งบแสดงส่วนของเจ้าของ หรือที่เรียกว่างบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น คือเอกสารทางการเงินที่แสดงว่าหุ้นในธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในช่วงเวลาหนึ่ง งบการเงินฉบับนี้ให้ข้อมูลสรุปผลการดําเนินงานทางการเงินของธุรกิจโดยพิจารณาจากมุมมองของเจ้าของหุ้น และเป็นส่วนสําคัญของงบการเงินของธุรกิจ ควบคู่ไปกับงบดุลและงบกำไรขาดทุน โดยปกติแล้ว เอกสารนี้จะเป็นงบการเงินที่สองที่สร้างขึ้นหลังจากงบกำไรขาดทุน
ด้านล่างนี้เป็นภาพรวมเกี่ยวกับสิ่งที่เจ้าของธุรกิจควรทราบเกี่ยวกับงบแสดงส่วนของเจ้าของ: เอกสารนี้มีข้อมูลอะไรบ้าง วิธีการใช้ และวิธีเขียน
บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง
- มีวิธีการใช้งบแสดงส่วนของเจ้าของอย่างไร
- งบแสดงส่วนของเจ้าของเกี่ยวข้องกับงบกระแสเงินสดอย่างไร
- องค์ประกอบสําคัญของงบแสดงส่วนของเจ้าของ
- วิธีเตรียมและจัดรูปแบบงบแสดงส่วนของเจ้าของ
- ตัวอย่างงบแสดงส่วนของเจ้าของ
- ประโยชน์และข้อจํากัดของงบแสดงส่วนของเจ้าของ
มีวิธีการใช้งบแสดงส่วนของเจ้าของอย่างไร
งบแสดงส่วนของเจ้าของจะให้ภาพรวมทางการเงินของกิจกรรมทางธุรกิจทั้งหมดที่ส่งผลโดยตรงต่อการลงทุนสุทธิของเจ้าของในธุรกิจ เอกสารนี้ใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่สําคัญหลายอย่าง ทั้งภายในและภายนอก ได้แก่
การประเมินผลการดําเนินงาน: งบนี้จะช่วยให้เจ้าของและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องประเมินผลการดําเนินงานของธุรกิจในช่วงเวลาที่กําหนดได้ การสอบการเปลี่ยนแปลงกรรมสิทธิ์จะช่วยวัดว่าธุรกิจสร้างมูลค่าให้เจ้าของได้ดีเพียงใด
การตัดสินใจด้านการลงทุน: นักลงทุนปัจจุบันและที่เป็นไปได้ใช้งบนี้เพื่อทําความเข้าใจสถานภาพทางการเงินของธุรกิจ และทําการตัดสินใจเกี่ยวกับการซื้อ การขาย หรือการลงทุนอย่างมีข้อมูล
การวิเคราะห์เครดิต: ผู้ให้กู้และเจ้าหนี้จะตรวจสอบงบนี้เพื่อประเมินความมั่นคงทางการเงินของธุรกิจและความสามารถในการชําระเงินกู้ ตําแหน่งหุ้นที่เพิ่มขึ้นอาจบ่งบอกถึงความเสี่ยงที่น้อยลงสําหรับเจ้าหนี้
การวิเคราะห์ทางการเงิน: งบนี้จะช่วยให้นักวิเคราะห์ทางการเงินเข้าใจว่ากิจกรรมทางธุรกิจ เช่น การรักษาผลกำไรหรือนโยบายการปันส่วนมีผลต่อหุ้นของเจ้าของอย่างไร
การวางแผนภายใน: ฝ่ายบริหารใช้งบนี้ในการตัดสินใจที่สําคัญเกี่ยวกับการนำเงินกลับมาลงทุนในธุรกิจ การปันส่วนให้แก่เจ้าของ หรือกลยุทธ์ทางการเงินอื่นๆ เพื่อปรับปรุงการเติบโตและความมั่นคงของธุรกิจ
วัตถุประสงค์ด้านภาษี: งบนี้อาจให้ข้อมูลที่สำคัญในการวางแผนและการรายงานภาษี โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับธุรกิจที่จ่ายภาษีตามรายได้ส่วนบุคคลของเจ้าของ
งบแสดงส่วนของเจ้าของเกี่ยวข้องกับงบกระแสเงินสดอย่างไร
