ความท้าทาย
การระดมทุนยังเป็นโมเดลธุรกิจรูปแบบใหม่เมื่อ Kickstarter เปิดตัวที่นิวยอร์กในปี 2009 แม้คนทั่วไปจะบริจาคเงินสนับสนุนโครงการที่สร้างสรรค์ต่างๆ มาแล้วนับศตวรรษก็ตาม ตัวอย่างที่ชัดเจนข้อหนึ่งคือ การระดมทุนเล็กๆ น้อยๆ จากผู้บริจาคนับพันคนเพื่อสร้างฐานของเทพีสันติภาพ แต่ Kickstarter สามารถสร้างการระดมทุนในฐานะวิธีที่มีประสิทธิภาพได้ในเวลาอันรวดเร็ว เพื่อทำให้โครงการอันสร้างสรรค์เกิดขึ้นจริง ผ่านการรวมวิธีการแบบดั้งเดิมนี้เข้ากับความแพร่หลายของอินเทอร์เน็ต
นโยบายแบบ "ทำให้สำเร็จ หรือไม่ก็ล้มเลิกไปเลย" ของ Kickstarter ช่วยให้ผู้ก่อตั้งโครงการกำหนดเป้าหมายการระดมทุนและวันสิ้นสุด จากนั้นก็โปรโมทแนวคิดของตัวเองต่อผู้สนับสนุนที่อยากบริจาคเงินให้โครงการได้ หากโครงการได้รับเงินเป็นจำนวนที่มากพอตามเวลาที่กำหนด Kickstarter ก็จะเรียกเก็บเงินจากผู้สนับสนุนตามวิธีการชำระเงินที่เลือก แต่หากระดมทุนได้ไม่ครบ ก็จะไม่มีใครต้องจ่ายเงิน
วิธีการนี้ช่วยเปิดตัวโครงการต่างๆ ที่ได้รับเป็นที่รู้จักในทุกครอบครัว ซึ่งหนึ่งในนั้นคือจักรยานออกกำลังกาย Peloton แต่ Kickstarter ก็ยังเป็นแหล่งระดมเงินทุนของโครงการย่อยขนาดเล็กแบบเฉพาะกลุ่มเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นบอร์ดเกม นิยายรัก หรือซอสพริกก็ตาม
เมื่อผู้ก่อตั้งและผู้สนับสนุนโครงการมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง Kickstarter ก็ต้องการเปิดแพลตฟอร์มเพื่อรองรับคนจากทั่วโลก ในปี 2014 บริษัทได้เลือกใช้ Stripe เพื่อช่วยในการขยายธุรกิจไปทั่วโลก โดยช่วยอำนวยความสะดวกในการเรียกเก็บเงินบริจาคจากผู้สนับสนุน และจ่ายเงินให้กับผู้ก่อตั้งโครงการในสกุลเงินและประเทศต่างๆ ซึ่งหลังจากเชื่อมต่อการทำงานครั้งแรกเป็นต้นมา Kickstarter ก็ปรับการดำเนินธุรกิจตามเทรนด์ใหม่ๆ ในแวดวงการระดมทุน และพบวิธีที่แตกต่างออกไปในการปรับแพลตฟอร์มให้มีประสิทธิภาพสำหรับผู้ก่อตั้งโครงการ นอกเหนือจากความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้านี้แล้ว บริษัทยังจำเป็นต้องใช้เทคโนโลยีการชำระเงินที่ปรับเปลี่ยนได้ตามการดำเนินงานด้วย
เป้าหมายหลักล่าสุดของ Kickstarter ประกอบไปด้วยการทำให้ระบบรองรับการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง การช่วยให้บริษัทเข้าสู่ตลาดใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็วและปรับแพลตฟอร์มตามระเบียบข้อบังคับในท้องถิ่นด้านการยืนยันตัวตนของลูกค้าและการรักษาความปลอดภัยในระบบการชำระเงิน อย่างไรก็ตาม การจัดการกับการฉ้อโกงในระดับแพลตฟอร์มถือเป็นความท้าทายหลักอีกประการ เนื่องจากแต่ละโครงการของ Kickstarter มักจะดึงดูดผู้สนับสนุนในกลุ่มที่แตกต่างกันออกไป โดยใช้วิธีการชำระเงินหลายแบบในหลายสกุลเงินร่วมกัน และวิธีการชำระเงินแต่ละแบบนั้นมีวิธีการยืนยันผู้ใช้ไม่เหมือนกัน ทำให้มิจฉาชีพสามารถฉวยโอกาสนี้ในการฉ้อโกงได้ ส่งผลให้จัดการความเสี่ยงด้านการฉ้อโกงด้วยวิธีการแบบเดียวได้ยาก
ในขณะเดียวกัน Kickstarter ก็ต้องการเพิ่มวิธีการชำระเงินใหม่ๆ ได้อย่างสะดวก ซึ่งนวัตกรรมด้านวิธีการชำระเงินที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องและกลุ่มผู้สนับสนุนรายใหม่ที่เข้ามายังเว็บไซต์ในแต่ละเดือน ทำให้บริษัทจำเป็นต้องเพิ่มตัวเลือกการชำระเงินเพื่อช่วยให้โครงการบรรลุเป้าหมายการระดมทุน โดยเฉพาะในตลาดที่การใช้บัตรเครดิตและเดบิตยังไม่แพร่หลายมากนัก
ความสำเร็จของโมเดลการระดมทุนทำให้ Kickstarter สนใจการนำเสนอบริการทางการเงินใหม่ๆ ที่จะช่วยเหลือผู้ก่อตั้งโครงการในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากไปการระดมทุนในระยะแรก ซึ่งระบบการชำระเงินที่ใช้อยู่จะต้องสนับสนุนได้มากกว่าแค่การประมวลผลเงินบริจาคและจ่ายเงินให้ผู้ก่อตั้งโครงการ "วิสัยทัศน์ระยะยาวของเราคือการสนับสนุนกระบวนการทำงานของผู้ก่อตั้งโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ" Sean Leow ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการปฏิบัติงานของ Kickstarter กล่าว "การนำโครงการออกไปสู่โลกกว้างนั้นต้องทำมากกว่าแค่แคมเปญ Kickstarter ที่มีระยะเวลา 30 วัน"
โซลูชัน
การเชื่อมต่อการทำงานแรกเริ่มของ Kickstarter กับ Stripe Payments เพื่อประมวลผลธุรกรรม และ Stripe Connect เพื่อส่งเงินไปให้ผู้ก่อตั้งโครงการนั้นถือเป็นรากฐานที่สนับสนุนการเติบโตและการขยายตัวของบริษัทในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดย Kickstarter สามารถปรับเปลี่ยนระบบการประมวลผลการชำระเงินให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง ขณะเดียวกันก็เพิ่มฟีเจอร์และผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ จาก Stripe เพื่อรองรับผู้ก่อตั้งโครงการ ผู้สนับสนุน และแผนการเติบโตของบริษัทเองไปพร้อมๆ กัน
เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Stripe ในปี 2014 Kickstarter ก็ได้สมัครใช้แพ็กเกจการสนับสนุนของ Stripe ซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญในการช่วยขยายและปรับปรุงการเชื่อมต่อการทำงานกับ Stripe การทำงานร่วมกับทีมสนับสนุนเฉพาะทางช่วยให้วิศวกรของ Kickstarter จัดการกับองค์ประกอบการเชื่อมต่อการทำงานเฉพาะของแพลตฟอร์ม และปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงและการปรับปรุงเทคโนโลยีของ Stripe ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาได้ โดยทีมการเงิน ทีมความเชื่อมั่นและความปลอดภัย ทีมชุมชน ตลอดจนทีมกฎหมายของ Kickstarter ต่างรับการสนับสนุนจาก Stripe เพื่อตอบคำถามที่เกี่ยวข้องกับรายรับและการรายงาน การจัดการภาษี ความเสี่ยงและการปฏิบัติตามกฎ รวมถึงการเริ่มต้นใช้งานบัญชี และในด้านอื่นๆ อีกมากมาย
"เรามองว่าทีมดูแลบัญชีลูกค้าองค์กรของ Stripe เป็นส่วนเสริมของทีมเรา" Jason Goss หัวหน้าฝ่ายการทำบัญชีรายรับและการปฏิบัติงาน" กล่าว "พวกเขาเป็นส่วนสำคัญที่มีคุณค่าอย่างมากต่องานที่เราทำ"
การนำ Connect มาใช้ทำให้ขยาย Kickstarter ไปยังตลาดใหม่ๆ ง่ายขึ้น นอกเหนือจากการที่ Kickstarter สามารถรับการชำระเงินจากกว่า 195 ประเทศแล้ว กระบวนการการเริ่มต้นใช้งานที่จัดการโดย Stripe ยังช่วยลดภาระด้านกระบวนการ "รู้จักลูกค้าของคุณ" (KYC) และการปฏิบัติตามข้อกำหนดในตลาดใหม่ๆ ลงไปได้อย่างมาก
การเชื่อมต่อการทำงานของ Connect เข้ากับ Kickstarter ยังช่วยให้บริษัทจัดการการนำกฎหมายการชำระเงิน PSD2 มาใช้ในสหภาพยุโรป กฎระเบียบใหม่ที่มีข้อกำหนดการตรวจสอบสิทธิ์ของลูกค้าอย่างเข้มงวดนี้ทำให้ Kickstarter ต้องเผชิญกับความท้าทายต่างๆ เนื่องจากโมเดลการชำระเงินแบบ "นอกเซสชัน" มีความเฉพาะตัว เพราะจะไม่มีการเรียกเก็บเงินจากผู้สนับสนุนหากโครงการไม่บรรลุเป้าหมายการระดมทุน ซึ่งทาง Kickstarter ได้ทำงานอย่างใกล้ชิดกับ Stripe เพื่อกำหนดขั้นตอนการจัดการเงิน และสร้าง Stripe API เพื่อให้แพลตฟอร์มเป็นไปตามกฎระเบียบของ EU ไปพร้อมๆ กับการสนับสนุนนโยบายการระดมทุนแบบ "ทำให้สำเร็จ หรือไม่ก็ล้มเลิกไปเลย" ซึ่งบริษัทใช้สำหรับโครงการระดมทุนที่ประสบความสำเร็จ
เพื่อช่วยจัดการปัญหาการฉ้อโกงด้านการชำระเงิน Kickstarter ได้ใช้ Stripe Radar ซึ่งใช้แมชชีนเลิร์นนิงที่ฝึกฝนจากธุรกรรมหลายพันล้านรายการบนเครือข่าย Stripe เพื่อวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับรูปแบบการฉ้อโกงที่เปลี่ยนแปลงไปและธุรกรรมที่มีความเสี่ยงสูง โดย Radar จะบล็อกธุรกรรมที่ถูกระบุว่ามีความเสี่ยงสูงที่สุดโดยอัตโนมัติ และส่งการแจ้งเตือนให้ทีมความเชื่อมั่นและความปลอดภัยภายในของ Kickstarter ซึ่งจะวิเคราะห์ธุรกรรมเหล่านั้นควบคู่ไปกับสัญญาณจากการตรวจสอบการฉ้อโกงอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็วหรือปรับปรุงเทคนิคโดยรวมในการระบุความเสี่ยง เช่น การตั้งเป้าวัตถุประสงค์ที่ไม่จริงหรือการเข้าถึงบัญชีที่ไม่ถูกต้อง เป็นต้น
