ASC 606 and IFRS 15: What you need to know about revenue recognition

Revenue Recognition
Revenue Recognition

Stripe Revenue Recognition เพิ่มประสิทธิภาพในการทำบัญชีคงค้างเพื่อให้คุณปิดบัญชีได้รวดเร็วและถูกต้อง รวมทั้งยังกำหนดค่าและปรับขั้นตอนการจัดทำรายงานรายรับให้เป็นอัตโนมัติ คุณจึงปฏิบัติตามมาตรฐานการรับรู้รายรับ ASC 606 และ IFRS 15 ได้อย่างง่ายดาย

ดูข้อมูลเพิ่มเติม 
  1. บทแนะนำ
  2. การรับรู้รายรับคืออะไร
  3. ASC 606 คืออะไร
  4. IFRS 15 คืออะไร
  5. ASC 606 เทียบกับ IFRS 15
  6. โมเดล 5 ขั้นตอนสําหรับการรับรู้รายรับ ASC 606
  7. การรับรู้รายรับด้วย Stripe

สำหรับธุรกิจส่วนใหญ่ รายรับคือตัวชี้วัดประสิทธิภาพลำดับสูงสุด ซึ่งเป็นผลลัพธ์ของ KPI อื่นๆ ทุกตัวรวมกัน แม้ว่ารายรับจะเป็นเมตริกที่สําคัญเมื่อธุรกิจต้องการเติบโต แต่ในอดีตวิธีที่ธุรกิจรายงานรายรับของตนและจัดทํางบการเงินในแต่ละอุตสาหกรรมนั้นจะมีความแตกต่างกัน

แนวทางการรับรู้รายรับที่ไม่สอดคล้องกันในอุตสาหกรรมต่างๆ ทำให้ยากต่อการเปรียบเทียบผลการดําเนินงานของบริษัทแต่ละแห่ง จนกระทั่งเมื่อเร็วๆ นี้ เมื่อ ASC 606 และ IFRS 15 เข้ามามีบทบาท ไม่ว่าคุณจะเคยได้ยินเกี่ยวกับมาตรฐานการบัญชีเหล่านี้มาแล้ว หรือไม่รู้จักมาตรฐานดังกล่าวมาก่อนเลย ก็ยังมีอะไรให้คุณเรียนรู้มากมาย เช่น มาตรฐานดังกล่าวมีความหมายต่อธุรกิจของคุณอย่างไร ตลอดจนวิธีการทําบัญชีและการรายงานรายรับที่คุณควรทราบ

ต่อไปนี้คือคําแนะนําเกี่ยวกับหลักการที่กํากับดูแลวิธีที่บริษัทเอกชนและบริษัทมหาชนทั้งหมดในอุตสาหกรรมต่างๆ รายงานข้อมูลทางการเงินที่มีความหมายเกี่ยวกับจํานวนเงิน ลักษณะ และช่วงเวลาของรับรู้และกระแสเงินสดจากสัญญาลูกค้า

บทความนี้ให้ข้อมูลอะไรบ้าง

  • การรับรู้รายรับคืออะไร
  • ASC 606 คืออะไร
  • IFRS 15 คืออะไร
  • ASC 606 เปรียบเทียบกับ IFRS 15
  • โมเดล 5 ขั้นตอนสําหรับการรับรู้รายรับตามมาตรฐาน ASC 606
  • การรับรู้รายรับด้วย Stripe

การรับรู้รายรับคืออะไร

การรับรู้รายรับเป็นหลักการทำบัญชีที่ยอมรับกันโดยทั่วไป (GAAP) ซึ่งกําหนดว่าควรบันทึกรายรับของธุรกิจลงในงบการเงินเมื่อใดและด้วยวิธีการใด การรับรู้รายรับจะกําหนดว่าธุรกิจรับรู้และได้รับรายได้มาเมื่อไหร่เมื่อได้รับการชําระเงินจากลูกค้า และควรจัดสรรรายรับไปยังรอบการทําบัญชีใด