งบแสดงส่วนของเจ้าของและงบกระแสเงินสดคืองบการเงินที่แตกต่างกันซึ่งนําเสนอมุมมองที่แตกต่างกันเกี่ยวกับสถานภาพทางการเงินของธุรกิจ งบแสดงส่วนของเจ้าของเน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นของธุรกิจในช่วงเวลาหนึ่งและแสดงให้เห็นว่ารายรับสุทธิ การลงทุนของเจ้าของ และการถอนเงินมีผลต่อหุ้นของเจ้าของอย่างไร งบกระแสเงินสดแสดงรายละเอียดกระแสเงินสดขาเข้าและขาออกของธุรกิจ และจัดหมวดหมู่กระแสเงินสดออกเป็นกิจกรรมการดําเนินงาน การลงทุน และการจัดหาเงินทุน
เมื่อใช้ร่วมกัน งบการเงินเหล่านี้จะให้มุมมองการเงินของธุรกิจที่ครอบคลุม ในขณะที่งบแสดงส่วนของเจ้าของจะแสดงให้เห็นว่าผลการดําเนินงานของธุรกิจและธุรกรรมของเจ้าของมีผลต่อหุ้นทั้งหมดอย่างไรและสะท้อนถึงการเปลี่ยนแปลงของมูลค่าสุทธิของธุรกิจ งบกระแสเงินสดจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับผลกระทบของกิจกรรมเหล่านี้และกิจกรรมอื่นๆ ที่มีต่อสถานะเงินสดของธุรกิจ สิ่งนี้จะระบุสภาพคล่องและเสถียรภาพทางการเงินของธุรกิจ และเผยให้เห็นว่าธุรกิจสร้างเงินสดได้ดีเพียงใดเพื่อปฏิบัติตามภาระหน้าที่และเงินทุนในการดําเนินงาน งบการเงินทั้งสองรายการจะให้ข้อมูลเชิงลึกที่สําคัญสําหรับผู้มีอํานาจตัดสินใจและนักวิเคราะห์
แม้ว่างบเหล่านี้จะมุ่งเน้นในสิ่งที่แตกต่างกัน แต่ตัวเลขบางส่วนที่อยู่ในงบทั้่งสองอาจเกี่ยวข้องกันอยู่ รายรับสุทธิมีผลต่อส่วนผู้ถือหุ้นของเจ้าของและทําหน้าที่เป็นจุดเริ่มต้นในงบกระแสเงินสดในส่วนกิจกรรมการดําเนินงาน การถอนเงินของเจ้าของยังส่งผลต่อหุ้นด้วย และมักจะแสดงในส่วนกิจกรรมการจัดหาเงินทุนของงบกระแสเงินสด งบแสดงส่วนของเจ้าของให้ภาพรวมเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของหุ้น แต่งบกระแสเงินสดจะแสดงให้เห็นว่าการเปลี่ยนแปลงเหล่านี้มีผลกระทบต่อการเคลื่อนที่ของเงินสดอย่างไร
องค์ประกอบสําคัญของงบแสดงส่วนของเจ้าของ
องค์ประกอบสําคัญของงบแสดงส่วนของเจ้าของแสดงให้เห็นว่ากิจกรรมทางธุรกิจในรอบการทําบัญชีส่งผลต่อหุ้นของเจ้าของอย่างไร ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสามารถใช้ข้อมูลนี้เพื่อประเมินผลประกอบการทางการเงินและการเปลี่ยนแปลงในการลงทุนของเจ้าของได้
ส่วนของเจ้าของตอนเริ่มต้น: นี่คือจำนวนหุ้นเมื่อเริ่มรอบการทําบัญชี แสดงถึงผลประโยชน์ของเจ้าของในธุรกิจหลังจากหักหนี้สินทั้งหมดออกจากสินทรัพย์แล้ว
เงินทุนที่มีส่วนร่วม: เงินทุนเหล่านี้เป็นการลงทุนเพิ่มเติมที่เจ้าของบริษัทได้ลงทุนในรอบการทําบัญชีนี้
รายรับสุทธิ: นี่คือกำไรของธุรกิจหลังจากหักค่าใช้จ่ายทั้งหมด (รวมถึงภาษีและดอกเบี้ย) จากรายได้ ค่านี้เป็นผลกําไรที่ธุรกิจสร้างขึ้นในรอบนั้น รายรับสุทธิจากงบกำไรขาดทุนจะบวกเข้าไปในส่วนของเจ้าของ
การถอนเงินของเจ้าของ (การถอน): จํานวนนี้คือยอดเงินหรือมูลค่าของเงินที่เจ้าของนํามาจากธุรกิจเพื่อการใช้งานส่วนบุคคลในรอบการทําบัญชี การถอนเงินจะลดหุ้นของเจ้าของเนื่องจากเป็นตัวแทนของสินทรัพย์ที่นําออกมาจากธุรกิจ