การทำงานร่วมกันมาอย่างยาวนานช่วยให้ Kickstarter ได้ประโยชน์จากการใช้นวัตกรรมของ Stripe โดยในปี 2023 Kickstarter ได้เริ่มใช้ชุดเครื่องมือการชำระเงินที่เพิ่มประสิทธิภาพเพื่อช่วยปรับปรุงประสบการณ์สำหรับผู้ก่อตั้งและผู้สนับสนุนโครงการ และ Kickstarter ได้เพิ่ม Payment Element ลงไปในหน้าการบริจาคเงินระดมทุน ซึ่งเป็น UI แบบผสานรวมที่ช่วยให้ Kickstarter นำเสนอวิธีการชำระเงินได้หลากหลายแบบ รวมถึงบัตรเครดิตและเดบิต ตลอดจนกระเป๋าเงินแบบดิจิทัลด้วย การใช้ Payment Element ยังช่วยให้ Kickstarter นำเสนอ Link ซึ่งเป็นเครื่องมือการชำระเงินด่วนที่ช่วยลดปัญหาติดขัดผ่านการบันทึกข้อมูลการขำระเงินของผู้ใช้ และการกรอกรายละเอียดเหล่านั้นสำหรับธุรกรรมในอนาคต และเนื่องจาก Stripe Element เป็นองค์ประกอบที่จัดการโดย Stripe จึงไม่มีการส่งผ่านหรือจัดเก็บข้อมูลการชำระเงินในเซิร์ฟเวอร์ของ Kickstarter ทำให้บริษัทปฏิบัติตามข้อกำหนดของ PCI-DSS โดยสมบูรณ์อยู่เสมอ
ช่วงหลังมานี้ Stripe ได้ช่วยให้ Kickstarter ตระหนักถึงเป้าหมายในการสนับสนุนผู้ก่อตั้งโครงการในด้านอื่นๆ นอกเหนือจากการระดมทุนระยะแรก โดยในปี 2024 นี้ Kickstarter ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่เรียกว่า Late Pledges ซึ่งช่วยให้ผู้สนับสนุนบริจาคเงินให้กับโครงการได้แม้จะบรรลุเป้าหมายการระดมทุนแล้ว ความยืดหยุ่นของเทคโนโลยี Stripe ทำให้ทีมงาน Kickstarter จัดการกับการเก็บเงิน "ในเซสชัน" รูปใหม่ไปพร้อมกับการระดมทุนแบบ "นอกเซสชัน" ที่เป็นโมเดลหลักได้ โดยปรับระบบให้จัดการกับข้อกำหนดด้านความปลอดภัยสำหรับธุรกรรมเหล่านี้ รวมถึงการจ่ายเงินเพิ่มเติมให้กับผู้ก่อตั้งโครงการที่มีเงินบริจาคหลังบรรลุเป้าหมายแล้วได้
ผลลัพธ์
Stripe สนับสนุนการขยายธุรกิจของ Kickstarter ไปยัง 25 ประเทศ
หลังจากที่ใช้ Stripe เป็นต้นมา Kickstarter ก็ได้ขยายธุรกิจไปยัง 25 ประเทศ โดยล่าสุดคือญี่ปุ่น สิงคโปร์ ฮ่องกง สโลวีเนีย โปแลนด์ และกรีซ การใช้ Connect ช่วยให้กระบวนการสร้างบัญชี Stripe ในภูมิภาคใหม่ใช้เวลาเพียงไม่กี่นาทีเท่านั้นหลังจากที่กรอกแบบฟอร์มนิติบุคคล บัญชีธนาคาร ที่อยู่จริง ข้อมูลยืนยันตัวตนตามที่กำหนดครบถ้วน นอกจากนี้ กระบวนการเริ่มต้นใช้งานที่จัดการโดย Stripe ยังช่วยเร่งระยะเวลาเปิดตัวในตลาดใหม่ๆ ได้ผ่านการช่วยเหลือด้านการปฏิบัติตามข้อกำหนดการยืนยันข้อมูลลูกค้า
Radar บล็อกธุรกรรมที่เป็นการฉ้อโกงไปแล้วกว่า 9.5 ล้านดอลลาร์