การรับรู้และการเลื่อนเวลาการตัดบัญชีรายรับอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสําคัญในการทําความเข้าใจความสามารถในการทํากําไรและสถานะทางการเงินของธุรกิจ การรับรู้รายรับจึงเป็นข้อพิจารณาที่สําคัญสําหรับทุกองค์กร เพราะไม่เพียงส่งผลกระทบที่สําคัญต่อผลประกอบการทางการเงิน การปฏิบัติตามข้อกําหนด และการตัดสินใจด้านการจัดการของบริษัทเท่านั้น แต่การรับรู้รายรับที่เหมาะสมยังจําเป็นต่อการปฏิบัติตามมาตรฐานข้อบังคับด้วย การรับรู้รายรับที่ถูกต้องและตรงเวลาจะช่วยให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องไว้วางใจและมั่นใจว่าบริษัทจะประสบความสําเร็จในระยะยาว

ASC 606 คืออะไร

Accounting Standards Codification (ASC) 606 กำหนดกรอบสากลให้กับธุรกิจในการรับรู้รายรับจากการขายสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า คณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีการเงิน (FASB) และคณะกรรมการมาตรฐานการบัญชีระหว่างประเทศ (IASB) ได้ร่วมกันประกาศใช้ ASC 606 ในเดือนพฤษภาคม 2014

ASC 606 เป็นข้อกำหนดการรับรู้รายรับที่เรียบง่ายสำหรับทุกอุตสาหกรรม ซึ่งธุรกิจทุกแห่งปฏิบัติตามกันอยู่แล้ว มาตรฐานนี้มีความสอดคล้องกันในทุกอุตสาหกรรม และใช้แทนมาตรฐานการรับรู้รายรับเฉพาะอุตสาหกรรมแบบเก่า การเปลี่ยนมาใช้หลักเกณฑ์ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันส่งผลให้มีความโปร่งใสมากขึ้น ความรับผิดชอบต่อลูกค้ามากขึ้น และการเปรียบเทียบงบการเงินระหว่างบริษัทกับอุตสาหกรรมทำได้ง่ายขึ้น

IFRS 15 คืออะไร

IFRS 15 คือมาตรฐานการรับรู้รายรับสําหรับสัญญาระหว่างธุรกิจกับลูกค้าในการซื้อสินค้าหรือบริการ โดยจะมีผลกับนิติบุคคลของรัฐ เอกชน และองค์กรไม่แสวงผลกําไร เช่นเดียวกับ ASC 606 วัตถุประสงค์ของมาตรฐาน IFRS 15 คือต้องการขจัดความไม่สอดคล้องกันของวิธีที่นิติบุคคลในอุตสาหกรรมต่างๆ ทําบัญชีสําหรับธุรกรรมทางการเงินที่คล้ายกัน

ASC 606 เทียบกับ IFRS 15

ทั้ง ASC 606 และ IFRS 15 ต่างก็นําเสนอกรอบที่ครอบคลุมสําหรับการรับรู้รายรับจากสัญญาของลูกค้า โดยมีหลักการและวัตถุประสงค์พื้นฐานคล้ายคลึงกัน และต่างก็มีเป้าหมายในการสร้างความสอดคล้องและช่วยให้สามารถเปรียบเทียบรายงานทางการเงินในอุตสาหกรรมและภูมิภาคต่างๆ ได้ อย่างไรก็ตาม มาตรฐานทั้งสองมีความแตกต่างเล็กน้อย

  • ขอบเขต
    ASC 606 มีผลกับนิติบุคคลทั้งหมดที่ทําสัญญากับลูกค้า ในขณะที่ IFRS 15 มีผลกับนิติบุคคลทั้งหมดที่มีสัญญาของลูกค้า ยกเว้นสัญญาที่อยู่ในขอบข่ายของสัญญาประกันภัยภายใต้มาตรฐาน IFRS 17

  • ข้อกําหนดการเปิดเผยข้อมูล
    แม้ว่ามาตรฐานทั้งสองนี้จะกําหนดให้มีการเปิดเผยข้อมูลที่คล้ายกันเกี่ยวกับการรับรู้รายได้ แต่ IFRS 15 ก็มีข้อกําหนดเพิ่มเติมเกี่ยวกับลักษณะ กําหนดเวลา และความไม่แน่นอนของรายรับและกระแสเงินสดที่เกิดจากสัญญาของลูกค้าด้วย