การปรับยอดอื่นๆ: รายการเหล่านี้คือการปรับยอดที่ส่งผลต่อกรรมสิทธิ์ในหุ้นของเจ้าของ แต่ไม่สอดคล้องกับหมวดหมู่อื่นๆ อย่างสมบูรณ์ ซึ่งอาจรวมถึงการเปลี่ยนแปลงในนโยบายการบัญชีหรือการแก้ไขข้อผิดพลาด
ส่วนของเจ้าของตอนสิ้นสุด: นี่คือผลประโยชน์ของเจ้าในธุรกิจเมื่อสิ้นสุดรอบการทําบัญชี ซึ่งคํานวณโดยการนำหุ้นเริ่มต้นมาบวกกับเงินทุนที่มีส่วนร่วมและรายรับสุทธิ แล้วหักการถอนเงินและการปรับยอดใดๆ ออก
วิธีเตรียมและจัดรูปแบบงบแสดงส่วนของเจ้าของ
ขั้นตอนที่ 1: ชื่อและส่วนหัว
ชื่อ: เอกสารควรมีชื่อว่า "งบแสดงส่วนของเจ้าของ" เพื่อให้ระบุวัตถุประสงค์ของเอกสารได้ชัดเจน
ส่วนหัว: ระบุชื่อธุรกิจและรอบระยะเวลาที่ครอบคลุมอยู่ในงบนี้ (เช่น "สําหรับปีที่สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2024")
ขั้นตอนที่ 2: ส่วนของเจ้าของตอนเริ่มต้น
- ส่วนของเจ้าของตอนเริ่มต้น: ตัวเลขนี้คือส่วนของเจ้าของตอนสิ้นสุดจากรอบการทําบัญชีก่อนหน้า
ขั้นตอนที่ 3: การเพิ่มในหุ่น
เงินทุนที่มีส่วนร่วม: ระบุการลงทุนหรือเงินทุนเพิ่มเติมของเจ้าของที่มีส่วนร่วมในรอบการทําบัญชีนี้
รายรับสุทธิ: แสดงรายการรายรับสุทธิจากงบกำไรขาดทุน รายรับนี้จะเพิ่มส่วนของเจ้าของ หากธุรกิจมีการขาดทุน เงินจํานวนนี้ก็จะลดส่วนของเจ้าของ
ขั้นตอนที่ 4: การหักออกจากส่วนของเจ้าของ
- การถอนเงินของเจ้าของ: ระบุการถอนเงินหรือปันส่วนที่เจ้าของทํา การทําเช่นนี้จะลดหุ้นของเจ้าของ
ขั้นตอนที่ 5: ส่วนของเจ้าของที่สิ้นสุด
- ส่วนของเจ้าของตอนสิ้นสุด: คํานวณหุ้ส่วนของเจ้าของตอนสิ้นสุดโดยการบวกเงินสมบทและรายรับสุทธิส่วนของเจ้าของตอนเริ่มต้น และลบด้วยการถอนเงินหรือการขาดทุนใดๆ ต่อไปนี้คือตัวอย่างวิธีการคํานวณค่านี้
50,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ส่วนตอนเริ่มต้น) + 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ (รายรับสุทธิ) - 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ (การถอนเงิน) = 70,000 ดอลลาร์สหรัฐ (ส่วนตอนสิ้นสุด)
การจัดรูปแบบ
บรรทัดรายการ: แสดงองค์ประกอบแต่ละองค์ประกอบข้างต้นเป็นบรรทัดรายการแยกต่างหาก
การจัดตําแหน่ง: จัดตําแหน่งตัวเลขทั้งหมดทางด้านขวาของหน้า
ยอดรวมย่อย: ระบุยอดรวมย่อยหลังจบแต่ละส่วน
ผลลัพธ์สุดท้าย: ติดป้ายกํากับอย่างชัดเจนและจําแนกตัวเลขสรุปซึ่งเป็นส่วนของเจ้าของตอนสิ้นสุด
ตัวอย่างงบแสดงส่วนของเจ้าของ
ด้านล่างนี้เป็นตัวอย่างงบแสดงส่วนของเจ้าของ 2 ตัวอย่างสําหรับธุรกิจขนาดเล็กที่สมมติขึ้นมา โดยมีบริษัทที่ปรึกษา ABC และสตูดิโอออกแบบ XYZ ตัวอย่างต่อไปนี้อธิบายโครงสร้างงบโดยอิงจากกิจกรรมทางการเงินต่างๆ ตลอดทั้งปี
ตัวอย่าง 1: บริษัทที่ปรึกษา ABC
บริษัทที่ปรึกษา ABC
งบแสดงส่วนของเจ้าของ
สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2024
