนต่อไปนี้จะช่วยให้ธุรกิจแบบสมัครใช้บริการรับรู้รายรับได้อย่างสอดคล้องกันและเป็นระบบ ซึ่งจะช่วยลดความซับซ้อนนี้ได้
1. ระบุสัญญาที่ทำกับลูกค้า
ขั้นตอนนี้จะให้รายละเอียดเกี่ยวกับหลักเกณฑ์ที่ต้องปฏิบัติตามเมื่อธุรกิจทําสัญญากับลูกค้าเพื่อจัดส่งสินค้าหรือบริการเป็นครั้งแรก ตามข้อกำหนดของมาตรฐาน ASC 606 องค์ประกอบหลักของสัญญามีดังต่อไปนี้
- คู่สัญญาได้อนุมัติสัญญา (เป็นลายลักษณ์อักษรหรือตามแนวทางการดําเนินธุรกิจแบบอื่นๆ ที่เป็นธรรมเนียมปฏิบัติ) และสัญญาว่าจะปฏิบัติหน้าที่ของตน
- ทั้งธุรกิจและลูกค้าสามารถระบุสิทธิ์ของกันและกันเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการที่จะส่งมอบได้
- ทั้งสองฝ่ายสามารถระบุเงื่อนไขการชําระเงินสําหรับสินค้าหรือบริการที่จะส่งมอบ
- สัญญาดังกล่าวกำหนดสาระสำคัญทางการค้า ได้แก่ ความเสี่ยง กําหนดเวลา หรือจํานวนของกระแสเงินสดในอนาคตของบุคคล ซึ่งคาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากสัญญา
- ธุรกิจมีแนวโน้มที่จะเรียกเก็บงินที่ตนมีสิทธิ์ได้รับเพื่อแลกกับสินค้าหรือบริการที่จะส่งมอบให้ลูกค้า
2. ระบุภาระหน้าที่ในการปฏฺิบัติตามสัญญา
หน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาคือคํามั่นสัญญาว่าธุรกิจจะต้องส่งมอบสินค้าหรือบริการให้กับลูกค้า ในขั้นตอนนี้ ธุรกิจควรแจกแจงหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาให้ครบถ้วนทุกรายการ สินค้าหรือบริการจะถือว่าแยกกันเป็นรายการหนึ่งเมื่อลูกค้าเห็นว่ามีมูลค่าและสามารถแยกกันได้อย่างอิสระ รวมทั้งสามารถส่งมอบโดยไม่เกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการอื่นๆ ในสัญญา
3. กําหนดราคาธุรกรรม
ขั้นตอนต่อไปคือการคํานวณราคาธุรกรรม ราคาธุรกรรมอาจรวมค่าตอบแทนที่เป็นเงินสดและไม่ใช่เงินสด ซึ่งธุรกิจจะได้รับจากลูกค้าตามสัญญา โดยธุรกิจควรพิจารณาถึงส่วนลด การแบ่งชำระตามสัดส่วน การอัปเกรด หรือการปรับแต่งค่าบริการด้วย
4. จัดสรรราคาธุรกรรม
ในขั้นตอนนี้ ธุรกิจจะจัดสรรราคาธุรกรรมทั้งหมดให้กับภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาแต่ละรายการในสัญญา สําหรับธุรกรรมแบบชําระเงินตามรอบบิลที่ใช้การชําระเงินตามแบบแผนล่วงหน้า ภาระหน้าที่ในการปฏิบัติตามสัญญาจะดําเนินไปอย่างต่อเนื่อง ซึ่งทําให้การเลื่อนเวลาและการจัดสรรราคาธุรกรรมนั้นซับซ้อนและมีความสำคัญเป็นพิเศษ
5. รับรู้รายรับเมื่อบุคคลปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาเสร็จสิ้น
ขั้นตอนนี้ระบุว่าควรรับรู้รายรับเมื่อมีการปฏิบัติภาระหน้าที่ในสัญญาแต่ละอย่างเสร็จสิ้นแล้ว ไม่ใช่ตอนที่เริ่มต้นทำสัญญาหรือเมื่อได้รับเงินที่เกี่ยวข้องกับสัญญา โปรดดู 2 ตัวอย่างต่อไปนี้
สําหรับภาระหน้าที่ในการดําเนินงานเพียงครั้งเดียว
หากลูกค้าซื้อโซฟาแบบสั่งทำ ซึ่งจะใช้เวลา 12 สัปดาห์ในการผลิตและจัดส่ง รายรับจากสัญญานั้นควรรับรู้ในรอบการทําบัญชีที่มีการดําเนินการตามคําสั่งซื้อเสร็จสิ้น ไม่ใช่ตอนที่สั่งซื้อในตอนแรกสําหรับภาระหน้าที่ในการดําเนินงานแบบต่อเนื่อง
หากลูกค้าลงนามในสัญญาบริการซอฟต์แวร์แบบสมัครใช้บริการเป็นระยะเวลา 1 ปีที่อัตรา $29 ต่อเดือน ธุรกิจควรจัดสรรการชําระเงินของแต่ละเดือนให้กับรอบการทําบัญชีที่เกี่ยวข้อง ธุรกิจไม่ควรนับค่าธรรมเนียมตลอดทั้งปีเป็นเงินก้อนและรับรู้รายรับนั้นในรอบการทำบัญชีที่มีการลงนามในสัญญา
การรับรู้รายรับด้วย Stripe
แม้ว่า 5 ขั้นตอนข้างต้นจะทําให้การปฏิบัติตามข้อกําหนด ASC 606 เรียบง่ายและตรงไปตรงมาในทางทฤษฎี แต่การนำไปใช้จริงดังกล่าวอาจยุ่งยากและมีข้อผิดพลาดเกิดขึ้นได้ การจัดการการรับรู้รายรับด้วยตนเองโดยไม่เกิดข้อผิดพลาดนั้นทําได้ยาก สําหรับธุรกิจส่วนใหญ่ วิธีที่ดีที่สุดในการจัดการขั้นตอนนี้ก็คือการหาโซลูชันแบบอัตโนมัติมาจัดการรายละเอียดของการรับรู้รายรับและจัดทํางบการเงินที่พร้อมสําหรับการตรวจสอบ
Stripe Revenue Recognition ช่วยธุรกิจเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทําบัญชีแบบเกณฑ์คงค้างและจัดการกับกระบวนการรับรู้รายรับโดยไม่ต้องใช้บุคลากรด้านวิศวกรรมหรือการกําหนดค่าที่ซับซ้อน คุณสามารถปรับแต่งและทำให้การรายงานเป็นระบบอัตโนมัติเพื่อปฏิบัติตามข้อกำหนดของ ASC 606 และ IFRS 15 ได้โดยไม่ยุ่งยาก
Stripe Revenue Recognition ช่วยให้คุณเข้าถึงข้อมูลต่อไปนี้ได้
- ข้อมูลสรุปรายรับที่รับรู้และเลื่อนเวลาการตัดบัญชี
- รายงานการทําบัญชีและรายงานแผนภูมิลําดับขั้นที่ดาวน์โหลดได้
- ตัวเลขรายรับแบบอินเทอร์แอกทีฟเพื่อความโปร่งใสในการตรวจสอบ
- กฎการรับรู้รายรับและการควบคุมรอบการทําบัญชีที่กำหนดค่าได้
หากต้องการดูข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Stripe Revenue Recognition โปรดเริ่มต้นที่นี่
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