  • ต้นทุนของสัญญา
    ASC 606 ช่วยให้บริษัทต่างๆ ตัดจำหน่ายและแปลงต้นทุนสัญญาบางอย่างที่เพิ่มขึ้นมา เช่น ค่าคอมมิชชันการขาย ให้เป็นทุน แต่ IFRS 15 กําหนดให้บริษัทต้องทําการทดสอบที่เข้มงวดกว่าในการแปลงต้นทุนสัญญาให้เป็นทุน โดยกำหนดว่าค่าใช้จ่ายดังกล่าวจะต้องสร้างประโยชน์ทางเศรษฐกิจในอนาคต

  • การแสดงรายรับ
    ภายใต้ ASC 606 บริษัทจะต้องแสดงรายรับในรายการเดินบัญชีรายรับของตนในลักษณะที่แสดงถึงการโอนการควบคุมสินค้าหรือบริการให้แก่ลูกค้า แต่ตามมาตรฐาน IFRS 15 บริษัทต้องแสดงรายรับในรายการเดินบัญชีรายรับของบริษัทเป็นยอดขั้นต้นหรือยอดสุทธิ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าบริษัทดําเนินการเป็นตัวการหลักหรือตัวแทนในธุรกรรม

  • วิธีการเปลี่ยนผ่าน
    ASC 606 ช่วยให้บริษัทสามารถเลือกวิธีการเปลี่ยนผ่านได้ 2 แบบ ได้แก่ การปรับปรุงย้อนหลังตามปกติ ซึ่งกําหนดให้บริษัทปรับงบของรอบบัญชีก่อนหน้า หรือการปรับปรุงย้อนหลังแบบดัดแปลง ซึ่งให้บริษัทต่างๆ รับรู้ผลกระทบสะสมของการนํามาตรฐานใหม่มาใช้โดยการปรับกำไรสะสม มาตรฐาน IFRS 15 กําหนดให้บริษัทใช้วิธีการปรับปรุงย้อนหลังตามปกติหรือการปรับปรุงย้อนหลังแบบดัดแปลงโดยมีข้อผ่อนปรนในทางปฏิบัติ

FASB ให้คําอธิบายเกี่ยวกับความแตกต่างทุกอย่างระหว่าง ASC 606 กับ IFRS 15 รวมถึงรายละเอียดอย่างเช่น ความแตกต่างของข้อความในมาตรฐาน

โมเดล 5 ขั้นตอนสําหรับการรับรู้รายรับ ASC 606

เพื่อสนับสนุนเป้าหมายในการสร้างกรอบการรายงานรายรับที่นำไปใช้ได้ในทุกอุตสาหกรรม FASB และ IASB จึงแยกย่อยกระบวนการรายงานและการเตรียมงบการเงินเป็นโมเดล 5 ขั้นตอน ขั้นตอนดังกล่าวมีดังต่อไปนี้

  1. ระบุสัญญากับลูกค้า
  2. ระบุภาระหน้าที่ในการปฏฺิบัติตามสัญญา
  3. กําหนดราคาธุรกรรม
  4. จัดสรรราคาธุรกรรม
  5. รับรู้รายรับเมื่อหรือในขณะที่บุคคลปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาเสร็จสิ้น

หากต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการรับรู้รายรับภายใต้ ASC 606 โปรดดูบทความของเราที่อธิบายอย่างละเอียดในแต่ละขั้นตอนที่นี่

การรับรู้รายรับด้วย Stripe

Stripe Revenue Recognition พัฒนามาเพื่อธุรกิจที่เติบโตอย่างรวดเร็วซึ่งใช้โมเดลรายรับแบบชําระเงินตามรอบบิลหรือตามแบบแผนล่วงหน้า อีกทั้งยังปรับแต่งได้ตามความต้องการและเป็นมิตรต่อผู้ใช้ ทําให้เป็นโซลูชันที่เหมาะสําหรับธุรกิจในทุกระดับของการเติบโต ไม่ว่าจะใช้โมเดลรายรับแบบใดก็ตาม Revenue Recognition มอบฟังก์ชันการทำงานที่ครอบคลุมให้กับธุรกิจที่ใช้ Stripe โดยประกอบด้วยฟังก์ชันต่อไปนี้