ส่วนของเจ้าของตอนเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม 2024: 50,000 ดอลลาร์สหรัฐ
บวก: รายรับสุทธิสําหรับทั้งปี: 30,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ลบ: การถอนเงินโดยเจ้าของ: 10,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ส่วนของเจ้าของตอนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2024: 70,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ตัวอย่าง 2: สตูดิโอออกแบบ XYZ
สตูดิโอออกแบบ XYZ
งบแสดงส่วนของเจ้าของ
สําหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2024
- ส่วนของเจ้าของตอนเริ่มต้นวันที่ 1 มกราคม 2024: 80,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- บวก: เงินทุนที่สมทบระหว่างปี: 20,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- บวก: รายรับสุทธิสําหรับทั้งปี: 40,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ลบ: การถอนเงินโดยเจ้าของ: 25,000 ดอลลาร์สหรัฐ
- ส่วนของเจ้าของตอนสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2024: 115,000 ดอลลาร์สหรัฐ
ประโยชน์และข้อจํากัดของงบแสดงส่วนของเจ้าของ
ประโยชน์
ข้อมูลเชิงลึกสำหรับเจ้าของ: งบนี้ช่วยให้เจ้าของธุรกิจเห็นผลประโยชน์ทางการเงินในธุรกิจได้อย่างชัดเจน โดยแสดงให้เห็นว่าการดําเนินธุรกิจและการตัดสินใจต่างๆ ส่งผลต่อหุ้นของตนอย่างไรบ้าง ข้อมูลนี้อาจส่งผลต่อการตัดสินใจว่าควรนำกำไรกลับไปลงทุนต่อหรือถอนผลกำไรออกมา
การติดตามประสิทธิภาพ: งบนี้สามารถติดตามผลการดําเนินงานทางการเงินเมื่อเวลาผ่านไป โดยแสดงให้เห็นว่าผลกําไรที่รักษาไว้และเงินลงทุนเพิ่มเติมมีส่วนก่อให้เกิดการเติบโตของหุ้นของเจ้าของอย่างไร
การตัดสินใจของนักลงทุน: ผู้มีโอกาสเป็นนักลงทุนสามารถใช้งบนี้ในการพิจารณาสถานภาพและเสถียรภาพทางการเงินของธุรกิจ เพื่อช่วยให้ข้อมูลในการตัดสินใจ
ความโปร่งใสด้านการเงิน: งบนี้ให้ความโปร่งใสในการรายงานทางการเงินโดยแสดงว่ามีการรักษาผลกําไรในธุรกิจหรือปันผลให้กับเจ้าของอย่างไร ข้อมูลนี้มีความสําคัญต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในและภายนอก
ข้อจํากัด
ขอบเขต: ถึงแม้ว่างบนี้จะให้ข้อมูลสําคัญเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงในส่วนของหุ้น แต่ไม่ได้แสดงภาพรวมสถานะทางการเงินของธุรกิจอย่างสมบูรณ์และต้องตีความร่วมกับงบการเงินอื่นๆ
ระยะเวลา: เช่นเดียวกับงบการเงินทั้งหมด งบแสดงส่วนของเจ้าของจะแสดงข้อมูลในอดีต แม้ข้อมูลนี้จะสําคัญ แต่อาจไม่สะท้อนถึงสภาพทางการเงินในปัจจุบันหรือในอนาคตของธุรกิจเสมอไป
ภาระด้านการบริหารจัดการ: การเตรียมงบนี้อาจใช้เวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งสําหรับธุรกิจที่มีบัญชีหุ้นหลายประเภทหรือมีการเปลี่ยนแปลงหุ้นบ่อย
เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