การป้องกันการฉ้อโกงขั้นสูงของ Stripe และ Radar ช่วยเพิ่มความสามารถในการป้องกันการฉ้อโกงของ Kickstarter ได้เป็นอย่างมาก ในปีที่ผ่านมา Stripe และ Radar ได้บล็อกการเรียกเก็บเงินที่เป็นการฉ้อโกงและอาจเกิดการโต้แย้งไปแล้วกว่า 9.5 ล้านดอลลาร์โดยอัตโนมัติ
การใช้ชุดเครื่องมือการชำระเงินที่เพิ่มประสิทธิภาพช่วยให้เพิ่มวิธีการชำระเงินใหม่ๆ ได้อย่างง่ายดาย และเพิ่มมูลค่าคำสั่งซื้อเฉลี่ยได้ถึง 22%
การใช้ Payment Element จากชุดเครื่องมือการชำระเงินที่เพิ่มประสิทธิภาพทำให้ Kickstarter เพิ่มวิธีการชำระเงินใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น ซึ่งนำไปสู่การเพิ่มมูลค่าคำสั่งซื้อเฉลี่ย 22% ตัวอย่างเช่น Kickstarter ได้เพิ่มการหักบัญชีอัตโนมัติแบบ SEPA ในเยอรมนี และกำลังทดลองใช้การชำระเงินแบบ ACH นอกเซสชันที่ Stripe มีให้บริการ
นอกจากนี้ Link ยังได้รับความนิยมสูงในหมู่ผู้สนับสนุนของ Kickstarter ทันทีที่เปิดตัว โดยภายใน 6 สัปดาห์ ผู้ชำระเงิน 7.4% ก็หันมาใช้ Link เป็นจำนวนที่เยอะกว่า Apple Pay ทั้งในแง่ของจำนวนธุรกรรมและมูลค่าของยอดบริจาค ธุรกรรมของ Link ประมาณ 70% มาจากลูกค้าที่เคยใช้วิธีการชำระเงินนี้มาก่อน และ Kickstarter ยังเล็งเห็นโอกาสที่ Link จะช่วยเพิ่มยอดบริจาคในหมู่ผู้สนับสนุนรายใหม่อีกด้วย "เมื่อผู้ก่อตั้งโครงการเข้ามายังแพลตฟอร์ม Kickstarter พวกเขาก็นำกลุ่มเพื่อนและครอบครัวที่อาจยังไม่คุ้นชินกับการระดมทุนเข้ามาด้วย หากคนกลุ่มนี้ไปถึงหน้าชำระเงินและไม่มีวิธีการชำระเงินที่บันทึกไว้ อัตราการชำระเงินสำเร็จก็เกิดขึ้นได้ยากกว่า" Goss กล่าว "หากผู้สนับสนุนรายใหม่นี้มี Link ก็จะช่วยปลดล็อกจำนวนการบริจาคได้อีกมากมาย"
การเชื่อมต่อการทำงานของ Kickstarter กับ Stripe ช่วยสนับสนุนบริการที่รองรับผู้ก่อตั้งโครงการในอนาคต
หลังจากพัฒนาต่อยอดโมเดลการบริจาคหลังโครงการบรรลุเป้าหมายแล้ว Kickstarter ก็ยังคงมองหาแนวทางใหม่ๆ ในการสนับสนุนผู้ก่อตั้งโครงการตั้งแต่ต้นจนจบ ตัวอย่างเช่น บริษัทกำลังพิจารณาถึงโอกาสในการเพิ่มฟีเจอร์บริการด้านธนาคารผ่าน Stripe Treasury เพื่อช่วยให้ผู้ประกอบการจัดการค่าใช้จ่ายด้านการจัดส่ง โลจิสติกส์ และการดำเนินการตามคำสั่งซื้อเพื่อให้โครงการได้รับเงินระดมทุนจนสำเร็จตามเป้า
เนื่องจากเราเป็นผู้ใช้ Stripe รายแรกๆ เราจึงได้เห็นวิสัยทัศน์ของ Stripe เกี่ยวกับประโยชน์ที่มอบให้ลูกค้าพัฒนาไปตามกาลเวลา Stripe เติบโตขึ้นจากการดำเนินงานในฐานะผู้ให้บริการสนับสนุนด้านการชำระเงิน ไปเป็นการนำเสนอชุดบริการด้านการเงินที่ทรงประสิทธิภาพเพื่อช่วยให้ธุรกิจเติบโต