  • เครื่องมือการรายงานที่ชาญฉลาด
    Revenue Recognition ประกอบด้วยรายงานหลากหลายประเภท เช่น งบดุล รายการเดินบัญชีรายรับ และตารางแผนภูมิลําดับขั้นเกี่ยวกับรายรับ ซึ่งช่วยให้ผู้ใช้ ตั้งแต่ผู้จัดการฝ่ายบัญชีไปจนถึงผู้บริหารระดับ C มีข้อมูลเชิงลึกที่นําไปปฏิบัติได้จริงเกี่ยวกับการเติบโตและประสิทธิภาพการทํางานของบริษัท

  • การอัปเดตอัตโนมัติ
    Revenue Recognition จะพิจารณาการเปลี่ยนแปลงในธุรกรรมและการชําระเงินโดยอัตโนมัติ และอัปเดตไปยังรายงานทั้งหมด นอกจากนี้ ผู้ใช้ยังสามารถนําเข้าธุรกรรมที่ไม่ใช่ของ Stripe เพื่อดูภาพรวมทั้งหมดของรายรับของบริษัท แม้ว่าบางส่วนจะไม่ได้ขายผ่าน Stripe ก็ตาม

  • การควบคุมมากขึ้น
    ผู้ใช้สามารถปรับการรายงานให้พิจารณารายรับที่เลื่อนเวลาการตัดบัญชี ยกเว้นรายได้บางประเภท รวมแหล่งข้อมูลภายนอกไว้ในการรายงานรายรับ และนําการกําหนดค่าการทําบัญชีอื่นๆ มาใช้ เป้าหมายคือการมอบความยืดหยุ่นสูงสุดให้ผู้ใช้ปรับแต่งรายงานรายรับให้สอดคล้องกับการดําเนินธุรกิจและความต้องการของพวกเขา

  • การเชื่อมต่อการทํางานที่ราบรื่น
    Revenue Recognition มาพร้อมกับแพลตฟอร์มการชําระเงินของ Stripe ที่มีการผสานการทํางานอย่างครบวงจร รวมถึง Stripe Billing และ Stripe Invoicing ทําให้เป็นโซลูชันที่พร้อมใช้งาน ใช้งานง่าย และไม่ต้องขอการสนับสนุนด้านไอที

  • การสนับสนุนด้านการปฏิบัติตามข้อกําหนด
    Revenue Recognition มีรายการเดินบัญชีที่พร้อมสําหรับการตรวจสอบและการสนับสนุนครบวงจร ซึ่งออกแบบมาเพื่อให้ธุรกิจปฏิบัติตามมาตรฐานระดับโลก เช่น ASC 606 และ IFRS 15

เนื้อหาในบทความนี้มีไว้เพื่อให้ข้อมูลทั่วไปและมีจุดประสงค์เพื่อการศึกษาเท่านั้น ไม่ควรใช้เป็นคําแนะนําทางกฎหมายหรือภาษี Stripe ไม่รับประกันหรือรับประกันความถูกต้อง ความสมบูรณ์ ความไม่เพียงพอ หรือความเป็นปัจจุบันของข้อมูลในบทความ คุณควรขอคําแนะนําจากทนายความที่มีอํานาจหรือนักบัญชีที่ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการในเขตอํานาจศาลเพื่อรับคําแนะนําที่ตรงกับสถานการณ์ของคุณ

หากพร้อมเริ่มใช้งานแล้ว

สร้างบัญชีและเริ่มรับการชำระเงินโดยไม่ต้องทำสัญญาหรือระบุรายละเอียดเกี่ยวกับธนาคาร หรือติดต่อเราเพื่อสร้างแพ็กเกจที่ออกแบบเองสำหรับธุรกิจของคุณ
Revenue Recognition

Revenue Recognition

กำหนดค่าและปรับขั้นตอนการจัดทำรายงานรายรับให้เป็นอัตโนมัติเพื่อให้ปฏิบัติตามมาตรฐานการรับรู้รายรับ ASC 606 และ IFRS 15 ได้อย่างง่ายดาย

Stripe Docs เกี่ยวกับ Revenue Recognition

สร้างกระบวนการทำบัญชีแบบเกณฑ์คงค้างอัตโนมัติด้วย Stripe Revenue Recognition